ASTVผู้จัดการรายวัน - จากผลสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ระบุว่า ปัจจุบันตลาดบ้านสร้างเอง เฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีจำนวนหน่วยถึง 20,430 หน่วยต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่าจากการโอนกรรมสิทธิ์นับแสนล้านบาท แต่กลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านที่จดทะเบียนและให้บริการในพื้นที่กทม.และปริมณฑลในปัจจุบันนั้นมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 10% เท่านั้นซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 11,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือนั้นเป็นผู้รับเหมารายย่อยที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงถึง 90%
ในจำนวน 10% ที่กลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านต่างชิงแชร์กันอยู่ในขณะนี้ส่วนใหญ่ เป็นตลาดบ้านสร้างเองในระดับราคา 3-7 ล้านบาท ที่เรียกได้ว่าเป็นตลาดแรดโอเซี่ยน ที่มีการแข่งขันสูงมาก ในบางปีเพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้าที่วางไว้ มีผู้ประกอบการหลายๆ รายถึงกับจัดแคมเปญ มอบส่วนลดสูงกว่า 20% เข้าขั้นสงครามราคา ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดเอามาก ๆ อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการแข่งขันของตลาดรับสร้างบ้านจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นทำห้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
จากสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของบริษัทรับสร้างบ้านในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดระดับ 3-7 ล้านบาท ในขณะที่ดีมานด์ในกลุ่มตลาดดังกล่าวกลับไม่กระเตื้องจากปีก่อนๆ ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้
โดยก่อนหน้านี้ นายสุธี เกตุศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวท์ ทูบิวด์ จำกัด ในเครือซีคอนกรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในปี 2554 นี้อาจไม่เติบโตจากปีก่อน หรือบางทีอาจจะหดตัวลงจากปี 2553 ก็เป็นได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านลงเพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจความสามารถในการผ่อน และกำลังซื้อของตนเอง
ขณะที่ นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ผู้ให้บริการแฟรนไชส์ พีดี เฮาส์ หรือ ศูนย์รับสร้างบ้านในรูปแบบแฟรนไชส์ของ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 นี้ บริษัทมียอดเซ็นสัญญารวมต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ โดยทั้งปีตั้งเป้าว่าจะมียอดจองและเซ็นสัญญาสร้างบ้านประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อผ่านมาแล้ว 4 เดือนบริษัทมียอดขายเพียง 270 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่าตลาดรวมรับสร้างบ้านในปีนี้ไม่ได้เติบโตจากปีที่แล้วตามคาดการณ์
ด้านนางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด กล่าวว่า ช่วงไตรมาสแรกของปีตลาดรับสร้างบ้านใน กทม.และปริมณฑลหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดย 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ซีคอนโฮมมียอดจองซื้อบ้าน 360 ล้านบาท และมียอดเซ็นสัญญา 300 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ประมาณ 5-6% แต่เมื่อเทียบยอดจองซื้อเฉพาะในเดือนเมษายนของปีนี้กับปีที่แล้วหดตัวลง10%
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายใหญ่ในตลาดทั้ง 3 บริษัท สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าตลาดรับสร้างบ้านในปีนี้ยังคงทรงตัวจากปีก่อนหน้า ในขณะที่การแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของบริษัทรับสร้างบ้านรายใหมๆ และการจัดแคมเปญต่างๆ ของผู้ประกอบการรายเดิมๆ
จากแนวโน้มตลาดรับสร้างบ้านระดับ 3-7 ล้านบาทข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูล และศึกษาพฤติกรรมลูกค้าอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในตลาดและพบว่า ด้วยต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับเงินเฟอ้ที่ปรับตัวทำให้กำลังซื้อของลูกค้าในตลาดมีอยู่จำกัด โดยกว่า 90% เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อต่ำกว่า 3 ล้านบาทลงมา ซึ่งกว่า 70 % ในตลาดต่ำกว่า 3 ล้านบาทนั้นเป็นดีมานด์ในตลาดบ้านต่ำกว่า 2 ล้านบาท
จากผลวิเคาระห์ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เริ่มให้ความสำคัญกลุ่มลูกค้าบ้านสร้างเองระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เพื่อหนีการแข่งขันที่สูงของตลาดเดิม ตลอดจนเป็นการขยายฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ บริษัท ปทุมดีไชน์ฯถือเป็นบริษัทแรกๆ ที่ขยายตลาดออกไปจับกลุ่มตลาดต่างจังหวัดด้วยการเปิดตัวแฟรนไชส์ รับส้ราง้บานภายใต้แบรนด์ พีดีเฮ้าส์ ซึ่งล่าสุด ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านอีกรายที่เริ่มขยายตลาดออกไปอีกรายคือ บริษัท แลนดี้ โฮม ซึ่งได้เปิดตัวแฟรนไชส์ ภายใต้แบรนด์ ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮมอีกราย
ในขณะที่ ทั้งแลนดี้ โฮม และ พีเฮาส์ ขยายตลาดไปสู่ต่างจังหวัดอยู่นั้น กลุ่มซีคอน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดรับสร้างบ้านในปัจจุบันก็ปรับตัวด้วยการขยายตลาดลงมาจับกลุ่มลูกค้าในตลาดบ้านสร้างเองระดับ 1-2 ล้านบาท โดยบริษัทท ลูกอย่าง บิวท์ ทู บิวด์ จำกัด นั้นได้เปิดตัว บริษัท สมอลล์เฮ้าส์ บิวเดอร์ จำกัด ที่ลงมาจับกลุ่มตลาดรับสร้างบ้าน 1-2 ล้านบาท ซึ่งเปิดตัวเพียงแค่ 2 เดือนก็มียอดจองเซ็นสัญญาสร้างบ้านกว่า 70 หลัง หลังจากกลุ่มซีคอนโยนหินถามทางด้วยการส่งบริษัทลูกในเครืออย่างบิวท์ ทูบิวด์ ลงมาเล่นในตลาดล่างไปไม่นาน ก็พบว่ามาถูกทางแล้ว ทำให้ล่าสุด กลุ่มซีคอน ได้ตัดสินใจเปิดตัว บริษัท บัดเจท โฮม จำกัด ลงมาทำตลาดต่ำกว่า 1 ล้านบาทด้วยค่าก่อสร้างบ้าน 2 ชั้นในราคาเริ่มต้นเพียง 990,000บาท
การเปิดตัวบริษัทลูก เข้ามาจับตลาดล่างระดับราคา 1-2 ล้านบาทของกลุ่มซีคอน พี่ใหญ่ในธุรกิจรับสร้างบ้านนั้น เชื่อว่าจะสร้างแรงสั่นทะเทือนวงการธุรกิจรับสร้างบ้านในปีนี้ได้ไม่น้อย เพราะเพียงแค่เปิดตัวบริษัทลูกไม่ถึง 3 เดือนก็มียอดขายกระฉูด แถมยังมั่นใจว่าด้วยกำลังของบริษัทลูกที่เปิดใหม่ทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวจะทำให้ในปีนี้ ยอดขายของกลุ่มซีคอนจะแตะ 1,500 ล้านบาทแน่นอน
การมองเห็นช่องว่างทางตลาดของพี่ใหญ่ “ซีคอน” ครั้งนี้ สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่าตลาดบ้านสร้างเอง 1-2 ล้านบาท และบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาทนั้น มีความต้องการที่สูงและมีโอกาสขยายตัวอย่างมาก และยิ่งเป็นการยืนยันได้อย่างดีเมื่อ “พีดี เฮ้าส์” เองก็เตรียมกระโดดเข้าร่วมแชร์ดีมานด์ในตลาดดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้น ศูนย์รับสร้างบ้าน พีดี เฮ้าส์ ที่ปีนี้วางเป้าขยายสาขาครบ 28 แห่ง ก็เตรียมตัวเปิดแฟรนไชส์แบรนด์ใหม่อีก 1 แบรนด์โดยเฉพาะเพื่อจับตลาดรับสร้างบ้านระดับราคา 8 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีความต้องการสูงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ประกอบการเข้ามาจับตลาดนี้มากนัก คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดรับสร้างบ้านระดับ 1-2 ล้านบาท และต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะเป็นตลาดที่เชื่อว่ากำลังอยู่ในความสนใจและหอมหวนสำหรับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านแต่การที่จะก้าวเข้ามาสู่ตลาดดังกล่าวได้ก็ใช่ว่าจะง่ายดาย เนื่องจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงาน รวมถึงต้นทุนก่อสร้างที่ถีบตัวขึ้นทุกวันทำให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่ต้องการกว้าลงมาเล่นในตลาดนี้ ต้องคิดหนัก ในการรับมือกับต้นุทนที่เพิ่มขึ้น
ส่วนกรณีของ 4 รายแรกที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ได้ก็เพราะมีเทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือหลักในการลดต้นทุนประกอบกับจำนวนงานสร้างบ้านในแต่ละปีค่อนข้างสูง ทำให้มีอำนาจการต่อรองกับซับพลายเดอร์วัสดุก่อสร้างสูง และช่วยให้สามารถซื้อวัสดุก่อสร้างในราคาที่พิเศษกว่าคู่แข่ง โดยในรายของ “พีดี เฮ้าส์” นั้นก่อนหน้าได้ทำคอนแท็กกับบริษัทโครงการส้รางบ้านสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างทำให้สามารถรุกสู่ตลาดต่างจังหวัดได้ และล่าสุดเตรียมซื้อเครื่องจักรผลิตบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปก่อสร้างโรงงานเพื่อรองรับการขยายตลวาดลงไปในตลาดระดับ 800,000 -2,00,000 บาทในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ในขณะที่ “แลนดี้ โฮม” เองก็มีระบบก่อสร้างสำเร็จรูป Nova Sytem ซึ่งช่วยเซฟต้นทุนการสร้างบ้านได้สูง ไม่ต่างกับ กลุ่มซีคอนโฮม ซึ่งมีจุดแข็งจากระบบโครงสร้างบ้านสำเร็จรูปที่ช่วยประหยัดแรงงานและลดต้นทุนทำให้การเข้าสู่ตลาดต่ำกว่า 3 ล้านบาทได้ไม่ยากเย็นนัก
ที่จะหนักหนาสำหรับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เตรียมก้าวเข้ามาชิงแชร์ในตลาดนี้ในอนาคต เห็นจะเป็นเรื่องของการลดต้นทุนงานก่อสร้าง แรงงาน และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งหากรายใดที่ต้องการเข้าสู่ตลาดนี้อย่างจริงจังยังไม่มีการลงทุนระบบก่อสร้างสำเร็จรูป เห็นทีต้องมีการควักเงินทุน หรือระดมทุนก้อนใหญ่เพื่อลงทุนตั้งโรงงานผลิตโครงสร้างสำเร็จรูปเพื่อปูทางก้าวเข้ามาสู่ตลาดนี้กันในอนาคต ซึ่งต้องจับตาดูว่าในระยะอันใกล้นี้ผู้ประกอบการรายใดจะทุ่มทุนตั้งโรงงาน หรือเซ็นคอนแท็กใช้บริการบริษัทโครงสร้างสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในอนาคตเป็นรายต่อไป
ในจำนวน 10% ที่กลุ่มบริษัทรับสร้างบ้านต่างชิงแชร์กันอยู่ในขณะนี้ส่วนใหญ่ เป็นตลาดบ้านสร้างเองในระดับราคา 3-7 ล้านบาท ที่เรียกได้ว่าเป็นตลาดแรดโอเซี่ยน ที่มีการแข่งขันสูงมาก ในบางปีเพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้าที่วางไว้ มีผู้ประกอบการหลายๆ รายถึงกับจัดแคมเปญ มอบส่วนลดสูงกว่า 20% เข้าขั้นสงครามราคา ซึ่งถือเป็นการแข่งขันที่ดุเดือดเอามาก ๆ อย่างไรก็ตามในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าการแข่งขันของตลาดรับสร้างบ้านจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ราคาวัสดุก่อสร้างปรับตัวสูงขึ้นทำห้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว
จากสถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการขยายตัวของบริษัทรับสร้างบ้านในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในตลาดระดับ 3-7 ล้านบาท ในขณะที่ดีมานด์ในกลุ่มตลาดดังกล่าวกลับไม่กระเตื้องจากปีก่อนๆ ที่ผ่านมาเลยก็ว่าได้
โดยก่อนหน้านี้ นายสุธี เกตุศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวท์ ทูบิวด์ จำกัด ในเครือซีคอนกรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ตลาดรับสร้างบ้านในปี 2554 นี้อาจไม่เติบโตจากปีก่อน หรือบางทีอาจจะหดตัวลงจากปี 2553 ก็เป็นได้ เนื่องจากกลุ่มลูกค้าชะลอการตัดสินใจสร้างบ้านลงเพราะแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจความสามารถในการผ่อน และกำลังซื้อของตนเอง
ขณะที่ นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด ผู้ให้บริการแฟรนไชส์ พีดี เฮาส์ หรือ ศูนย์รับสร้างบ้านในรูปแบบแฟรนไชส์ของ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 นี้ บริษัทมียอดเซ็นสัญญารวมต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ โดยทั้งปีตั้งเป้าว่าจะมียอดจองและเซ็นสัญญาสร้างบ้านประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เมื่อผ่านมาแล้ว 4 เดือนบริษัทมียอดขายเพียง 270 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่าตลาดรวมรับสร้างบ้านในปีนี้ไม่ได้เติบโตจากปีที่แล้วตามคาดการณ์
ด้านนางสาวศุภิชชา ชัยพิพัฒน์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ซีคอน จำกัด กล่าวว่า ช่วงไตรมาสแรกของปีตลาดรับสร้างบ้านใน กทม.และปริมณฑลหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าเล็กน้อย โดย 4 เดือนแรกที่ผ่านมา ซีคอนโฮมมียอดจองซื้อบ้าน 360 ล้านบาท และมียอดเซ็นสัญญา 300 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2553 ประมาณ 5-6% แต่เมื่อเทียบยอดจองซื้อเฉพาะในเดือนเมษายนของปีนี้กับปีที่แล้วหดตัวลง10%
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการรับสร้างบ้านรายใหญ่ในตลาดทั้ง 3 บริษัท สะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีว่าตลาดรับสร้างบ้านในปีนี้ยังคงทรงตัวจากปีก่อนหน้า ในขณะที่การแข่งขันยังคงรุนแรงต่อเนื่อง จากการเพิ่มขึ้นของบริษัทรับสร้างบ้านรายใหมๆ และการจัดแคมเปญต่างๆ ของผู้ประกอบการรายเดิมๆ
จากแนวโน้มตลาดรับสร้างบ้านระดับ 3-7 ล้านบาทข้างต้น ทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ ซึ่งมีการจัดเก็บข้อมูล และศึกษาพฤติกรรมลูกค้าอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าในตลาดและพบว่า ด้วยต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ผนวกกับเงินเฟอ้ที่ปรับตัวทำให้กำลังซื้อของลูกค้าในตลาดมีอยู่จำกัด โดยกว่า 90% เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อต่ำกว่า 3 ล้านบาทลงมา ซึ่งกว่า 70 % ในตลาดต่ำกว่า 3 ล้านบาทนั้นเป็นดีมานด์ในตลาดบ้านต่ำกว่า 2 ล้านบาท
จากผลวิเคาระห์ดังกล่าวทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ๆ เริ่มให้ความสำคัญกลุ่มลูกค้าบ้านสร้างเองระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาทในพื้นที่กทม.และปริมณฑล เพื่อหนีการแข่งขันที่สูงของตลาดเดิม ตลอดจนเป็นการขยายฐานลูกค้าเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการขยายสาขาออกไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น
โดยก่อนหน้านี้ บริษัท ปทุมดีไชน์ฯถือเป็นบริษัทแรกๆ ที่ขยายตลาดออกไปจับกลุ่มตลาดต่างจังหวัดด้วยการเปิดตัวแฟรนไชส์ รับส้ราง้บานภายใต้แบรนด์ พีดีเฮ้าส์ ซึ่งล่าสุด ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านอีกรายที่เริ่มขยายตลาดออกไปอีกรายคือ บริษัท แลนดี้ โฮม ซึ่งได้เปิดตัวแฟรนไชส์ ภายใต้แบรนด์ ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮมอีกราย
ในขณะที่ ทั้งแลนดี้ โฮม และ พีเฮาส์ ขยายตลาดไปสู่ต่างจังหวัดอยู่นั้น กลุ่มซีคอน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าตลาดรับสร้างบ้านในปัจจุบันก็ปรับตัวด้วยการขยายตลาดลงมาจับกลุ่มลูกค้าในตลาดบ้านสร้างเองระดับ 1-2 ล้านบาท โดยบริษัทท ลูกอย่าง บิวท์ ทู บิวด์ จำกัด นั้นได้เปิดตัว บริษัท สมอลล์เฮ้าส์ บิวเดอร์ จำกัด ที่ลงมาจับกลุ่มตลาดรับสร้างบ้าน 1-2 ล้านบาท ซึ่งเปิดตัวเพียงแค่ 2 เดือนก็มียอดจองเซ็นสัญญาสร้างบ้านกว่า 70 หลัง หลังจากกลุ่มซีคอนโยนหินถามทางด้วยการส่งบริษัทลูกในเครืออย่างบิวท์ ทูบิวด์ ลงมาเล่นในตลาดล่างไปไม่นาน ก็พบว่ามาถูกทางแล้ว ทำให้ล่าสุด กลุ่มซีคอน ได้ตัดสินใจเปิดตัว บริษัท บัดเจท โฮม จำกัด ลงมาทำตลาดต่ำกว่า 1 ล้านบาทด้วยค่าก่อสร้างบ้าน 2 ชั้นในราคาเริ่มต้นเพียง 990,000บาท
การเปิดตัวบริษัทลูก เข้ามาจับตลาดล่างระดับราคา 1-2 ล้านบาทของกลุ่มซีคอน พี่ใหญ่ในธุรกิจรับสร้างบ้านนั้น เชื่อว่าจะสร้างแรงสั่นทะเทือนวงการธุรกิจรับสร้างบ้านในปีนี้ได้ไม่น้อย เพราะเพียงแค่เปิดตัวบริษัทลูกไม่ถึง 3 เดือนก็มียอดขายกระฉูด แถมยังมั่นใจว่าด้วยกำลังของบริษัทลูกที่เปิดใหม่ทั้ง 2 บริษัทดังกล่าวจะทำให้ในปีนี้ ยอดขายของกลุ่มซีคอนจะแตะ 1,500 ล้านบาทแน่นอน
การมองเห็นช่องว่างทางตลาดของพี่ใหญ่ “ซีคอน” ครั้งนี้ สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่าตลาดบ้านสร้างเอง 1-2 ล้านบาท และบ้านต่ำกว่า 1 ล้านบาทนั้น มีความต้องการที่สูงและมีโอกาสขยายตัวอย่างมาก และยิ่งเป็นการยืนยันได้อย่างดีเมื่อ “พีดี เฮ้าส์” เองก็เตรียมกระโดดเข้าร่วมแชร์ดีมานด์ในตลาดดังกล่าว โดยก่อนหน้านั้น ศูนย์รับสร้างบ้าน พีดี เฮ้าส์ ที่ปีนี้วางเป้าขยายสาขาครบ 28 แห่ง ก็เตรียมตัวเปิดแฟรนไชส์แบรนด์ใหม่อีก 1 แบรนด์โดยเฉพาะเพื่อจับตลาดรับสร้างบ้านระดับราคา 8 แสนบาทถึง 2 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีความต้องการสูงแต่ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ประกอบการเข้ามาจับตลาดนี้มากนัก คาดว่าจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดรับสร้างบ้านระดับ 1-2 ล้านบาท และต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะเป็นตลาดที่เชื่อว่ากำลังอยู่ในความสนใจและหอมหวนสำหรับผู้ประกอบการรับสร้างบ้านแต่การที่จะก้าวเข้ามาสู่ตลาดดังกล่าวได้ก็ใช่ว่าจะง่ายดาย เนื่องจากต้นทุนวัสดุก่อสร้างและค่าแรงงาน รวมถึงต้นทุนก่อสร้างที่ถีบตัวขึ้นทุกวันทำให้ผู้ประกอบการรับสร้างบ้านที่ต้องการกว้าลงมาเล่นในตลาดนี้ ต้องคิดหนัก ในการรับมือกับต้นุทนที่เพิ่มขึ้น
ส่วนกรณีของ 4 รายแรกที่เข้ามาเล่นในตลาดนี้ได้ก็เพราะมีเทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูปเป็นเครื่องมือหลักในการลดต้นทุนประกอบกับจำนวนงานสร้างบ้านในแต่ละปีค่อนข้างสูง ทำให้มีอำนาจการต่อรองกับซับพลายเดอร์วัสดุก่อสร้างสูง และช่วยให้สามารถซื้อวัสดุก่อสร้างในราคาที่พิเศษกว่าคู่แข่ง โดยในรายของ “พีดี เฮ้าส์” นั้นก่อนหน้าได้ทำคอนแท็กกับบริษัทโครงการส้รางบ้านสำเร็จรูปเพื่อลดต้นทุนการก่อสร้างทำให้สามารถรุกสู่ตลาดต่างจังหวัดได้ และล่าสุดเตรียมซื้อเครื่องจักรผลิตบ้านโครงสร้างเหล็กสำเร็จรูปก่อสร้างโรงงานเพื่อรองรับการขยายตลวาดลงไปในตลาดระดับ 800,000 -2,00,000 บาทในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
ในขณะที่ “แลนดี้ โฮม” เองก็มีระบบก่อสร้างสำเร็จรูป Nova Sytem ซึ่งช่วยเซฟต้นทุนการสร้างบ้านได้สูง ไม่ต่างกับ กลุ่มซีคอนโฮม ซึ่งมีจุดแข็งจากระบบโครงสร้างบ้านสำเร็จรูปที่ช่วยประหยัดแรงงานและลดต้นทุนทำให้การเข้าสู่ตลาดต่ำกว่า 3 ล้านบาทได้ไม่ยากเย็นนัก
ที่จะหนักหนาสำหรับผู้ประกอบการรายอื่นๆ ที่เตรียมก้าวเข้ามาชิงแชร์ในตลาดนี้ในอนาคต เห็นจะเป็นเรื่องของการลดต้นทุนงานก่อสร้าง แรงงาน และวัสดุก่อสร้าง ซึ่งหากรายใดที่ต้องการเข้าสู่ตลาดนี้อย่างจริงจังยังไม่มีการลงทุนระบบก่อสร้างสำเร็จรูป เห็นทีต้องมีการควักเงินทุน หรือระดมทุนก้อนใหญ่เพื่อลงทุนตั้งโรงงานผลิตโครงสร้างสำเร็จรูปเพื่อปูทางก้าวเข้ามาสู่ตลาดนี้กันในอนาคต ซึ่งต้องจับตาดูว่าในระยะอันใกล้นี้ผู้ประกอบการรายใดจะทุ่มทุนตั้งโรงงาน หรือเซ็นคอนแท็กใช้บริการบริษัทโครงสร้างสำเร็จรูปเข้ามาใช้ในอนาคตเป็นรายต่อไป