ASTVผู้จัดการรายวัน - บอร์ดการบินไทยไฟเขียวตั้งหน่วยธุรกิจผุด "ไทยประหยัด" คาดเปิดบิน เม.ย.55 แทน "ไทยไทเกอร์" ที่ส่อแววแท้ง "อำพน"ยันเป็นของการบินไทย100% ไม่ต้องขออนุมัติลงทุนจากคมนาคม เหตุไม่ใช้งบเพราะเช่าเครื่องบิน ฟุ้งปีแรกมีกำไร เล็งลดบินในประเทศแบ่งให้สายการบินใหม่ โอดเสียเวลา2ปีถูกแย่งตลาด
นายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (20 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้บริษัทเริ่มดำเนินการจัดตั้งสายการบินภูมิภาค (THAI Regional Airline) ดำเนินการในรูปแบบสายการบินต้นทุนประหยัด และตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของบริษัทขึ้นมาดูแลเฉพาะโดยจะเป็น Sub-brand
ของการบินไทยทำการบินเส้นทางในประเทศและในภูมิภาคบนพื้นฐานต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยกำหนดเปิดให้บริการในเดือนเม.ย.2555 ใช้เครื่องบินขนาด150ที่นั่งในปีแรกจำนวน7ลำ โดย5ลำจะเช่าเครื่องบินโบอิ้้ง B737 ของการบินไทยและเพิ่มเป็น11ลำภายใน3ปี โดยให้ทำรายละเอียดแผนธุรกิจเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมสัมมนาปรับแผนยุทธศาสตร์ในวันที่ 11มิ.ย.นี้
"การบินไทยเป็นเจ้าของ"สายการบินไทยประหยัด"100% แต่จะแยกการบริหารจัดการออกจาบริษัทอย่างเด็ดขาด ซึ่งการจัดตั้งนี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี2554-2560ที่บอร์ดเห็นชอบเมื่อเดือนพ.ย.2553 และไม่ต้องเสนอขออนุมัติการลงทุนจากกระทรวงคมนาคมแต่อย่างใดเพราะเครื่องบินจะเช่าจากการบินไทยส่วนพนักงานจะมาจากบริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัดซึ่งทำหน้าที่รับพนักงาน outsource ให้การบินไทย และใช้นักบินของการบินไทยที่เกษียณอายุแล้วแต่ใบอนุญาตการบินยังสามารถบินได้จนถึงอายุ65ปี เป็นหน่วยธุรกิจของบริษัทเหมือนครัวการบินและฝ่ายช่างการบริหารจะมีความคล่องตัว กำหนดเส้นทางบินที่จะครอบคลุมทุกเส้นทางที่สายการบินคู่แข่งให้บริการทั้งในและต่างประเทศ เช่น เชียงใหม่,ภูเก็ต,สิงคโปร์ ,มาเก๊า, ฮ่องกง และบังกะลอร์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องวางแผนรายละเอียดเส้นทางบิน ซึ่งอาจจะลดเที่ยวบินในเส้นทางในประเทศลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะมี Cabin Factor 70-80% มีกำไรตั้งแต่ปีแรก
ทั้งนี้ สายการบินต้นทุนประหยัดจะมีการประกวดเพื่อตั้งชื่อเช่น สายการบินไทย วิง ,ไทย ซิลด์,ไทย ฟราย เป็นต้น
ส่วนการจัดตั้งสายการบิน"ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส"นั้น นายอำพนกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาร่วมทุน ตามเงื่อนไขการลงนามความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ที่การบินไทย ทำร่วมกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จากเดิมที่จะหมดในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ออกไปอีก 3 เดือน ให้สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม ซึ่งในระหว่างอยู่ระหว่างรอการอนุมัติลงทุน หากไม่ได้รับอนุมัติก็คงไม่เดินหน้าต่อ
"ก่อนหน้านี้ไทยไทเกอร์ดีที่สุดหากเร่งตั้งเพื่อแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดคืนแต่หลายเดือนผ่านไปยังเปิดบินไม่ได้เพราะมีอุปสรรคขั้นตอนการจัดตั้ง 6เดือนยังตั้งไม่ได้ตอนนี้เรารอไม่ได้เพราะเสียหายมา 2 ปีแล้ว" นายอำพนกล่าวและว่า สายการบินต้นทุนประหยัดของการบินไทย จะอยู่ในระดับกลาง ไม่ใช่ระดับล่าง และก็ไม่ใช่ระดับเดียวกันกับสายการบินนกแอร์ เพราะนกแอร์ จะให้บริการเฉพาะในประเทศใช้สนามบินดอนเมืองเป็นฐาน ส่วนสายการบินใหม่จะให้บริการไปต่างประเทศด้วย โดยจะมีอาหารบริการในลักษะเดียวกันกับนกแอร์ หรือบางเส้นทางที่มีการแข่งขันสูงอาจจะมีน้ำเพียงขวดเดียวเพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานก็ได้.
นายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมวานนี้ (20 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติให้บริษัทเริ่มดำเนินการจัดตั้งสายการบินภูมิภาค (THAI Regional Airline) ดำเนินการในรูปแบบสายการบินต้นทุนประหยัด และตั้งหน่วยธุรกิจ (Business Unit) ของบริษัทขึ้นมาดูแลเฉพาะโดยจะเป็น Sub-brand
ของการบินไทยทำการบินเส้นทางในประเทศและในภูมิภาคบนพื้นฐานต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยกำหนดเปิดให้บริการในเดือนเม.ย.2555 ใช้เครื่องบินขนาด150ที่นั่งในปีแรกจำนวน7ลำ โดย5ลำจะเช่าเครื่องบินโบอิ้้ง B737 ของการบินไทยและเพิ่มเป็น11ลำภายใน3ปี โดยให้ทำรายละเอียดแผนธุรกิจเสนอบอร์ดอีกครั้งในการประชุมสัมมนาปรับแผนยุทธศาสตร์ในวันที่ 11มิ.ย.นี้
"การบินไทยเป็นเจ้าของ"สายการบินไทยประหยัด"100% แต่จะแยกการบริหารจัดการออกจาบริษัทอย่างเด็ดขาด ซึ่งการจัดตั้งนี้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ปี2554-2560ที่บอร์ดเห็นชอบเมื่อเดือนพ.ย.2553 และไม่ต้องเสนอขออนุมัติการลงทุนจากกระทรวงคมนาคมแต่อย่างใดเพราะเครื่องบินจะเช่าจากการบินไทยส่วนพนักงานจะมาจากบริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัดซึ่งทำหน้าที่รับพนักงาน outsource ให้การบินไทย และใช้นักบินของการบินไทยที่เกษียณอายุแล้วแต่ใบอนุญาตการบินยังสามารถบินได้จนถึงอายุ65ปี เป็นหน่วยธุรกิจของบริษัทเหมือนครัวการบินและฝ่ายช่างการบริหารจะมีความคล่องตัว กำหนดเส้นทางบินที่จะครอบคลุมทุกเส้นทางที่สายการบินคู่แข่งให้บริการทั้งในและต่างประเทศ เช่น เชียงใหม่,ภูเก็ต,สิงคโปร์ ,มาเก๊า, ฮ่องกง และบังกะลอร์ เป็นต้น ซึ่งจะต้องวางแผนรายละเอียดเส้นทางบิน ซึ่งอาจจะลดเที่ยวบินในเส้นทางในประเทศลงแบบค่อยเป็นค่อยไป คาดว่าจะมี Cabin Factor 70-80% มีกำไรตั้งแต่ปีแรก
ทั้งนี้ สายการบินต้นทุนประหยัดจะมีการประกวดเพื่อตั้งชื่อเช่น สายการบินไทย วิง ,ไทย ซิลด์,ไทย ฟราย เป็นต้น
ส่วนการจัดตั้งสายการบิน"ไทยไทเกอร์ แอร์เวย์ส"นั้น นายอำพนกล่าวว่า ที่ประชุมมีมติให้ต่ออายุสัญญาร่วมทุน ตามเงื่อนไขการลงนามความเข้าใจร่วมกัน (เอ็มโอยู) ที่การบินไทย ทำร่วมกับไทเกอร์ แอร์เวย์ส จากเดิมที่จะหมดในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้ ออกไปอีก 3 เดือน ให้สิ้นสุดในเดือนสิงหาคม ซึ่งในระหว่างอยู่ระหว่างรอการอนุมัติลงทุน หากไม่ได้รับอนุมัติก็คงไม่เดินหน้าต่อ
"ก่อนหน้านี้ไทยไทเกอร์ดีที่สุดหากเร่งตั้งเพื่อแข่งขันแย่งส่วนแบ่งตลาดคืนแต่หลายเดือนผ่านไปยังเปิดบินไม่ได้เพราะมีอุปสรรคขั้นตอนการจัดตั้ง 6เดือนยังตั้งไม่ได้ตอนนี้เรารอไม่ได้เพราะเสียหายมา 2 ปีแล้ว" นายอำพนกล่าวและว่า สายการบินต้นทุนประหยัดของการบินไทย จะอยู่ในระดับกลาง ไม่ใช่ระดับล่าง และก็ไม่ใช่ระดับเดียวกันกับสายการบินนกแอร์ เพราะนกแอร์ จะให้บริการเฉพาะในประเทศใช้สนามบินดอนเมืองเป็นฐาน ส่วนสายการบินใหม่จะให้บริการไปต่างประเทศด้วย โดยจะมีอาหารบริการในลักษะเดียวกันกับนกแอร์ หรือบางเส้นทางที่มีการแข่งขันสูงอาจจะมีน้ำเพียงขวดเดียวเพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานก็ได้.