การบินไทยรอรัฐบาลใหม่ ดันตั้ง”ไทยไทเกอร์ฯ”หลังเลือกตั้ง “ปิยสวัสดิ์”ชี้แผนตั้งบริษัทร่วมทุนยังอยู่ในกรอบสัญญาร่วมทุน ระบุตอนนี้ยังไม่ถึงขั้นตอนขอใบอนุญาตเปิดบินจาก บพ. และไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลทุกอย่าง โดยเฉพาะที่เป็นความลับทางธุรกิจ ยอมรับวิกฤติญี่ปุ่นกระทบผลประกอบการ Q1/54 เหตุรายได้หด 5% จากผู้โดยสารไปญี่ปุ่นที่ลดลงกว่า 50%
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งสายการบิน ไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ว่า ขณะนี้การจัดตั้งและแผนการดำเนินการต่างๆ ของไทยไทเกอร์ฯยังอยู่ในกรอบที่กำหนดในสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ กับไทเกอร์แอร์เวยส์ ซึ่งเห็นว่า เรื่องการจัดตั้งไทยไทเกอร์ฯไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนที่ต้องเร่งพิจารณาก่อนที่จะมีการยุบสภา ดังนั้นเรื่องนี้สามารถรอนโยบายรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งได้
ส่วนการที่กรมการบินพลเรือน (บพ.) ระบุว่าข้อมูลในการดำเนินการของสายการบินไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ ที่การบินไทยจะจัดส่งไปนั้นไม่เพียงพอในการพิจารณานั้น เห็นว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาประเด็นดังกล่าวคงต้องตรวจสอบอำนาจตามกฎหมายของตนเองให้ดีว่าผิดขั้นตอนหรือไม่ เนื่องจากขั้นตอนขณะนี้จะต้องจัดตั้งบรำทร่วมทุนให้เรียบร้อยก่อนถึงจะเป็นขั้นตอนยื่นขออนุญาตด้านการบิน
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า ในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งไทยไทเกอร์ฯ นั้นได้กำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจนว่าจะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเมื่อไร และจะเปิดบินเมื่อไร ซึ่งยืนยันว่าตอนนี้ยังอยู่ในกำหนดไม่ล่าช้าแต่อย่างใดและขณะนี้บริษัทฯมีภารกิจที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการมากกว่า
โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การบินไทยได้นามในสัญญาร่วมทุน ( Shareholders’ Agreement ) กับผู้ถือหุ้นตั้งสายการบินไทยไทเกอร์ฯ และขั้นตอนจากต่อไป คือ รอการอนุมัติงบลงทุนจากกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมระบุว่า บพ.รายงานเบื้องต้นว่าข้อมูลของการบินไทยไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะแผนธุรกิจ เส้นทางการบินและสิทธิการบินต่างๆ ซึ่งบางเส้นทางนั้นการบินไทยให้บริการอยู่จะเกิดการทับซ้อนและสิทธิการบิน
***ลดเที่ยวบินญี่ปุ่นผู้โดยสารหายกว่า50%
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การเกิดภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการให้บริการของการบินไทยเป็นอย่างมาก โดยบริษัทต้องลดเที่ยวบินไปญี่ปุ่นเหลือ 1 เที่ยวบินต่อวันจากปกติ 2 เที่ยวบินต่อวัน และจำนวนผู้โดยสารลดลงไปกว่า 50% จากปกติที่ในช่วงนี้ เที่ยวบินไปญี่ปุ่นจะมีที่นั่งว่างประมาณ 10% เท่านั้น ส่งผลให้รายได้ลดลงประมาณ 5% ต่อวัน ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่า สถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อใด ซึ่งจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง จะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทฯในไตรมาส 1/54 ไม่ค่อยดีเท่าไร ส่วนไตรมาส 2/54 นั้น หากไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้น เชื่อว่า ผลประกอบการน่าจะอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ญี่ปุ่นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนในการฟื้นฟูเรื่องท่องเที่ยว ซึ่งหากถึงช่วงเวลานั้นแล้ว ผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว ก็คงจะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งผู้โดยสารเส้นทางญี่ปุ่นที่หายไปนั้นส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปเที่ยวจีน, เกาหลีแทนและมีบางส่วนที่ยกเลิกการท่องเที่ยวไปเลย “นายปิยสวัสดิ์กล่าว
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดตั้งสายการบิน ไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ว่า ขณะนี้การจัดตั้งและแผนการดำเนินการต่างๆ ของไทยไทเกอร์ฯยังอยู่ในกรอบที่กำหนดในสัญญาร่วมทุนระหว่างบริษัทฯ กับไทเกอร์แอร์เวยส์ ซึ่งเห็นว่า เรื่องการจัดตั้งไทยไทเกอร์ฯไม่ใช่นโยบายเร่งด่วนที่ต้องเร่งพิจารณาก่อนที่จะมีการยุบสภา ดังนั้นเรื่องนี้สามารถรอนโยบายรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้งได้
ส่วนการที่กรมการบินพลเรือน (บพ.) ระบุว่าข้อมูลในการดำเนินการของสายการบินไทยไทเกอร์ แอร์เวยส์ ที่การบินไทยจะจัดส่งไปนั้นไม่เพียงพอในการพิจารณานั้น เห็นว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาประเด็นดังกล่าวคงต้องตรวจสอบอำนาจตามกฎหมายของตนเองให้ดีว่าผิดขั้นตอนหรือไม่ เนื่องจากขั้นตอนขณะนี้จะต้องจัดตั้งบรำทร่วมทุนให้เรียบร้อยก่อนถึงจะเป็นขั้นตอนยื่นขออนุญาตด้านการบิน
นายปิยสวัสดิ์กล่าวว่า ในสัญญาร่วมทุนจัดตั้งไทยไทเกอร์ฯ นั้นได้กำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจนว่าจะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเมื่อไร และจะเปิดบินเมื่อไร ซึ่งยืนยันว่าตอนนี้ยังอยู่ในกำหนดไม่ล่าช้าแต่อย่างใดและขณะนี้บริษัทฯมีภารกิจที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการมากกว่า
โดยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา การบินไทยได้นามในสัญญาร่วมทุน ( Shareholders’ Agreement ) กับผู้ถือหุ้นตั้งสายการบินไทยไทเกอร์ฯ และขั้นตอนจากต่อไป คือ รอการอนุมัติงบลงทุนจากกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมระบุว่า บพ.รายงานเบื้องต้นว่าข้อมูลของการบินไทยไม่ครบถ้วนโดยเฉพาะแผนธุรกิจ เส้นทางการบินและสิทธิการบินต่างๆ ซึ่งบางเส้นทางนั้นการบินไทยให้บริการอยู่จะเกิดการทับซ้อนและสิทธิการบิน
***ลดเที่ยวบินญี่ปุ่นผู้โดยสารหายกว่า50%
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวว่า การเกิดภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการให้บริการของการบินไทยเป็นอย่างมาก โดยบริษัทต้องลดเที่ยวบินไปญี่ปุ่นเหลือ 1 เที่ยวบินต่อวันจากปกติ 2 เที่ยวบินต่อวัน และจำนวนผู้โดยสารลดลงไปกว่า 50% จากปกติที่ในช่วงนี้ เที่ยวบินไปญี่ปุ่นจะมีที่นั่งว่างประมาณ 10% เท่านั้น ส่งผลให้รายได้ลดลงประมาณ 5% ต่อวัน ซึ่งยังไม่สามารถบอกได้ว่า สถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติเมื่อใด ซึ่งจำนวนผู้โดยสารที่ลดลง จะส่งผลต่อผลประกอบการของบริษัทฯในไตรมาส 1/54 ไม่ค่อยดีเท่าไร ส่วนไตรมาส 2/54 นั้น หากไม่มีเหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเกิดขึ้น เชื่อว่า ผลประกอบการน่าจะอยู่ในระดับที่ดีเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
“ญี่ปุ่นอาจจะต้องใช้ระยะเวลาอีกหลายเดือนในการฟื้นฟูเรื่องท่องเที่ยว ซึ่งหากถึงช่วงเวลานั้นแล้ว ผู้โดยสารในเส้นทางดังกล่าว ก็คงจะกลับมาเหมือนเดิม ซึ่งผู้โดยสารเส้นทางญี่ปุ่นที่หายไปนั้นส่วนหนึ่งเปลี่ยนไปเที่ยวจีน, เกาหลีแทนและมีบางส่วนที่ยกเลิกการท่องเที่ยวไปเลย “นายปิยสวัสดิ์กล่าว