นับตั้งแต่ประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง ด้วยรูปแบบ และวิธีการเลือกตั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน ตามบทบัญญัติของกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในแต่ละยุคสมัย เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2476 มาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีการเลือกตั้งมาแล้วทั้งหมด 26 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476) ครั้งที่ 2 (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480) ครั้งที่ 3 (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481) ครั้งที่ 4 (6 มกราคม พ.ศ. 2489)
ครั้งที่ 5 (5 สิงหาคม พ.ศ. 2489) ครั้งที่ 6 (29 มกราคม พ.ศ. 2491) ครั้งที่ 7 (5 มิถุนายน พ.ศ. 2492) ครั้งที่ 8 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) ครั้งที่ 9 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) ครั้งที่ 10 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2500) ครั้งที่ 11 (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) ครั้งที่ 12 (26 มกราคม พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 13 (4 เมษายน พ.ศ. 2519) ครั้งที่ 14 (22 เมษายน พ.ศ. 2522) ครั้งที่ 15 (18 เมษายน พ.ศ. 2526) ครั้งที่ 16 (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529) ครั้งที่ 17 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) ครั้งที่ 18 (22 มีนาคม พ.ศ. 2535) ครั้งที่ 19 (13 กันยายน พ.ศ. 2535) ครั้งที่ 20 (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) ครั้งที่ 21 (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) ครั้งที่ 22 (6 มกราคม พ.ศ. 2544) ครั้งที่ 23 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) ครั้งที่ 24 (2 เมษายน พ.ศ. 2549) ครั้งที่ 25 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครั้งที่ 26 (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
การเลือกตั้งในประเทศไทยที่กล่าวมาทั้งหมด รวมถึงปัจจุบันที่กำลังจะมีขึ้น ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 26 พอจะแบ่งได้เป็น 3 ยุคสมัย คือ (1) เป็นการเลือกตั้งในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อถ่ายโอนอำนาจการปกครองที่มีมาแต่เดิมอันเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่มือของบรรดาขุนนาง อำมาตย์ และตัวแทนราษฎร (ตั้งแต่ปี 2476-2500) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 1-10
(2) เป็นการเลือกตั้งในยุคอำนาจเผด็จการทหาร โดยนับตั้งแต่ยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร สลับกับการเลือกตั้งยุคประชาธิปไตยแตกหน่อ (ตั้งแต่ปี 2500-2535) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 11-19 (3) เป็นการเลือกตั้งในยุคทุนนิยมผูกขาดกับขุนนางนักการเมือง ที่เติบโต และเข้มแข็งภายหลังการล่มสลายของอำนาจขุนนาง อำมาตย์ และเผด็จการทหาร (ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบัน) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 20-26
การเลือกตั้งในยุคที่ (1) - (2) เป็นการเลือกตั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองที่พระมหากษัตริย์ ได้สละอำนาจการปกครองแก่ราษฎรเป็นการทั่วไป การใช้อำนาจ และอิทธิพลทางการเงินเป็นเครื่องมือเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง แม้จะมีการใช้อำนาจก็ยังมิได้รุนแรง การทุจริตคอร์รัปชัน และการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ก็ยังมิได้หนักหน่วงรุนแรงเทียบเท่าปัจจุบัน การเมืองและการเลือกตั้ง มุ่งไปในการต่อสู้ เพื่อยึดกุมอำนาจการปกครองเป็นหลัก การแข่งขันในเชิงนโยบาย ยังเป็นไปในลักษณะเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาบ้านเมือง ไม่มีนโยบายประชานิยมที่ลด แลก แจก แถม ผลาญงบประมาณแผ่นดินมโหฬารอย่างปัจจุบัน แม้จะมีการโกงการทุจริตก็ยังอยู่ในวงเงิน และมูลค่าไม่สูงเหมือนยุคนี้ ไม่ค่อยมีโครงการที่เป็นเมกะโปรเจกต์นับหมื่นนับแสนล้านล้านบาท อย่างมากก็อยู่ในวงเงินร้อยล้าน
การเลือกตั้งที่ (3) ถึงปัจจุบัน เป็นการเลือกตั้งที่มีความตกต่ำ และสามานย์ที่สุด เพราะเป็นการเข้าสู่ยุคที่กลุ่มทุนผูกขาดขนาดใหญ่ มีอำนาจครอบงำการเมือง การเลือกตั้งของประเทศอย่างเป็นระบบและครบวงจร ภายใต้ข้ออ้างของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ มีการใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และนักการเมือง นักเลือกตั้ง ต่างทุ่มเงินมหาศาลเพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งขัน การเมืองการเลือกตั้งกลายเป็นการลงทุน และเป็นธุรกิจการเมืองที่ให้ผลกำไรทันตาเห็น ขอเพียงให้ได้เป็นรัฐบาล และยึดกุมอำนาจการปกครองได้ เมื่อการเมืองระบอบนี้ต้องอาศัยมือของ ส.ส.ในสภายกมือสนับสนุนการเป็นนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลทุกพรรคจึงต้องทุ่มสรรพกำลังเพื่อให้ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุด การลงทุนเพื่อการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้นมาตลอดยุคสมัยของการเลือกตั้งในยุคที่ 3 นี้
ทักษิณ ชินวัตร ตัวแทนของกลุ่มทุนผูกขาดคนแรก ที่ก้าวเข้าสู่การเมืองการเลือกตั้ง โดยการตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้นมา แทนการเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมือง และนักการเมืองอยู่เบื้องหลังเหมือนในอดีต ได้กลายเป็นต้นแบบของการเมือง การเลือกตั้งแบบธนาธิปไตย คือใช้เงินเป็นใหญ่ เอาเงินซื้ออำนาจ และเอาอำนาจไปแสวงหาเงิน และผลประโยชน์ การโกงการทุจริตในยุคสมัยปัจจุบัน จึงมีมูลค่านับหมื่นแสนล้าน นักการเมือง นักเลือกตั้ง ที่เข้ามามีอำนาจในยุคต่อจากทักษิณ จึงเลียนแบบ และหากินกับการโกง การทุจริตในโครงการใหญ่ๆ ดังที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
พิจารณาจากพัฒนาการของการเมือง และการเลือกตั้งในประเทศไทยจาก พ.ศ. 2476 มาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นพัฒนาการที่เลวลง การเลือกตั้งเป็นเพียงรูปแบบ และวิธีการเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง ตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ นักการเมืองประเภทโกงกิน ทุจริต คอร์รัปชันที่ไร้ซึ่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย หาคนดีที่มีคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริต ที่จริงใจต่อชาติบ้านเมืองไม่ได้เลย และการเลือกตั้งยังเต็มไปด้วยการทุจริต คดโกง ไม่มีความโปร่งใสหนักหน่วงกว่าเดิม ได้บุคลากรที่ผ่านการเลือกตั้งก็ไร้คุณภาพ จึงนับว่าเป็นความล้มเหลวของประเทศไทย ในรอบ 79 ปี ของการเมืองการเลือกตั้งในประเทศไทย
การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่มีอนาคตและเป็นความหวังให้กับประเทศชาติได้เลย ไม่ใช่ทางเลือก และไม่ใช่คำตอบที่ดีแก่ประชาชน มันเป็นเพียงพิธีกรรมทางการเมืองอันสามานย์ที่หลอกลวงต้มตุ๋นประชาชนไทยให้เคลิบเคลิ้ม หลงใหลไปกับระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมเท่านั้นเอง
ครั้งที่ 5 (5 สิงหาคม พ.ศ. 2489) ครั้งที่ 6 (29 มกราคม พ.ศ. 2491) ครั้งที่ 7 (5 มิถุนายน พ.ศ. 2492) ครั้งที่ 8 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) ครั้งที่ 9 (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500) ครั้งที่ 10 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2500) ครั้งที่ 11 (10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512) ครั้งที่ 12 (26 มกราคม พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 13 (4 เมษายน พ.ศ. 2519) ครั้งที่ 14 (22 เมษายน พ.ศ. 2522) ครั้งที่ 15 (18 เมษายน พ.ศ. 2526) ครั้งที่ 16 (27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529) ครั้งที่ 17 (24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531) ครั้งที่ 18 (22 มีนาคม พ.ศ. 2535) ครั้งที่ 19 (13 กันยายน พ.ศ. 2535) ครั้งที่ 20 (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538) ครั้งที่ 21 (17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539) ครั้งที่ 22 (6 มกราคม พ.ศ. 2544) ครั้งที่ 23 (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548) ครั้งที่ 24 (2 เมษายน พ.ศ. 2549) ครั้งที่ 25 (23 ธันวาคม พ.ศ. 2550) ครั้งที่ 26 (3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554)
การเลือกตั้งในประเทศไทยที่กล่าวมาทั้งหมด รวมถึงปัจจุบันที่กำลังจะมีขึ้น ในวันที่ 3 ก.ค. 2554 ซึ่งถือเป็นการเลือกตั้งครั้งที่ 26 พอจะแบ่งได้เป็น 3 ยุคสมัย คือ (1) เป็นการเลือกตั้งในยุคภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เพื่อถ่ายโอนอำนาจการปกครองที่มีมาแต่เดิมอันเป็นอำนาจของพระมหากษัตริย์จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่มือของบรรดาขุนนาง อำมาตย์ และตัวแทนราษฎร (ตั้งแต่ปี 2476-2500) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 1-10
(2) เป็นการเลือกตั้งในยุคอำนาจเผด็จการทหาร โดยนับตั้งแต่ยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร สลับกับการเลือกตั้งยุคประชาธิปไตยแตกหน่อ (ตั้งแต่ปี 2500-2535) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 11-19 (3) เป็นการเลือกตั้งในยุคทุนนิยมผูกขาดกับขุนนางนักการเมือง ที่เติบโต และเข้มแข็งภายหลังการล่มสลายของอำนาจขุนนาง อำมาตย์ และเผด็จการทหาร (ตั้งแต่ปี 2538 ถึงปัจจุบัน) คือการเลือกตั้งครั้งที่ 20-26
การเลือกตั้งในยุคที่ (1) - (2) เป็นการเลือกตั้งเพื่อแย่งชิงอำนาจการปกครองที่พระมหากษัตริย์ ได้สละอำนาจการปกครองแก่ราษฎรเป็นการทั่วไป การใช้อำนาจ และอิทธิพลทางการเงินเป็นเครื่องมือเพื่อเอาชนะการเลือกตั้ง และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครอง แม้จะมีการใช้อำนาจก็ยังมิได้รุนแรง การทุจริตคอร์รัปชัน และการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ก็ยังมิได้หนักหน่วงรุนแรงเทียบเท่าปัจจุบัน การเมืองและการเลือกตั้ง มุ่งไปในการต่อสู้ เพื่อยึดกุมอำนาจการปกครองเป็นหลัก การแข่งขันในเชิงนโยบาย ยังเป็นไปในลักษณะเสนอแนวทางเพื่อการพัฒนาบ้านเมือง ไม่มีนโยบายประชานิยมที่ลด แลก แจก แถม ผลาญงบประมาณแผ่นดินมโหฬารอย่างปัจจุบัน แม้จะมีการโกงการทุจริตก็ยังอยู่ในวงเงิน และมูลค่าไม่สูงเหมือนยุคนี้ ไม่ค่อยมีโครงการที่เป็นเมกะโปรเจกต์นับหมื่นนับแสนล้านล้านบาท อย่างมากก็อยู่ในวงเงินร้อยล้าน
การเลือกตั้งที่ (3) ถึงปัจจุบัน เป็นการเลือกตั้งที่มีความตกต่ำ และสามานย์ที่สุด เพราะเป็นการเข้าสู่ยุคที่กลุ่มทุนผูกขาดขนาดใหญ่ มีอำนาจครอบงำการเมือง การเลือกตั้งของประเทศอย่างเป็นระบบและครบวงจร ภายใต้ข้ออ้างของระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ มีการใช้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อจัดการเลือกตั้ง พรรคการเมือง และนักการเมือง นักเลือกตั้ง ต่างทุ่มเงินมหาศาลเพื่อให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งขัน การเมืองการเลือกตั้งกลายเป็นการลงทุน และเป็นธุรกิจการเมืองที่ให้ผลกำไรทันตาเห็น ขอเพียงให้ได้เป็นรัฐบาล และยึดกุมอำนาจการปกครองได้ เมื่อการเมืองระบอบนี้ต้องอาศัยมือของ ส.ส.ในสภายกมือสนับสนุนการเป็นนายกฯ และจัดตั้งรัฐบาลทุกพรรคจึงต้องทุ่มสรรพกำลังเพื่อให้ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุด การลงทุนเพื่อการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้นมาตลอดยุคสมัยของการเลือกตั้งในยุคที่ 3 นี้
ทักษิณ ชินวัตร ตัวแทนของกลุ่มทุนผูกขาดคนแรก ที่ก้าวเข้าสู่การเมืองการเลือกตั้ง โดยการตั้งพรรคการเมืองของตนเองขึ้นมา แทนการเป็นผู้สนับสนุนพรรคการเมือง และนักการเมืองอยู่เบื้องหลังเหมือนในอดีต ได้กลายเป็นต้นแบบของการเมือง การเลือกตั้งแบบธนาธิปไตย คือใช้เงินเป็นใหญ่ เอาเงินซื้ออำนาจ และเอาอำนาจไปแสวงหาเงิน และผลประโยชน์ การโกงการทุจริตในยุคสมัยปัจจุบัน จึงมีมูลค่านับหมื่นแสนล้าน นักการเมือง นักเลือกตั้ง ที่เข้ามามีอำนาจในยุคต่อจากทักษิณ จึงเลียนแบบ และหากินกับการโกง การทุจริตในโครงการใหญ่ๆ ดังที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน
พิจารณาจากพัฒนาการของการเมือง และการเลือกตั้งในประเทศไทยจาก พ.ศ. 2476 มาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นพัฒนาการที่เลวลง การเลือกตั้งเป็นเพียงรูปแบบ และวิธีการเพื่อสร้างความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง ตัวแทนของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ นักการเมืองประเภทโกงกิน ทุจริต คอร์รัปชันที่ไร้ซึ่งอุดมการณ์ประชาธิปไตย หาคนดีที่มีคุณธรรม ความรู้ ความสามารถ และความซื่อสัตย์สุจริต ที่จริงใจต่อชาติบ้านเมืองไม่ได้เลย และการเลือกตั้งยังเต็มไปด้วยการทุจริต คดโกง ไม่มีความโปร่งใสหนักหน่วงกว่าเดิม ได้บุคลากรที่ผ่านการเลือกตั้งก็ไร้คุณภาพ จึงนับว่าเป็นความล้มเหลวของประเทศไทย ในรอบ 79 ปี ของการเมืองการเลือกตั้งในประเทศไทย
การเลือกตั้งครั้งนี้ก็ไม่แตกต่างจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา ไม่มีอนาคตและเป็นความหวังให้กับประเทศชาติได้เลย ไม่ใช่ทางเลือก และไม่ใช่คำตอบที่ดีแก่ประชาชน มันเป็นเพียงพิธีกรรมทางการเมืองอันสามานย์ที่หลอกลวงต้มตุ๋นประชาชนไทยให้เคลิบเคลิ้ม หลงใหลไปกับระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมเท่านั้นเอง