ก่อนสงกรานต์ทุกปี จะมีประกาศออกมาว่า ปีต่อไปนางสงกรานต์จะนั่งหลังสัตว์ชนิดใดและถืออะไรมาในมือ ปีนี้นางสงกรานต์นั่งหลังช้างและมือสองข้างถือปืนและตะขอ ผู้สันทัดกรณีมีความเห็นว่า ปีนี้ทางดีจะมีน้อยกว่าทางร้ายซึ่งไปกันได้กับฝ่ายที่สนใจในด้านการเมืองที่พูดถึงตำนานเรื่องสตรีขี่ม้าขาวที่จะเข้ามาพาให้ชาติพ้นภัย จึงมองได้ว่าสังคมไทยคุ้นเคยเป็นอันดีเรื่องสตรีกับสัตว์สี่ขา
ในสังคมตะวันตก เรื่องสตรีกับสัตว์สี่ขามักมีอยู่ในเทพนิยายโบราณ ในตำนานเรื่องการขี่ม้าออกศึกจำพวกโจนออฟอาร์คแห่งฝรั่งเศสและในกีฬาบางประเภทของยุคปัจจุบัน ปีนี้มีเรื่องสตรีกับรูปเสือโคร่งขนาดใหญ่ในนิตยสารไทม์ซึ่งเกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนัก
นิตยสารไทม์ยกเอมี่ ฉั่ว ให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในรอบปี เอมี่ ฉั่ว เป็นสตรีอเมริกันและอาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยเยล ปัจจัยที่ทำให้เธอได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลสูงมากมาจากการเขียนหนังสือชื่อ Battle Hymn of the Tiger Mother ซึ่งคงแปลว่า “เพลงรบของแม่เสือ” เนื้อหามาจากประสบการณ์ในด้านการเลี้ยงลูกสาวสองคนของเธอซึ่งต่างอย่างชนิดคนละขั้วกับวิธีที่ชาวอเมริกันทั่วไปใช้กันอยู่ นั่นคือ ชาวอเมริกันมักไม่เคี่ยวเข็ญลูกให้เรียนหนังสือหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ให้อิสระที่จะเลือกเรียนและทำกิจกรรมตามใจชอบ ส่วนเอมี่ ฉั่ว บังคับลูกให้ทำตามคำสั่งทุกอย่างเพราะเชื่อว่านั่นเป็นทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
หนังสือจุดประกายให้ชาวอเมริกันถกถียงกันอย่างเข้มข้นว่า ขั้วไหนน่าจะได้ผลดีกว่ากัน การถกเถียงนี้มีการเปรียบเทียบผลการทดสอบเด็กนักเรียนทั่วโลกเป็นบริบท เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาคะแนนของเด็กอเมริกันตามหลังเด็กเอเชียซึ่งเชื่อกันว่าโดยทั่วไปได้รับการเลี้ยงดูแบบขู่บังคับ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีข้อโต้แย้งที่อาศัยข้อมูลจากฟินแลนด์ นั่นคือ สังคมฟินแลนด์โดยทั่วไปให้อิสระเด็กสูงกว่าสังคมอเมริกัน แต่ผลการทดสอบดังกล่าวออกมาเป็นเลิศเท่าๆ กับของชาวเอเชีย เช่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลออกมาเช่นนั้นยังถกเถียงกันอยู่
อันที่จริง ประเด็นนี้ไม่น่าจะถกเถียงกันมากนักเนื่องจากชาวเมริกันมีคำพังเพยที่มักพูดกันติดปากว่า There is more than one way to skin a cat. ซึ่งแปลตรงๆ ว่า การถลกหนังแมวทำได้หลายวิธี ฉะนั้น การเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งก็น่าจะทำได้หลายวิธีด้วย สื่อที่เข้าไปสัมผัสครอบครัวของเอมี่ ฉั่ว รายงานว่า ลูกสาวสองคนของเธอเรียนดีเป็นเลิศ มีความประพฤติดีและมีความสามารถพิเศษจากการทำกิจกรรมที่แม่เลือกให้ แต่นั่นไม่น่าจะพิสูจน์อะไรได้มากนักเนื่องจากการเลี้ยงลูกแบบให้อิสระสูงส่งผลให้ได้คน เช่น บิล เกตส์ และ ฮิลลารี คลินตัน
สองคนนั้นเติบโตในครอบครัวที่ให้อิสระแก่ลูกสูงและมีผลการเรียนเป็นเลิศ บิล เกตส์ ทิ้งการเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อออกไปทำธุรกิจ เมื่อเป็นเศรษฐีมีทรัพย์นับหมื่นล้านดอลลาร์ก็นำมาบริจาคช่วยเพื่อนมนุษย์ ส่วนฮิลลารี คลินตัน ไม่ต้องการเป็นมหาเศรษฐีทั้งที่มีโอกาสสูงมาก หากเลือกทำงานบริการสังคม ทั้งสองเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม เรื่องที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กได้แก่ It Takes a Village ซึ่งทำรายได้หลายล้านดอลลาร์ที่ฮิลลารีนำมาบริจาคให้แก่การกุศล
ประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนั้นได้แก่การเสนอว่า การเลี้ยงดูเด็กเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม มิใช่เฉพาะแต่ของพ่อแม่หรือครูที่เด็กอยู่ด้วยวันละไม่กี่ชั่วโมง ข้อเสนอนี้ตีความหมายได้หลายอย่างรวมทั้งการสร้างนโยบายจำพวกให้การสนับสนุนแก่พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ และการเอื้อให้เด็กจากทุกหมู่เหล่าเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องผู้ใหญ่ทำตนให้เป็นต้นแบบอีกด้วย
ตามรายงานของนิตยสารไทม์ประจำวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ภาคการศึกษาของไทยได้ทดลองใช้แนวคิดของฟินแลนด์แต่ไม่ได้ผล เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะสังคมไทยกับสังคมฟินแลนด์ต่างกันปานดินกับน้ำโดยเฉพาะเรื่องความฉ้อฉลดังข้อมูลขององค์กรความโปร่งใสสากลที่บ่งชี้ปีแล้วปีเล่าว่า สังคมฟินแลนด์แทบไม่มีความฉ้อฉล ส่วนสังคมไทยอยู่ในประเภทฉ้อฉลสูงมาก ความฉ้อฉลเป็นพฤติกรรมที่เด็กลอกเลียนจากผู้ใหญ่ ทายาทอสูรทางการเมืองเกิดขึ้นได้เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รังเกียจลูกหลานนักการเมืองเลวทราม
เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะเกิดสตรีเพียบพร้อมด้วยความเก่งและความดีขี่ม้าขาวเข้ามาพาสังคมไทยให้พ้นภัยจึงมีไม่สูงนัก ตรงข้าม สตรีที่เสนอหน้าเข้ามานำพรรคการเมืองใหญ่ในตอนนี้มิได้ขี่ม้าขาว หากแฝงเข้ามาบนหลังตัวเงินตัวทองที่พรางให้มองเห็นธรรมชาติธาตุแท้ได้ยากสำหรับคนที่มากด้วยความโง่ ความโลภ และความฉ้อฉล ในการเลือกตั้งครั้งหน้า หากคนไทยส่วนใหญ่มองว่าเธอคือสตรีขี่ม้าขาวตามตำนานเพราะการชี้นำของสื่อฉ้อฉลและคนชั่วแล้วเลือกเธอเป็นหัวหน้ารัฐบาล อีกไม่นานหายนะจะมาเยือน
ในสังคมตะวันตก เรื่องสตรีกับสัตว์สี่ขามักมีอยู่ในเทพนิยายโบราณ ในตำนานเรื่องการขี่ม้าออกศึกจำพวกโจนออฟอาร์คแห่งฝรั่งเศสและในกีฬาบางประเภทของยุคปัจจุบัน ปีนี้มีเรื่องสตรีกับรูปเสือโคร่งขนาดใหญ่ในนิตยสารไทม์ซึ่งเกิดขึ้นไม่ค่อยบ่อยนัก
นิตยสารไทม์ยกเอมี่ ฉั่ว ให้เป็นหนึ่งในผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในรอบปี เอมี่ ฉั่ว เป็นสตรีอเมริกันและอาจารย์ด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยเยล ปัจจัยที่ทำให้เธอได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลสูงมากมาจากการเขียนหนังสือชื่อ Battle Hymn of the Tiger Mother ซึ่งคงแปลว่า “เพลงรบของแม่เสือ” เนื้อหามาจากประสบการณ์ในด้านการเลี้ยงลูกสาวสองคนของเธอซึ่งต่างอย่างชนิดคนละขั้วกับวิธีที่ชาวอเมริกันทั่วไปใช้กันอยู่ นั่นคือ ชาวอเมริกันมักไม่เคี่ยวเข็ญลูกให้เรียนหนังสือหรือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ให้อิสระที่จะเลือกเรียนและทำกิจกรรมตามใจชอบ ส่วนเอมี่ ฉั่ว บังคับลูกให้ทำตามคำสั่งทุกอย่างเพราะเชื่อว่านั่นเป็นทางที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ
หนังสือจุดประกายให้ชาวอเมริกันถกถียงกันอย่างเข้มข้นว่า ขั้วไหนน่าจะได้ผลดีกว่ากัน การถกเถียงนี้มีการเปรียบเทียบผลการทดสอบเด็กนักเรียนทั่วโลกเป็นบริบท เนื่องจากเท่าที่ผ่านมาคะแนนของเด็กอเมริกันตามหลังเด็กเอเชียซึ่งเชื่อกันว่าโดยทั่วไปได้รับการเลี้ยงดูแบบขู่บังคับ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีข้อโต้แย้งที่อาศัยข้อมูลจากฟินแลนด์ นั่นคือ สังคมฟินแลนด์โดยทั่วไปให้อิสระเด็กสูงกว่าสังคมอเมริกัน แต่ผลการทดสอบดังกล่าวออกมาเป็นเลิศเท่าๆ กับของชาวเอเชีย เช่น สิงคโปร์และเกาหลีใต้ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลออกมาเช่นนั้นยังถกเถียงกันอยู่
อันที่จริง ประเด็นนี้ไม่น่าจะถกเถียงกันมากนักเนื่องจากชาวเมริกันมีคำพังเพยที่มักพูดกันติดปากว่า There is more than one way to skin a cat. ซึ่งแปลตรงๆ ว่า การถลกหนังแมวทำได้หลายวิธี ฉะนั้น การเลี้ยงลูกให้ดีและเก่งก็น่าจะทำได้หลายวิธีด้วย สื่อที่เข้าไปสัมผัสครอบครัวของเอมี่ ฉั่ว รายงานว่า ลูกสาวสองคนของเธอเรียนดีเป็นเลิศ มีความประพฤติดีและมีความสามารถพิเศษจากการทำกิจกรรมที่แม่เลือกให้ แต่นั่นไม่น่าจะพิสูจน์อะไรได้มากนักเนื่องจากการเลี้ยงลูกแบบให้อิสระสูงส่งผลให้ได้คน เช่น บิล เกตส์ และ ฮิลลารี คลินตัน
สองคนนั้นเติบโตในครอบครัวที่ให้อิสระแก่ลูกสูงและมีผลการเรียนเป็นเลิศ บิล เกตส์ ทิ้งการเรียนในมหาวิทยาลัยเพื่อออกไปทำธุรกิจ เมื่อเป็นเศรษฐีมีทรัพย์นับหมื่นล้านดอลลาร์ก็นำมาบริจาคช่วยเพื่อนมนุษย์ ส่วนฮิลลารี คลินตัน ไม่ต้องการเป็นมหาเศรษฐีทั้งที่มีโอกาสสูงมาก หากเลือกทำงานบริการสังคม ทั้งสองเขียนหนังสือออกมาหลายเล่ม เรื่องที่เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กได้แก่ It Takes a Village ซึ่งทำรายได้หลายล้านดอลลาร์ที่ฮิลลารีนำมาบริจาคให้แก่การกุศล
ประเด็นสำคัญของหนังสือเล่มนั้นได้แก่การเสนอว่า การเลี้ยงดูเด็กเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของสังคม มิใช่เฉพาะแต่ของพ่อแม่หรือครูที่เด็กอยู่ด้วยวันละไม่กี่ชั่วโมง ข้อเสนอนี้ตีความหมายได้หลายอย่างรวมทั้งการสร้างนโยบายจำพวกให้การสนับสนุนแก่พ่อแม่ที่มีลูกเล็กๆ และการเอื้อให้เด็กจากทุกหมู่เหล่าเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ นอกจากนั้น ยังมีเรื่องผู้ใหญ่ทำตนให้เป็นต้นแบบอีกด้วย
ตามรายงานของนิตยสารไทม์ประจำวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา ภาคการศึกษาของไทยได้ทดลองใช้แนวคิดของฟินแลนด์แต่ไม่ได้ผล เรื่องนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะสังคมไทยกับสังคมฟินแลนด์ต่างกันปานดินกับน้ำโดยเฉพาะเรื่องความฉ้อฉลดังข้อมูลขององค์กรความโปร่งใสสากลที่บ่งชี้ปีแล้วปีเล่าว่า สังคมฟินแลนด์แทบไม่มีความฉ้อฉล ส่วนสังคมไทยอยู่ในประเภทฉ้อฉลสูงมาก ความฉ้อฉลเป็นพฤติกรรมที่เด็กลอกเลียนจากผู้ใหญ่ ทายาทอสูรทางการเมืองเกิดขึ้นได้เพราะคนส่วนใหญ่ไม่รังเกียจลูกหลานนักการเมืองเลวทราม
เมื่อสังคมเป็นเช่นนี้ โอกาสที่จะเกิดสตรีเพียบพร้อมด้วยความเก่งและความดีขี่ม้าขาวเข้ามาพาสังคมไทยให้พ้นภัยจึงมีไม่สูงนัก ตรงข้าม สตรีที่เสนอหน้าเข้ามานำพรรคการเมืองใหญ่ในตอนนี้มิได้ขี่ม้าขาว หากแฝงเข้ามาบนหลังตัวเงินตัวทองที่พรางให้มองเห็นธรรมชาติธาตุแท้ได้ยากสำหรับคนที่มากด้วยความโง่ ความโลภ และความฉ้อฉล ในการเลือกตั้งครั้งหน้า หากคนไทยส่วนใหญ่มองว่าเธอคือสตรีขี่ม้าขาวตามตำนานเพราะการชี้นำของสื่อฉ้อฉลและคนชั่วแล้วเลือกเธอเป็นหัวหน้ารัฐบาล อีกไม่นานหายนะจะมาเยือน