วิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเริ่มเมื่อปี 2551 และยังเรื้อรังในบางประเทศมาจนถึงปัจจุบันก่อใก้เกิดการถกเถียงกันอย่างเข้มข้นเรื่องต้นเหตุและแนวนโยบายสำหรับแก้ไข ในกระบวนการนี้มีหนังสือพิมพ์ออกมาหลายโหลจนตามอ่านไม่หวาดไม่ไหว เล่มที่มีเนื้อหาครอบคลุมแนวนโยบายถึงในระดับโลกได้แก่ของศาสตราจารย์โจเซฟ สติกลิตซ์ ชื่อ Freefall: America, Free Markets, and the Sinking of the World Economy ซึ่งพิมพ์ออกมาเมื่อปีที่แล้ว
ศาสตราจารย์สติกลิตซ์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2544 จากผลงานการวิจัยในด้านบทบาทของข่าวสารข้อมูลในเศรษฐกิจระบบตลาดเสรี นอกจากงานสอนและการวิจัยแล้ว เขาเคยทำงานกับรัฐบาลอเมริกันในตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี และกับธนาคารโลกในตำแหน่งรองประธานผู้บริหารที่ดูแลด้านนโยบายเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ประสบการณ์และงานวิจัยทำให้เขามองโลกได้อย่างกว้างลึกกว่านักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปส่งผลให้หนังสือและแนวคิดของเขาแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง
ในกระบวนการถกเถียงกันเรื่องต้นเหตุและนโยบายสำหรับแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ผลงานและแนวคิดของศาสตราจารย์สติกลิตซ์มักถูกอ้างถึง เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในร้อยคนของผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในรอบปีที่ผ่านมา โดยนิตยสารไทม์ฉบับประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2554
แนวคิดหลักของศาสตราจารย์สติกลิตซ์มาจากการวิจัยที่ได้ข้อสรุปว่า ระบบตลาดเสรีในแนวที่มีชื่อเรียกว่า “ฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน” ซึ่งรัฐบาลอเมริกันและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยึดเป็นหลักนั้นใช้ไม่ได้เพราะมันไม่ทำให้ระบบตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงสุด ฉะนั้น รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายที่จะเอื้อให้ระบบตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อสรุปของเขาอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหลักของฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลควรมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเพราะตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่แล้ว (ความเชื่อนี้คือต้นเหตุที่ไอเอ็มเอฟกดดันรัฐบาลไทยให้ขายรัฐวิสาหกิจต่างๆ หลังเกิดวิกฤตปี 2540)
อันที่จริงแนวคิดของศาสตราจารย์สติกลิตซ์ไม่น่าจะลึกลับซับซ้อนมากนัก เนื่องจากระบบตลาดเสรีมีการแข่งขันเป็นหัวใจ กระบวนการแข่งขันจะล้มเหลวหากผู้แข่งขันมีข่าวสารข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน เช่น ในการเล่นไพ่ หากฝ่ายหนึ่งรู้เลขไพ่ในกอง หรือของคู่แข่ง เขาย่อมชนะเสมอทำให้ฐานของการแข่งขันพังทลาย ต้นเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2551 ก็มาจากการขาดข่าวสารข้อมูลของผู้ที่อยู่ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ นั่นคือ สถาบันการเงินต่างๆ นำสัญญาซื้อขายบ้านจำนวนมหาศาลในอเมริกามายำรวมกันเป็นอนุพันธ์แล้วขายต่อไปหลายทอดจนผู้ซื้อขายไม่รู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน รายได้และหนี้สินของผู้กู้เงินซื้อบ้านเป็นอย่างไร ยังผลให้ไม่รู้ระดับของความเสี่ยงที่แท้จริง การซื้อขายในตลาดที่ปราศจากข้อมูลเช่นนั้นย่อมผิดพลาดได้ง่ายจนยังผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ซึ่งแตกออกในเวลาต่อมา
ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัด แต่รัฐบาลอเมริกันก็ยังไม่เต็มใจที่จะออกกฎหมายบังคับให้สถาบันการเงินบางแห่งแสดงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกับสถาบันอื่น โดยเฉพาะกองทุนเพื่อเก็งกำไรซึ่งมีขนาดใหญ่และสามารถสร้างแรงจูงใจได้ด้วยการใช้อำนาจเงิน เป็นที่ทราบกันดีว่ากองทุนจำพวกนี้มีบทบาทถึงขนาดทำลายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของบางประเทศมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ถูกควบคุมมากนักเนื่องจากรัฐบาลอเมริกันยังยึดฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตันเป็นสรณะอยู่ ศาสตราจารย์สติกลิตซ์จึงต่อสู้ด้วยการเขียน การบรรยายและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ในตอนสุดท้ายของหนังสือเรื่อง Freefall นั้นเขาตั้งประเด็นใหม่ๆ ขึ้นมาซึ่งกว้างกว่าการท้าทายนโยบายในแนวฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน นั่นคือ เขาพูดถึงการสร้างคน และสังคมใหม่ที่วางอยู่บนฐานของการมีคุณธรรมและความสมดุลในด้านต่างๆ รวมทั้งระหว่างคนกับธรรมชาติด้วย
ประเด็นต่างๆ เหล่านั้นดูจะชี้บ่งว่า ศาสตราจารย์สติกลิตซ์กำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดที่ระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีควรทำเพื่อให้สังคมเกิดความยั่งยืน ข้อความและคำถามต่างๆ ที่เขาตั้งขึ้นพอจะอนุมานได้ว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นอย่างน้อยส่วนหนึ่งจะเป็นแนวคิดที่มีอยู่แล้วในหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถึงแม้ว่าเขาอาจจะไม่ใช้คำนี้โดยตรงก็ตาม ทั้งนี้เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสัจธรรมที่จะนำสังคมไปสู่ความยั่งยืน แนวคิดนี้คนไทยคิดได้ก่อน จึงมองได้ว่าเราก้าวหน้ากว่าฝรั่ง แต่น่าเสียดายว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ จึงไม่นำมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง คงต้องรอจนกว่าฝรั่งจะบอกว่ามันมีความขลังแน่นอนเสียก่อนเป็นแน่ เราเลิกคิดแบบทาสเช่นนั้นเมื่อใด เมื่อนั้นเมืองไทยจะไปโลดอย่างยั่งยืน
ศาสตราจารย์สติกลิตซ์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2544 จากผลงานการวิจัยในด้านบทบาทของข่าวสารข้อมูลในเศรษฐกิจระบบตลาดเสรี นอกจากงานสอนและการวิจัยแล้ว เขาเคยทำงานกับรัฐบาลอเมริกันในตำแหน่งประธานคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของประธานาธิบดี และกับธนาคารโลกในตำแหน่งรองประธานผู้บริหารที่ดูแลด้านนโยบายเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา ประสบการณ์และงานวิจัยทำให้เขามองโลกได้อย่างกว้างลึกกว่านักเศรษฐศาสตร์ทั่วไปส่งผลให้หนังสือและแนวคิดของเขาแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง
ในกระบวนการถกเถียงกันเรื่องต้นเหตุและนโยบายสำหรับแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจ ผลงานและแนวคิดของศาสตราจารย์สติกลิตซ์มักถูกอ้างถึง เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในร้อยคนของผู้ทรงอิทธิพลสูงสุดในรอบปีที่ผ่านมา โดยนิตยสารไทม์ฉบับประจำวันที่ 2 พฤษภาคม 2554
แนวคิดหลักของศาสตราจารย์สติกลิตซ์มาจากการวิจัยที่ได้ข้อสรุปว่า ระบบตลาดเสรีในแนวที่มีชื่อเรียกว่า “ฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน” ซึ่งรัฐบาลอเมริกันและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ยึดเป็นหลักนั้นใช้ไม่ได้เพราะมันไม่ทำให้ระบบตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงสุด ฉะนั้น รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายที่จะเอื้อให้ระบบตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ข้อสรุปของเขาอยู่ฝั่งตรงข้ามกับหลักของฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลควรมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเพราะตลาดเสรีมีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่แล้ว (ความเชื่อนี้คือต้นเหตุที่ไอเอ็มเอฟกดดันรัฐบาลไทยให้ขายรัฐวิสาหกิจต่างๆ หลังเกิดวิกฤตปี 2540)
อันที่จริงแนวคิดของศาสตราจารย์สติกลิตซ์ไม่น่าจะลึกลับซับซ้อนมากนัก เนื่องจากระบบตลาดเสรีมีการแข่งขันเป็นหัวใจ กระบวนการแข่งขันจะล้มเหลวหากผู้แข่งขันมีข่าวสารข้อมูลไม่เท่าเทียมกัน เช่น ในการเล่นไพ่ หากฝ่ายหนึ่งรู้เลขไพ่ในกอง หรือของคู่แข่ง เขาย่อมชนะเสมอทำให้ฐานของการแข่งขันพังทลาย ต้นเหตุหนึ่งของวิกฤตเศรษฐกิจใหญ่ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2551 ก็มาจากการขาดข่าวสารข้อมูลของผู้ที่อยู่ในกระบวนการทางเศรษฐกิจ นั่นคือ สถาบันการเงินต่างๆ นำสัญญาซื้อขายบ้านจำนวนมหาศาลในอเมริกามายำรวมกันเป็นอนุพันธ์แล้วขายต่อไปหลายทอดจนผู้ซื้อขายไม่รู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับบ้าน รายได้และหนี้สินของผู้กู้เงินซื้อบ้านเป็นอย่างไร ยังผลให้ไม่รู้ระดับของความเสี่ยงที่แท้จริง การซื้อขายในตลาดที่ปราศจากข้อมูลเช่นนั้นย่อมผิดพลาดได้ง่ายจนยังผลให้เกิดภาวะฟองสบู่ซึ่งแตกออกในเวลาต่อมา
ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็นที่ประจักษ์อย่างแจ้งชัด แต่รัฐบาลอเมริกันก็ยังไม่เต็มใจที่จะออกกฎหมายบังคับให้สถาบันการเงินบางแห่งแสดงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกับสถาบันอื่น โดยเฉพาะกองทุนเพื่อเก็งกำไรซึ่งมีขนาดใหญ่และสามารถสร้างแรงจูงใจได้ด้วยการใช้อำนาจเงิน เป็นที่ทราบกันดีว่ากองทุนจำพวกนี้มีบทบาทถึงขนาดทำลายเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของบางประเทศมาแล้ว แต่ก็ยังไม่ถูกควบคุมมากนักเนื่องจากรัฐบาลอเมริกันยังยึดฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตันเป็นสรณะอยู่ ศาสตราจารย์สติกลิตซ์จึงต่อสู้ด้วยการเขียน การบรรยายและการให้คำปรึกษาแก่กลุ่มต่างๆ
อย่างไรก็ตาม ในตอนสุดท้ายของหนังสือเรื่อง Freefall นั้นเขาตั้งประเด็นใหม่ๆ ขึ้นมาซึ่งกว้างกว่าการท้าทายนโยบายในแนวฉันทามติแห่งกรุงวอชิงตัน นั่นคือ เขาพูดถึงการสร้างคน และสังคมใหม่ที่วางอยู่บนฐานของการมีคุณธรรมและความสมดุลในด้านต่างๆ รวมทั้งระหว่างคนกับธรรมชาติด้วย
ประเด็นต่างๆ เหล่านั้นดูจะชี้บ่งว่า ศาสตราจารย์สติกลิตซ์กำลังเขียนหนังสือเล่มต่อไปที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวคิดที่ระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีควรทำเพื่อให้สังคมเกิดความยั่งยืน ข้อความและคำถามต่างๆ ที่เขาตั้งขึ้นพอจะอนุมานได้ว่าเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นอย่างน้อยส่วนหนึ่งจะเป็นแนวคิดที่มีอยู่แล้วในหลักเศรษฐกิจพอเพียง ถึงแม้ว่าเขาอาจจะไม่ใช้คำนี้โดยตรงก็ตาม ทั้งนี้เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสัจธรรมที่จะนำสังคมไปสู่ความยั่งยืน แนวคิดนี้คนไทยคิดได้ก่อน จึงมองได้ว่าเราก้าวหน้ากว่าฝรั่ง แต่น่าเสียดายว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ จึงไม่นำมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง คงต้องรอจนกว่าฝรั่งจะบอกว่ามันมีความขลังแน่นอนเสียก่อนเป็นแน่ เราเลิกคิดแบบทาสเช่นนั้นเมื่อใด เมื่อนั้นเมืองไทยจะไปโลดอย่างยั่งยืน