รายงานว่าจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ภายหลังรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชาชชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ต่อยอดโครงการ6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤติเพื่อคนไทยทุกคน จากรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช เมื่อปี 2551 โดยต่อยอดในปี 2552 และปี 2553 ภายชื่อโครงการมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 4 มาตรการ 3 เดือน โดยให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชำระคืนเงินต้น ดอกเบี้ยเงินกู้ และค่าใช้จ่ายในการกู้เงินให้กับรัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ กฟน. กฟภ. ขสมก. และ รฟท.
ทั้งนี้จะต้อง ชดเชยให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีเงินกู้ยืมเพื่อชดเชยรายได้จำนวน 36,182.82 ล้านบาท ตลอด 2 ปีแล้วโดย 2 ครั้งล่าสุดสุดท้ายที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อนุมัติต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 -28 กุมภาพันธ์ 2554 และ1 มีนาคม 2554-วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 นี้
ทั้งนี้ เมือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554ครม.เห็นชอบว่าการดำเนินงานตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนทำให้รัฐวิสาหกิจมีภาระหนี้สินจากการกู้เงินเพื่อชดเชยรายได้จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้โดยทันที ซึ่งรัฐวิสาหกิจมีเงินกู้ยืมเพื่อชดเชยรายได้จำนวน 36,182.82 ล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดสรรชดเชยจากสำนักงบประมาณแล้ว จำนวน 15,896.78 ล้านบาท หรือร้อยละ 44.92 ดังนั้น หากมีการขยายมาตรการฯ ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องประสิทธิภาพการให้บริการและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
ทั้งนี้ที่ผ่านมาจะต้องชดเชยให้รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้รับการชดเชยแล้ว962 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ค่าชดเชย6,735.15 ล้านบาท ขนส่งมวชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ค่าชดเชย1,202.64 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ค่าชดเชย487.7 ล้านบาท การประปานครหลวง (กปน.) ได้ค่าชดเชย1,551.63 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ค่าชดเชย 4,957.66 ล้านบาท ขณะนี้ได้ค่าชดเชยเพียง 15,896.78 ล้านบาท จาก 36,182.82 ล้านบาท
รายงานระบุว่า ที่ผ่านมาเกิดภาระทางการคลังที่รัฐต้องชดเชยให้กับรัฐวิสาหกิจรวมทั้งสิ้นจำนวน 36,182.82 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 1,809.64 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินชดเชยให้กับรัฐวิสาหกิจแล้วจำนวน 15,896.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.92 ของวงเงินชดเชยทั้งหมด
ทั้งนี้ ในครั้งล่าสุดมีค่าใช้จ่ายในการขยายมาตรการไปแล้วกว่า 3,085.88 ล้านบาท
รายงานแจ้งด้วยว่า มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง ดำเนินการผ่าน ขสมก. โดยภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถโดยสารประจำทางธรรมดาจำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พบว่ามีผู้ได้รับประโยชน์เฉพาะในกทม 4.3 แสนรายต่อเที่ยว
ขณะที่ มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ดำเนินการผ่าน รฟท. โดยภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3 ระยะทางไกล ในขบวนรถเชิงพาณิชย์จำนวน 8 ขบวนต่อวัน ให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีผู้ไรับประโยชน์ทั่วประเทศ กว่าวันละ 11 ล้านคน
รายงานข่าวแจ้งว่า รัฐบาลรักษาการ โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของ รัฐมนตรี ภายหลังจาก พ.ร.ฎ.ยุบสภามีผลบังคับใช้ ทำให้วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. วันที่ 18พ.ค.2554 ส่วนใหญ่ใหญ่เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามมติ ครม. หรือส่วนราชการต่างๆ เท่านั้น ทั้งหมดเป็นผลมาจากการที่สถานภาพของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลหลังการยุบสภา ซึ่งไม่มีอำนาจให้การเห็นชอบเรื่องใดๆได้มากนักและหากเป็นเรื่องเร่งด่วนก็ต้องทำหนังสือสอบถามไปยังกรรมการการเลือกตั้งก่อน รวมทั้งโครงการมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 4 มาตรการ 3 เดือน ก็จะหมดอายุไปในวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ด้วย
อย่างไรก็ตามหากจะมีการฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาก็ต้องอยู่ที่รัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายประเภทนี้หรือไม่ เพราะจะต้องอุดหนุนงบประมาณไปชดเชยรัฐวิสาหกิจขั้นต้นเพียง 3 เดือน ถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท
ทั้งนี้จะต้อง ชดเชยให้รัฐวิสาหกิจ ที่มีเงินกู้ยืมเพื่อชดเชยรายได้จำนวน 36,182.82 ล้านบาท ตลอด 2 ปีแล้วโดย 2 ครั้งล่าสุดสุดท้ายที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ อนุมัติต่ออายุมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 -28 กุมภาพันธ์ 2554 และ1 มีนาคม 2554-วันที่ 31 พฤษภาคม 2554 นี้
ทั้งนี้ เมือวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554ครม.เห็นชอบว่าการดำเนินงานตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนทำให้รัฐวิสาหกิจมีภาระหนี้สินจากการกู้เงินเพื่อชดเชยรายได้จากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้โดยทันที ซึ่งรัฐวิสาหกิจมีเงินกู้ยืมเพื่อชดเชยรายได้จำนวน 36,182.82 ล้านบาท ซึ่งได้รับการจัดสรรชดเชยจากสำนักงบประมาณแล้ว จำนวน 15,896.78 ล้านบาท หรือร้อยละ 44.92 ดังนั้น หากมีการขยายมาตรการฯ ต่อไป จะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องประสิทธิภาพการให้บริการและผลประกอบการของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
ทั้งนี้ที่ผ่านมาจะต้องชดเชยให้รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้รับการชดเชยแล้ว962 ล้านบาท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ค่าชดเชย6,735.15 ล้านบาท ขนส่งมวชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ค่าชดเชย1,202.64 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ค่าชดเชย487.7 ล้านบาท การประปานครหลวง (กปน.) ได้ค่าชดเชย1,551.63 ล้านบาท การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ค่าชดเชย 4,957.66 ล้านบาท ขณะนี้ได้ค่าชดเชยเพียง 15,896.78 ล้านบาท จาก 36,182.82 ล้านบาท
รายงานระบุว่า ที่ผ่านมาเกิดภาระทางการคลังที่รัฐต้องชดเชยให้กับรัฐวิสาหกิจรวมทั้งสิ้นจำนวน 36,182.82 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเดือนละ 1,809.64 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณได้จัดสรรเงินชดเชยให้กับรัฐวิสาหกิจแล้วจำนวน 15,896.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.92 ของวงเงินชดเชยทั้งหมด
ทั้งนี้ ในครั้งล่าสุดมีค่าใช้จ่ายในการขยายมาตรการไปแล้วกว่า 3,085.88 ล้านบาท
รายงานแจ้งด้วยว่า มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถโดยสารประจำทาง ดำเนินการผ่าน ขสมก. โดยภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถโดยสารประจำทางธรรมดาจำนวน 800 คันต่อวัน ใน 73 เส้นทางให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พบว่ามีผู้ได้รับประโยชน์เฉพาะในกทม 4.3 แสนรายต่อเที่ยว
ขณะที่ มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3 ดำเนินการผ่าน รฟท. โดยภาครัฐรับภาระค่าใช้จ่ายการจัดรถไฟชั้น 3 เชิงสังคม จำนวน 164 ขบวนต่อวัน และรถไฟชั้น 3 ระยะทางไกล ในขบวนรถเชิงพาณิชย์จำนวน 8 ขบวนต่อวัน ให้บริการแก่ประชาชนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีผู้ไรับประโยชน์ทั่วประเทศ กว่าวันละ 11 ล้านคน
รายงานข่าวแจ้งว่า รัฐบาลรักษาการ โดยเฉพาะแนวทางการดำเนินงานของ รัฐมนตรี ภายหลังจาก พ.ร.ฎ.ยุบสภามีผลบังคับใช้ ทำให้วาระการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ในการประชุม ครม. วันที่ 18พ.ค.2554 ส่วนใหญ่ใหญ่เป็นการรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามมติ ครม. หรือส่วนราชการต่างๆ เท่านั้น ทั้งหมดเป็นผลมาจากการที่สถานภาพของรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลหลังการยุบสภา ซึ่งไม่มีอำนาจให้การเห็นชอบเรื่องใดๆได้มากนักและหากเป็นเรื่องเร่งด่วนก็ต้องทำหนังสือสอบถามไปยังกรรมการการเลือกตั้งก่อน รวมทั้งโครงการมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 4 มาตรการ 3 เดือน ก็จะหมดอายุไปในวันที่ 1 มิถุนายน 2554 ด้วย
อย่างไรก็ตามหากจะมีการฟื้นโครงการนี้ขึ้นมาก็ต้องอยู่ที่รัฐบาลชุดใหม่มีนโยบายประเภทนี้หรือไม่ เพราะจะต้องอุดหนุนงบประมาณไปชดเชยรัฐวิสาหกิจขั้นต้นเพียง 3 เดือน ถึง 3 หมื่นกว่าล้านบาท