เตรียมตั้งคณะทำงาน ร่วม 3 ฝ่ายศึกษาแผนรองรับการยุบโครงการอีลิทการ์ด รับมือหากเกิดการฟ้องร้อง คาดแล้วเสร็จใน 3 เดือน ขณะที่ ทีพีซี ขอดิ้นเฮือกสุดท้าย ทำแผนหารายได้เสนอเป็นทางเลือกอีกครั้ง
นายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า จะเชิญผู้บริหารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) มาหารือเรื่องการจัดทำแผนรองรับการยุบโครงการบัตรไทยแลนด์อิลิทการ์ด ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 26 เม.ย.54 ให้ยุบโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ ไทยแลนด์พรีวิเลจ คาร์ด เบื้องต้น คาดว่า จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ททท.และ ทีพีซี ดำเนินการร่วมกัน และในทีมของคณะทำงานชุดนี้ จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายกฎหมาย และ ฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันจัดทำแผนครั้งนี้ เพราะการยุบโครงการดังกล่าว เรื่องกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะกระบวนการจะมีการทำนิติกรรมทางกฎหมายหลายเรื่อง เช่น กฎหมายการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท กฎหมายด้านแรงงานเพื่อดูแลด้านสวัสดิการของพนักงานตามสิทธิ์ และเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสมาชิกผู้ถือบัตร ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ
“การยุบโครงการอีลิทการ์ด และ จ่ายเงินชดเชยแก่สมาชิกผู้ถือบัตร จะอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายประเทศไทย แต่ที่ต้องศึกษาในรายละเอียดพร้อมทำแผนรองรับ เนื่องจาก ผลการศึกษาที่ผ่านมา เป็นการศึกษาแต่เพียงด้านเดียว คือ ศึกษาเพื่อประเมินมูลค่าความเสียหายและสิ่งที่คาดว่าจะต้องชดใช้ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาครั้งไหนที่สอบถามไปยังสมาชิกผู้ถือบัตรว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ซึ่งในครั้งนี้ จะให้ ทีพีซี ทำการสอบถามความคิดเห็นของสมาชิกและดำเนินการศึกษา โดยทั้ง 3 หน่วยงาน จะแบ่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตัวเอง กำหนดเป้าหมายต้องแล้วเสร็จได้ข้อสรุปภายในเวลา 3 เดือน หรือ 90 วัน นับจากวันตั้งคณะทำงาน “
ตีค่าโครงการเหลือศูนย์บาท
นายสมบัติ กล่าวว่า สาเหตุที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลือกที่จะเสนอ ครม.ให้ยุบโครงการ อีลิทการ์ด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ททท.ได้เสนอ 3 ทางเลือกในการจัดการโครงการนี้ คือ การขายกิจการให้บริษัทเอกชนที่สนใจ, การโอนกิจการเข้ามาให้ ททท.เป็นผู้บริการต่อ และ การยุบโครงการ เป็นเพราะ ผลจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ว่า การออกวีซ่าเป็นสิทธิ์ของหน่วยงานรัฐ ดังนั้น ไม่สามารถโอนถ่ายสิทธิ์ดังกล่าวนี้ไปให้เอกชนดำเนินการได้ จึงทำให้ผลการประเมินราคากลางบริษัท ทีพีซี มีมูลค่าเป็น ศูนย์บาท หรือไม่มีมูลค่า ซึ่งเป็นเหตุให้กระทรวงฯตัดสินใจยุบโครงการ
ยอมรับกระทบความมั่นใจต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม หากผลการศึกษาของแผนรองรับการยุบโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด ที่จะมีขึ้นในครั้งนี้ ระบุว่า ต้องมีการใช้เงินในการชดเชยความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก็ให้ทำเรื่องเสนอต่อที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ยอมรับว่า หากช่วงนั้นอยู่ระหว่างการเป็นรัฐบาลรักษาการตามกฎหมายก็ไม่สามารถพิจารณาอนุมัติการใช้เงินจากงบกลางได้เช่นกัน และ หากขั้วรัฐบาลชุดหน้ามีการเปลี่ยนแปลง มีแนวคิดกับโครงการนี้เปลี่ยนไป หรือผลการศึกษาจะพบความเสียหายมาก ก็เป็นไปได้ ที่ในรัฐบาลชุดหน้า จะพิจารณายกเลิกมติ ครม.ในวันที่ 26 เม.ย.54 ได้เช่นกัน หรือถ้า ทีพีซี มีแผนทางเลือกที่น่าสนใจก็สามารถนำมาเสนอได้เช่นกัน ซึ่งยอมรับว่า การยุบโครงการอีลิทการ์ด แต่ยังไม่มีความชัดเจนเพิ่มเติมอื่นๆ จะมีผลต่อความมั่นใจจากสายตานักลงทุนต่างชาติ
แหล่งข่าวจาก บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด เผยว่า ขณะนี้ ทีพีซี อยู่ระหว่างการจัดทำแผนดำเนินงานในการหารายได้ให้แก่ บริษัท เพื่อจะได้ไม่ต้องยุบโครงการ โดยเมื่อแล้วเสร็จ จะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเป็นทางเลือก ให้ตัดสินใจอีกครั้ง
นายสมบัติ คุรุพันธ์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า จะเชิญผู้บริหารของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด (ทีพีซี) มาหารือเรื่องการจัดทำแผนรองรับการยุบโครงการบัตรไทยแลนด์อิลิทการ์ด ตามที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 26 เม.ย.54 ให้ยุบโครงการบัตรสมาชิกพิเศษ ไทยแลนด์พรีวิเลจ คาร์ด เบื้องต้น คาดว่า จะต้องมีการตั้งคณะทำงานร่วม 3 ฝ่าย คือ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ททท.และ ทีพีซี ดำเนินการร่วมกัน และในทีมของคณะทำงานชุดนี้ จะต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ฝ่ายกฎหมาย และ ฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มาร่วมกันจัดทำแผนครั้งนี้ เพราะการยุบโครงการดังกล่าว เรื่องกฎหมายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะกระบวนการจะมีการทำนิติกรรมทางกฎหมายหลายเรื่อง เช่น กฎหมายการจดทะเบียนยกเลิกบริษัท กฎหมายด้านแรงงานเพื่อดูแลด้านสวัสดิการของพนักงานตามสิทธิ์ และเรื่องของกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสมาชิกผู้ถือบัตร ซึ่งเป็นชาวต่างชาติ
“การยุบโครงการอีลิทการ์ด และ จ่ายเงินชดเชยแก่สมาชิกผู้ถือบัตร จะอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายประเทศไทย แต่ที่ต้องศึกษาในรายละเอียดพร้อมทำแผนรองรับ เนื่องจาก ผลการศึกษาที่ผ่านมา เป็นการศึกษาแต่เพียงด้านเดียว คือ ศึกษาเพื่อประเมินมูลค่าความเสียหายและสิ่งที่คาดว่าจะต้องชดใช้ แต่ยังไม่เคยมีการศึกษาครั้งไหนที่สอบถามไปยังสมาชิกผู้ถือบัตรว่ามีความคิดเห็นอย่างไร ซึ่งในครั้งนี้ จะให้ ทีพีซี ทำการสอบถามความคิดเห็นของสมาชิกและดำเนินการศึกษา โดยทั้ง 3 หน่วยงาน จะแบ่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตัวเอง กำหนดเป้าหมายต้องแล้วเสร็จได้ข้อสรุปภายในเวลา 3 เดือน หรือ 90 วัน นับจากวันตั้งคณะทำงาน “
ตีค่าโครงการเหลือศูนย์บาท
นายสมบัติ กล่าวว่า สาเหตุที่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เลือกที่จะเสนอ ครม.ให้ยุบโครงการ อีลิทการ์ด ทั้งที่ก่อนหน้านี้ ททท.ได้เสนอ 3 ทางเลือกในการจัดการโครงการนี้ คือ การขายกิจการให้บริษัทเอกชนที่สนใจ, การโอนกิจการเข้ามาให้ ททท.เป็นผู้บริการต่อ และ การยุบโครงการ เป็นเพราะ ผลจากการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ว่า การออกวีซ่าเป็นสิทธิ์ของหน่วยงานรัฐ ดังนั้น ไม่สามารถโอนถ่ายสิทธิ์ดังกล่าวนี้ไปให้เอกชนดำเนินการได้ จึงทำให้ผลการประเมินราคากลางบริษัท ทีพีซี มีมูลค่าเป็น ศูนย์บาท หรือไม่มีมูลค่า ซึ่งเป็นเหตุให้กระทรวงฯตัดสินใจยุบโครงการ
ยอมรับกระทบความมั่นใจต่างชาติ
อย่างไรก็ตาม หากผลการศึกษาของแผนรองรับการยุบโครงการบัตรไทยแลนด์อีลิทการ์ด ที่จะมีขึ้นในครั้งนี้ ระบุว่า ต้องมีการใช้เงินในการชดเชยความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ก็ให้ทำเรื่องเสนอต่อที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณาอีกครั้ง แต่ทั้งนี้ยอมรับว่า หากช่วงนั้นอยู่ระหว่างการเป็นรัฐบาลรักษาการตามกฎหมายก็ไม่สามารถพิจารณาอนุมัติการใช้เงินจากงบกลางได้เช่นกัน และ หากขั้วรัฐบาลชุดหน้ามีการเปลี่ยนแปลง มีแนวคิดกับโครงการนี้เปลี่ยนไป หรือผลการศึกษาจะพบความเสียหายมาก ก็เป็นไปได้ ที่ในรัฐบาลชุดหน้า จะพิจารณายกเลิกมติ ครม.ในวันที่ 26 เม.ย.54 ได้เช่นกัน หรือถ้า ทีพีซี มีแผนทางเลือกที่น่าสนใจก็สามารถนำมาเสนอได้เช่นกัน ซึ่งยอมรับว่า การยุบโครงการอีลิทการ์ด แต่ยังไม่มีความชัดเจนเพิ่มเติมอื่นๆ จะมีผลต่อความมั่นใจจากสายตานักลงทุนต่างชาติ
แหล่งข่าวจาก บริษัท ไทยแลนด์ พรีวิเลจ คาร์ด จำกัด เผยว่า ขณะนี้ ทีพีซี อยู่ระหว่างการจัดทำแผนดำเนินงานในการหารายได้ให้แก่ บริษัท เพื่อจะได้ไม่ต้องยุบโครงการ โดยเมื่อแล้วเสร็จ จะนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อเป็นทางเลือก ให้ตัดสินใจอีกครั้ง