"ปาร์คกิ้ง"ไล่ฟ้องอาญา บิ๊กทอท.และพนักงานรวดเดียว 19 คน"ปิยะพันธ์"อดีตประธานบอร์ดจำเลยที่ 2 "เสรีรัตน์"อดีตเอ็มดี จำเลยที่ 2 ฐานเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ"ธนกฤต"เผย ทอท.เลิกสัญญาบริหารลานจอดรถสุวรรณภูมิไม่ถูกต้อง มั่นใจมีเอกสารและพยานบุคคลชี้แจงศาลเอาผิดได้ โดยปาร์คกิ้งฯและทอท.ยังมีคดีฟ้องร้องกันที่ศาลแพ่งและศาลปกครองกลาง
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2554 บริษัทปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด เป็นโจทก์ที่ 1 และนายธนกฤต เจตกิตติโชค เป็นโจทก์ ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นจำเลยที่ 1 และพวกรวม 19 คน ต่อศาลอาญาใน คดีหมายเลขดำที่ 2017/2554 ฐานความผิด เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 และประมวลกฏหมายอาญามาตรา 83
นายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการ บริษัทปาร์คกิ้ง แมเนจเม้น จำกัด กล่าวว่า ปาร์ค์กิ้งฯไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่ทอท.ยกเลิกสัญญาบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2553 เนื่องจากขั้นตอนการยกเลิกไม่ถูกต้องผู้ลงนามยกเลิกไม่มีอำนาจ ซึ่งตนมีพยานหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารและบุคคล ในการยื่นฟ้องครั้งนี้ โดยเฉพาะกรณีที่มีชายฉกรรจ์บุกรุกเข้าไปในพื้นที่อาคารและลานจอดสุวรรณภูมิซึ่งบริษัทปาร์ค์กิ้งฯได้รับสิทธิ์ในการบริหารและจัดเก็บค่าจอดรถอย่างถูกต้องนั้น เจ้าหน้าที่ทอท.รู้เห็นกับการกระทำของกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว ทำให้บริษัทฯเสียหาย
นายธนกฤต กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้ยื่นฟ้องทอท.ต่อศาลแพ่งและศาลปกครองกลางเพื่อขอคุ้มครองไว้แล้ว โดยที่ศาลแพ่งเป็นการยื่นอุทธรณ์และอยู่ระหว่างรอฟังคำสั่ง หลังจากที่ได้ยื่นคุ้มครองชั่วคราวให้สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่อาคารและลานจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และศาลมีคำสั่งคุ้มครองปาร์คกิ้งฯเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2554 แล้ว แต่ปรากฎว่าในวันที่ 19 ม.ค. 2554 ทอท.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งขอให้ไต่สวนฉุกเฉินยกเลิกคำสั่งคุ้มครอง ปาร์คกิ้งฯ และมีคำสั่งในวันเดียวกัน ให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครอง ซึ่งมีประเด็นที่น่าสังเกตุ คือเหตุใด องค์คณะที่พิจารณาเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละชุดกัน
สำหรับการยื่นฟ้องต่อศาลอาญาครั้งนี้ ระบุนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นจำเลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ทอท. จำเลยที่ 2 คือ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ขณะนั้นตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท. จำเลยที่ 3 คือ พลอากาศเอกระเด่น พึ่งพักตร์ เป็นกรรมการทอท. จำเลยที่ 4 นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. จำเลยที่ 5 ว่าที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร และจำเลยที่ 6-19 เป็นพนักงานทอท.มีหน้าที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ในคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้ง 19 คน ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 และ 2 กล่าวคือ เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2553 จำเลยที่ 4 - 19 ได้ร่วมกันกระทำการในฐานะพนักงานทอท. ร่วมกันประชุมและมีมติบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สัญญาเลขที่ทสภ.1-05/2553 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2553 และสัญญาเช่าพื้นที่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สัญญาเลขที่ ทสภ.2-06/2553 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2553 โดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการที่ จำเลยที่ 4-19 อ้างเหตุบริษัทฯไม่ปฏิบัติ 4 ข้อ คือ 1. ไม่นำส่งยอดรายได้ให้ทอท.ตามสัญญา 2. ไม่เพิ่มวงเงินหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาให้ครบตามเงื่อนไขสัญญา 3. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์และระบบสารสนเทศตามสัญญา 4. การที่มีกลุ่มบุคคลปิดพื้นที่อาคารและลานจอดรถและพนักงานของบริษัทไม่ปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าบริษัทฯไม่สามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาได้ นั้น เป็นข้ออ้างที่ จำเลยทั้งหมดรู้ดีว่า บริษัทฯไม่ได้ทำผิดสัญญา การเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เพราะมีบุคคลอื่นบุกรุกและครอบครองพื้นที่เช่าเป็นการขัดขวางการทำงานของบริษัทฯ
ส่วน จำเลยที่ 1- 3 รู้เห็นเป็นใจในการกระทำของจำเลยที่ 4-19 และกรณี จำเลยที่ 2 และ 3 ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ลงนามในหนังสือบอกเลิกสัญญา มติเลิกสัญญาจากที่ประชุมของจำเลยที่ 4- 19 มิใช่มติของกรรมการทอท. เป็นมติไม่ชอบ การบอกเลิกสัญญาจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
โดยทอท.ได้เปิดประมูลบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยแจ้งผลการพิจารณามายังกรรมการ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด และบริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2553ว่าเป็นผู้ชนะการประมูล ได้สิทธิ์เข้าบริหารจัดการอาคารและลานจอดสุวรรณภูมิ นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2553 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2558อายุสัญญา 5 ปีโดยให้ทำสัญญาภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับหนังสือแจ้ง พร้อมนำหลักประกันสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการเป็นเงินจำนวน 105,930,000 บาท และหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่ เป็นเงินจำนวน 13,568,880 บาท มอบให้ทอท.ในวันทำสัญญา
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2553 บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด และบริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัดได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด ขึ้นโดย บ. วี ดับเบิ้ลยูฯ ถือหุ้น27,500 หุ้น บ. สแตนดาร์ด พร้อมพ์ ฯถือหุ้น 20,000 หุ้นและนายธนกฤตถือหุ้น 2,500 หุ้น เพื่อเข้าทำสัญญากับทอท.เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2553 โดยในวันที่ 1 เม.ย. 2553 ทอท.ก่อนถึงกำหนดทำสัญญาทอท.ได้ส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาให้บริษัทเพื่อเข้าทำประโยชน์ตามที่ได้อนุมัติ
โดยตามสัญญา บริษัทปาร์คกิ้งฯมีหน้าที่บริหารจัดการและจัดเก็บค่าจอดรถตามอัตราที่ทอท.กำหนด โดยเสียค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้ทอท.เดือนละ 75% ของยอดรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายหรือตามจำนวนค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ตกลงเบื้องต้น ปีที่ 1 กำหนดเดือนละ 16.5 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ปรากฎว่า วันที่ 30 เม.ย. 2553 เวลาประมาณ 05.00 น. ขณะพนักงานของบริษัทปาร์คกิ้งฯกำลังปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาได้มีชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธปืนประมาณ 10 คน บุกรุกเข้ามาภายในพื้นที่และยึดการจัดเก็บค่าจอดรถไปดำเนินการเอง โดยมีนายธรรศ พจนประพันธ์ เป็นผู้สั่งการ และนำรายได้จากค่าจอดรถไปทั้งหมด ทำให้ บ.ปาร์คกิ้งฯไม่ สามารถ เข้าดำเนินการได้ตามสัญญาถึงวันที่ 30 ก.ค. 2553
รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2554 บริษัทปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด เป็นโจทก์ที่ 1 และนายธนกฤต เจตกิตติโชค เป็นโจทก์ ที่ 2 ได้ยื่นฟ้องนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นจำเลยที่ 1 และพวกรวม 19 คน ต่อศาลอาญาใน คดีหมายเลขดำที่ 2017/2554 ฐานความผิด เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา 11 และประมวลกฏหมายอาญามาตรา 83
นายธนกฤต เจตกิตติโชค กรรมการ บริษัทปาร์คกิ้ง แมเนจเม้น จำกัด กล่าวว่า ปาร์ค์กิ้งฯไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการที่ทอท.ยกเลิกสัญญาบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เมื่อวันที่ 7 ต.ค. 2553 เนื่องจากขั้นตอนการยกเลิกไม่ถูกต้องผู้ลงนามยกเลิกไม่มีอำนาจ ซึ่งตนมีพยานหลักฐานทั้งที่เป็นเอกสารและบุคคล ในการยื่นฟ้องครั้งนี้ โดยเฉพาะกรณีที่มีชายฉกรรจ์บุกรุกเข้าไปในพื้นที่อาคารและลานจอดสุวรรณภูมิซึ่งบริษัทปาร์ค์กิ้งฯได้รับสิทธิ์ในการบริหารและจัดเก็บค่าจอดรถอย่างถูกต้องนั้น เจ้าหน้าที่ทอท.รู้เห็นกับการกระทำของกลุ่มชายฉกรรจ์ดังกล่าว ทำให้บริษัทฯเสียหาย
นายธนกฤต กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ บริษัทฯได้ยื่นฟ้องทอท.ต่อศาลแพ่งและศาลปกครองกลางเพื่อขอคุ้มครองไว้แล้ว โดยที่ศาลแพ่งเป็นการยื่นอุทธรณ์และอยู่ระหว่างรอฟังคำสั่ง หลังจากที่ได้ยื่นคุ้มครองชั่วคราวให้สามารถเข้าไปทำงานในพื้นที่อาคารและลานจอดรถท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และศาลมีคำสั่งคุ้มครองปาร์คกิ้งฯเมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2554 แล้ว แต่ปรากฎว่าในวันที่ 19 ม.ค. 2554 ทอท.ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแพ่งขอให้ไต่สวนฉุกเฉินยกเลิกคำสั่งคุ้มครอง ปาร์คกิ้งฯ และมีคำสั่งในวันเดียวกัน ให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครอง ซึ่งมีประเด็นที่น่าสังเกตุ คือเหตุใด องค์คณะที่พิจารณาเรื่องเดียวกันแต่เป็นคนละชุดกัน
สำหรับการยื่นฟ้องต่อศาลอาญาครั้งนี้ ระบุนายปิยะพันธ์ จัมปาสุต เป็นจำเลยที่ 1 ขณะเกิดเหตุมีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ ทอท. จำเลยที่ 2 คือ นายเสรีรัตน์ ประสุตานนท์ ขณะนั้นตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ทอท. จำเลยที่ 3 คือ พลอากาศเอกระเด่น พึ่งพักตร์ เป็นกรรมการทอท. จำเลยที่ 4 นายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. จำเลยที่ 5 ว่าที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร และจำเลยที่ 6-19 เป็นพนักงานทอท.มีหน้าที่รับผิดชอบ
ทั้งนี้ในคำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้ง 19 คน ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 และ 2 กล่าวคือ เมื่อวันที่ 5 ต.ค. 2553 จำเลยที่ 4 - 19 ได้ร่วมกันกระทำการในฐานะพนักงานทอท. ร่วมกันประชุมและมีมติบอกเลิกสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สัญญาเลขที่ทสภ.1-05/2553 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2553 และสัญญาเช่าพื้นที่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สัญญาเลขที่ ทสภ.2-06/2553 ลงวันที่ 30 เม.ย. 2553 โดยไม่มีอำนาจ ซึ่งการที่ จำเลยที่ 4-19 อ้างเหตุบริษัทฯไม่ปฏิบัติ 4 ข้อ คือ 1. ไม่นำส่งยอดรายได้ให้ทอท.ตามสัญญา 2. ไม่เพิ่มวงเงินหลักประกันการปฏิบัติตามสัญญาให้ครบตามเงื่อนไขสัญญา 3. ไม่ติดตั้งอุปกรณ์และระบบสารสนเทศตามสัญญา 4. การที่มีกลุ่มบุคคลปิดพื้นที่อาคารและลานจอดรถและพนักงานของบริษัทไม่ปฏิบัติหน้าที่ ถือว่าบริษัทฯไม่สามารถบริหารจัดการให้เป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาได้ นั้น เป็นข้ออ้างที่ จำเลยทั้งหมดรู้ดีว่า บริษัทฯไม่ได้ทำผิดสัญญา การเข้าปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้เพราะมีบุคคลอื่นบุกรุกและครอบครองพื้นที่เช่าเป็นการขัดขวางการทำงานของบริษัทฯ
ส่วน จำเลยที่ 1- 3 รู้เห็นเป็นใจในการกระทำของจำเลยที่ 4-19 และกรณี จำเลยที่ 2 และ 3 ให้จำเลยที่ 4 ในฐานะรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ลงนามในหนังสือบอกเลิกสัญญา มติเลิกสัญญาจากที่ประชุมของจำเลยที่ 4- 19 มิใช่มติของกรรมการทอท. เป็นมติไม่ชอบ การบอกเลิกสัญญาจึงไม่มีผลแต่อย่างใด
โดยทอท.ได้เปิดประมูลบริหารจัดการอาคารและลานจอดรถหน้าอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และยแจ้งผลการพิจารณามายังกรรมการ บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด และบริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัด เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2553ว่าเป็นผู้ชนะการประมูล ได้สิทธิ์เข้าบริหารจัดการอาคารและลานจอดสุวรรณภูมิ นับตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.2553 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2558อายุสัญญา 5 ปีโดยให้ทำสัญญาภายใน 30 วัน นับจากวันได้รับหนังสือแจ้ง พร้อมนำหลักประกันสัญญาอนุญาตให้ประกอบกิจการเป็นเงินจำนวน 105,930,000 บาท และหลักประกันสัญญาเช่าพื้นที่ เป็นเงินจำนวน 13,568,880 บาท มอบให้ทอท.ในวันทำสัญญา
หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2553 บริษัท วี ดับเบิ้ลยู ไอ เอ็น จำกัด และบริษัท สแตนดาร์ด พร้อมพ์ จำกัดได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัท ปาร์คกิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด ขึ้นโดย บ. วี ดับเบิ้ลยูฯ ถือหุ้น27,500 หุ้น บ. สแตนดาร์ด พร้อมพ์ ฯถือหุ้น 20,000 หุ้นและนายธนกฤตถือหุ้น 2,500 หุ้น เพื่อเข้าทำสัญญากับทอท.เมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2553 โดยในวันที่ 1 เม.ย. 2553 ทอท.ก่อนถึงกำหนดทำสัญญาทอท.ได้ส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาให้บริษัทเพื่อเข้าทำประโยชน์ตามที่ได้อนุมัติ
โดยตามสัญญา บริษัทปาร์คกิ้งฯมีหน้าที่บริหารจัดการและจัดเก็บค่าจอดรถตามอัตราที่ทอท.กำหนด โดยเสียค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้ทอท.เดือนละ 75% ของยอดรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายหรือตามจำนวนค่าตอบแทนขั้นต่ำที่ตกลงเบื้องต้น ปีที่ 1 กำหนดเดือนละ 16.5 ล้านบาท แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า แต่ปรากฎว่า วันที่ 30 เม.ย. 2553 เวลาประมาณ 05.00 น. ขณะพนักงานของบริษัทปาร์คกิ้งฯกำลังปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาได้มีชายฉกรรจ์พร้อมอาวุธปืนประมาณ 10 คน บุกรุกเข้ามาภายในพื้นที่และยึดการจัดเก็บค่าจอดรถไปดำเนินการเอง โดยมีนายธรรศ พจนประพันธ์ เป็นผู้สั่งการ และนำรายได้จากค่าจอดรถไปทั้งหมด ทำให้ บ.ปาร์คกิ้งฯไม่ สามารถ เข้าดำเนินการได้ตามสัญญาถึงวันที่ 30 ก.ค. 2553