วานนี้(16 พ.ค.)นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวถึงผลการสำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชน 17 จังหวัดล่าสุดของเอแบคโพลล์เกี่ยวกับความชื่นชอบนโยบายพรรคการเมือง ซึ่งพบว่าประชาชนชื่นชอบนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคเพื่อไทยเกือบทั้งหมด ในขณะที่การสำรวจความเชื่อถือในการบริหารจัดการปัญหาของพรรคการเมืองในสัปดาห์ที่แล้ว พรรคเพื่อไทยชนะเกือบทั้งหมด ว่า การสำรวจในสัปดาห์ที่แล้วเป็นเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการปัญหา ซึ่งพรรคเพื่อไทยชนะเกือบทั้งหมดยกเว้นเรื่องการแก้ปัญหาทุจริต แต่ก็ห่างกับพรรคประชาธิปัตย์ร้อยละ 2-3 ส่วนครั้งนี้เป็นเรื่องความชื่นชอบในนโยบาย ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ชนะสูสีประมาณร้อยละ 5
อย่างไรก็ดี การสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ บวกลบร้อยละ 7 ฉะนั้น สถิติสัดส่วนของคนที่จะเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ด้วยปัจจัยนโยบายนั้นจะอยู่ที่ ร้อยละ 38-52 ส่วนพรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 33-47 ซึ่งด้วยปัจจัยเรื่องความคลาดเคลื่อนทางสถิติร้อยละ 7 ที่เข้ามา จะทำให้ทั้งสองพรรคสูสีกันมาก ฉะนั้น ความนิยมในภาพใหญ่จึงไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่ และฟันธงไม่ได้เพราะคะแนนความนิยมยังไม่หลุดจากปัจจัยความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่เข้ามา
“การสำรวจครั้งที่แล้วเป็นเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาพวกความเร็ว การเข้าถึง ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้มากกว่า ส่วนการสำรวจคราวนี้เป็นเรื่องนโยบาย แต่หลายตัวก็ใกล้กันมาก เช่น นโยบายปราบยาเสพติด นโยบายแก้ปัญหาปากท้อง นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร ฉะนั้น การสำรวจครั้งที่แล้วกับครั้งนี้เอามาเปรียบเทียบตรงๆ ไม่ได้ เพราะคนมองเรื่องการบริหารจัดการเขาก็ให้เพื่อไทย แต่ถ้ามองนโยบายเขาก็ให้ประชาธิปัตย์แต่ก็ยังสูสีกับพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งในการตัดสินใจโหวต บางคนก็จะดูทั้งสองเรื่อง บางคนก็ดูเรื่องเดียว ต้องลองดูตอนท้ายๆ ว่า การตัดสินใจของประชาชน เขาจะให้น้ำหนักไปทางใดมากกว่ากัน แต่ทั้งเรื่องการบริหารจัดการและนโยบาย ต่างก็มีนัยสำคัญทั้งคู่” นายนพดลกล่าว
**”ชุมพล” เมินโพลพลิกไปพลิกมา
ที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ชทพ. กล่าวถึงโพลขณะนี้ที่พลิกกันไปมาระหว่างสองพรรคใหญ่ ว่า ชทพ.เป็นคนนอกไม่ได้เป็นคู่แข่งจับคู่กับใคร ดังนั้น คงต้องรอดูต่อไปเรื่อยๆ เพราะโพลก็เปลี่ยนแปลงกันอยู่คราวก่อนบอกพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้เสียงอันดับ 1 แต่มาเที่ยวนี้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) รวบเด็ดขาด ดังนั้น โพลแค่สำรวจกระแสขณะนั้นและปัจจุบัน ถ้าโพลให้แน่นอนต้องก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม ประมาณ 1 สัปดาห์ความมีน้ำหนักของโพลจะค่อนข้างสูง เมื่อถามว่า 2 พรรคจะมีการดีเบตแคนดิเดตนายกฯ นายชุมพล กล่าวว่า ไม่ทราบเพราะประเพณีอย่างนี้ของเรายังไม่เคยมีที่ดีเบตเพื่อจะมาเป็นนายกฯ แต่อย่าประมาท 2 พรรคใหญ่
“ดีเบตยังไม่ใช่เครื่องวัดที่แน่นอน เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่พัฒนาเท่าสหรัฐอเมริกา แต่การดีเบตคือการให้ข้อมูลประชาชนทางหนึ่งได้ แต่ยังไม่ใช่ตัวตัดสิน คนพูดเก่งยังไม่แน่ว่าจะได้ ส่วนคนพูดไม่เก่งก็อาจจะได้ก็ได้”
อย่างไรก็ดี การสำรวจครั้งนี้มีช่วงความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่ บวกลบร้อยละ 7 ฉะนั้น สถิติสัดส่วนของคนที่จะเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ด้วยปัจจัยนโยบายนั้นจะอยู่ที่ ร้อยละ 38-52 ส่วนพรรคเพื่อไทยอยู่ที่ร้อยละ 33-47 ซึ่งด้วยปัจจัยเรื่องความคลาดเคลื่อนทางสถิติร้อยละ 7 ที่เข้ามา จะทำให้ทั้งสองพรรคสูสีกันมาก ฉะนั้น ความนิยมในภาพใหญ่จึงไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่ และฟันธงไม่ได้เพราะคะแนนความนิยมยังไม่หลุดจากปัจจัยความคลาดเคลื่อนทางสถิติที่เข้ามา
“การสำรวจครั้งที่แล้วเป็นเรื่องความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาพวกความเร็ว การเข้าถึง ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้มากกว่า ส่วนการสำรวจคราวนี้เป็นเรื่องนโยบาย แต่หลายตัวก็ใกล้กันมาก เช่น นโยบายปราบยาเสพติด นโยบายแก้ปัญหาปากท้อง นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร ฉะนั้น การสำรวจครั้งที่แล้วกับครั้งนี้เอามาเปรียบเทียบตรงๆ ไม่ได้ เพราะคนมองเรื่องการบริหารจัดการเขาก็ให้เพื่อไทย แต่ถ้ามองนโยบายเขาก็ให้ประชาธิปัตย์แต่ก็ยังสูสีกับพรรคเพื่อไทยอยู่ ซึ่งในการตัดสินใจโหวต บางคนก็จะดูทั้งสองเรื่อง บางคนก็ดูเรื่องเดียว ต้องลองดูตอนท้ายๆ ว่า การตัดสินใจของประชาชน เขาจะให้น้ำหนักไปทางใดมากกว่ากัน แต่ทั้งเรื่องการบริหารจัดการและนโยบาย ต่างก็มีนัยสำคัญทั้งคู่” นายนพดลกล่าว
**”ชุมพล” เมินโพลพลิกไปพลิกมา
ที่พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรค ชทพ. กล่าวถึงโพลขณะนี้ที่พลิกกันไปมาระหว่างสองพรรคใหญ่ ว่า ชทพ.เป็นคนนอกไม่ได้เป็นคู่แข่งจับคู่กับใคร ดังนั้น คงต้องรอดูต่อไปเรื่อยๆ เพราะโพลก็เปลี่ยนแปลงกันอยู่คราวก่อนบอกพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้เสียงอันดับ 1 แต่มาเที่ยวนี้พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) รวบเด็ดขาด ดังนั้น โพลแค่สำรวจกระแสขณะนั้นและปัจจุบัน ถ้าโพลให้แน่นอนต้องก่อนวันที่ 3 กรกฎาคม ประมาณ 1 สัปดาห์ความมีน้ำหนักของโพลจะค่อนข้างสูง เมื่อถามว่า 2 พรรคจะมีการดีเบตแคนดิเดตนายกฯ นายชุมพล กล่าวว่า ไม่ทราบเพราะประเพณีอย่างนี้ของเรายังไม่เคยมีที่ดีเบตเพื่อจะมาเป็นนายกฯ แต่อย่าประมาท 2 พรรคใหญ่
“ดีเบตยังไม่ใช่เครื่องวัดที่แน่นอน เพราะประชาธิปไตยของไทยยังไม่พัฒนาเท่าสหรัฐอเมริกา แต่การดีเบตคือการให้ข้อมูลประชาชนทางหนึ่งได้ แต่ยังไม่ใช่ตัวตัดสิน คนพูดเก่งยังไม่แน่ว่าจะได้ ส่วนคนพูดไม่เก่งก็อาจจะได้ก็ได้”