ASTVผู้จัดการรายวัน - “เอแบคโพลล์” ชี้คนไทยร้อยละ 52.4 ไม่มีความหวังจะได้รัฐบาลที่ดีขึ้นหลังเลือกตั้ง แถมร้อยละ 44.9 เลือกตั้งแล้วสถานการณ์ความขัดแย้งก็ยังไม่จบ
วานนี้(24 เม.ย.)สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจทิศทางการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนต่อพรรคการเมือง และความหวังต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจทิศทางการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนต่อพรรคการเมือง และความหวังต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ตรัง และนครศรีธรรมราช
โดยการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง โดยร้อยละ 24.0 จะไม่ไป และร้อยละ10.4 ยังไม่แน่ใจ แต่เมื่อถามถึงความหวังต่อการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ที่จะได้รัฐบาลใหม่ที่ดีขึ้นหรือไม่ พบว่า เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.4 ไม่ค่อยมีความหวังถึงไม่มีความหวังเลยว่าจะได้รัฐบาลที่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ค่อนข้างมีความหวังถึงมีความหวังมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 44.9 ไม่เชื่อว่าเลือกตั้งใหม่แล้วจะลดความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ในขณะที่ร้อยละ 18.0 เชื่อว่าจะลดความขัดแย้งลงได้ และร้อยละ 37.1 ไม่แน่ใจ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 คิดว่า น่าจะแข่งขันกันหลายๆ พรรค เพราะจะได้มีให้เลือกหลายพรรค เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองอื่นๆ ได้แสดงความสามารถในการบริหารประเทศ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 41.9 คิดว่าน่าจะแข่งขันกันสองพรรคใหญ่ เพราะจะได้เสียงที่ชัดเจน เด็ดขาด ไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารประเทศ จะได้รัฐบาลพรรคเดียว เป็นต้น และเมื่อถามว่าจะลงคะแนนอย่างไร ถ้านักการเมืองที่ชื่นชอบ แต่อยู่ในพรรคการเมืองที่ไม่ชอบ พบว่า ร้อยละ 44.5 จะเลือกเฉพาะคนไม่เลือกพรรค ร้อยละ 25.0 จะเลือกทั้งคนทั้งพรรค ร้อยละ 13.4 จะไม่เลือกทั้งคน ไม่เลือกทั้งพรรค และร้อยละ 17.1 จะกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่ถูกศึกษามีสัดส่วนก่ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 49.1 คิดว่า ความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยจะทำให้มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง แต่ร้อยละ 50.9 ระบุไม่มีผล และที่น่าสนใจ คือ ร้อยละ 51.9 ระบุจะยังเลือกพรรคการเมืองเดิม ในขณะที่จำนวนมาก หรือร้อยละ 42.6 ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 6.5 จะเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคการเมืองอื่นที่ต่างไปจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว
วานนี้(24 เม.ย.)สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เสนอผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่องสำรวจทิศทางการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนต่อพรรคการเมือง และความหวังต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจทิศทางการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชนต่อพรรคการเมือง และความหวังต่อสถานการณ์การเมืองภายหลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ราชบุรี นนทบุรี ชลบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ หนองคาย ชัยภูมิ สุรินทร์ อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา ตรัง และนครศรีธรรมราช
โดยการสำรวจพบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.6 ตั้งใจจะไปเลือกตั้ง โดยร้อยละ 24.0 จะไม่ไป และร้อยละ10.4 ยังไม่แน่ใจ แต่เมื่อถามถึงความหวังต่อการเลือกตั้งครั้งที่จะถึงนี้ที่จะได้รัฐบาลใหม่ที่ดีขึ้นหรือไม่ พบว่า เกินกว่าครึ่งเล็กน้อยหรือร้อยละ 52.4 ไม่ค่อยมีความหวังถึงไม่มีความหวังเลยว่าจะได้รัฐบาลที่ดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 47.6 ค่อนข้างมีความหวังถึงมีความหวังมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 44.9 ไม่เชื่อว่าเลือกตั้งใหม่แล้วจะลดความขัดแย้งทางการเมืองลงได้ ในขณะที่ร้อยละ 18.0 เชื่อว่าจะลดความขัดแย้งลงได้ และร้อยละ 37.1 ไม่แน่ใจ
ผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.1 คิดว่า น่าจะแข่งขันกันหลายๆ พรรค เพราะจะได้มีให้เลือกหลายพรรค เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองอื่นๆ ได้แสดงความสามารถในการบริหารประเทศ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 41.9 คิดว่าน่าจะแข่งขันกันสองพรรคใหญ่ เพราะจะได้เสียงที่ชัดเจน เด็ดขาด ไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการบริหารประเทศ จะได้รัฐบาลพรรคเดียว เป็นต้น และเมื่อถามว่าจะลงคะแนนอย่างไร ถ้านักการเมืองที่ชื่นชอบ แต่อยู่ในพรรคการเมืองที่ไม่ชอบ พบว่า ร้อยละ 44.5 จะเลือกเฉพาะคนไม่เลือกพรรค ร้อยละ 25.0 จะเลือกทั้งคนทั้งพรรค ร้อยละ 13.4 จะไม่เลือกทั้งคน ไม่เลือกทั้งพรรค และร้อยละ 17.1 จะกาช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนที่ถูกศึกษามีสัดส่วนก่ำกึ่งกันคือ ร้อยละ 49.1 คิดว่า ความขัดแย้งในพรรคเพื่อไทยจะทำให้มีผลกระทบต่อการเลือกตั้ง แต่ร้อยละ 50.9 ระบุไม่มีผล และที่น่าสนใจ คือ ร้อยละ 51.9 ระบุจะยังเลือกพรรคการเมืองเดิม ในขณะที่จำนวนมาก หรือร้อยละ 42.6 ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 6.5 จะเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคการเมืองอื่นที่ต่างไปจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว