นโยบายหาเสียงที่ไม่ได้เขียนไว้อีกประการหนึ่งก็คือ เขตแดนไทย-กัมพูชา
เรื่องสำคัญเช่นนี้ ทำไมเกือบทุกพรรคจึงไม่กล้าแสดงจุดยืนนี้บ้าง
นโยบายของพรรคการเมืองที่กำลังลงสนามเลือกตั้งต่างก็มีการแถลงอย่างสวยหรูในด้านต่างๆ แต่มีนโยบายที่ไม่แถลงประการหนึ่งก็คือ นโยบายเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งตั้งแต่ปราสาทพระวิหารจนถึงปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย
มีแต่พรรคพันธมิตรที่มีหมายเลขพรรคเป็นช่อง “ไม่ประสงค์จะลงคะแนน” เท่านั้นที่มีจุดยืนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม แม้แต่พรรคที่อ้างตนว่ามีผู้สนับสนุนเป็นฐานเสียงอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและได้รับผลกระทบจำนวนมาก เช่น พรรคภูมิใจไทย หรือ พรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่มีนโยบายเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการให้จับต้องได้ อาจกล่าวได้ว่าทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคพันธมิตรต่างก็หวังจะฉวยโอกาสโดยไม่ผูกพันตนเองด้วยการแสดงนโยบายในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ ประเทศไทยกำลังจะเสียเอกราชและอธิปไตยในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาจากการที่ประเทศไทยมีจุดยืนในการยอมรับเอาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ทำโดยฝรั่งเศสเมื่อกว่า 100 ปีก่อนตามบันทึกความเข้าใจฯพ.ศ. 2543 มากำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเสียใหม่
จากเดิมที่ประเทศไทยกำหนด (1) เขตแดนตามธรรมชาติโดยใช้หลักสันปันน้ำในบริเวณที่มีและ (2) เขตแดนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาที่ได้ตกลงจัดทำหลักเขตร่วมกันกับฝรั่งเศสในบริเวณนอกเหนือไปจาก (1) ที่หลักเขตตามธรรมชาติไม่ชัดเจนคือ ไม่มีสันปันน้ำ แม่น้ำ หรือหน้าผา ในขณะที่กัมพูชาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 100,000 เป็นหลักในการกำหนดเส้นเขตแดน ซึ่งดูไปแล้วไม่น่าจะขัดแย้งกันหากไม่มาทำบันทึกความเข้าใจพ.ศ. 2543 ที่ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 มากำหนดเขตแดน
บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 จึงเป็นการยอมสละเส้นเขตแดนเดิมที่มีอยู่ระหว่างไทยและฝรั่งเศสแล้วหันมาจัดทำเส้นเขตแดนกันใหม่กับกัมพูชา ทั้งๆ ที่ไทยได้ตกลงกับคู่กรณีคือฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้วในอดีตที่ผ่านมา
ไทยมิได้ได้ข้อตกลงกับฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และพ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) นี้มาฟรี ไทยจำต้องเอาพื้นที่หลายส่วนซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่กว่าบริเวณปราสาทพระวิหารหลายเท่านัก เพื่อแลกเอามาจนได้ข้อตกลงดังกล่าวกับฝรั่งเศสซึ่งภายหลังกัมพูชาเป็นฝ่ายเข้ามาสวมสิทธิแทนฝรั่งเศส
ความไม่สงบและการปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งพลเรือนและทหาร คนไทยต้องถูกจับในดินแดนไทยไปขึ้นศาลกัมพูชา คนไทยต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศตนเอง ทั้งหมดจึงมีสาเหตุมาจากนโยบายเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาที่เริ่มต้นมาจากบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 เป็นสำคัญเพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปัญหาเช่นนี้มาก่อน
กัมพูชาได้อาศัยข้อตกลงดังกล่าวสร้างเส้นเขตแดนกับไทยขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการขยายดินแดนของตนเองรุกล้ำเข้ามาในดินแดนที่เป็นของไทย ในขณะที่ฝ่ายไทยก็มิได้มีนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเหมือนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาว่า เขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ที่ใด ทั้งๆ ที่หากไม่มีความชัดเจน ฝ่ายความมั่นคง เช่น ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และกระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานเพื่อปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างไรเพราะอธิปไตยต้องมีการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจน
การย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมาของผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำจึงล้วนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีการสมคบคิดในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่างฝ่ายการเมืองของไทยและกัมพูชา และได้มีการกระทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปีตามอายุของบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543โดยไม่จำกัดว่าเป็นรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทย
ผลกระทบจึงมิได้มีเฉพาะต่อนโยบายการป้องกันประเทศ แต่หากยังอาจเป็นสาเหตุบานปลายมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งพลังงานในอ่าวไทยหรือความอยู่รอดของอาเซียนในอนาคต
สิ่งที่น่าจะสืบค้นเพื่อให้ทราบว่าเหตุใดแต่ละพรรคการเมืองทำไมจึงไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ก็คือ ที่มาของบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 ที่จัดทำขึ้นในสมัยของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ประเด็นก็คือเป็นการกระทำที่บกพร่องโดยที่ตนเองรู้ไม่เท่าทันฝ่ายข้าราชการประจำ เช่น กระทรวงการต่างประเทศที่อยู่ใกล้ชิดกับข้อมูลมากกว่าหรือว่ารู้เท่าทัน
หากเป็นความบกพร่องรู้ไม่เท่าทันของพรรคประชาธิปัตย์แต่ไม่สามารถแก้ไขได้เพราะตนเองต้องพ้นอำนาจไปเสียก่อน ทำไมเมื่อได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง มีผู้ทักท้วงและมีเหตุการณ์เป็นข้อเท็จจริงสนับสนุนในปัจจุบัน เหตุใดจึงไม่แก้ไขยกเลิกเสียเพราะฝ่ายกัมพูชาก็ผิดเงื่อนไขที่กำหนดในบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 นี้อย่างชัดแจ้งหลายกรณีอยู่แล้ว
ข้ออ้างของการไม่มีกรอบความตกลงไว้เจรจาแบบ 2 ฝ่ายหรือทวิภาคีก็ดี การป้องกันมิให้นำข้อพิพาทไปขยายผลสู่เวทีอื่นๆ เช่น อาเซียน สหประชาชาติ หรือแม้แต่ที่วาดภาพให้เกรงกลัวว่าจะต้องไปขึ้นศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ ICJ) ก็ไม่สามารถทำได้เป็นประจักษ์อยู่แล้ว
ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ข้างต้นจึงไม่สนับสนุนสมมติฐานของการบกพร่องโดยไม่ทราบข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นผู้ให้กำเนิดบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด
เช่นเดียวกันกับพรรคเพื่อไทย ในสมัยที่เป็นรัฐบาลต่อจากพรรคประชาธิปัตย์ก็มิได้มีนโยบายหาเสียงเป็นจุดยืนในเรื่องนี้แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามเมื่อเป็นรัฐบาลกลับมีพฤติกรรมในเชิงสมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายการเมืองกัมพูชามาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นการไปทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2544 เพื่อแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลเป็นการเพิ่มเติมทั้งๆ ที่ยังมิได้มีการบรรลุการสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบกตามบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด หรือ
การทูตแบบลับของทักษิณที่เดินทางไปพบผู้นำกัมพูชาอย่างกะทันหัน และไม่มีกำหนดการล่วงหน้าเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ หรือ
การให้รัฐมนตรีต่างประเทศนายนพดล ปัทมะ ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนให้กัมพูชาสามารถนำเอาไปอ้างต่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ว่าไทยสนับสนุนกัมพูชาในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่จุดยืนของทางการไทยนับตั้งแต่ศาลโลกวินิจฉัยก็มิได้ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาแต่อย่างใด
ในทำนองเดียวกัน พรรคภูมิใจไทยที่อ้างว่ามีฐานเสียงจากประชาชนในบริเวณจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับเขตแดนกัมพูชาซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นหลัก แต่ก็มิได้มีนโยบายเป็นจุดยืนว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชาอย่างไรหากต้องเข้ามาร่วมรัฐบาลในอนาคต
จึงอาจกล่าวได้ว่าทุกพรรคการเมืองรู้เท่าทัน แต่ไม่ได้แสดงนโยบายเป็นจุดยืนเพื่อผูกมัดตนเองแต่อย่างใด การไม่แก้ไขแสดงว่ามีประโยชน์จากการไม่แก้ไขมากกว่าแก้ไขใช่หรือไม่ และประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร
สมมติฐานอันหนึ่งที่มักจะถูกนำมากล่าวถึงอยู่เสมอในประเด็นนี้ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ทำไปเพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMFในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540
การกู้ยืมเงินจาก IMF ก็คล้ายกับการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่สมาชิกสามารถกู้ได้เป็นสัดส่วนกับเงินค่าสมาชิกที่ได้จ่ายสมทบเข้ากองกลางไปนั่นเอง อาจเป็น 2-3 เท่าของเงินค่าสมาชิก
ประเทศไทยเมื่อครั้งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้องขอกู้ยืมเงินจาก IMF ก็เนื่องจากหลายๆ ประเทศที่ประสงค์อยากจะให้ไทยกู้โดยอ้อมผ่าน “คนกลาง” คือ IMF เพื่อความโปร่งใสและควบคุมได้โดยไม่เสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เนื่องจาก IMF เป็นแค่องค์กรระหว่างประเทศที่มิได้มีอธิปไตยเหนือประเทศที่มากู้ ดังนั้นวิธีการควบคุมบริหารเงินกู้จึงทำเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงหรือ Letter of Intent ที่ประเทศผู้กู้ได้ปรึกษาทำความตกลงนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการก่อนว่าจะเสนอเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อให้ IMF สามารถอนุมัติเงินกู้ได้ เนื่องจากมีการแบ่งจ่ายเงินกู้เป็นงวดดังนั้นหากมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอมาจนเป็นที่น่าพอใจก็อาจระงับเงินกู้งวดต่อไปได้
หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับแรกได้จัดทำเมื่อ 14 ส.ค. 40 โดยนายทนง พิทยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐบาลในขณะนั้น และได้รับการอนุมัติจาก IMF เมื่อ 20 ส.ค. 40 ส่วนการกู้เงินในงวดต่อๆ มาได้กระทำโดยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัยโดยนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์เป็นผู้ลงนามจนถึงงวดสุดท้ายเมื่อ 21 ก.ย. 42 ที่แสดงเจตจำนงที่จะไม่กู้เงินจาก IMF อีกต่อไปแม้จะยังเหลือวงเงินให้กู้ได้อีกก็ตาม
ดังนั้นเมื่อไม่มีการเสนอขอเงินกู้ก็ไม่มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติ ประเด็นในเรื่องเวลาก็ไม่สอดคล้องกับเวลาที่ไปลงนามทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 เมื่อ 14 มิ.ย. 43 ที่ห่างกันเกือบ 1 ปี และประเด็นในเรื่องเขตแดนและการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารก็ไม่น่าจะสอดคล้องกับพันธกิจของ IMF ที่จะนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขเงินกู้กับประเทศสมาชิกผู้ขอกู้แต่อย่างใด
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 จึงน่าจะทำขึ้นด้วยความตั้งใจของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการกู้เงินของ IMF แต่การคงไว้โดยไม่ยกเลิกแม้ผลเสียจะปรากฏให้เห็นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอภิสิทธิ์และรัฐบาลของเขาพยายามจะทำ 2 ผิดให้เป็น 1 ถูก นั่นคือรู้แล้วว่า “ผิด” แต่ไม่พยายามแก้ไขในสิ่ง “ผิด” กลับเดินหน้าทำ “ผิด” มากขึ้น แต่สถานการณ์ในปัจจุบันก็ซ้ำเติมและไม่เอื้ออำนวยให้แต่อย่างใด
ทางออกโดย “การเมืองใหม่” สำหรับกรณีนี้จึงอยู่ที่นักการเมืองในฐานะผู้รับเลือกตั้งและประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นสำคัญว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร นักการเมืองต้องมีนโยบายที่แสดงเป็นจุดยืนต่อสาธารณชน หากไม่มีประชาชนก็ต้องเรียกร้องให้มีเพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่ได้พยายามจะมั่วนิ่มเป็นนักฉวยโอกาส เป็นการผูกมัดหรือสัญญาประชาคม การเมืองที่เจริญแล้วเขาทำกันทั้งนั้น
อย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ นักการเมืองอาจพูดอย่างทำอย่างก็ได้ แต่ดูตัวอย่างของหลายประเทศแม้แต่ไทยในยุคทักษิณหาเสียง 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน ทำไมทักษิณจึงรักษาสัญญา มิใช่เพราะต้องการซื้อใจเพื่อหวังคะแนนเสียงครั้งหน้ามิใช่หรือ
“การเมืองใหม่” ของภาคประชาชนจึงไม่ได้อยู่ที่การอยู่บนถนนแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่การเรียกร้องในเวทีหรือโอกาสต่างๆ ให้นักการเมืองมาตอบคำถามที่อยากถามมิใช่เฉพาะที่อยากตอบ ต่างฝ่ายต่างต้องรักษาสิทธิของตนเอง ประชาธิปไตยก็จะมีมากกว่า 4 วินาทีตอนหย่อนบัตร อย่ากล่าวโทษนักการเมืองแต่เพียงลำพัง
เรื่องสำคัญเช่นนี้ ทำไมเกือบทุกพรรคจึงไม่กล้าแสดงจุดยืนนี้บ้าง
นโยบายของพรรคการเมืองที่กำลังลงสนามเลือกตั้งต่างก็มีการแถลงอย่างสวยหรูในด้านต่างๆ แต่มีนโยบายที่ไม่แถลงประการหนึ่งก็คือ นโยบายเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งตั้งแต่ปราสาทพระวิหารจนถึงปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาควาย
มีแต่พรรคพันธมิตรที่มีหมายเลขพรรคเป็นช่อง “ไม่ประสงค์จะลงคะแนน” เท่านั้นที่มีจุดยืนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม แม้แต่พรรคที่อ้างตนว่ามีผู้สนับสนุนเป็นฐานเสียงอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวและได้รับผลกระทบจำนวนมาก เช่น พรรคภูมิใจไทย หรือ พรรคเพื่อไทย แต่ก็ไม่มีนโยบายเป็นจุดยืนอย่างเป็นทางการให้จับต้องได้ อาจกล่าวได้ว่าทุกพรรคการเมืองยกเว้นพรรคพันธมิตรต่างก็หวังจะฉวยโอกาสโดยไม่ผูกพันตนเองด้วยการแสดงนโยบายในเรื่องนี้แต่อย่างใด
ความสำคัญในเรื่องนี้อยู่ที่ ประเทศไทยกำลังจะเสียเอกราชและอธิปไตยในบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาจากการที่ประเทศไทยมีจุดยืนในการยอมรับเอาแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ที่ทำโดยฝรั่งเศสเมื่อกว่า 100 ปีก่อนตามบันทึกความเข้าใจฯพ.ศ. 2543 มากำหนดเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาเสียใหม่
จากเดิมที่ประเทศไทยกำหนด (1) เขตแดนตามธรรมชาติโดยใช้หลักสันปันน้ำในบริเวณที่มีและ (2) เขตแดนที่มนุษย์สร้างขึ้นมาที่ได้ตกลงจัดทำหลักเขตร่วมกันกับฝรั่งเศสในบริเวณนอกเหนือไปจาก (1) ที่หลักเขตตามธรรมชาติไม่ชัดเจนคือ ไม่มีสันปันน้ำ แม่น้ำ หรือหน้าผา ในขณะที่กัมพูชาใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 100,000 เป็นหลักในการกำหนดเส้นเขตแดน ซึ่งดูไปแล้วไม่น่าจะขัดแย้งกันหากไม่มาทำบันทึกความเข้าใจพ.ศ. 2543 ที่ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 มากำหนดเขตแดน
บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 จึงเป็นการยอมสละเส้นเขตแดนเดิมที่มีอยู่ระหว่างไทยและฝรั่งเศสแล้วหันมาจัดทำเส้นเขตแดนกันใหม่กับกัมพูชา ทั้งๆ ที่ไทยได้ตกลงกับคู่กรณีคือฝรั่งเศสไปเรียบร้อยแล้วในอดีตที่ผ่านมา
ไทยมิได้ได้ข้อตกลงกับฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) และพ.ศ. 2450 (ค.ศ.1907) นี้มาฟรี ไทยจำต้องเอาพื้นที่หลายส่วนซึ่งมีขนาดเนื้อที่ใหญ่กว่าบริเวณปราสาทพระวิหารหลายเท่านัก เพื่อแลกเอามาจนได้ข้อตกลงดังกล่าวกับฝรั่งเศสซึ่งภายหลังกัมพูชาเป็นฝ่ายเข้ามาสวมสิทธิแทนฝรั่งเศส
ความไม่สงบและการปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตทั้งพลเรือนและทหาร คนไทยต้องถูกจับในดินแดนไทยไปขึ้นศาลกัมพูชา คนไทยต้องกลายเป็นผู้ลี้ภัยในประเทศตนเอง ทั้งหมดจึงมีสาเหตุมาจากนโยบายเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาที่เริ่มต้นมาจากบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 เป็นสำคัญเพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยมีปัญหาเช่นนี้มาก่อน
กัมพูชาได้อาศัยข้อตกลงดังกล่าวสร้างเส้นเขตแดนกับไทยขึ้นมาใหม่ ทำให้มีการขยายดินแดนของตนเองรุกล้ำเข้ามาในดินแดนที่เป็นของไทย ในขณะที่ฝ่ายไทยก็มิได้มีนโยบายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมเหมือนดังเช่นในอดีตที่ผ่านมาว่า เขตแดนไทย-กัมพูชาอยู่ที่ใด ทั้งๆ ที่หากไม่มีความชัดเจน ฝ่ายความมั่นคง เช่น ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และกระทรวงการต่างประเทศ จะทำงานเพื่อปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้อย่างไรเพราะอธิปไตยต้องมีการกำหนดเขตแดนที่ชัดเจน
การย่อหย่อนในการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติไทยในห้วงเวลาที่ผ่านมาของผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำจึงล้วนเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้อย่างสูงที่จะมีการสมคบคิดในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กันระหว่างฝ่ายการเมืองของไทยและกัมพูชา และได้มีการกระทำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปีตามอายุของบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543โดยไม่จำกัดว่าเป็นรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์หรือเพื่อไทย
ผลกระทบจึงมิได้มีเฉพาะต่อนโยบายการป้องกันประเทศ แต่หากยังอาจเป็นสาเหตุบานปลายมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งพลังงานในอ่าวไทยหรือความอยู่รอดของอาเซียนในอนาคต
สิ่งที่น่าจะสืบค้นเพื่อให้ทราบว่าเหตุใดแต่ละพรรคการเมืองทำไมจึงไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องนี้ก็คือ ที่มาของบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 ที่จัดทำขึ้นในสมัยของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำ
ประเด็นก็คือเป็นการกระทำที่บกพร่องโดยที่ตนเองรู้ไม่เท่าทันฝ่ายข้าราชการประจำ เช่น กระทรวงการต่างประเทศที่อยู่ใกล้ชิดกับข้อมูลมากกว่าหรือว่ารู้เท่าทัน
หากเป็นความบกพร่องรู้ไม่เท่าทันของพรรคประชาธิปัตย์แต่ไม่สามารถแก้ไขได้เพราะตนเองต้องพ้นอำนาจไปเสียก่อน ทำไมเมื่อได้เป็นรัฐบาลอีกครั้ง มีผู้ทักท้วงและมีเหตุการณ์เป็นข้อเท็จจริงสนับสนุนในปัจจุบัน เหตุใดจึงไม่แก้ไขยกเลิกเสียเพราะฝ่ายกัมพูชาก็ผิดเงื่อนไขที่กำหนดในบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 นี้อย่างชัดแจ้งหลายกรณีอยู่แล้ว
ข้ออ้างของการไม่มีกรอบความตกลงไว้เจรจาแบบ 2 ฝ่ายหรือทวิภาคีก็ดี การป้องกันมิให้นำข้อพิพาทไปขยายผลสู่เวทีอื่นๆ เช่น อาเซียน สหประชาชาติ หรือแม้แต่ที่วาดภาพให้เกรงกลัวว่าจะต้องไปขึ้นศาลโลก (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ ICJ) ก็ไม่สามารถทำได้เป็นประจักษ์อยู่แล้ว
ข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ข้างต้นจึงไม่สนับสนุนสมมติฐานของการบกพร่องโดยไม่ทราบข้อมูลของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นผู้ให้กำเนิดบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด
เช่นเดียวกันกับพรรคเพื่อไทย ในสมัยที่เป็นรัฐบาลต่อจากพรรคประชาธิปัตย์ก็มิได้มีนโยบายหาเสียงเป็นจุดยืนในเรื่องนี้แต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามเมื่อเป็นรัฐบาลกลับมีพฤติกรรมในเชิงสมรู้ร่วมคิดกับฝ่ายการเมืองกัมพูชามาโดยตลอด
ไม่ว่าจะเป็นการไปทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2544 เพื่อแบ่งผลประโยชน์ทางทะเลเป็นการเพิ่มเติมทั้งๆ ที่ยังมิได้มีการบรรลุการสำรวจและจัดทำหลักเขตทางบกตามบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 แต่อย่างใด หรือ
การทูตแบบลับของทักษิณที่เดินทางไปพบผู้นำกัมพูชาอย่างกะทันหัน และไม่มีกำหนดการล่วงหน้าเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นนายกฯ หรือ
การให้รัฐมนตรีต่างประเทศนายนพดล ปัทมะ ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาเพื่อเป็นหลักฐานสนับสนุนให้กัมพูชาสามารถนำเอาไปอ้างต่อคณะกรรมการมรดกโลกได้ว่าไทยสนับสนุนกัมพูชาในเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่จุดยืนของทางการไทยนับตั้งแต่ศาลโลกวินิจฉัยก็มิได้ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาแต่อย่างใด
ในทำนองเดียวกัน พรรคภูมิใจไทยที่อ้างว่ามีฐานเสียงจากประชาชนในบริเวณจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับเขตแดนกัมพูชาซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นหลัก แต่ก็มิได้มีนโยบายเป็นจุดยืนว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนไทย-กัมพูชาอย่างไรหากต้องเข้ามาร่วมรัฐบาลในอนาคต
จึงอาจกล่าวได้ว่าทุกพรรคการเมืองรู้เท่าทัน แต่ไม่ได้แสดงนโยบายเป็นจุดยืนเพื่อผูกมัดตนเองแต่อย่างใด การไม่แก้ไขแสดงว่ามีประโยชน์จากการไม่แก้ไขมากกว่าแก้ไขใช่หรือไม่ และประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร
สมมติฐานอันหนึ่งที่มักจะถูกนำมากล่าวถึงอยู่เสมอในประเด็นนี้ก็คือ พรรคประชาธิปัตย์ทำไปเพื่อแลกเปลี่ยนกับความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMFในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2540
การกู้ยืมเงินจาก IMF ก็คล้ายกับการกู้ยืมเงินจากสหกรณ์ออมทรัพย์ที่สมาชิกสามารถกู้ได้เป็นสัดส่วนกับเงินค่าสมาชิกที่ได้จ่ายสมทบเข้ากองกลางไปนั่นเอง อาจเป็น 2-3 เท่าของเงินค่าสมาชิก
ประเทศไทยเมื่อครั้งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้องขอกู้ยืมเงินจาก IMF ก็เนื่องจากหลายๆ ประเทศที่ประสงค์อยากจะให้ไทยกู้โดยอ้อมผ่าน “คนกลาง” คือ IMF เพื่อความโปร่งใสและควบคุมได้โดยไม่เสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่เนื่องจาก IMF เป็นแค่องค์กรระหว่างประเทศที่มิได้มีอธิปไตยเหนือประเทศที่มากู้ ดังนั้นวิธีการควบคุมบริหารเงินกู้จึงทำเป็นหนังสือแสดงเจตจำนงหรือ Letter of Intent ที่ประเทศผู้กู้ได้ปรึกษาทำความตกลงนอกรอบอย่างไม่เป็นทางการก่อนว่าจะเสนอเงื่อนไขอะไรบ้างเพื่อให้ IMF สามารถอนุมัติเงินกู้ได้ เนื่องจากมีการแบ่งจ่ายเงินกู้เป็นงวดดังนั้นหากมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เสนอมาจนเป็นที่น่าพอใจก็อาจระงับเงินกู้งวดต่อไปได้
หนังสือแสดงเจตจำนงฉบับแรกได้จัดทำเมื่อ 14 ส.ค. 40 โดยนายทนง พิทยะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของรัฐบาลในขณะนั้น และได้รับการอนุมัติจาก IMF เมื่อ 20 ส.ค. 40 ส่วนการกู้เงินในงวดต่อๆ มาได้กระทำโดยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัยโดยนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์เป็นผู้ลงนามจนถึงงวดสุดท้ายเมื่อ 21 ก.ย. 42 ที่แสดงเจตจำนงที่จะไม่กู้เงินจาก IMF อีกต่อไปแม้จะยังเหลือวงเงินให้กู้ได้อีกก็ตาม
ดังนั้นเมื่อไม่มีการเสนอขอเงินกู้ก็ไม่มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติ ประเด็นในเรื่องเวลาก็ไม่สอดคล้องกับเวลาที่ไปลงนามทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 เมื่อ 14 มิ.ย. 43 ที่ห่างกันเกือบ 1 ปี และประเด็นในเรื่องเขตแดนและการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารก็ไม่น่าจะสอดคล้องกับพันธกิจของ IMF ที่จะนำมากำหนดเป็นเงื่อนไขเงินกู้กับประเทศสมาชิกผู้ขอกู้แต่อย่างใด
จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ การทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. 2543 จึงน่าจะทำขึ้นด้วยความตั้งใจของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขการกู้เงินของ IMF แต่การคงไว้โดยไม่ยกเลิกแม้ผลเสียจะปรากฏให้เห็นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอภิสิทธิ์และรัฐบาลของเขาพยายามจะทำ 2 ผิดให้เป็น 1 ถูก นั่นคือรู้แล้วว่า “ผิด” แต่ไม่พยายามแก้ไขในสิ่ง “ผิด” กลับเดินหน้าทำ “ผิด” มากขึ้น แต่สถานการณ์ในปัจจุบันก็ซ้ำเติมและไม่เอื้ออำนวยให้แต่อย่างใด
ทางออกโดย “การเมืองใหม่” สำหรับกรณีนี้จึงอยู่ที่นักการเมืองในฐานะผู้รับเลือกตั้งและประชาชนผู้เลือกตั้งเป็นสำคัญว่าจะมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างไร นักการเมืองต้องมีนโยบายที่แสดงเป็นจุดยืนต่อสาธารณชน หากไม่มีประชาชนก็ต้องเรียกร้องให้มีเพื่อแสดงให้รู้ว่าไม่ได้พยายามจะมั่วนิ่มเป็นนักฉวยโอกาส เป็นการผูกมัดหรือสัญญาประชาคม การเมืองที่เจริญแล้วเขาทำกันทั้งนั้น
อย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ นักการเมืองอาจพูดอย่างทำอย่างก็ได้ แต่ดูตัวอย่างของหลายประเทศแม้แต่ไทยในยุคทักษิณหาเสียง 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน ทำไมทักษิณจึงรักษาสัญญา มิใช่เพราะต้องการซื้อใจเพื่อหวังคะแนนเสียงครั้งหน้ามิใช่หรือ
“การเมืองใหม่” ของภาคประชาชนจึงไม่ได้อยู่ที่การอยู่บนถนนแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่อยู่ที่การเรียกร้องในเวทีหรือโอกาสต่างๆ ให้นักการเมืองมาตอบคำถามที่อยากถามมิใช่เฉพาะที่อยากตอบ ต่างฝ่ายต่างต้องรักษาสิทธิของตนเอง ประชาธิปไตยก็จะมีมากกว่า 4 วินาทีตอนหย่อนบัตร อย่ากล่าวโทษนักการเมืองแต่เพียงลำพัง