ASTVผู้จัดการรายวัน- “กฟผ.” ลุ้นโรงไฟฟ้าถ่านหินผลิตไฟเข้าระบบตามแผนโรงแรกปี 2562 หลังเลื่อนนิวเคลียร์ 3 ปีดันใช้ก๊าซฯผลิตไฟพุ่งเป็น 80% เสี่ยงต่อความมั่นคง เผยบริหารไม่ดีวิกฤติพลังงานเกิดขึ้นได้ วอนคนไทยเข้าใจอีก 10 ปีหนีไม่พ้นถ่านหิน-นิวเคลียร์
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ในระยะอีก 10 ปีข้างหน้าการผลิตไฟฟ้าของไทยจำเป็นจะต้องมองหาเชื้อเพลิงอื่นๆ เข้ามาเสริมความมั่นคงระบบนอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติซึ่งมีเพียง 2 เชื้อเพลิงหลักคือ ถ่านหิน และนิวเคลียร์โดยระยะแรกกฟผ.มองไปที่ถ่านหินนำเข้าที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดโดยพยายามที่จะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามนโยบายรัฐบาลกำหนดให้เป็นไปตามแผนโรงแรกที่จะเข้าระบบปี 2562
ทั้งนี้ยอมรับว่าหากไทยบริหารพลังงานไม่ดีวิกฤติพลังงานก็อาจจะเกิดขึ้นได้ทำให้กฟผ.ต้องพยายามที่จะวางแผนอย่างรัดกุม โดยเฉพาะหลังจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี)เลื่อนนิวเคลียร์ที่จะเข้าระบบปี 2563 โรงแรกออกไป 3 ปีโดยปรับมาเป็นการใช้ก๊าซฯแทนจะส่งผลให้สัดส่วนการใช้ก๊าซฯของไทยเป็น 80% ซึ่งถือว่าเสี่ยงมากขึ้นจากเดิมที่ 70% นับว่าสูงอยู่แล้วประกอบกับระยะยาวทิศทางราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นซึ่งจะสะท้อนมายังราคาก๊าซฯทำให้อนาคตค่าไฟฟ้าจะมีแนวโน้มที่แพงกว่าปัจจุบัน
ขณะที่ก๊าซฯอ่าวไทยจะหมดลงในระยะ 20 ปีข้างหน้าไทยจึงต้องเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)มาเสริมระบบมากขึ้นซึ่งต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าจะมีราคาแพงเพิ่มเข้าไปอีกแต่สำคัญคือลดความเสี่ยงหากระบบก๊าซฯของไทยเกิดปัญหาขัดข้องซึ่งไทยนับเป็นประเทศที่อาจกล่าวได้ว่าใชก๊าซฯผลิตไฟมากที่สุดในโลกขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟให้สมดุลย์เพื่อลดความเสี่ยง
“ถ่านหินเป็นอีกเชื้อเพลิงหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องนำมาเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า และมาช่วยบรรเทาเรื่องของค่าไฟแพงกรณีน้ำมันราคาสูงที่จะกระทบต่อราคาก๊าซ ซึ่งปัญหามลพิษไม่มีแน่นอนเพราะจะเป็นถ่านหินคุณภาพนำเข้าไม่มีการทำเหมืองและยังมีสำรองทั่วโลกที่ใช้ได้มากนับอีก 100 ปี โรงไฟฟ้าถ่านหินของกฟผ.ที่รัฐบาลให้สร้างปี 2562 จะเข้าระบบเราคิดว่าน่าจะเป็นไปได้”นายสมบูรณ์กล่าว
นายสมบูรณ์กล่าวว่า กฟผ.คงจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า กฟผ.มีหน้าที่ในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและมีราคาที่เป็นธรรมต่อคนไทยซึ่งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่างๆ สูงสุดคงทำได้ไม่เกิน 20% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ที่เหลือก็ยังต้องพึ่งพิงพลังงานจากฟอสซิลที่เหลือทางเลือกเพียง ก๊าซฯ ถ่านหินและนิวเคลียร์
“กรณีปัญหานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นส่งผลให้คนทั่วไปมีความกังวลมากขึ้นการเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปีทำให้กฟผ.มีเวลาที่จะสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับเพราะกรณีญี่ปุ่นนั้นเป็นโรงไฟฟ้าเก่าอายุเกือบ 40 ปีขณะที่พื้นที่ตั้งของญี่ปุ่นก็อยู่ในเขตของวงแหวนไฟต่างจากไทยอย่างมาก”นายสมบูรณ์กล่าว
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล รองผู้ว่าการพัฒนา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ในระยะอีก 10 ปีข้างหน้าการผลิตไฟฟ้าของไทยจำเป็นจะต้องมองหาเชื้อเพลิงอื่นๆ เข้ามาเสริมความมั่นคงระบบนอกเหนือจากก๊าซธรรมชาติซึ่งมีเพียง 2 เชื้อเพลิงหลักคือ ถ่านหิน และนิวเคลียร์โดยระยะแรกกฟผ.มองไปที่ถ่านหินนำเข้าที่เป็นเชื้อเพลิงสะอาดโดยพยายามที่จะดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินตามนโยบายรัฐบาลกำหนดให้เป็นไปตามแผนโรงแรกที่จะเข้าระบบปี 2562
ทั้งนี้ยอมรับว่าหากไทยบริหารพลังงานไม่ดีวิกฤติพลังงานก็อาจจะเกิดขึ้นได้ทำให้กฟผ.ต้องพยายามที่จะวางแผนอย่างรัดกุม โดยเฉพาะหลังจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี)เลื่อนนิวเคลียร์ที่จะเข้าระบบปี 2563 โรงแรกออกไป 3 ปีโดยปรับมาเป็นการใช้ก๊าซฯแทนจะส่งผลให้สัดส่วนการใช้ก๊าซฯของไทยเป็น 80% ซึ่งถือว่าเสี่ยงมากขึ้นจากเดิมที่ 70% นับว่าสูงอยู่แล้วประกอบกับระยะยาวทิศทางราคาน้ำมันยังคงสูงขึ้นซึ่งจะสะท้อนมายังราคาก๊าซฯทำให้อนาคตค่าไฟฟ้าจะมีแนวโน้มที่แพงกว่าปัจจุบัน
ขณะที่ก๊าซฯอ่าวไทยจะหมดลงในระยะ 20 ปีข้างหน้าไทยจึงต้องเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)มาเสริมระบบมากขึ้นซึ่งต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่าจะมีราคาแพงเพิ่มเข้าไปอีกแต่สำคัญคือลดความเสี่ยงหากระบบก๊าซฯของไทยเกิดปัญหาขัดข้องซึ่งไทยนับเป็นประเทศที่อาจกล่าวได้ว่าใชก๊าซฯผลิตไฟมากที่สุดในโลกขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วจะกระจายเชื้อเพลิงผลิตไฟให้สมดุลย์เพื่อลดความเสี่ยง
“ถ่านหินเป็นอีกเชื้อเพลิงหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องนำมาเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า และมาช่วยบรรเทาเรื่องของค่าไฟแพงกรณีน้ำมันราคาสูงที่จะกระทบต่อราคาก๊าซ ซึ่งปัญหามลพิษไม่มีแน่นอนเพราะจะเป็นถ่านหินคุณภาพนำเข้าไม่มีการทำเหมืองและยังมีสำรองทั่วโลกที่ใช้ได้มากนับอีก 100 ปี โรงไฟฟ้าถ่านหินของกฟผ.ที่รัฐบาลให้สร้างปี 2562 จะเข้าระบบเราคิดว่าน่าจะเป็นไปได้”นายสมบูรณ์กล่าว
นายสมบูรณ์กล่าวว่า กฟผ.คงจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องมากขึ้นเพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงที่ว่า กฟผ.มีหน้าที่ในการจัดหาพลังงานให้เพียงพอและมีราคาที่เป็นธรรมต่อคนไทยซึ่งไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่างๆ สูงสุดคงทำได้ไม่เกิน 20% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ที่เหลือก็ยังต้องพึ่งพิงพลังงานจากฟอสซิลที่เหลือทางเลือกเพียง ก๊าซฯ ถ่านหินและนิวเคลียร์
“กรณีปัญหานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากกรณีแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นส่งผลให้คนทั่วไปมีความกังวลมากขึ้นการเลื่อนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ออกไป 3 ปีทำให้กฟผ.มีเวลาที่จะสร้างความรู้และความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนเกิดการยอมรับเพราะกรณีญี่ปุ่นนั้นเป็นโรงไฟฟ้าเก่าอายุเกือบ 40 ปีขณะที่พื้นที่ตั้งของญี่ปุ่นก็อยู่ในเขตของวงแหวนไฟต่างจากไทยอย่างมาก”นายสมบูรณ์กล่าว