เรกูเลเตอร์ยอมรับหากท้ายสุดคนไทยไม่เลือกโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และถ่านหินตามแผนพีดีพีรวม 11 แห่ง เท่ากับต้องให้ ปตท.นำเข้า LNG จากต่างประเทศเพิ่มอีก 14 ล้านตัน และต้องทำใจยอมรับค่าไฟแพง ขณะที่นักวิชาการติงอย่าเพิ่งด่วนสรุป เพราะพลังงานเป็นเรื่องของคนทั้งประเทศ ต้องร่วมกันศึกษาหาทางออก
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือ พีดีพี 2010 (ปี 2553-2573 ) ซึ่งกำหนดแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 แห่ง (แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์) และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 6 แห่ง (แห่งละ 800 เมกะวัตต์) หากท้ายสุดประชาชนไม่ยอมรับจนไม่สามารถเกิดขึ้นไทยจะเหลือทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติที่จะต้องเป็นการนำเข้ามาในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่า 14 ล้านตัน จากแผนเดิมที่บมจ.ปตท.ต้องนำเข้าอยู่แล้ว 10 ล้านตันในปี 2565
“แผ่นดินไหวญี่ปุ่นทำให้คนกลัวมากขึ้น และคงจะทำให้มาตรฐานนิวเคลียร์ต้องปรับกันใหม่ ถ้าท้ายสุดเราไม่เลือกเลย ก็ต้องเข้าใจว่า LNG ที่นำเข้ามานั้นหลักการเป็นการเสริมความมั่นคงของประเทศกรณีก๊าซฯ พม่ามีปัญหา เพราะเราพึ่งสูงถึง 21% ของการจัดหาก๊าซทั้งหมด ขณะที่อ่าวไทยเราใช้อยู่ 75% อนาคตทั้งสองส่วนก็จะทยอยหมดลงในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเราก็คาดหวังว่าจะค้นพบในอ่าวไทยเพิ่มอีก หากไม่มีเชื้อเพลิงอื่นเข้ามาสร้างสมดุล LNGก็อาจกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักได้ในอนาคต” นางพัลลภา กล่าว
ปัจจุบันแผนนำเข้า LNG ของ บมจ.ปตท.จะแบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรกจะนำเข้า 5 ล้านตัน ซึ่งกลางปีนี้จะเริ่มเข้ามาแล้ว 1 ล้านตัน ขณะที่เฟส 2 อีก 5 ล้านตัน ได้เลื่อนจากแผนเดิมให้เร็วขึ้นจากจะต้องนำเข้าในปี 2563 มาเป็นปี 2560 เนื่องจากการใช้ไฟขยายตัวมากขึ้นกว่าแผนที่คาดไว้ ขณะที่ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ซึ่งคิดเฉพาะเนื้อก๊าซ แต่ข้อเท็จจริงแล้วเมื่อรวมกับการลงทุนสร้างคลังและระบบที่จะต้องปรับจากรูปของเหลวมาเป็นก๊าซ จะสูงกว่า 4 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู หากเทียบกับก๊าซอ่าวไทย และพม่าที่เฉลี่ยไม่เกิน 3 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู
“ทุก 1 ล้านตัน LNG จะมีผลค่าไฟประมาณ 2 สตางค์ต่อหน่วย แต่เรานำเข้ามาเสริมความมั่นคงจึงเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อมาคิดรวมกับต้นทุนก๊าซอ่าวไทยและพม่าจึงแทบจะไม่กระทบค่าไฟรวม แต่หากวันหนึ่งต้องพึ่งพิงมากขึ้นย่อมส่งผลต่อค่าไฟฟ้าแน่นอน ซึ่งเราเองก็กังวล” นางพัลลภา กล่าว
อย่างไรก็ตาม นโยบายกระทรวงพลังงานได้พยายามส่งเสริมพลังงานทุกรูปแบบและอนาคตคงจะต้องเน้นการกระจายโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไปยังชุมชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากขยะชีวมวลและพลังงานทดแทน ลม แสงอาทิตย์ เพื่อที่จะลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงนำเข้า อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงแล้วพลังงานเหล่านี้ประเทศที่พัฒนาแล้วยังทำได้สูงสุดไม่เกิน 25% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่เหลือยังต้องกระจายเชื้อเพลิงไปสู่ ถ่านหิน นิวเคลียร์ และก๊าซธรรมชาติเนื่องจากพลังงานดังกล่าวไม่สามารถเป็นพลังงานหลักได้เพราะไม่มีความมั่นคง เนื่องจากไม่สามารถผลิตแบบต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เหตุการณ์ในญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทย ซึ่งมีแผนศึกษาจะก่อสร้างร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต้องนำมาพิจารณาอย่างเข้มข้นมากขึ้น ส่วนจะก่อสร้างหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
นายสัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต หัวหน้าภาควิชานิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่ควรจะตัดสินทันทีว่าไทยไม่ควรจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะเป็นการใช้อารมณ์ มากกว่าเหตุผล ทุกฝ่ายควรติดตามสถานการณ์ และนำบทสรุปมาร่วมตัดสิน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งหากการพิจารณาการก่อสร้างจะล่าช้าไป 3 ปี หรือกี่ปี ก็ไม่เป็นไร เพราะสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงที่สุด
นายปรีชา การสุทธิ์ อดีตนายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น มีทิศทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือไปทางสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งจะไม่ลงมาใต้ หรือมาถึงเมืองไทย เพราะยังห่างไกลมาก ในขณะที่กัมมันตรังสีที่ออกมา คือ ซีเซียม และไอโอดีน เป็นรังสีที่มีอายุสั้น 8 วัน ก็จะสลายไปได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งควรติดตามข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ อย่างใกล้ชิดไม่ควรตื่นตูม
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าหรือ พีดีพี 2010 (ปี 2553-2573 ) ซึ่งกำหนดแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 แห่ง (แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์) และโรงไฟฟ้าถ่านหิน 6 แห่ง (แห่งละ 800 เมกะวัตต์) หากท้ายสุดประชาชนไม่ยอมรับจนไม่สามารถเกิดขึ้นไทยจะเหลือทางเลือกในการใช้เชื้อเพลิงหลัก คือ ก๊าซธรรมชาติที่จะต้องเป็นการนำเข้ามาในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพิ่มเติมอีกไม่น้อยกว่า 14 ล้านตัน จากแผนเดิมที่บมจ.ปตท.ต้องนำเข้าอยู่แล้ว 10 ล้านตันในปี 2565
“แผ่นดินไหวญี่ปุ่นทำให้คนกลัวมากขึ้น และคงจะทำให้มาตรฐานนิวเคลียร์ต้องปรับกันใหม่ ถ้าท้ายสุดเราไม่เลือกเลย ก็ต้องเข้าใจว่า LNG ที่นำเข้ามานั้นหลักการเป็นการเสริมความมั่นคงของประเทศกรณีก๊าซฯ พม่ามีปัญหา เพราะเราพึ่งสูงถึง 21% ของการจัดหาก๊าซทั้งหมด ขณะที่อ่าวไทยเราใช้อยู่ 75% อนาคตทั้งสองส่วนก็จะทยอยหมดลงในอีก 20 ปีข้างหน้า ซึ่งเราก็คาดหวังว่าจะค้นพบในอ่าวไทยเพิ่มอีก หากไม่มีเชื้อเพลิงอื่นเข้ามาสร้างสมดุล LNGก็อาจกลายเป็นเชื้อเพลิงหลักได้ในอนาคต” นางพัลลภา กล่าว
ปัจจุบันแผนนำเข้า LNG ของ บมจ.ปตท.จะแบ่งเป็น 2 เฟส เฟสแรกจะนำเข้า 5 ล้านตัน ซึ่งกลางปีนี้จะเริ่มเข้ามาแล้ว 1 ล้านตัน ขณะที่เฟส 2 อีก 5 ล้านตัน ได้เลื่อนจากแผนเดิมให้เร็วขึ้นจากจะต้องนำเข้าในปี 2563 มาเป็นปี 2560 เนื่องจากการใช้ไฟขยายตัวมากขึ้นกว่าแผนที่คาดไว้ ขณะที่ราคาซื้อขายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 4 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู ซึ่งคิดเฉพาะเนื้อก๊าซ แต่ข้อเท็จจริงแล้วเมื่อรวมกับการลงทุนสร้างคลังและระบบที่จะต้องปรับจากรูปของเหลวมาเป็นก๊าซ จะสูงกว่า 4 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู หากเทียบกับก๊าซอ่าวไทย และพม่าที่เฉลี่ยไม่เกิน 3 เหรียญสหรัฐฯต่อล้านบีทียู
“ทุก 1 ล้านตัน LNG จะมีผลค่าไฟประมาณ 2 สตางค์ต่อหน่วย แต่เรานำเข้ามาเสริมความมั่นคงจึงเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อมาคิดรวมกับต้นทุนก๊าซอ่าวไทยและพม่าจึงแทบจะไม่กระทบค่าไฟรวม แต่หากวันหนึ่งต้องพึ่งพิงมากขึ้นย่อมส่งผลต่อค่าไฟฟ้าแน่นอน ซึ่งเราเองก็กังวล” นางพัลลภา กล่าว
อย่างไรก็ตาม นโยบายกระทรวงพลังงานได้พยายามส่งเสริมพลังงานทุกรูปแบบและอนาคตคงจะต้องเน้นการกระจายโรงไฟฟ้าขนาดเล็กไปยังชุมชนให้มากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากขยะชีวมวลและพลังงานทดแทน ลม แสงอาทิตย์ เพื่อที่จะลดการพึ่งพิงเชื้อเพลิงนำเข้า อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงแล้วพลังงานเหล่านี้ประเทศที่พัฒนาแล้วยังทำได้สูงสุดไม่เกิน 25% ของเชื้อเพลิงทั้งหมดที่เหลือยังต้องกระจายเชื้อเพลิงไปสู่ ถ่านหิน นิวเคลียร์ และก๊าซธรรมชาติเนื่องจากพลังงานดังกล่าวไม่สามารถเป็นพลังงานหลักได้เพราะไม่มีความมั่นคง เนื่องจากไม่สามารถผลิตแบบต่อเนื่องและสม่ำเสมอได้
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เหตุการณ์ในญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทย ซึ่งมีแผนศึกษาจะก่อสร้างร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จะต้องนำมาพิจารณาอย่างเข้มข้นมากขึ้น ส่วนจะก่อสร้างหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลเป็นสำคัญ
นายสัญชัย นิลสุวรรณโฆษิต หัวหน้าภาควิชานิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่ควรจะตัดสินทันทีว่าไทยไม่ควรจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เพราะเป็นการใช้อารมณ์ มากกว่าเหตุผล ทุกฝ่ายควรติดตามสถานการณ์ และนำบทสรุปมาร่วมตัดสิน เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของคนไทยทั้งประเทศ ซึ่งหากการพิจารณาการก่อสร้างจะล่าช้าไป 3 ปี หรือกี่ปี ก็ไม่เป็นไร เพราะสิ่งสำคัญ คือ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยสูงที่สุด
นายปรีชา การสุทธิ์ อดีตนายกสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กัมมันตรังสีที่ปนเปื้อนออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่น มีทิศทางไปทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือไปทางสหรัฐฯ และแคนาดา ซึ่งจะไม่ลงมาใต้ หรือมาถึงเมืองไทย เพราะยังห่างไกลมาก ในขณะที่กัมมันตรังสีที่ออกมา คือ ซีเซียม และไอโอดีน เป็นรังสีที่มีอายุสั้น 8 วัน ก็จะสลายไปได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งควรติดตามข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ อย่างใกล้ชิดไม่ควรตื่นตูม