ASTVผู้จัดการรายวัน-ศาลนิวยอร์ก ตัดสินยืนกรานไทยแพ้คดี”ค่าโงวอลเตอร์ บาว “บังคับรัฐบาลไทยชดเชยเอกชน ประมาณ 1,500 ล้านบาท ไม่รวมดอกเบี้ยคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ บทเรียนนักการเมืองใช้สัมปทานเป็นเครื่องมือหาเสียง “กรมทางหลวง”เผย อัยการยื่นอุทธรณ์ใน 30 วันแล้ว แต่ยังไม่ได้ขอข้อมูลเพื่อไปต่อสู้เพิ่ม เชื่อยังมีประเด็นต่อสู้
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่บริษัท วอลเตอร์ บาว จำกัด (Walter Bau) ผู้รับเหมาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งเคยถือหุ้นในบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์ สัดส่วน 9.87% ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยกับศาลสหรัฐอเมริกา (Southern District of New York) โดยศาลได้พิพากษาให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายวงเงิน 29 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไปแล้วเมื่อช่วงปี 2553
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 ศาลนิวยอร์กได้มีคำพิพากษายืนตามเดิม หลังจากที่วอลเตอร์ บาวได้ฟ้องให้ศาลออกคำสั่งบังคับรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ได้รับทราบเรื่องศาลนิวยอร์กพิพากษาวอลเตอร์ บาว ชนะแล้ว ซึ่งเมื่อออกมาว่าแบบนี้ ทราบว่าไทยยังมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับจากวันพิพากษา หรือภายในวันที่ 3 พ.ค. 2554 ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอัยการ เนื่องจากเอกชนฟ้องรัฐบาลไทยไม่ได้ฟ้องกระทรวงคมนาคมหรือกรมทางหลวงโดยใช้สิทธิตามสนธิสัญญาคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
สำหรับบริษัท วอลเตอร์ บาว ของเยอรมนีได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ดอนเมืองฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยในช่วงที่ได้รับสัมปทานก่อสร้างโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ในประเทศไทย ต่อมาได้ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-เยอรมนี ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งถือเป็นคดีแรกของไทยในการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงด้านการลงทุน ในประเด็นการละเลยที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลง
โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ระบุว่าประเทศไทยผิดพันธกรณีภายใต้ความตกลง และต้องชำระค่าชดเชยจำนวน 29.21 ล้านยูโร พร้อมดอกเบี้ย คำนวณตามอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในกลุ่มยูโร ในอัตรา 2% ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2549 จนกว่าถึงวันชำระเงิน พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของฝ่ายวอลเตอร์ บาว จำนวน 1,806,560 ยูโรรวมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเดียวกับค่าชดเชยความเสียหาย
ก่อนหน้านี้ ครม.มีมติไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อต่อสู้คดี ซึ่งผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว แต่ศาลไม่รับคำร้อง อยู่ระหว่างจะอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป ทั้งต่อศาลไทยและศาลโลก หลังจากวอลเตอร์ บาว ยื่นฟ้องต่อศาลนิวยอร์ก
ในขณะที่ ทางสำนักงานอัยการสูงสุด เคยระบุว่ายังสามารถโต้แย้งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ โดยยึดตามข้อเท็จจริง เพราะบริษัทฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยเจตนาไม่สุจริต และคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้บริษัทไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย เพราะไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นของโทลล์เวย์เท่านั้น
ทั้งนี้ วอลเตอร์ บาวยื่นฟ้องรัฐบาลไทยช่วงปี 2549 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลไทยผิดสัญญา เช่น ขอให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย และมีมาตรการไม่ให้บริษัทปรับค่าผ่านทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างทางแข่งขัน เช่น โครงการโฮปเวลล์ การก่อสร้างทางเบี่ยงบนถนนวิภาวดีรังสิต การก่อสร้างสะพานลอยที่แยกสุทธิสารบนถนนวิภาวดีรังสิต การย้ายสนามบินดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้เยียวยาให้โทลล์เวย์แล้ว เช่น ขยายสัมปทานออกไปอีกถึงปี 2577 ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ได้ให้ปรับค่าผ่านทางขึ้นรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55 บาทเป็น 85 บาท ส่วนค่าชดเชยรายได้จากการให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย กรมทางหลวงจ่ายชดเชยไปแล้ว 30 ล้านบาท เป็นต้น
นายวีระกล่าวว่า กรณีที่ปรับแก้สัญญาให้โทลล์เวย์ ทำให้บริษัทปรับค่าผ่านทางได้นั้น ตนเห็นว่า เป็นคนละส่วนกับที่ วอลเตอร์บาวฟ้องเพราะเอกชนฟ้องในขณะที่ยังเป็นผู้ถือหุ้นในดอนเมืองโทลล์เวย์และได้รับความเสียหาย แต่เชื่อว่ายังมีข้อมูลที่อัยการสามารถนำไปต่อสู้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมทางหลวงได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากอัยการในการขอข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายสมบัติ พานิชชีวะประธานคณะกรรมการบริษัททางยกระดับดอนเมือง เคยกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้พยายามที่จะเจรจากับบริษัท วอลเตอร์ บาว เพื่อให้ถอนฟ้อง แต่ไม่สำเร็จเพราะผู้ถือหุ้นฝรั่งไม่ยอม จึงไม่สามารถทำอะไรได้ และการฟ้องร้องของ วอลเตอร์บาว ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ เพราะมีการถอนหุ้นไปแล้ว
เป็นการฟ้องร้องโดยอ้างสิทธิตามสนธิสัญญาคุ้มครองนักลงทุนของประเทศเยอรมนี
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า กรณีที่บริษัท วอลเตอร์ บาว จำกัด (Walter Bau) ผู้รับเหมาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งเคยถือหุ้นในบริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) ผู้รับสัมปทานดอนเมืองโทลล์เวย์ สัดส่วน 9.87% ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยกับศาลสหรัฐอเมริกา (Southern District of New York) โดยศาลได้พิพากษาให้รัฐบาลไทยชดเชยค่าเสียหายวงเงิน 29 ล้านเหรียญยูโร หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท ตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศไปแล้วเมื่อช่วงปี 2553
ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2554 ศาลนิวยอร์กได้มีคำพิพากษายืนตามเดิม หลังจากที่วอลเตอร์ บาวได้ฟ้องให้ศาลออกคำสั่งบังคับรัฐบาลไทยให้ดำเนินการตามคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ
นายวีระ เรืองสุขศรีวงศ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า ได้รับทราบเรื่องศาลนิวยอร์กพิพากษาวอลเตอร์ บาว ชนะแล้ว ซึ่งเมื่อออกมาว่าแบบนี้ ทราบว่าไทยยังมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์ได้ ซึ่งจะต้องยื่นภายใน 30 วัน นับจากวันพิพากษา หรือภายในวันที่ 3 พ.ค. 2554 ซึ่งเรื่องนี้อยู่ในความรับผิดชอบของอัยการ เนื่องจากเอกชนฟ้องรัฐบาลไทยไม่ได้ฟ้องกระทรวงคมนาคมหรือกรมทางหลวงโดยใช้สิทธิตามสนธิสัญญาคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ
สำหรับบริษัท วอลเตอร์ บาว ของเยอรมนีได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัท ดอนเมืองฯ เป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยในช่วงที่ได้รับสัมปทานก่อสร้างโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ ในประเทศไทย ต่อมาได้ยื่นฟ้องรัฐบาลไทยผ่านกระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ภายใต้ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างไทย-เยอรมนี ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งถือเป็นคดีแรกของไทยในการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงด้านการลงทุน ในประเด็นการละเลยที่จะปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลง
โดยคณะอนุญาโตตุลาการได้มีคำชี้ขาดในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ระบุว่าประเทศไทยผิดพันธกรณีภายใต้ความตกลง และต้องชำระค่าชดเชยจำนวน 29.21 ล้านยูโร พร้อมดอกเบี้ย คำนวณตามอัตราดอกเบี้ยระหว่างธนาคารในกลุ่มยูโร ในอัตรา 2% ต่อปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2549 จนกว่าถึงวันชำระเงิน พร้อมทั้งค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของฝ่ายวอลเตอร์ บาว จำนวน 1,806,560 ยูโรรวมทั้งดอกเบี้ยตามอัตราเดียวกับค่าชดเชยความเสียหาย
ก่อนหน้านี้ ครม.มีมติไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อต่อสู้คดี ซึ่งผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองชั้นต้นให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการแล้ว แต่ศาลไม่รับคำร้อง อยู่ระหว่างจะอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป ทั้งต่อศาลไทยและศาลโลก หลังจากวอลเตอร์ บาว ยื่นฟ้องต่อศาลนิวยอร์ก
ในขณะที่ ทางสำนักงานอัยการสูงสุด เคยระบุว่ายังสามารถโต้แย้งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ โดยยึดตามข้อเท็จจริง เพราะบริษัทฟ้องเรียกค่าเสียหายด้วยเจตนาไม่สุจริต และคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ยุติธรรมด้วยเช่นกัน นอกจากนี้บริษัทไม่มีสิทธิจะฟ้องรัฐบาลไทย เพราะไม่ใช่คู่สัญญากับรัฐบาลโดยตรง เป็นเพียงแค่ผู้ถือหุ้นของโทลล์เวย์เท่านั้น
ทั้งนี้ วอลเตอร์ บาวยื่นฟ้องรัฐบาลไทยช่วงปี 2549 สมัยรัฐบาลพรรคไทยรักไทย โดยอ้างว่าได้รับผลกระทบจากการที่รัฐบาลไทยผิดสัญญา เช่น ขอให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย และมีมาตรการไม่ให้บริษัทปรับค่าผ่านทาง นอกจากนี้ยังมีการสร้างทางแข่งขัน เช่น โครงการโฮปเวลล์ การก่อสร้างทางเบี่ยงบนถนนวิภาวดีรังสิต การก่อสร้างสะพานลอยที่แยกสุทธิสารบนถนนวิภาวดีรังสิต การย้ายสนามบินดอนเมืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไทยได้เยียวยาให้โทลล์เวย์แล้ว เช่น ขยายสัมปทานออกไปอีกถึงปี 2577 ให้ปรับค่าผ่านทางได้ตามสัญญาเดิม เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2552 ได้ให้ปรับค่าผ่านทางขึ้นรถยนต์ 4 ล้อ จาก 55 บาทเป็น 85 บาท ส่วนค่าชดเชยรายได้จากการให้ลดค่าผ่านทางเหลือ 20 บาทตลอดสาย กรมทางหลวงจ่ายชดเชยไปแล้ว 30 ล้านบาท เป็นต้น
นายวีระกล่าวว่า กรณีที่ปรับแก้สัญญาให้โทลล์เวย์ ทำให้บริษัทปรับค่าผ่านทางได้นั้น ตนเห็นว่า เป็นคนละส่วนกับที่ วอลเตอร์บาวฟ้องเพราะเอกชนฟ้องในขณะที่ยังเป็นผู้ถือหุ้นในดอนเมืองโทลล์เวย์และได้รับความเสียหาย แต่เชื่อว่ายังมีข้อมูลที่อัยการสามารถนำไปต่อสู้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ กรมทางหลวงได้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไปแล้ว ขณะนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อจากอัยการในการขอข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ นายสมบัติ พานิชชีวะประธานคณะกรรมการบริษัททางยกระดับดอนเมือง เคยกล่าวว่า ที่ผ่านมาได้พยายามที่จะเจรจากับบริษัท วอลเตอร์ บาว เพื่อให้ถอนฟ้อง แต่ไม่สำเร็จเพราะผู้ถือหุ้นฝรั่งไม่ยอม จึงไม่สามารถทำอะไรได้ และการฟ้องร้องของ วอลเตอร์บาว ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ เพราะมีการถอนหุ้นไปแล้ว
เป็นการฟ้องร้องโดยอ้างสิทธิตามสนธิสัญญาคุ้มครองนักลงทุนของประเทศเยอรมนี