**หลังจากที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือ ศาลโลก ให้ตีความคำวินิจฉัยกรณีปราสาทพระวิหารในปี 1962 คงมีคำถามตามมาว่า กัมพูชาสามารถฟ้องเพื่อให้มีการตีความในศาลโลกได้หรือไม่
เรื่องนี้ต้องพิจารณาจากคำพิพากษาเดิมประกอบกับคำร้องใหม่ของกัมพูชาว่า มีรายละเอียดอย่างไร และรัฐไทยควรดำเนินการอย่างไร เพื่อปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ
ประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาคือ กัมพูชาสามารถขอให้ศาลโลกขยายการตีความคำพิพากษาของศาลโลก ตามธรรมนูญ มาตรา 60 ได้หรือไม่ ซึ่งบางฝ่ายอาจมองว่า สิ่งที่กัมพูชาฟ้องนั้น เป็นการทำเกินอำนาจขอบเขตที่มาตรา 60 กำหนดไว้ และเสนอให้รัฐบาลไทยสู้ด้วยการตัดฟ้องอำนาจศาลโลกว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาขยายตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาศาลโลก
แต่ถ้าพิจารณาจากคำฟ้องของกัมพูชากว่า 30 หน้า ที่ยื่นต่อศาลโลกจะพบความจริงว่า มีมูลเหตุของการฟ้องที่จะให้ตีความคำพิพากษาได้ ซึ่งในคำฟ้องของกัมพูชา อ้างถึงเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคจากการเจรจาทวิภาคี ที่เกี่ยวข้องกับ เอ็มโอยู 2543 โดยตรง ดังนี้
กัมพูชาได้อ้างในคำฟ้องว่า รัฐบาลไทยไม่มีความจริงใจในการขับเคลื่อนกลไกระดับทวิภาคี มีการเคลื่อนไหวการเมืองภายในประเทศ ทำให้การเจรจาเจบีซีไม่มีความคืบหน้า จนนำไปสู่ความขัดแย้ง โดยระบุในคำฟ้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
**แม้ว่าจะมีการประชุมของ เจบีซี ถึง 3 ครั้ง ในพฤศจิกายน ปี 2008 ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นมาจาก mou แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากขาดแรงผลักดันทางการเมืองในส่วนของประเทศไทย หลักก็คือ กระบวนการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศ.....ถ้ากระบวนการนี้ประสบความสำเร็จและสามารถจัดทำจนเสร็จสิ้น ตามที่กัมพูชาได้คาดหวัง ก็จะสามารถขจัดความขัดแย้งใดๆ ที่เกี่ยวกับการตีความในเรื่องของเขตแดนในพื้นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
ดังนั้นกัมพูชาจึงถือว่า องค์ประกอบในการยื่นตีความนั้นครบองค์ประกอบแล้ว เพราะครบเงื่อนไขทั้งสองอย่าง กล่าวคือ มีความจำเป็นต้องตีความหมาย คำว่า พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารหมายถึงตรงไหน และการตีความคำพิพากษาที่ต่างกันของทั้งสองประเทศได้นำไปสู่การสู้รบแล้ว และทั้งหมดที่ทำได้นั้น เพราะกระบวนการจัดทำหลักเขตแดน และ mou 43 ล้มเหลว
**จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่คำฟ้องของกัมพูชา ลงวันที่ 20 เมษายน แต่กลับกล่าวถึงเหตุการณ์ปะทะ ที่เกิดขึ้นล่วงหน้าระหว่างวันที่ 22 – 26 เมษายน สะท้อนชัดเจนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแผนที่กัมพูชากำหนดล่วงหน้าไว้แล้ว
อาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมกัมพูชาจึงเพิ่งจะยื่นต่อศาลโลกหลังผ่านการตัดสินคดีไปนานถึง 49 ปี สาเหตุก็เป็นเพราะว่า กัมพูชาประสบปัญหาความขัดแย้งภายในกว่าจะสร้างชาติให้เป็นหนึ่งเดียวได้เวลาก็ล่วงเลยไปหลายปี เมื่อความเป็นชาติของกัมพูชามีความเข้มแข็งขึ้น จึงเริ่มสนใจที่จะเข้ามาดูแลเขตแดนของตัวเองมากขึ้น ทำให้เกิดข้อพิพาทกับไทยตามแนวตะเข็บชายแดนหลายครั้ง จนนำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในการปักหลักเขตแดนให้มีความชัดเจนเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ อันเป็นที่มาของ เอ็มโอยู 2543 ทำให้สองฝ่ายมีกลไกทวิภาคีในการเจรจาระหว่างกัน จนกัมพูชาไม่สามารถนำเรื่องขึ้นตีความต่อศาลโลกได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่จะเป็นมูลเหตุของการตีความหมาย คำพิพากษา ตามมาตรา 60 นั้น มี 2 ประการ คือ
**1. ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้นๆ ชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน และ 2 . ต้องมีความขัดแย้งในเรื่องของการตีความหมายคำพิพากษาจนเป็นผลให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ
สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ เราจะไม่เดินเข้าสู่การต่อสู้ในศาลโลกได้หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ว่าเราจะไปหรือไม่ ไม่มีผลต่อการพิจารณาของศาล เพราะเป็นคดีเดิมที่ศาลโลกสามารถพิจารณาคดีได้ แม้จะมีฝ่ายกัมพูชาเบิกความข้างเดียวก็ตาม ซึ่งเท่ากับจะทำให้ไทยเสียสิทธิในการต่อสู้
เมื่อเป็นเช่นนี้ประเด็นที่ต้องวางแนวทางต่อคือ จะสู้คดีอย่างไรไม่ให้แพ้คดีซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ปี 1962 ซึ่งเรื่องนี้จะต้องดูรายละเอียดจากคำพิพากษาของศาลโลก และการดำเนินการของทั้งฝ่ายไทยกับกัมพูชา หลังคำตัดสินเป็นตัวตั้งแล้วจะเห็นแง่มุมในการต่อกรกับเขมร
**ศาลโลกได้มีคำตัดสิน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ใน 3 ประเด็น คือ 1. ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา 2. ประเทศไทยมีพันธกรณีในการถอนทหาร หรือตำรวจ หรือยาม หรือผู้ดูแล ที่ประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือ บริเวณพื้นที่อันอยู่บนดินแดนของกัมพูชา และ 3. ประเทศไทยมีพันธกรณี ที่ต้องคืนวัตถุใดๆ ที่ได้นำออกมาจากปราสาท หรือบริเวณพื้นที่ปราสาท
จะเห็นได้ว่า หลังคำพิพากษาของศาลโลก ครม.ในขณะนั้นมีมติล้อมรั้วลวดหนามบริเวณรอบตัวปราสาท เพื่อเป็นแนวปฏิบัติการให้ทหารไทยดำเนินการดูแลขอบเขตภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในประเด็นนี้นอกจากกัมพูชาจะไม่ได้โต้แย้งแล้ว กษัตริย์สีหนุของกัมพูชา ยังเดินทางไปในพื้นที่ โดยไม่มีการคัดค้าน
เท่ากับ ยอมรับว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างสมบูรณ์แล้ว ด้วยการถอนทหาร และธงชาติไทยจากตัวปราสาท แต่ยังคงกำลังทหารรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในเรื่องนี้ประธานศาลโลก ก็เคยกล่าวในงานสัมนาวิชาการครั้งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารไว้ว่า ไทยได้ดำเนินการทุกอย่าง ตามคำพิพากษาของศาลโลกแล้ว
ดังนั้น ในแง่ข้อเท็จจริงก็มีมุมที่เราสามารถโต้แย้งได้อย่างมีน้ำหนัก ประกอบกับคำฟ้องของกัมพูชา มีความขัดแย้งในตัวเอง คือ มีการอ้างว่าเอ็มโอยู 2543 เกิดขึ้นเพื่อปักหลักเขตแดนตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริง เพราะศาลโลกมิได้ตัดสินในเรื่องเขตแดน และแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชายื่นคำร้องเพิ่มเติมเข้าไป ในปีเดียวกัน (1962) โดยศาลยกคำร้องไม่รับไว้พิจารณา
**เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า การที่กัมพูชายื่นคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมโดยอ้างเรื่องเขตแดนรอบปราสาทพระวิหาร และแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนนั้น ถือเป็นคดีใหม่ ไม่ใช่คดีเดิมที่มีการตัดสินไปแล้ว ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อ 1 ที่ระบุว่า ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้น ๆชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน
จะเห็นชัดเจนว่า ในทางเทคนิคของกฎหมายสิ่งนี้เป็นข้อต้อสู้สำคัญที่ไทยต้องโต้แย้งเป็นอันดับแรกว่า กัมพูชาไม่มีสิทธิฟ้องตามมาตรา 60 เพราะไม่ใช่คดีเดิม หากจะฟ้องต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ซึ่งไทยก็มีสิทธิที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลโลกได้อย่างชอบธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศภาคีสมาชิก
**แต่ถ้าศาลโลกยังรับคำร้องของกัมพูชาไว้พิจารณา ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการต่อสู้ในข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของข้อเท็จจริงได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น โดยกระทรวงการต่างประเทศมีหลักฐานเป็นรูปถ่ายที่กษัตริย์สีหนุเดินทางไปปราสาทพระวิหารในวันที่ไทยล้อมรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทด้วย
เรื่องนี้ต้องพิจารณาจากคำพิพากษาเดิมประกอบกับคำร้องใหม่ของกัมพูชาว่า มีรายละเอียดอย่างไร และรัฐไทยควรดำเนินการอย่างไร เพื่อปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ
ประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาคือ กัมพูชาสามารถขอให้ศาลโลกขยายการตีความคำพิพากษาของศาลโลก ตามธรรมนูญ มาตรา 60 ได้หรือไม่ ซึ่งบางฝ่ายอาจมองว่า สิ่งที่กัมพูชาฟ้องนั้น เป็นการทำเกินอำนาจขอบเขตที่มาตรา 60 กำหนดไว้ และเสนอให้รัฐบาลไทยสู้ด้วยการตัดฟ้องอำนาจศาลโลกว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาขยายตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาศาลโลก
แต่ถ้าพิจารณาจากคำฟ้องของกัมพูชากว่า 30 หน้า ที่ยื่นต่อศาลโลกจะพบความจริงว่า มีมูลเหตุของการฟ้องที่จะให้ตีความคำพิพากษาได้ ซึ่งในคำฟ้องของกัมพูชา อ้างถึงเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคจากการเจรจาทวิภาคี ที่เกี่ยวข้องกับ เอ็มโอยู 2543 โดยตรง ดังนี้
กัมพูชาได้อ้างในคำฟ้องว่า รัฐบาลไทยไม่มีความจริงใจในการขับเคลื่อนกลไกระดับทวิภาคี มีการเคลื่อนไหวการเมืองภายในประเทศ ทำให้การเจรจาเจบีซีไม่มีความคืบหน้า จนนำไปสู่ความขัดแย้ง โดยระบุในคำฟ้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
**แม้ว่าจะมีการประชุมของ เจบีซี ถึง 3 ครั้ง ในพฤศจิกายน ปี 2008 ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นมาจาก mou แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากขาดแรงผลักดันทางการเมืองในส่วนของประเทศไทย หลักก็คือ กระบวนการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศ.....ถ้ากระบวนการนี้ประสบความสำเร็จและสามารถจัดทำจนเสร็จสิ้น ตามที่กัมพูชาได้คาดหวัง ก็จะสามารถขจัดความขัดแย้งใดๆ ที่เกี่ยวกับการตีความในเรื่องของเขตแดนในพื้นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
ดังนั้นกัมพูชาจึงถือว่า องค์ประกอบในการยื่นตีความนั้นครบองค์ประกอบแล้ว เพราะครบเงื่อนไขทั้งสองอย่าง กล่าวคือ มีความจำเป็นต้องตีความหมาย คำว่า พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารหมายถึงตรงไหน และการตีความคำพิพากษาที่ต่างกันของทั้งสองประเทศได้นำไปสู่การสู้รบแล้ว และทั้งหมดที่ทำได้นั้น เพราะกระบวนการจัดทำหลักเขตแดน และ mou 43 ล้มเหลว
**จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่คำฟ้องของกัมพูชา ลงวันที่ 20 เมษายน แต่กลับกล่าวถึงเหตุการณ์ปะทะ ที่เกิดขึ้นล่วงหน้าระหว่างวันที่ 22 – 26 เมษายน สะท้อนชัดเจนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแผนที่กัมพูชากำหนดล่วงหน้าไว้แล้ว
อาจมีข้อสงสัยว่า ทำไมกัมพูชาจึงเพิ่งจะยื่นต่อศาลโลกหลังผ่านการตัดสินคดีไปนานถึง 49 ปี สาเหตุก็เป็นเพราะว่า กัมพูชาประสบปัญหาความขัดแย้งภายในกว่าจะสร้างชาติให้เป็นหนึ่งเดียวได้เวลาก็ล่วงเลยไปหลายปี เมื่อความเป็นชาติของกัมพูชามีความเข้มแข็งขึ้น จึงเริ่มสนใจที่จะเข้ามาดูแลเขตแดนของตัวเองมากขึ้น ทำให้เกิดข้อพิพาทกับไทยตามแนวตะเข็บชายแดนหลายครั้ง จนนำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน ในการปักหลักเขตแดนให้มีความชัดเจนเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างสองประเทศ อันเป็นที่มาของ เอ็มโอยู 2543 ทำให้สองฝ่ายมีกลไกทวิภาคีในการเจรจาระหว่างกัน จนกัมพูชาไม่สามารถนำเรื่องขึ้นตีความต่อศาลโลกได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่จะเป็นมูลเหตุของการตีความหมาย คำพิพากษา ตามมาตรา 60 นั้น มี 2 ประการ คือ
**1. ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้นๆ ชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน และ 2 . ต้องมีความขัดแย้งในเรื่องของการตีความหมายคำพิพากษาจนเป็นผลให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ
สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ เราจะไม่เดินเข้าสู่การต่อสู้ในศาลโลกได้หรือไม่
คำตอบคือ ไม่ว่าเราจะไปหรือไม่ ไม่มีผลต่อการพิจารณาของศาล เพราะเป็นคดีเดิมที่ศาลโลกสามารถพิจารณาคดีได้ แม้จะมีฝ่ายกัมพูชาเบิกความข้างเดียวก็ตาม ซึ่งเท่ากับจะทำให้ไทยเสียสิทธิในการต่อสู้
เมื่อเป็นเช่นนี้ประเด็นที่ต้องวางแนวทางต่อคือ จะสู้คดีอย่างไรไม่ให้แพ้คดีซ้ำรอยประวัติศาสตร์ ปี 1962 ซึ่งเรื่องนี้จะต้องดูรายละเอียดจากคำพิพากษาของศาลโลก และการดำเนินการของทั้งฝ่ายไทยกับกัมพูชา หลังคำตัดสินเป็นตัวตั้งแล้วจะเห็นแง่มุมในการต่อกรกับเขมร
**ศาลโลกได้มีคำตัดสิน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ใน 3 ประเด็น คือ 1. ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา 2. ประเทศไทยมีพันธกรณีในการถอนทหาร หรือตำรวจ หรือยาม หรือผู้ดูแล ที่ประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือ บริเวณพื้นที่อันอยู่บนดินแดนของกัมพูชา และ 3. ประเทศไทยมีพันธกรณี ที่ต้องคืนวัตถุใดๆ ที่ได้นำออกมาจากปราสาท หรือบริเวณพื้นที่ปราสาท
จะเห็นได้ว่า หลังคำพิพากษาของศาลโลก ครม.ในขณะนั้นมีมติล้อมรั้วลวดหนามบริเวณรอบตัวปราสาท เพื่อเป็นแนวปฏิบัติการให้ทหารไทยดำเนินการดูแลขอบเขตภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในประเด็นนี้นอกจากกัมพูชาจะไม่ได้โต้แย้งแล้ว กษัตริย์สีหนุของกัมพูชา ยังเดินทางไปในพื้นที่ โดยไม่มีการคัดค้าน
เท่ากับ ยอมรับว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างสมบูรณ์แล้ว ด้วยการถอนทหาร และธงชาติไทยจากตัวปราสาท แต่ยังคงกำลังทหารรอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในเรื่องนี้ประธานศาลโลก ก็เคยกล่าวในงานสัมนาวิชาการครั้งหนึ่งเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารไว้ว่า ไทยได้ดำเนินการทุกอย่าง ตามคำพิพากษาของศาลโลกแล้ว
ดังนั้น ในแง่ข้อเท็จจริงก็มีมุมที่เราสามารถโต้แย้งได้อย่างมีน้ำหนัก ประกอบกับคำฟ้องของกัมพูชา มีความขัดแย้งในตัวเอง คือ มีการอ้างว่าเอ็มโอยู 2543 เกิดขึ้นเพื่อปักหลักเขตแดนตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริง เพราะศาลโลกมิได้ตัดสินในเรื่องเขตแดน และแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ตามที่กัมพูชายื่นคำร้องเพิ่มเติมเข้าไป ในปีเดียวกัน (1962) โดยศาลยกคำร้องไม่รับไว้พิจารณา
**เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่า การที่กัมพูชายื่นคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมโดยอ้างเรื่องเขตแดนรอบปราสาทพระวิหาร และแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนนั้น ถือเป็นคดีใหม่ ไม่ใช่คดีเดิมที่มีการตัดสินไปแล้ว ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อ 1 ที่ระบุว่า ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้น ๆชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน
จะเห็นชัดเจนว่า ในทางเทคนิคของกฎหมายสิ่งนี้เป็นข้อต้อสู้สำคัญที่ไทยต้องโต้แย้งเป็นอันดับแรกว่า กัมพูชาไม่มีสิทธิฟ้องตามมาตรา 60 เพราะไม่ใช่คดีเดิม หากจะฟ้องต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ซึ่งไทยก็มีสิทธิที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลโลกได้อย่างชอบธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศภาคีสมาชิก
**แต่ถ้าศาลโลกยังรับคำร้องของกัมพูชาไว้พิจารณา ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการต่อสู้ในข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งในส่วนของข้อเท็จจริงได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น โดยกระทรวงการต่างประเทศมีหลักฐานเป็นรูปถ่ายที่กษัตริย์สีหนุเดินทางไปปราสาทพระวิหารในวันที่ไทยล้อมรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทด้วย