ASTVผู้จัดการรายวัน - “ชินวรณ์” เผย ม.อีสานไม่ยื่นอุทธรณ์ ขณะที่บัณฑิตเข้ารายงานตัวกับคุรุสภาวันแรก 54 ราย ระบุไม่สามารถเพิกถอนใบอนุญาตฯ ได้ทันที เพราะต้องรวมหลักฐานเสนอที่ประชุม กมว.9 พ.ค.นี้ คาดบัณฑิตเสียสิทธิสอบครูผู้ช่วยปีนี้แน่นอน แนะรวมตัวฟ้องแพ่งกับมหา’ลัย เอแบคโพลล์ระบุครูคณิตศาสตร์สอนดีสุด
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กรณีของการสั่งให้คณะกรรมการควบคุมของ สกอ. ไปควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) จังหวัดขอนแก่น แจ้งว่ามหาวิทยาลัยอีสานไม่อุทธรณ์คำสั่ง เพราะฉะนั้นคณะกรรมการควบคุมจะเข้าไปดำเนินการบริหารงานมหาวิทยาลัยได้ตามมาตรา 86 วรรค 2 พร้อมให้ สกอ.อำนวยความสะดวกให้ทางคณะกรรมการฯที่จะดำเนินการเรื่องนี้ให้โปร่งใสด้วย
นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คุรุสภา รายงานว่าคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) ไม่เพิกถอนใบ ป.บัณฑิตวิชาชีพครั้งนี้ เนื่องจากกมว.เห็นว่าควรหาข้อมูลให้รอบด้าน ดังนั้น กมว.ต้องวางระบบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่เช่นนั้นอาจถูกกล่าวหาได้ว่าเลือกปฏิบัติได้
ด้านนายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไปแล้วจำนวน 531 ราย ได้มารายงานตัวและแจ้งข้อมูลที่คุรุสภา จำนวน54ราย โดยคุรุสภากำลังตรวจสอบหลักฐานต่างๆ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า บัณฑิตคนใดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ บ้าง ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานพบว่า ข้อมูลระหว่างมหาวิทยาลัยที่แจ้งมากับบัณฑิตไม่ตรงกันบัณฑิตแม้แต่รายเดียว ทั้งนี้ ตนจะรวบรวมหลักฐานที่บัณฑิตมารายงานตัวทั้ง 3 วัน เสนอต่อกมว.เพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค.นี้
“สำหรับกรณีบัณฑิตหลักสูตร ป.บัณฑิต ที่เรียนจริง ของมหาวิทยาลัยอีสาน ก็ต้องให้ทางมหาวิทยาลัยส่งหนังสือรับรองสิทธินักศึกษามาใหม่อีกครั้ง เพื่อขอใบอนุญาตฯ ซึ่งคาดว่าหากม.อีสานส่งหนังสือรับรองสิทธิมาจริง ก็ไม่น่าจะทันกับการสอบคัดเลือกตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แน่นอน เพราะเป็นช่วงรอยต่อการบริหาร ทำให้กลุ่มบัณฑิตดังกล่าวเสียสิทธิในปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่งผมแนะให้บัณฑิตกลุ่มดังกล่าวรวมตัวกันเพื่อดำเนินการทางแพ่งต่อไป”นายองค์กร กล่าว
ด้าน น.ส.ปภาวิน คมคาย บัณฑิตหลักสูตร ป.บัณฑิต ของ มอส.ที่ได้รับใบอนุญาตฯ ไปแล้ว กล่าวว่า ตนศึกษาจบหลักสูตร ป.บัณฑิต เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตนยืนยันว่าได้เรียนจริง ฝึกสอนจริง มีใบประจำตัวนักศึกษา และเรียนในศูนย์ที่ตั้งด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการต่างๆ ขึ้นอยู่กับคุรุสภาและที่ประชุม กมว.ว่าจะให้ทำอย่างไร โดยก่อนหน้านี้ตนศึกษาจบหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจมา และมีความสนใจเป็นครูจึงศึกษาต่อหลักสูตร ป.บัณฑิต ที่มอส.
“ดิฉันพอทราบข่าวก็รู้สึกหดหู่ เพราะอุตส่าห์เรียนมาแล้ว และคิดว่าเพื่อนนักศึกษาทุกคนต้องเสียใจและไม่อยากให้เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ก็เคยทราบข่าวมาบ้างว่า มีการซื้อขาย แต่ไม่คิดว่าจะเยอะขนาดนี้ เพราะตอนแรกคิดว่าคนที่มาซื้อมีความจำเป็นเช่นอาจไม่มีเวลามาสอน ไม่มีเวลามาเรียน ซึ่งปีนี้เยอะกว่าทุกปีที่ผ่านมา”น.ส.ปภาวินกล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่าถึงผลการสำรวจในหัวข้อเรื่อง “ครูแบบไหน ได้ใจเด็ก” ตัวอย่างจากเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7-20 ปี ใน 5 หัวเมืองใหญ่ ประกอบด้วย กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา รวมทั้งสิ้น 3,284 ตัวอย่าง พบว่า นักเรียน ได้ให้คะแนนคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเต็ม 10 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในค่าเฉลี่ยระดับสูง ด้วยคะแนน 7 - 8 ในทุกตัวชี้วัด ได้แก่ ความรู้ความสามารถ การพัฒนาหาความรู้เพิ่มเติม การประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดี ดูแลเอาใจใส่เด็ก ความสามารถในการถ่ายทอด โดยวิชาที่เคยพบเจอครูสอนดี มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1 ครูสอนคณิตศาสตร์ ร้อยละ 25.8 อันดับ 2 คุณครูสอนภาษาไทย ร้อยละ 19.5 อันดับ 3 ครูสอนวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 12.4 อันดับ 4 ครูสอนภาษาอังกฤษ ร้อยละ 9.9 และอันดับ 5 คุณครูสอนสังคมศาสตร์ ร้อยละ 8.2
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้รับรายงานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กรณีของการสั่งให้คณะกรรมการควบคุมของ สกอ. ไปควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) จังหวัดขอนแก่น แจ้งว่ามหาวิทยาลัยอีสานไม่อุทธรณ์คำสั่ง เพราะฉะนั้นคณะกรรมการควบคุมจะเข้าไปดำเนินการบริหารงานมหาวิทยาลัยได้ตามมาตรา 86 วรรค 2 พร้อมให้ สกอ.อำนวยความสะดวกให้ทางคณะกรรมการฯที่จะดำเนินการเรื่องนี้ให้โปร่งใสด้วย
นายชินวรณ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ คุรุสภา รายงานว่าคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ (กมว.) ไม่เพิกถอนใบ ป.บัณฑิตวิชาชีพครั้งนี้ เนื่องจากกมว.เห็นว่าควรหาข้อมูลให้รอบด้าน ดังนั้น กมว.ต้องวางระบบหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่เช่นนั้นอาจถูกกล่าวหาได้ว่าเลือกปฏิบัติได้
ด้านนายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยอีสาน (มอส.) ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพไปแล้วจำนวน 531 ราย ได้มารายงานตัวและแจ้งข้อมูลที่คุรุสภา จำนวน54ราย โดยคุรุสภากำลังตรวจสอบหลักฐานต่างๆ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นยังไม่สามารถชี้ชัดได้ว่า บัณฑิตคนใดจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตฯ บ้าง ซึ่งจากการตรวจสอบหลักฐานพบว่า ข้อมูลระหว่างมหาวิทยาลัยที่แจ้งมากับบัณฑิตไม่ตรงกันบัณฑิตแม้แต่รายเดียว ทั้งนี้ ตนจะรวบรวมหลักฐานที่บัณฑิตมารายงานตัวทั้ง 3 วัน เสนอต่อกมว.เพื่อพิจารณาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค.นี้
“สำหรับกรณีบัณฑิตหลักสูตร ป.บัณฑิต ที่เรียนจริง ของมหาวิทยาลัยอีสาน ก็ต้องให้ทางมหาวิทยาลัยส่งหนังสือรับรองสิทธินักศึกษามาใหม่อีกครั้ง เพื่อขอใบอนุญาตฯ ซึ่งคาดว่าหากม.อีสานส่งหนังสือรับรองสิทธิมาจริง ก็ไม่น่าจะทันกับการสอบคัดเลือกตำแหน่งครูผู้ช่วย ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แน่นอน เพราะเป็นช่วงรอยต่อการบริหาร ทำให้กลุ่มบัณฑิตดังกล่าวเสียสิทธิในปีนี้อย่างแน่นอน ซึ่งผมแนะให้บัณฑิตกลุ่มดังกล่าวรวมตัวกันเพื่อดำเนินการทางแพ่งต่อไป”นายองค์กร กล่าว
ด้าน น.ส.ปภาวิน คมคาย บัณฑิตหลักสูตร ป.บัณฑิต ของ มอส.ที่ได้รับใบอนุญาตฯ ไปแล้ว กล่าวว่า ตนศึกษาจบหลักสูตร ป.บัณฑิต เมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งตนยืนยันว่าได้เรียนจริง ฝึกสอนจริง มีใบประจำตัวนักศึกษา และเรียนในศูนย์ที่ตั้งด้วย ทั้งนี้ การดำเนินการต่างๆ ขึ้นอยู่กับคุรุสภาและที่ประชุม กมว.ว่าจะให้ทำอย่างไร โดยก่อนหน้านี้ตนศึกษาจบหลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจมา และมีความสนใจเป็นครูจึงศึกษาต่อหลักสูตร ป.บัณฑิต ที่มอส.
“ดิฉันพอทราบข่าวก็รู้สึกหดหู่ เพราะอุตส่าห์เรียนมาแล้ว และคิดว่าเพื่อนนักศึกษาทุกคนต้องเสียใจและไม่อยากให้เกิดขึ้น ก่อนหน้านี้ก็เคยทราบข่าวมาบ้างว่า มีการซื้อขาย แต่ไม่คิดว่าจะเยอะขนาดนี้ เพราะตอนแรกคิดว่าคนที่มาซื้อมีความจำเป็นเช่นอาจไม่มีเวลามาสอน ไม่มีเวลามาเรียน ซึ่งปีนี้เยอะกว่าทุกปีที่ผ่านมา”น.ส.ปภาวินกล่าว
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ กล่าวว่าถึงผลการสำรวจในหัวข้อเรื่อง “ครูแบบไหน ได้ใจเด็ก” ตัวอย่างจากเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 7-20 ปี ใน 5 หัวเมืองใหญ่ ประกอบด้วย กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี และสงขลา รวมทั้งสิ้น 3,284 ตัวอย่าง พบว่า นักเรียน ได้ให้คะแนนคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเต็ม 10 พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในค่าเฉลี่ยระดับสูง ด้วยคะแนน 7 - 8 ในทุกตัวชี้วัด ได้แก่ ความรู้ความสามารถ การพัฒนาหาความรู้เพิ่มเติม การประพฤติเป็นตัวอย่างที่ดี ดูแลเอาใจใส่เด็ก ความสามารถในการถ่ายทอด โดยวิชาที่เคยพบเจอครูสอนดี มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1 ครูสอนคณิตศาสตร์ ร้อยละ 25.8 อันดับ 2 คุณครูสอนภาษาไทย ร้อยละ 19.5 อันดับ 3 ครูสอนวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 12.4 อันดับ 4 ครูสอนภาษาอังกฤษ ร้อยละ 9.9 และอันดับ 5 คุณครูสอนสังคมศาสตร์ ร้อยละ 8.2