xs
xsm
sm
md
lg

เงินเฟ้อพุ่งแรงงานขาดรัฐเล็งขึ้นค่าแรง TDRIแนะกลไกแก้ปมค่าแรงเหลื่อมล้ำ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน - เงินเฟ้อกดกำลังซื้อ ภาคอุตฯขาดแรงาน รัฐบาลสบช่องเล็งออกนโนบายปรับค่าแรง สนองนโยบายประชานิยมเพิ่มฐานเสีย “ทีดีอาร์ไอ” แนะกลไกแก้ปัญหาค่าจ้างแรงงานระยะยาว จี้กำหนดสถานประกอบการต้องมีโครงสร้างค่าจ้างที่ชัดเจน จูงใจลูกจ้างทำงาน เสนอจ่ายค่าแรงตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน ส่วนแรงงานฐานล่างการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำควรปรับเป็นเปอร์เซ็นต์ โดยยึดค่าจ้างตามกลุ่มคลัสเตอร์จังหวัด

ปัญหาการปรับตัวของอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ทำให้สินค้าอุปโภคบริโภคราคาสูง กระทบต่อรายได้ของประชาขนในประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลมีนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพื่อให้มีรายได้สอดคล้องกับราคาสินค้าที่ปรับตัวในปัจจุบัน ขณะเดียวกันนโยบายดังกล่าวก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางในโครงการประชานิยมเพื่อสร้างฐานเสียงของรับบาลด้วย

อย่างไรก็ตามหลังจากที่เงินเฟ้อปรับตัวประกอบกับแนวโน้มราคาสินค้าการเกษตรที่มีราคาแพงขึ้น ส่งผลให้แรงงานในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ กลับคืนสู่ภาคการเกษตร รวมถึงในปีนี้รัฐบาลมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ ขณะที่ภาคเอกชนเองมีการลงทุนพัฒนาโครงการจำนวนมาก ทำให้แรงงานในตลาดถูกดูดซับไปจำนวนมากส่งให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อต้นทุนของผู้ประกอบการก่อสร้างค่อนมาก

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวถึง ทางออกแก้ปัญหาเรียกร้องปรับค่าจ้างแรงงานว่า โครงสร้างค่าจ้างภาพรวมยังจำเป็นต้องปรับให้กับแรงงานระดับฐานล่างแต่ควรใช้การปรับเป็นเปอร์เซ็นต์และกำหนดระยะเวลาในการปรับที่ชัดเจน ช่วยลดผลกระทบโครงสร้างค่าจ้างและศักยภาพการจ่ายของนายจ้าง

ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้การปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปกระทบกับโครงสร้างจ้างแรงงานเดิม ควรแก้ปัญหาในระยะยาว อาทิ การเพิ่มกลไกให้นายจ้าง มีโครงสร้างค่าจ้าง รวมทั้งใช้มาตรฐานวิชาชีพกำกับเพื่อเพิ่มระดับมาตรฐานฝีมือ เพื่อกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามความเชี่ยวชาญและสามารถ โดยกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อมาตรฐานฝีมือแรงงานมาใช้เป็นกลไกเพิ่มเติมในการแก้ปัญหาและกำหนดค่าจ้างที่เป็นธรรม

สำหรับ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในช่วง7-8 ปีที่ผ่านมาไม่สามารถสะท้อนความเป็นจริง ดังนั้น การปรับฐานค่าจ้างแรงงานควรปรับเป็นเปอร์เซ็นต์จะดีกว่าการปรับเป็นตัวเงินเท่ากันหมด เพราะการปรับเป็นเปอร์เซ็นต์จะทำให้แรงงานทั้งประเทศได้รับการปรับเพิ่มค่าจ้างเท่ากันแต่จำนวนเงินที่ได้รับมากน้อยต่างกันตามฐานรายจ่ายและค่าจ้างขั้นต่ำที่ได้รับ ซึ่งแตกต่างกันไปตามมาตรฐานค่าครองชีพของแต่ละกลุ่มคลัสเตอร์จังหวัด
กำลังโหลดความคิดเห็น