ASTVผู้จัดการรายวัน-บอร์ดรฟม. ยื้อล้มสรรหาฯผู้ว่า อ้างเอกสารหนังสือจากก.พ.ไม่ครบ นัดประชุมวาระพิเศษ 9 พ.ค.นี้ “สุพจน์” เผยยกเลิกเหมาะสมที่สุด เหตุเงื่อนไขทีโออาร์เรื่องคุณสมบัติวุฒิการศึกษาเป็นปัญหา ยันแก้ทีโออาร์ไม่ได้ทำเพื่อช่วย”โอภาส” ขณะที่เดินหน้าเจรจา กทม.สรุปเดินรถสีเขียวในพ.ค.นี้ เปิดทางเลือกรูปแบบ PPP Modified Gross Cost เพิ่ม
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม.วานนี้ (27 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมยังไม่พิจารณาผลการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มีพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร.) เป็นประธานเสนอนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นผู้ได้รับคะแนนสรรหาอันดับ 1 เนื่องจากเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่กรรมการสรรหาฯได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติการศึกษา ของผู้สมัคร ดังนั้น บอร์ดรฟม.จะประชุมเรื่องนี้อีกครั้งอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. 2554 เป็นวาระพิเศษ
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯได้สอบถามก.พ. ในเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 ราย คือ นายโอภาส เพชรมุณี , นายประภัสร์ จงสงวน และนายสมบัติ นะนุนา ซึ่ง ก.พ.ตอบว่าไม่มีหน้าที่ในการรับรองคุณสมบัติ ดังนั้นแนวทางที่เหมาะสมคือ การยกเลิกการสรรหาฯที่ผ่านมาและเปิดสรรหาฯใหม่ โดยปรับแก้ทีโออาร์ในเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของผู้สมัครผู้ว่าฯรฟม.ข้อ 3.2.2 ที่ระบุว่าต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง โดยตัดคำว่า ก.พ.รับรองออก ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานได้ตัดออกไปแล้ว ทั้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) , บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
“บอร์ดยังไม่พิจารณาเรื่องนี้เพราะเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วน และประธานสรรหาฯ ก็ไมได้เข้าประชุมเพราะไปต่างประเทศ จะกลับมาวันที่ 6 พ.ค.บอร์ดจึงนัดประชุมวาระพิเศษเรื่องนี้โดยเฉพาะวันที่ 9 พ.ค.โดยหลักการที่เหมาะสมคือ ยกเลิกการสรรหาฯ เพราะปัญหาเงื่อนไขคุณสมบัติการศึกษาในทีโออาร์ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่ประกาศสรรหาฯต่อไปได้ และไม่ว่าจะเลือกคนอื่นขึ้นมาก็จะมีปัญหาฟ้องร้องทำให้เกิดความเสียหายแน่นอน”นายสุพจน์กล่าว
นายสุพจน์กล่าวยืนยันว่า การยกเลิกและเปิดสรรหาฯใหม่โดยปรับแก้เงื่อนไขทีโออาร์เรื่องคุณสมบัติการศึกษาไม่ได้ทำเพื่อช่วยนายโอภาสให้ได้เป็นผู้ว่าฯ รฟม.แต่อย่างใด แต่เพราะเงื่อนไขวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง เป็นปัญหาจริงๆ ซึ่งผู้สมัครทั้ง 3 คนที่ผ่านเข้ามาก็ยังมีสิทธิ์สมัครได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม การสรรหาฯควรจะเรียบร้อยภายใน 1 ปีหลังจากที่ตำแหน่งว่างลงตั้งแต่เดือนส.ค. 2553 เท่ากับขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือนครึ่ง
เพิ่มทางเลือกเดินรถสีเขียว PPP Modified Gross Cost
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ยังรับทราบผลการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่และแบริ่ง-สมุทรปราการ) โดยบริษัทที่ปรึกษาเสนอ รูปแบบ PPP - Gross Cost หรือจ้างเอกชนดำเนินงาน (จ้างเอกชนลงทุน จัดหาและบำรุงรักษางานระบบรถไฟฟ้า รวมถึงจ้างเอกชนเดินรถไฟฟ้า) และเพิ่ม รูปแบบ PPP Modified Gross Cost ซึ่งเป็นการจ้างเอกชนเหมือนเดิม
โดยกำหนดค่าจ้างคงที่ บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการให้บริการของเอกชน โดยมีเงินเพิ่มพิเศษ ตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งแนวทางนี้รัฐบาลยังเป็นผู้รับความเสี่ยง ซึ่งจะมีปัญหาที่การกำหนดตัวเลขขั้นต่ำที่เหมาะสม โดยจะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการ ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
นายสุพจน์กล่าวถึงความคืบหน้าการบริหารเดินรถสายสีเขียวว่า ภายในเดือนพ.ค.นี้คณะทำงานร่วมระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะสรุปผลหารือร่วมกัน เพื่อเสนอที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้ขาด ทั้งนี้ ในส่วนของรฟม.นั้นมีความพร้อมที่จะเปิดประกวดราคาเดินรถสายสีเขียวได้ภายปีนี้ โดยใช้แนวทาง PPP - Gross Cost
นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยภายหลังการประชุมบอร์ดรฟม.วานนี้ (27 เม.ย.) ว่า ที่ประชุมยังไม่พิจารณาผลการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯ ที่มีพล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร.) เป็นประธานเสนอนายโอภาส เพชรมุณี ผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เป็นผู้ได้รับคะแนนสรรหาอันดับ 1 เนื่องจากเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ที่กรรมการสรรหาฯได้สอบถามเกี่ยวกับเรื่องคุณสมบัติการศึกษา ของผู้สมัคร ดังนั้น บอร์ดรฟม.จะประชุมเรื่องนี้อีกครั้งอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. 2554 เป็นวาระพิเศษ
ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด ซึ่งคณะกรรมการสรรหาฯได้สอบถามก.พ. ในเรื่องคุณสมบัติของผู้สมัครทั้ง 3 ราย คือ นายโอภาส เพชรมุณี , นายประภัสร์ จงสงวน และนายสมบัติ นะนุนา ซึ่ง ก.พ.ตอบว่าไม่มีหน้าที่ในการรับรองคุณสมบัติ ดังนั้นแนวทางที่เหมาะสมคือ การยกเลิกการสรรหาฯที่ผ่านมาและเปิดสรรหาฯใหม่ โดยปรับแก้ทีโออาร์ในเรื่องคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของผู้สมัครผู้ว่าฯรฟม.ข้อ 3.2.2 ที่ระบุว่าต้องมีวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง โดยตัดคำว่า ก.พ.รับรองออก ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานได้ตัดออกไปแล้ว ทั้ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) , บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท.และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
“บอร์ดยังไม่พิจารณาเรื่องนี้เพราะเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วน และประธานสรรหาฯ ก็ไมได้เข้าประชุมเพราะไปต่างประเทศ จะกลับมาวันที่ 6 พ.ค.บอร์ดจึงนัดประชุมวาระพิเศษเรื่องนี้โดยเฉพาะวันที่ 9 พ.ค.โดยหลักการที่เหมาะสมคือ ยกเลิกการสรรหาฯ เพราะปัญหาเงื่อนไขคุณสมบัติการศึกษาในทีโออาร์ทำให้ไม่สามารถดำเนินการตามที่ประกาศสรรหาฯต่อไปได้ และไม่ว่าจะเลือกคนอื่นขึ้นมาก็จะมีปัญหาฟ้องร้องทำให้เกิดความเสียหายแน่นอน”นายสุพจน์กล่าว
นายสุพจน์กล่าวยืนยันว่า การยกเลิกและเปิดสรรหาฯใหม่โดยปรับแก้เงื่อนไขทีโออาร์เรื่องคุณสมบัติการศึกษาไม่ได้ทำเพื่อช่วยนายโอภาสให้ได้เป็นผู้ว่าฯ รฟม.แต่อย่างใด แต่เพราะเงื่อนไขวุฒิการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีจากสถานศึกษาที่ ก.พ. รับรอง เป็นปัญหาจริงๆ ซึ่งผู้สมัครทั้ง 3 คนที่ผ่านเข้ามาก็ยังมีสิทธิ์สมัครได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม การสรรหาฯควรจะเรียบร้อยภายใน 1 ปีหลังจากที่ตำแหน่งว่างลงตั้งแต่เดือนส.ค. 2553 เท่ากับขณะนี้เหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือนครึ่ง
เพิ่มทางเลือกเดินรถสีเขียว PPP Modified Gross Cost
นอกจากนี้ที่ประชุมบอร์ด รฟม.ยังรับทราบผลการศึกษาเรื่องการบริหารจัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (หมอชิต-สะพานใหม่และแบริ่ง-สมุทรปราการ) โดยบริษัทที่ปรึกษาเสนอ รูปแบบ PPP - Gross Cost หรือจ้างเอกชนดำเนินงาน (จ้างเอกชนลงทุน จัดหาและบำรุงรักษางานระบบรถไฟฟ้า รวมถึงจ้างเอกชนเดินรถไฟฟ้า) และเพิ่ม รูปแบบ PPP Modified Gross Cost ซึ่งเป็นการจ้างเอกชนเหมือนเดิม
โดยกำหนดค่าจ้างคงที่ บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการให้บริการของเอกชน โดยมีเงินเพิ่มพิเศษ ตามจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น ตามแต่จะตกลงกัน ซึ่งแนวทางนี้รัฐบาลยังเป็นผู้รับความเสี่ยง ซึ่งจะมีปัญหาที่การกำหนดตัวเลขขั้นต่ำที่เหมาะสม โดยจะต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการ ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
นายสุพจน์กล่าวถึงความคืบหน้าการบริหารเดินรถสายสีเขียวว่า ภายในเดือนพ.ค.นี้คณะทำงานร่วมระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะสรุปผลหารือร่วมกัน เพื่อเสนอที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชี้ขาด ทั้งนี้ ในส่วนของรฟม.นั้นมีความพร้อมที่จะเปิดประกวดราคาเดินรถสายสีเขียวได้ภายปีนี้ โดยใช้แนวทาง PPP - Gross Cost