เซ็นทรัลรีเทล ทุ่ม 200 ล. พัฒนาระบบ-ขยายพื้นที่ ศูนย์กระจายสินค่า เปิดเส้นทางเชื่อมต่อสินค้าใหม่ หรือ HUB ในภาคเหนือและภาคใต้ บริหารต้นทุนการขนส่งและกระจายสินค้า รองรับการขยายตัวของบริษัทฯ
นายดนัย คาลัสซี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯวางงบลงทุนกว่า 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบและขยายพื้นที่ ศูนย์กระจายสินค้าบางนา กม.20 เพิ่มขึ้นอีก 3 ไร่ จากเดิม 15 ไร่ รองรับการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลรีเทล ซึ่งในปี 54 นี้ โรบินสัน
จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในเครือที่จะย้ายคลังสินค้าโรบินสันบางแค มารวมอยู่ที่ศูนย์ฯบางนาเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันเรามีบริษัทคู่ค้าที่ใช้บริการระบบ Logistic ของเซ็นทรัลรีเทลกว่า 3,800 บริษัท
นอกจากนี้ยังพัฒนาปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดปัญหาความแออัดตามเส้นทางที่เป็น Hub ทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมซอฟท์แวร์ การบริหารจัดการคลังสินค้า เพื่อบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทฯ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กร บริษัทคู่ค้า และบริษัทในเครือเซ็นทรัลรีเทล
นายดนัย กล่าวถึงภาพรวมโลจิสติกส์ไทยและปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปัจจุบันว่า ในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยให้มีประสิทธิภาพและตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีให้มีอัตราที่ลดลง แต่จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)พบว่า ปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังคงมีสัดส่วนอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 18% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญหลายๆประเทศ อาทิ สิงคโปร์,ฮ่องกง, จีน และมาเลเซีย เป็นต้น
นอกจากนี้ตัวเลขดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย (Logistics Performance Index : LPI) ธนาคารโลกระบุว่าในปี 2553 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 ลดลงจากอันดับที่ 31 ในปี 2550 ชี้แสดงได้ว่าการพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุน ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในช่วงปี พ.ศ.2550-2554 ตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้เหลือเพียง 16% ต่อ GDP ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดเสรีการค้า และ การก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEN Economic Community : AEC)ในปี 2558 เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ภาคเอกชนให้ความสนใจเนื่องจากการเข้ามาลงทุนที่มากขึ้นจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายดนัย คาลัสซี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทฯวางงบลงทุนกว่า 200 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบและขยายพื้นที่ ศูนย์กระจายสินค้าบางนา กม.20 เพิ่มขึ้นอีก 3 ไร่ จากเดิม 15 ไร่ รองรับการขยายตัวของกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลรีเทล ซึ่งในปี 54 นี้ โรบินสัน
จะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจในเครือที่จะย้ายคลังสินค้าโรบินสันบางแค มารวมอยู่ที่ศูนย์ฯบางนาเช่นเดียวกัน โดยปัจจุบันเรามีบริษัทคู่ค้าที่ใช้บริการระบบ Logistic ของเซ็นทรัลรีเทลกว่า 3,800 บริษัท
นอกจากนี้ยังพัฒนาปรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อลดปัญหาความแออัดตามเส้นทางที่เป็น Hub ทางภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและโปรแกรมซอฟท์แวร์ การบริหารจัดการคลังสินค้า เพื่อบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ของบริษัทฯ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างองค์กร บริษัทคู่ค้า และบริษัทในเครือเซ็นทรัลรีเทล
นายดนัย กล่าวถึงภาพรวมโลจิสติกส์ไทยและปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในปัจจุบันว่า ในช่วงที่ผ่านมาภาครัฐมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยให้มีประสิทธิภาพและตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพีให้มีอัตราที่ลดลง แต่จากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)พบว่า ปัจจุบันต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยยังคงมีสัดส่วนอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 18% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งสำคัญหลายๆประเทศ อาทิ สิงคโปร์,ฮ่องกง, จีน และมาเลเซีย เป็นต้น
นอกจากนี้ตัวเลขดัชนีความสามารถในการแข่งขันด้านโลจิสติกส์ของประเทศไทย (Logistics Performance Index : LPI) ธนาคารโลกระบุว่าในปี 2553 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 35 ลดลงจากอันดับที่ 31 ในปี 2550 ชี้แสดงได้ว่าการพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญต่อการลดต้นทุน ซึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในช่วงปี พ.ศ.2550-2554 ตั้งเป้าที่จะลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ให้เหลือเพียง 16% ต่อ GDP ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเปิดเสรีการค้า และ การก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEN Economic Community : AEC)ในปี 2558 เป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ภาคเอกชนให้ความสนใจเนื่องจากการเข้ามาลงทุนที่มากขึ้นจะเป็นส่วนช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ