ASTVผู้จัดการรายวัน- วัดใจรัฐบาล”มาร์ค” ถกกพช.27 เม.ย.นัดสุดท้ายชงเลื่อนนิวเคลียร์ออกไป 3 ปีจากแผนเดิมดันโรงไฟฟ้าก๊าซฯแทนโดยเร่งให้ปตท.นำเข้าแอลเอ็นจีเฟส 2 เร็วขึ้น รวมถึงแผนหาเงินอุ้มดีเซลต่อโดยอาจหนีไม่พ้นกู้เงิน รวมถึงกรอบขึ้นแอลพีจีอุตฯแบบขั้นบันไดก.ค.นี้
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 27 เม.ย.นี้ที่คาดว่าจะเป็นนัดสุดท้ายของรัฐบาลปัจจุบันจะมีการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี 2010 ) ปีพ.ศ. 2553-2573 ใหม่โดยจะเสนอเลื่อนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์จากแผนเดิมออกไป 3 ปีโดยโรงแรกที่เดิมจะเข้าระบบปี 2563 เป็นปี 2566 เนื่องจากไทยจะต้องไปดำเนินขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ)
“แม้ว่าไม่มีภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นจนสร้างปัญหานิวเคลียร์ไทยเองก็ยังไม่พร้อมเพราะยังไม่ผ่านเกณฑ์ของไอเออีเอโดยเฉพาะประเด็นการยอมรับจากประชาชน และกฏหมายในการกำกับดูแลที่ชัดเจนพอ”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้พีดีพีเดิมตลอดแผนกำหนดมีนิวเคลียร์ 5 แห่ง(แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์) เมื่อเลื่อนออกไปคาดว่าจะเหลือนิวเคลียร์ตามแผนประมาณ 2-3 แห่งและจะต้องปรับมาใช้ก๊าซธรรมชาตินำเข้าในรูปของเหลวหรือแอลเอ็นจีที่เดิมบมจ.ปตท.มีแผนนำเข้าตลอดแผน 10 ล้านตันอยู่แล้วแต่แผนใหม่จะเร่งนำเข้าเฟส 2 (5ล้านตัน) มาเป็นปี 2560 จากเดิมที่จะเป็นปี 2564โดยจะขยายโรงไฟฟ้าที่พระนครใต้และบางปะกงที่จะเป็นระบบโคเจนเนอเรชั่น(พลังความร้อนร่วม)รองรับ
นอกจากนี้ยังจะเสนอแนวทางการตรึงราคาดีเซลตามนโยบายรัฐบาลหลังจากที่มีการลดภาษีดีเซลรวม 5.83 บาทต่อลิตรแล้วโดยจะมีการรายงานถึงฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและขอความเห็นถึงกรณีที่หากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงสูงต่อเนื่องอาจทำให้กองทุนน้ำมันฯติดลบจำเป็นจะต้องให้กองทุนน้ำมันก่อหนี้เพิ่มหรือรัฐบาลควรจะจัดสรรงบประมาณส่วนกลางเข้ามาช่วยหรือไม่อย่างไร
ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานยังจะเสนอกรอบการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมแบบขั้นบันไดโดยจะเสนอให้ปรับครั้งละไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)จากที่รัฐบาลประกาศตรึงถึงก.ค.2554 จนกว่าจะนำไปสู่การสะท้อนราคาตลาดโลกที่แท้จริง พร้อมกับการเสนอพิจารณาการเพิ่มขีดความสามารถในการนำเข้า การจ่าย และระบบขนส่งแอลพีจีในการจัดหาก๊าซหุงต้มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะขอให้มีการปลดล็อกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถนำเข้าก๊าซหุงต้มและได้รับการชดเชยส่วนต่างของราคานำเข้ากับราคาในประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยการจัดหาก๊าซหุงต้มและสามารถกระจายคลังรองรับไปที่ต่างๆ ได้นอกจากคลังของบมจ.ปตท.เท่านั้น ส่วนระยะยาวให้กพช.มอบหมายบมจ.ปตท.ขยายคลังแอลพีจีอีก 1.5แสนตันเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นใน 5 ปีข้างหน้าที่หากความต้องการยังโต 8%ต่อปีอาจเกิดวิกฤตได้
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจีกล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรจะพิจารณาการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันเนื่องจากท้ายสุดจะไปสะท้อนในราคาสินค้าให้ปรับขึ้นได้ และส่วนตัวเชื่อว่ารัฐบาลนี้ไม่น่าจะตัดสินใจโดยคงจะให้รัฐบาลใหม่มาเป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวว่า การนำเข้าแอลเอ็นจีเฟส 2 (5ล้านตัน)ให้เร็วขึ้นนั้นคงไม่มีปัญหาอะไรเพราะระบบพื้นฐานได้วางไว้หมดแล้วเหลือเพียงการสร้างคลังเพิ่มที่จะลงทุนน้อยกว่าครั้งแรก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องการคือความชัดเจนในระยะยาวว่าจะขยายเพิ่มอีกจากนี้หรือไม่เพราะหากต้องลงทุนเพิ่มอีกที่เดิมจะไม่สามารถรองรับได้ซึ่งต้องใช้เวลา
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานวันที่ 27 เม.ย.นี้ที่คาดว่าจะเป็นนัดสุดท้ายของรัฐบาลปัจจุบันจะมีการพิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(พีดีพี 2010 ) ปีพ.ศ. 2553-2573 ใหม่โดยจะเสนอเลื่อนการผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์จากแผนเดิมออกไป 3 ปีโดยโรงแรกที่เดิมจะเข้าระบบปี 2563 เป็นปี 2566 เนื่องจากไทยจะต้องไปดำเนินขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของทบวงพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ)
“แม้ว่าไม่มีภัยพิบัติแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นจนสร้างปัญหานิวเคลียร์ไทยเองก็ยังไม่พร้อมเพราะยังไม่ผ่านเกณฑ์ของไอเออีเอโดยเฉพาะประเด็นการยอมรับจากประชาชน และกฏหมายในการกำกับดูแลที่ชัดเจนพอ”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้พีดีพีเดิมตลอดแผนกำหนดมีนิวเคลียร์ 5 แห่ง(แห่งละ 1,000 เมกะวัตต์) เมื่อเลื่อนออกไปคาดว่าจะเหลือนิวเคลียร์ตามแผนประมาณ 2-3 แห่งและจะต้องปรับมาใช้ก๊าซธรรมชาตินำเข้าในรูปของเหลวหรือแอลเอ็นจีที่เดิมบมจ.ปตท.มีแผนนำเข้าตลอดแผน 10 ล้านตันอยู่แล้วแต่แผนใหม่จะเร่งนำเข้าเฟส 2 (5ล้านตัน) มาเป็นปี 2560 จากเดิมที่จะเป็นปี 2564โดยจะขยายโรงไฟฟ้าที่พระนครใต้และบางปะกงที่จะเป็นระบบโคเจนเนอเรชั่น(พลังความร้อนร่วม)รองรับ
นอกจากนี้ยังจะเสนอแนวทางการตรึงราคาดีเซลตามนโยบายรัฐบาลหลังจากที่มีการลดภาษีดีเซลรวม 5.83 บาทต่อลิตรแล้วโดยจะมีการรายงานถึงฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและขอความเห็นถึงกรณีที่หากระดับราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงสูงต่อเนื่องอาจทำให้กองทุนน้ำมันฯติดลบจำเป็นจะต้องให้กองทุนน้ำมันก่อหนี้เพิ่มหรือรัฐบาลควรจะจัดสรรงบประมาณส่วนกลางเข้ามาช่วยหรือไม่อย่างไร
ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงานยังจะเสนอกรอบการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมแบบขั้นบันไดโดยจะเสนอให้ปรับครั้งละไม่เกิน 1 บาทต่อกิโลกรัม(กก.)จากที่รัฐบาลประกาศตรึงถึงก.ค.2554 จนกว่าจะนำไปสู่การสะท้อนราคาตลาดโลกที่แท้จริง พร้อมกับการเสนอพิจารณาการเพิ่มขีดความสามารถในการนำเข้า การจ่าย และระบบขนส่งแอลพีจีในการจัดหาก๊าซหุงต้มทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยระยะสั้นจะขอให้มีการปลดล็อกคำสั่งนายกรัฐมนตรี ให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถนำเข้าก๊าซหุงต้มและได้รับการชดเชยส่วนต่างของราคานำเข้ากับราคาในประเทศได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยการจัดหาก๊าซหุงต้มและสามารถกระจายคลังรองรับไปที่ต่างๆ ได้นอกจากคลังของบมจ.ปตท.เท่านั้น ส่วนระยะยาวให้กพช.มอบหมายบมจ.ปตท.ขยายคลังแอลพีจีอีก 1.5แสนตันเพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นใน 5 ปีข้างหน้าที่หากความต้องการยังโต 8%ต่อปีอาจเกิดวิกฤตได้
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าแอลพีจีกล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรจะพิจารณาการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันเนื่องจากท้ายสุดจะไปสะท้อนในราคาสินค้าให้ปรับขึ้นได้ และส่วนตัวเชื่อว่ารัฐบาลนี้ไม่น่าจะตัดสินใจโดยคงจะให้รัฐบาลใหม่มาเป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง
แหล่งข่าวจากบมจ.ปตท.กล่าวว่า การนำเข้าแอลเอ็นจีเฟส 2 (5ล้านตัน)ให้เร็วขึ้นนั้นคงไม่มีปัญหาอะไรเพราะระบบพื้นฐานได้วางไว้หมดแล้วเหลือเพียงการสร้างคลังเพิ่มที่จะลงทุนน้อยกว่าครั้งแรก อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องการคือความชัดเจนในระยะยาวว่าจะขยายเพิ่มอีกจากนี้หรือไม่เพราะหากต้องลงทุนเพิ่มอีกที่เดิมจะไม่สามารถรองรับได้ซึ่งต้องใช้เวลา