นายพงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูล นักวิชาการอิสระ สถาบันบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า นโยบายเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แบบแอลกอฮอล์ดีกรีควรทำได้ทันทีในราคามาตรฐานเดียวกัน โดยคำนวณภาษีเสมือนเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งในปัจจุบันทำให้คนที่รายได้น้อยเข้าใจผิดว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูง ราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และยังทำให้เยาวชนเริ่มต้นลองบริโภคราคาถูก แต่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง
ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาแบบง่ายเพื่อขจัดการหลบเลี่ยงภาษี คือ การคำนวณภาษีเสมือนเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์ (Synthetic Volume Based Tax) เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนทางการตลาด เพราะภาษีที่คิดจากมูลค่าในปัจจุบัน จะทำให้พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ก็เปลี่ยนไปในทางที่เลวร้ายลงไปกว่าเก่า
นายบัญชร ส่งสัมพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี กล่าวว่า โครงสร้างภาษีในปัจจุบันเป็นแบบ “เทรดดาวน์” ที่ให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มที่มีราคาถูกลงไปเรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมามักมองว่ากฎหมายติดเพดานไม่สามารถทำอะไรได้ จึงคิดว่าให้กำหนดราคากลางในการเก็บภาษีแต่ละประเภทขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น เบียร์ ไวน์ วิสกี้ เหล้าขาว
สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเสมือนเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์คือการกำหนดราคากลางที่เหมาะสมจากผลิตภัณฑ์ในตลาด เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมเท่ากัน ทั้งนี้เชื่อว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ราคาสูงอยู่แล้วไม่ลดราคาลงมาเพื่อทำให้เกรดสินค้าเสีย
นายสันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ธุรกิจแอลกอฮอล์มีการเปิดเสรีในประเทศและระหว่างประเทศ โครงสร้างการเก็บภาษีก็เปลี่ยนไป เมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่ผู้บริโภคกลับบริโภคในปริมาณมากขึ้น และมีการแข่งขันมากขึ้นแต่ราคาลดลง ซึ่งวิธีคุมการบริโภคโดยการใช้วิธีภายใน คือ ภาษีสรรพสามิต แต่กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการลดการบริโภคปริมาณแอลกอฮอล์ได้
ตัวเลขบงชี้ว่า ถ้าราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำลง จะทำให้การบริโภคมีปริมาณมากขึ้น โดยไม่สนใจถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับและถ้ารายได้ของผู้บริโภคมากขึ้น ปริมาณการดื่มก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วยและประเทศไทยจะถูกมองว่าเป็นตลาดหลักสำหรับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต หากโครงสร้างภาษีที่มีอยู่ไม่สามารถไปช่วยในการควบคุมปริมาณการดื่มให้เหมาะสมได้ เพราะคนจะเปลี่ยนวิธีในการดื่มคือ ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ราคาถูก มีแอลกอฮอล์สูง
ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาแบบง่ายเพื่อขจัดการหลบเลี่ยงภาษี คือ การคำนวณภาษีเสมือนเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์ (Synthetic Volume Based Tax) เพื่อไม่ให้เกิดการบิดเบือนทางการตลาด เพราะภาษีที่คิดจากมูลค่าในปัจจุบัน จะทำให้พฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ก็เปลี่ยนไปในทางที่เลวร้ายลงไปกว่าเก่า
นายบัญชร ส่งสัมพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี กล่าวว่า โครงสร้างภาษีในปัจจุบันเป็นแบบ “เทรดดาวน์” ที่ให้ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มที่มีราคาถูกลงไปเรื่อยๆ แต่ที่ผ่านมามักมองว่ากฎหมายติดเพดานไม่สามารถทำอะไรได้ จึงคิดว่าให้กำหนดราคากลางในการเก็บภาษีแต่ละประเภทขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น เบียร์ ไวน์ วิสกี้ เหล้าขาว
สำหรับวิธีการคำนวณภาษีเสมือนเก็บตามปริมาณแอลกอฮอล์คือการกำหนดราคากลางที่เหมาะสมจากผลิตภัณฑ์ในตลาด เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมเท่ากัน ทั้งนี้เชื่อว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ราคาสูงอยู่แล้วไม่ลดราคาลงมาเพื่อทำให้เกรดสินค้าเสีย
นายสันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข รองคณบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวว่า ธุรกิจแอลกอฮอล์มีการเปิดเสรีในประเทศและระหว่างประเทศ โครงสร้างการเก็บภาษีก็เปลี่ยนไป เมื่อมีผู้ผลิตรายใหม่ผู้บริโภคกลับบริโภคในปริมาณมากขึ้น และมีการแข่งขันมากขึ้นแต่ราคาลดลง ซึ่งวิธีคุมการบริโภคโดยการใช้วิธีภายใน คือ ภาษีสรรพสามิต แต่กลับไม่สามารถทำหน้าที่ในการลดการบริโภคปริมาณแอลกอฮอล์ได้
ตัวเลขบงชี้ว่า ถ้าราคาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่ำลง จะทำให้การบริโภคมีปริมาณมากขึ้น โดยไม่สนใจถึงปริมาณแอลกอฮอล์ที่ได้รับและถ้ารายได้ของผู้บริโภคมากขึ้น ปริมาณการดื่มก็จะเพิ่มมากขึ้นไปด้วยและประเทศไทยจะถูกมองว่าเป็นตลาดหลักสำหรับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอนาคต หากโครงสร้างภาษีที่มีอยู่ไม่สามารถไปช่วยในการควบคุมปริมาณการดื่มให้เหมาะสมได้ เพราะคนจะเปลี่ยนวิธีในการดื่มคือ ไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ราคาถูก มีแอลกอฮอล์สูง