กรมสรรพสามิต เดินหน้าสร้างความโปร่งใสเตรียมยกเลิกระบบจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มจากฝาจีบใช้เทคโนโลยี Vision Sensor ควบคุมระบบจัดเก็บลดต้นทุนทั้งภาครัฐ และเอกชนปีละกว่า 20 ล้านบาท
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงระบบจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีมูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท จากโรงงานผลิตทั้งสิ้น 32 โรงงานทั่วประเทศ โดยระบบจัดเก็บเดิมใช้ฝาจุกจีบจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่เป็นระบบที่ค่อนข้างรัดกุมแต่มีข้อเสียในเรื่องความยุ่งยากในการดำเนินงาน และต้นทุนที่สูง
ดังนั้น กรมสรรพสามิต จึงได้เปลี่ยนระบบการจัดเก็บโดนนำระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกล หรือ Vision Sensor (Photo Sensor & Camera) มาใช้ในการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแทนระบบฝาจีบ ซึ่งกรมสรรพสามิต จะติดตั้ง Vision Sensor เพื่อตรวจสอบจำนวนสินค้าเพื่อการชำระภาษีที่สายการผลิตละ 2 จุด บริเวณตรวจนับสินค้าหลังจากบรรจุและผนึกฝาแล้ว และบริเวณตรวจนับสินค้าหลังจากบรรจุลงลังหรือกล่อง
“ระบบใหม่ที่จะนำมาใช้นี้จะสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นชำระภาษีได้ภายใน 15 วันถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องชำระภาษีล่วงหน้าเหมือนระบบเดิมที่ต้องสต็อกฝาจุกจีบสำรองถึง 10% ของภาษีที่เสียทุกเดือนจากมูลค่าภาษีเครื่องดื่มเฉลี่ยเดือนละกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การยกเลิกระบบจัดเก็บแบบเดิมนั้น จะทำให้กระบวนการด้านภาษีต่างๆ เช่น การควบคุมโรงงานฝาจีบ การจดทะเบียนการเสียภาษี การออกประกาศลักษณะของเครื่องหมาย การตรวจสอบบัญชีโรงงานผลิตเครื่องหมาย และการขอเบิกฝาจีบไปผนึกสินค้า เหล่านี้จะทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถประหยัดต้นทุนการดำเนินงานไปได้กว่าปีละ 20 ล้านบาท
“นอกจากต้นทุนที่เราจะประหยัดได้ถึง 20 ล้านบาทแล้ว ภาครัฐยังประหยัดอัตรากำลังพลโดยการยกเลิกการควบคุมโรงงานฝาจุกจีบ เป็นผลให้กรมสรรพสามิตสามารถนำอัตรากำลังประมาณ 40 อัตรา ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐเพิ่มขึ้น” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างเปลี่ยนแปลงระบบจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มที่มีมูลค่ากว่า 14,000 ล้านบาท จากโรงงานผลิตทั้งสิ้น 32 โรงงานทั่วประเทศ โดยระบบจัดเก็บเดิมใช้ฝาจุกจีบจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่เป็นระบบที่ค่อนข้างรัดกุมแต่มีข้อเสียในเรื่องความยุ่งยากในการดำเนินงาน และต้นทุนที่สูง
ดังนั้น กรมสรรพสามิต จึงได้เปลี่ยนระบบการจัดเก็บโดนนำระบบมาตรวัดและคอมพิวเตอร์สื่อสารทางไกล หรือ Vision Sensor (Photo Sensor & Camera) มาใช้ในการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแทนระบบฝาจีบ ซึ่งกรมสรรพสามิต จะติดตั้ง Vision Sensor เพื่อตรวจสอบจำนวนสินค้าเพื่อการชำระภาษีที่สายการผลิตละ 2 จุด บริเวณตรวจนับสินค้าหลังจากบรรจุและผนึกฝาแล้ว และบริเวณตรวจนับสินค้าหลังจากบรรจุลงลังหรือกล่อง
“ระบบใหม่ที่จะนำมาใช้นี้จะสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ประกอบการ โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นชำระภาษีได้ภายใน 15 วันถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกจากโรงงาน ทำให้ผู้ประกอบการไม่ต้องชำระภาษีล่วงหน้าเหมือนระบบเดิมที่ต้องสต็อกฝาจุกจีบสำรองถึง 10% ของภาษีที่เสียทุกเดือนจากมูลค่าภาษีเครื่องดื่มเฉลี่ยเดือนละกว่า 1 พันล้านบาท ซึ่งเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย” นายพงษ์ภาณุ กล่าว
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การยกเลิกระบบจัดเก็บแบบเดิมนั้น จะทำให้กระบวนการด้านภาษีต่างๆ เช่น การควบคุมโรงงานฝาจีบ การจดทะเบียนการเสียภาษี การออกประกาศลักษณะของเครื่องหมาย การตรวจสอบบัญชีโรงงานผลิตเครื่องหมาย และการขอเบิกฝาจีบไปผนึกสินค้า เหล่านี้จะทำให้ทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถประหยัดต้นทุนการดำเนินงานไปได้กว่าปีละ 20 ล้านบาท
“นอกจากต้นทุนที่เราจะประหยัดได้ถึง 20 ล้านบาทแล้ว ภาครัฐยังประหยัดอัตรากำลังพลโดยการยกเลิกการควบคุมโรงงานฝาจุกจีบ เป็นผลให้กรมสรรพสามิตสามารถนำอัตรากำลังประมาณ 40 อัตรา ไปปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐเพิ่มขึ้น” นายพงษ์ภาณุ กล่าว