ความวัวยังไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก!
ปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณรอบปราสาทพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษที่รบกันไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้ยังคาราคาซัง กระทรวงการต่างประเทศไปตกลงรับผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียในขณะที่ 4 เหล่าทัพแถลงไม่เห็นด้วย ศุกร์เสาร์นี้รบกันอีก 2 รอบแล้วที่บริเวณปราสาทตาควาย-ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ทหารพรานไทยตายไปรวม 5 ศพเจ็บอีกประมาณ 20 ไทยเรายังคงตกเป็นรองสุดกู่ในแนวรบด้านข่าวสาร ถูกเปิดฉากยิงก่อนแล้วก็ตอบโต้ไปไม่เต็มรูปอยู่เห็นๆ กลับถูกกล่าวหาถูกร้องเรียนต่อนานาชาติว่าเรายิงก่อน
มันชัดเจนครับว่าเขมรไม่ได้รบเพื่อเอาชนะโดยกำลังทหารกำลังกองทัพหรอก เพราะศักยภาพเทียบกับไทยไม่ได้ต่อให้ไทยเรากลวงแค่ไหนก็ตาม เขามีเป้าหมายชัดเจนว่ารบเพื่ออะไร
รบเพื่อร้อง!
รบเพื่อร้องต่อนานาชาติให้เข้ามาแทรกแซง!!
รบสามสี่รอบระหว่าง 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2554 เขมรสามารถนำเรื่องไปสู่ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ในอีก 10 วันถัดมา แม้จะไม่ได้ผลตามข้อเรียกร้องที่เขาต้องการทั้งหมด แต่การมีมติให้ 2 ประเทศมาคุยกันเองโดยมีอินโดนีเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกก็พอที่จะทำให้เขาเดินงานต่อได้ และไทยเราก็ไปตกหลุมที่จากาตาร์ในอีก 7 วันถัดมาโดยการยอมรับให้มีคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาเป็นพยานว่าทั้ง 2 ประเทศจะไม่รบกันอีก ใครผิดสัญญาก็จะมีผลต่อการเจรจาในเวทีนานาชาติในอนาคต
รบสองรอบสุดสัปดาห์นี้ไม่ว่าจะไปถึงไหนมันก็อยู่บนความคืบหน้าที่จะนำไปสู่การให้นานาชาติเข้ามาแทรกแซงมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายสูงสุดของเขาคือเอาดินแดนไทยไปเป็นของเขา โดยการชี้ขาดของนานาชาติ เขมรกำลังทำชัยชนะที่ได้มาครึ่งเดียวบนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2505 ให้เป็นชัยชนะสมบูรณ์โดยการทำให้ทุกทางให้นานาชาติชี้ขาดว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาเป็นไปตามแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อร้อยกว่าปีก่อน หลังจากฮุนเซนขึ้นครองอำนาจจากการเลือกตั้งจัดโดยนานาชาติหลังปี 2535 บ้านเมืองทุเลาจากสงครามกลางเมืองภายในประเทศ เขาก็เพียรพยายามมาเป็นขั้นตอน เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่เคยสะดุด ขนาดรัฐธรรมนูญของเขายังระบุไว้ชัดเจนเลยว่าเขตแดนด้านไทย-กัมพูชาต้องเป็นไปตามแผนที่ชุดนี้ เป็นอื่นไปไม่ได้
ไม่ว่าเราจะชอบหรือชัง แต่ต้องนับถือเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นนี้ของเขาและควรถือเป็นกรณีศึกษา
ภายใต้ธงหลักที่ต้องการให้นานาชาติเข้ามาชี้ขาดอีกครั้ง เขมรไม่ได้อยู่เฉยๆ หากแต่ทำงานหนักในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งกำลังคนและกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่ที่เขาถือว่าเป็นของเขาตามแผนที่ 1 : 200,000 ตลอดระยะเวลาสิบปีมานี้ ทั้งๆ ที่สภาพภูมิศาสตร์ตกเป็นรองไทยเหลือคณา ต้องขับเคลื่อนจากเชิงเขาขึ้นมาบนยอดเขา แต่เขมรก็ไม่ย่อท้อ สร้างถนน สร้างรถราง และฐานที่มั่นทางทหารประจันหน้ากับไทยบนยอดเขาที่เป็นของไทยเห็นๆ ตามสนธิสัญญาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
พูดกันไปมากแล้วเรื่องถนนจากบ้านโกมุยขึ้นมาบนพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร โดยมีวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระเป็นจุดสำคัญ วันนี้มาดูรถกระเช้าราง ขึ้นมาบนสันปันน้ำด้านปราสาทตาควายกันบ้าง เปิดดูคลิปที่ http://www.youtube.com/watch?v=v_ylcd7BLAM&feature=player_embedded ท่านจะได้เห็นว่ากว่าเขาจะขนทหารขนอาวุธขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่สบายๆ แต่เขาก็ทำได้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงปีสองปีมานี้เองครับ ในรัฐบาลท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนี้เอง
วันนี้ไม่พูดนะว่าเอ็มโอยู 2543 มันดีมันเลวอย่างไร วางไว้ก่อน แต่คำถามใหญ่ๆ หลังจากดูคลิปนี้แล้วก็คือในเมื่อมันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ณ จุดที่ยังไม่มีการจัดทำหลักเขตแดนใหม่ เท่ากับเป็นการขัดต่อข้อ 5 ของเอ็มโอยู 2543 แล้วเราปล่อยให้เขาทำได้อย่างไร
เขมรต้องการเร่งเกมครับถึงได้เปิดการรบที่ปราสาทตาควาย เพราะเกมที่เขาได้เปรียบเอามากๆ จากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2554 กรณีจะให้มีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นฝ่ายทหารไทยไม่เอาด้วย เพราะจะเข้าข่ายเปิดพรมให้นานาชาติเห็นว่าเราซุกขยะเข้าไว้ข้างใต้มากมายเพียงใด ขยะที่ว่านี้ก็คือการที่เราปล่อยให้เขมรเข้ามาตั้งชุมชนตั้งวัดวางกำลังทหารบนพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้เราก็ไม่กล้าเรียกว่าแผ่นดินไทยทั้งๆ ที่มันเป็นแผ่นดินไทย แต่ไพล่ไปเรียกทอนสิทธิตัวเองว่าพื้นที่พิพาทบ้างพื้นที่อ้างสิทธิบ้าง แล้วการตกลงหยุดยิงตกลงให้มีประเทศที่สามเข้ามาสังเกตการณ์ไม่ให้มีการรบอีกก็เท่ากับเอามามัดมือมัดเท้าตัดทอนศักยภาพที่เหนือกว่าของตนเองไม่ให้ใช้กำลังทหารผลักดันผู้รุกรานออกไปตามสิทธิอันชอบธรรม เมื่อทหารไทยไม่ตอบรับ เขมรก็ต้องรบรอบใหม่ รบเพื่อร้องต่อนานาชาติอีกครั้ง
ยุทธศาสตร์ของไทยเราดูเหมือนจะเป็นไม่รบ
แต่ไม่รบเพื่ออะไรยังไม่แจ้ง
จริงอยู่ เมื่อเขมรรบมาเราก็ตอบโต้กลับ แต่เป็นการตอบโต้ชนิดป้องกันตัวอยู่ในฐานที่ตั้งที่ถอยร่นเข้ามาในดินแดนไทย ไม่ใช่ตอบโต้เพื่อกวาดผู้รุกรานออกไปจากแผ่นดินไทย
เพราะต้องการเป็นชาติรักสันติ เพราะต้องการให้มีภาพลักษณ์ที่ดีไม่เป็นชาติใหญ่ที่รังแกชาติที่อ่อนแอกว่า และ ฯลฯ แต่ประการสำคัญที่สุดที่ต้องพูดตรงๆ คือ...
กลัวการรบจะนำไปสู่เวทีนานาชาติที่เราจะแพ้อีกหนหลังจากปี 2505 ครับ
ไทยเราจึงยอมเกือบทุกอย่าง ยอมให้เขมรรุกทีละขั้น ยอมทำสัญญาที่รู้ว่าเราจะเสียเปรียบเห็นๆ เพียงเพราะถูกเขาขู่ว่าถ้าไม่ยอมจะนำเรื่องกลับสู่ศาลโลกอีกหน และที่สำคัญคือฝ่ายการเมืองในช่วงปี 2544 เป็นต้นมา เห็นว่าผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของชาติไทยและกลุ่มทุนไทยคือการคบหาสมาคมกับเขมรอย่างสงบสันติ เสียเล็กเสียน้อยให้เฉยไว้เพื่อประโยชน์มหาศาลที่ยิ่งใหญ่กว่า ผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ผลประโยชน์แหล่งท่องเที่ยวแหล่งบันเทิงครบวงจรบริเวณชายแดน และ ฯลฯ
เมื่อฝ่ายการเมืองเป็นเสียอย่างนี้ ฝ่ายทหารก็เลยทำอะไรได้ไม่เต็มที่
เมื่อทำอะไรได้ไม่เต็มที่ กลไกในพื้นที่ก็เลยเห็นว่าดีกว่าอยู่เปล่าๆ เข้าไปแสวงหาประโยชน์ที่พอแสวงได้เสียเลย
แต่จนถึงวันนี้ ความหวังของไทยที่ต้องการให้ปัญหาเขตแดนจบอยู่แค่การเจรจาระหว่าง 2 ประเทศไม่ขยายวงไปสู่นานาชาติมันเป็นเพียงความหวังลมๆ แล้งๆ เพราะเขมรไม่เอาด้วย และถ้าเขาจะเอาด้วยก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่เขาได้เปรียบ ซึ่งไทยเราก็ยอมไม่ได้อยู่ดี
ไม่มีใครอยากรบหรอก แต่มันก็ต้องมีกรอบมีขอบเขตของการไม่รบ
และเมื่อรบแล้วก็ต้องเจรจาอยู่ดี ไม่ว่าทวิภาคีหรือพหุภาคี
วันนี้ ไทยเราก็ต้องถามตัวเองว่าในเมื่อเขมรเขา “รบเพื่อร้อง” แล้วเราล่ะ “ไม่รบ..” เพื่ออะไร เราจะหยุดเป้าหมายเขมรได้นานแค่ไหน และเรามีปัญญาดึงเขามานั่งเจรจาสองต่อสองในกรอบที่เราได้เปรียบเสียด้วยได้ละหรือ และคาราคาซังอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็คือให้เขมรอยู่ในพื้นที่ไทยไปเรื่อยๆ
“ยึดพื้นที่(ของเรา)ก่อน เจรจาทีหลัง” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ต้องพิจารณา!
ปัญหาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรบริเวณรอบปราสาทพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษที่รบกันไปเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นี้ยังคาราคาซัง กระทรวงการต่างประเทศไปตกลงรับผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียในขณะที่ 4 เหล่าทัพแถลงไม่เห็นด้วย ศุกร์เสาร์นี้รบกันอีก 2 รอบแล้วที่บริเวณปราสาทตาควาย-ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์ทหารพรานไทยตายไปรวม 5 ศพเจ็บอีกประมาณ 20 ไทยเรายังคงตกเป็นรองสุดกู่ในแนวรบด้านข่าวสาร ถูกเปิดฉากยิงก่อนแล้วก็ตอบโต้ไปไม่เต็มรูปอยู่เห็นๆ กลับถูกกล่าวหาถูกร้องเรียนต่อนานาชาติว่าเรายิงก่อน
มันชัดเจนครับว่าเขมรไม่ได้รบเพื่อเอาชนะโดยกำลังทหารกำลังกองทัพหรอก เพราะศักยภาพเทียบกับไทยไม่ได้ต่อให้ไทยเรากลวงแค่ไหนก็ตาม เขามีเป้าหมายชัดเจนว่ารบเพื่ออะไร
รบเพื่อร้อง!
รบเพื่อร้องต่อนานาชาติให้เข้ามาแทรกแซง!!
รบสามสี่รอบระหว่าง 4 – 6 กุมภาพันธ์ 2554 เขมรสามารถนำเรื่องไปสู่ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ในอีก 10 วันถัดมา แม้จะไม่ได้ผลตามข้อเรียกร้องที่เขาต้องการทั้งหมด แต่การมีมติให้ 2 ประเทศมาคุยกันเองโดยมีอินโดนีเซียเป็นผู้อำนวยความสะดวกก็พอที่จะทำให้เขาเดินงานต่อได้ และไทยเราก็ไปตกหลุมที่จากาตาร์ในอีก 7 วันถัดมาโดยการยอมรับให้มีคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาเป็นพยานว่าทั้ง 2 ประเทศจะไม่รบกันอีก ใครผิดสัญญาก็จะมีผลต่อการเจรจาในเวทีนานาชาติในอนาคต
รบสองรอบสุดสัปดาห์นี้ไม่ว่าจะไปถึงไหนมันก็อยู่บนความคืบหน้าที่จะนำไปสู่การให้นานาชาติเข้ามาแทรกแซงมากยิ่งขึ้น
เป้าหมายสูงสุดของเขาคือเอาดินแดนไทยไปเป็นของเขา โดยการชี้ขาดของนานาชาติ เขมรกำลังทำชัยชนะที่ได้มาครึ่งเดียวบนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2505 ให้เป็นชัยชนะสมบูรณ์โดยการทำให้ทุกทางให้นานาชาติชี้ขาดว่าเขตแดนไทย-กัมพูชาเป็นไปตามแผนที่อัตราส่วน 1 : 200,000 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวโดยไม่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อร้อยกว่าปีก่อน หลังจากฮุนเซนขึ้นครองอำนาจจากการเลือกตั้งจัดโดยนานาชาติหลังปี 2535 บ้านเมืองทุเลาจากสงครามกลางเมืองภายในประเทศ เขาก็เพียรพยายามมาเป็นขั้นตอน เป็นยุทธศาสตร์ชาติที่ไม่เคยสะดุด ขนาดรัฐธรรมนูญของเขายังระบุไว้ชัดเจนเลยว่าเขตแดนด้านไทย-กัมพูชาต้องเป็นไปตามแผนที่ชุดนี้ เป็นอื่นไปไม่ได้
ไม่ว่าเราจะชอบหรือชัง แต่ต้องนับถือเจตนารมณ์อันมุ่งมั่นนี้ของเขาและควรถือเป็นกรณีศึกษา
ภายใต้ธงหลักที่ต้องการให้นานาชาติเข้ามาชี้ขาดอีกครั้ง เขมรไม่ได้อยู่เฉยๆ หากแต่ทำงานหนักในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะการส่งกำลังคนและกำลังทหารเข้ามาในพื้นที่ที่เขาถือว่าเป็นของเขาตามแผนที่ 1 : 200,000 ตลอดระยะเวลาสิบปีมานี้ ทั้งๆ ที่สภาพภูมิศาสตร์ตกเป็นรองไทยเหลือคณา ต้องขับเคลื่อนจากเชิงเขาขึ้นมาบนยอดเขา แต่เขมรก็ไม่ย่อท้อ สร้างถนน สร้างรถราง และฐานที่มั่นทางทหารประจันหน้ากับไทยบนยอดเขาที่เป็นของไทยเห็นๆ ตามสนธิสัญญาเมื่อร้อยกว่าปีก่อน
พูดกันไปมากแล้วเรื่องถนนจากบ้านโกมุยขึ้นมาบนพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหาร โดยมีวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระเป็นจุดสำคัญ วันนี้มาดูรถกระเช้าราง ขึ้นมาบนสันปันน้ำด้านปราสาทตาควายกันบ้าง เปิดดูคลิปที่ http://www.youtube.com/watch?v=v_ylcd7BLAM&feature=player_embedded ท่านจะได้เห็นว่ากว่าเขาจะขนทหารขนอาวุธขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่สบายๆ แต่เขาก็ทำได้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงปีสองปีมานี้เองครับ ในรัฐบาลท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนี้เอง
วันนี้ไม่พูดนะว่าเอ็มโอยู 2543 มันดีมันเลวอย่างไร วางไว้ก่อน แต่คำถามใหญ่ๆ หลังจากดูคลิปนี้แล้วก็คือในเมื่อมันเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ณ จุดที่ยังไม่มีการจัดทำหลักเขตแดนใหม่ เท่ากับเป็นการขัดต่อข้อ 5 ของเอ็มโอยู 2543 แล้วเราปล่อยให้เขาทำได้อย่างไร
เขมรต้องการเร่งเกมครับถึงได้เปิดการรบที่ปราสาทตาควาย เพราะเกมที่เขาได้เปรียบเอามากๆ จากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2554 กรณีจะให้มีผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นฝ่ายทหารไทยไม่เอาด้วย เพราะจะเข้าข่ายเปิดพรมให้นานาชาติเห็นว่าเราซุกขยะเข้าไว้ข้างใต้มากมายเพียงใด ขยะที่ว่านี้ก็คือการที่เราปล่อยให้เขมรเข้ามาตั้งชุมชนตั้งวัดวางกำลังทหารบนพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้เราก็ไม่กล้าเรียกว่าแผ่นดินไทยทั้งๆ ที่มันเป็นแผ่นดินไทย แต่ไพล่ไปเรียกทอนสิทธิตัวเองว่าพื้นที่พิพาทบ้างพื้นที่อ้างสิทธิบ้าง แล้วการตกลงหยุดยิงตกลงให้มีประเทศที่สามเข้ามาสังเกตการณ์ไม่ให้มีการรบอีกก็เท่ากับเอามามัดมือมัดเท้าตัดทอนศักยภาพที่เหนือกว่าของตนเองไม่ให้ใช้กำลังทหารผลักดันผู้รุกรานออกไปตามสิทธิอันชอบธรรม เมื่อทหารไทยไม่ตอบรับ เขมรก็ต้องรบรอบใหม่ รบเพื่อร้องต่อนานาชาติอีกครั้ง
ยุทธศาสตร์ของไทยเราดูเหมือนจะเป็นไม่รบ
แต่ไม่รบเพื่ออะไรยังไม่แจ้ง
จริงอยู่ เมื่อเขมรรบมาเราก็ตอบโต้กลับ แต่เป็นการตอบโต้ชนิดป้องกันตัวอยู่ในฐานที่ตั้งที่ถอยร่นเข้ามาในดินแดนไทย ไม่ใช่ตอบโต้เพื่อกวาดผู้รุกรานออกไปจากแผ่นดินไทย
เพราะต้องการเป็นชาติรักสันติ เพราะต้องการให้มีภาพลักษณ์ที่ดีไม่เป็นชาติใหญ่ที่รังแกชาติที่อ่อนแอกว่า และ ฯลฯ แต่ประการสำคัญที่สุดที่ต้องพูดตรงๆ คือ...
กลัวการรบจะนำไปสู่เวทีนานาชาติที่เราจะแพ้อีกหนหลังจากปี 2505 ครับ
ไทยเราจึงยอมเกือบทุกอย่าง ยอมให้เขมรรุกทีละขั้น ยอมทำสัญญาที่รู้ว่าเราจะเสียเปรียบเห็นๆ เพียงเพราะถูกเขาขู่ว่าถ้าไม่ยอมจะนำเรื่องกลับสู่ศาลโลกอีกหน และที่สำคัญคือฝ่ายการเมืองในช่วงปี 2544 เป็นต้นมา เห็นว่าผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ของชาติไทยและกลุ่มทุนไทยคือการคบหาสมาคมกับเขมรอย่างสงบสันติ เสียเล็กเสียน้อยให้เฉยไว้เพื่อประโยชน์มหาศาลที่ยิ่งใหญ่กว่า ผลประโยชน์พลังงานในอ่าวไทย ผลประโยชน์แหล่งท่องเที่ยวแหล่งบันเทิงครบวงจรบริเวณชายแดน และ ฯลฯ
เมื่อฝ่ายการเมืองเป็นเสียอย่างนี้ ฝ่ายทหารก็เลยทำอะไรได้ไม่เต็มที่
เมื่อทำอะไรได้ไม่เต็มที่ กลไกในพื้นที่ก็เลยเห็นว่าดีกว่าอยู่เปล่าๆ เข้าไปแสวงหาประโยชน์ที่พอแสวงได้เสียเลย
แต่จนถึงวันนี้ ความหวังของไทยที่ต้องการให้ปัญหาเขตแดนจบอยู่แค่การเจรจาระหว่าง 2 ประเทศไม่ขยายวงไปสู่นานาชาติมันเป็นเพียงความหวังลมๆ แล้งๆ เพราะเขมรไม่เอาด้วย และถ้าเขาจะเอาด้วยก็ต้องอยู่ในเงื่อนไขที่เขาได้เปรียบ ซึ่งไทยเราก็ยอมไม่ได้อยู่ดี
ไม่มีใครอยากรบหรอก แต่มันก็ต้องมีกรอบมีขอบเขตของการไม่รบ
และเมื่อรบแล้วก็ต้องเจรจาอยู่ดี ไม่ว่าทวิภาคีหรือพหุภาคี
วันนี้ ไทยเราก็ต้องถามตัวเองว่าในเมื่อเขมรเขา “รบเพื่อร้อง” แล้วเราล่ะ “ไม่รบ..” เพื่ออะไร เราจะหยุดเป้าหมายเขมรได้นานแค่ไหน และเรามีปัญญาดึงเขามานั่งเจรจาสองต่อสองในกรอบที่เราได้เปรียบเสียด้วยได้ละหรือ และคาราคาซังอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็คือให้เขมรอยู่ในพื้นที่ไทยไปเรื่อยๆ
“ยึดพื้นที่(ของเรา)ก่อน เจรจาทีหลัง” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ต้องพิจารณา!