ลำปาง - กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เรียกตัวแทน “บริษัทเขียวเหลือง-ชาวบ้านแหง”ร่วมแจงข้อมูลโครงการทำเหมืองลิกไนต์ หลังชาวบ้านร้องถูกลักไก่ทำประชาคมเปิดเหมืองแร่ แฉแม้คนวิกลจริตก็มีชื่อ
วานนี้( 21 เม.ย.)ที่ห้องประชุมเบญจรงค์ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยได้มีการเชิญตัวแทนอำเภองาว จังหวัดลำปาง ตัวแทนของ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการขอประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่อำเภองาว และตัวแทนชาวบ้าน เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้
หลังจากก่อนหน้านี้บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้เข้ากว้านซื้อที่ดินของชาวบ้านโดยระบุว่า จะนำไปปลูกต้นไม้ ชาวบ้านจึงยอมขายที่ให้ ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ซื้อที่ของชาวบ้านไปแล้วเกือบ 2 พันไร่ แต่ต่อมาชาวบ้านทราบว่าบริษัทได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ จากการปลูกต้นไม้ เป็นเปิดเหมืองแร่ลิกไนต์แทน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่พอใจและออกมาต่อต้านตลอดมา เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมือง เหมือนกับอำเภอแม่เมาะ
นายนิรันดร์ กล่าวว่า การเชิญทุกฝ่ายมาวันนี้ เพื่อต้องการข้อมูลที่แท้จริง เพื่อจะได้ประเมินได้ว่า สิ่งที่ชาวบ้านร้องหรือที่บริษัท เรื่องไหนคือความเห็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องดำเนินการตรวจสอบคือ
1.กระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ของตัวแทนบริษัท เกี่ยวกับการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA )และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ ( HIA) ว่าทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ต้องดูว่า EIA และ HIA ที่ทำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนหรือไม่แค่ไหน
รวมถึงเรื่องของการออกเอกสารสิทธิ เนื่องจากที่ดินบริเวณดังกล่าว แบ่งเป็น3 ส่วนคือ เป็นพื้นที่ป่า และ ส.ป.ก. ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตอย่างแท้จริง ส่วนพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิของชาวบ้าน ซึ่งส่วนนี้ก็มีปัญหาเนื่องจากขณะซื้อขายชาวบ้านเข้าใจว่าผู้ซื้อคือบริษัทจะนำไปปลูกต้นไม้แต่ตอนหลังกลับนำมาเปิดเหมือง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การออกสำรวจ พื้นที่มีการตัดส่วนที่เป็นลำน้ำออกไป ซึ่งต้องตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยว่า การดูแลทรัพย์สินสาธารณะ ลุ่มน้ำ ที่ดิน ถูกต้อง โปร่งใสแค่ไหน
2. เรื่องของการทำประชาคม ซึ่งพบว่ามีปัญหา คือ ขั้นตอนการทำประชาคมต้องมีขั้นตอนของการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงรอบด้าน ถึงจะเริ่มขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งที่พบก็คือขั้นตอนนี้มีปัญหา โดยชาวบ้านยืนยันว่า มีแต่การชี้แจงเท่านั้น แต่บริษัทกลับนำรายชื่อ ซึ่งมีทั้งบุคคลที่วิกลจริตร่วมการเข้าประชุมและเห็นชอบด้วย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนขึ้น
วานนี้( 21 เม.ย.)ที่ห้องประชุมเบญจรงค์ โรงแรมเวียงลคอร จังหวัดลำปาง นายนิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยได้มีการเชิญตัวแทนอำเภองาว จังหวัดลำปาง ตัวแทนของ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการขอประทานบัตรเหมืองแร่ในพื้นที่อำเภองาว และตัวแทนชาวบ้าน เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้
หลังจากก่อนหน้านี้บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ได้เข้ากว้านซื้อที่ดินของชาวบ้านโดยระบุว่า จะนำไปปลูกต้นไม้ ชาวบ้านจึงยอมขายที่ให้ ซึ่งขณะนี้บริษัทได้ซื้อที่ของชาวบ้านไปแล้วเกือบ 2 พันไร่ แต่ต่อมาชาวบ้านทราบว่าบริษัทได้เปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์ จากการปลูกต้นไม้ เป็นเปิดเหมืองแร่ลิกไนต์แทน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ไม่พอใจและออกมาต่อต้านตลอดมา เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปิดเหมือง เหมือนกับอำเภอแม่เมาะ
นายนิรันดร์ กล่าวว่า การเชิญทุกฝ่ายมาวันนี้ เพื่อต้องการข้อมูลที่แท้จริง เพื่อจะได้ประเมินได้ว่า สิ่งที่ชาวบ้านร้องหรือที่บริษัท เรื่องไหนคือความเห็นจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องดำเนินการตรวจสอบคือ
1.กระบวนการดำเนินงานในพื้นที่ของตัวแทนบริษัท เกี่ยวกับการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA )และรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพ ( HIA) ว่าทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ต้องดูว่า EIA และ HIA ที่ทำมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนหรือไม่แค่ไหน
รวมถึงเรื่องของการออกเอกสารสิทธิ เนื่องจากที่ดินบริเวณดังกล่าว แบ่งเป็น3 ส่วนคือ เป็นพื้นที่ป่า และ ส.ป.ก. ก็ยังไม่ได้รับอนุญาตอย่างแท้จริง ส่วนพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิของชาวบ้าน ซึ่งส่วนนี้ก็มีปัญหาเนื่องจากขณะซื้อขายชาวบ้านเข้าใจว่าผู้ซื้อคือบริษัทจะนำไปปลูกต้นไม้แต่ตอนหลังกลับนำมาเปิดเหมือง
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การออกสำรวจ พื้นที่มีการตัดส่วนที่เป็นลำน้ำออกไป ซึ่งต้องตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยว่า การดูแลทรัพย์สินสาธารณะ ลุ่มน้ำ ที่ดิน ถูกต้อง โปร่งใสแค่ไหน
2. เรื่องของการทำประชาคม ซึ่งพบว่ามีปัญหา คือ ขั้นตอนการทำประชาคมต้องมีขั้นตอนของการให้ข้อมูลข้อเท็จจริงรอบด้าน ถึงจะเริ่มขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนว่า เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ซึ่งที่พบก็คือขั้นตอนนี้มีปัญหา โดยชาวบ้านยืนยันว่า มีแต่การชี้แจงเท่านั้น แต่บริษัทกลับนำรายชื่อ ซึ่งมีทั้งบุคคลที่วิกลจริตร่วมการเข้าประชุมและเห็นชอบด้วย จึงทำให้เกิดความขัดแย้งในชุมชนขึ้น