ASTVผู้จัดการรายวัน - กนง.ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% หรือไปอยู่ที่ระดับ 2.75% ด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง พร้อมส่งสัญญาณดอกเบี้ยยังอยู่ทิศทางขาขึ้นต่อไป เหตุดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริงยังติดลบ 1.78% ถือว่าติดลบเยอะสุดเมื่อเทียบกับประเทศเอเชีย ระบุผลภัยพิบัติญี่ปุ่นกระทบภาคส่งออกและการผลิตของไทยในไตรมาส 2 ด้านเงินทุนต่างชาติจ่อไหลเข้า ดันบาทแข็งค่าหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3 ของปีนี้ เมื่อวานนี้ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 2.50% มาอยู่ที่ระดับ 2.75%ต่อปีด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง และมองว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่
"มติ 1 เสียงของกรรมการกนง.ที่มีความเห็นแตกต่างออกไปให้ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ไว้ก่อน เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลกระทบจากภัยพิบัติญี่ปุ่นว่าจะมีผลกระทบต่อสายพานการผลิต (Supply Chain)ของไทยในอนาคตได้"
อย่างไรก็ตาม กรรมการฯ ยังเห็นด้วยที่จะมีนโยบายปรับอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นเป็นลำดับหรือสนับสนุนทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นธปท.ประเมินว่าการขาดแคลนอะไหล่สำคัญทางญี่ปุ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้บ้างและมีผลเชื่อมโยงต่อยอดการส่งออกและการผลิตชะลอลง ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสต่อไปอาจชะลอลงเช่นกัน แต่คาดว่าปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายลงไม่เกินไตรมาส 4 ทำให้ตัวเลขต่างๆ กลับมาเร่งตัวเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนของเก่าที่ชะลอไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น ภาพรวมปีนี้ทั้งการผลิตและการส่งออกของไทยไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 2.75% เข้าใกล้เคียงกับอัตราปกติหรือยังนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องเทียบกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้น ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังต่ำกว่าระดับปกติอยู่ โดยเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้วมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยติดลบ 1% และมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริง ลบ 1.78% ซึ่งติดลบเยอะสุดเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ในการประชุมครั้งนี้ กนง.ยังคงมองว่าแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน และ กนง.มองว่ามาตรการภาครัฐในการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้ จะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงสั้นๆ แต่ต่อไปแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกจากแรงส่งของภาวะเศรษฐกิจ หากมาตรการสิ้นสุดและราคาน้ำมันในตลาดโลกยังไม่ลดลง ฉะนั้นผลของมาตรการเป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อออกไปเท่านั้น
“แรงกดดันเงินเฟ้อมีมากขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานด้านอุปสงค์ตามการขยายตัวเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อก็ยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งราคาน้ำมันและ สินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูง ทำให้การทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าที่อยู่ใต้การควบคุมของทางการจะเป็นปัจจัยเพิ่มเติมให้แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างสูงต่อไป”
ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า กนง.ยอมรับว่าการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อภาคการส่งออก การขยายตัวเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ได้คำนึงไว้อยู่แล้วว่าจะมีผลต่อเงินทุนไหลเข้า แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยหลักในการดึงดูดเงินทุนต่างประเทศ กลับเกิดจากความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว สภาพคล่องตลาดการเงิน การยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนต่างๆ มากกว่า
“เงินบาทแข็งค่าในช่วงนี้เกิดจากเงินทุนไหลเข้าและผู้ส่งออกมีการขายเงินตราต่างประเทศในตลาดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่เท่าที่สังเกตตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทยังเป็นไปได้ทั้ง 2 ทางและมีความผันผวนในระดับสูง อย่างไรก็ตามคาดว่าปีนี้เงินบาทมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวใน 2 ทิศทางมากขึ้น ทำให้เงินทุนไหลเข้าออกเป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากจึงเป็นเรื่องที่ธปท.ต้องจับตาดูต่อไป”
บาทเด้งรับแข็งค่าหลุด30
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทยเปิดเผยเงินบาทว่า ปิดตลาดเย็นวานนี้ (20 เ.ม.ย.) ที่ระดับ 29.95/98 บาทต่อดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 30.02/04 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค ระหว่างวันปรับตัวลงไปทำโลว์ที่ระดับ 29.92/94 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ และการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.อีก 0.25%
ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ (21 เม.ย.) อยู่ระหว่าง 29.90-30.05 บาท/ดอลลาร์
ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 82.84/87 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 82.73/78 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.4513 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากระดับ 1.4407/4410 ดอลลาร์/ยูโร.
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 3 ของปีนี้ เมื่อวานนี้ได้มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จากระดับ 2.50% มาอยู่ที่ระดับ 2.75%ต่อปีด้วยมติ 6 ต่อ 1 เสียง และมองว่าทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ในช่วงขาขึ้นอยู่
"มติ 1 เสียงของกรรมการกนง.ที่มีความเห็นแตกต่างออกไปให้ชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในครั้งนี้ไว้ก่อน เนื่องจากความไม่แน่นอนของผลกระทบจากภัยพิบัติญี่ปุ่นว่าจะมีผลกระทบต่อสายพานการผลิต (Supply Chain)ของไทยในอนาคตได้"
อย่างไรก็ตาม กรรมการฯ ยังเห็นด้วยที่จะมีนโยบายปรับอัตราดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นเป็นลำดับหรือสนับสนุนทิศทางอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นต่อไป ทั้งนี้ ในเบื้องต้นธปท.ประเมินว่าการขาดแคลนอะไหล่สำคัญทางญี่ปุ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้บ้างและมีผลเชื่อมโยงต่อยอดการส่งออกและการผลิตชะลอลง ทำให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสต่อไปอาจชะลอลงเช่นกัน แต่คาดว่าปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายลงไม่เกินไตรมาส 4 ทำให้ตัวเลขต่างๆ กลับมาเร่งตัวเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนของเก่าที่ชะลอไปก่อนหน้านี้ ดังนั้น ภาพรวมปีนี้ทั้งการผลิตและการส่งออกของไทยไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก
ผู้สื่อข่าวถามต่อว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับ 2.75% เข้าใกล้เคียงกับอัตราปกติหรือยังนั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยนโยบายต้องเทียบกับภาวะเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในขณะนั้น ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังต่ำกว่าระดับปกติอยู่ โดยเมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้แล้วมีผลให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายแท้จริงของไทยติดลบ 1% และมีอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแท้จริง ลบ 1.78% ซึ่งติดลบเยอะสุดเมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย
ในการประชุมครั้งนี้ กนง.ยังคงมองว่าแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเมื่อเทียบกับการประชุมครั้งก่อน และ กนง.มองว่ามาตรการภาครัฐในการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ในช่วง 6 เดือนต่อจากนี้ จะมีผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงในช่วงสั้นๆ แต่ต่อไปแรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกจากแรงส่งของภาวะเศรษฐกิจ หากมาตรการสิ้นสุดและราคาน้ำมันในตลาดโลกยังไม่ลดลง ฉะนั้นผลของมาตรการเป็นเพียงการเลื่อนระยะเวลาการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อออกไปเท่านั้น
“แรงกดดันเงินเฟ้อมีมากขึ้นจากปัจจัยพื้นฐานด้านอุปสงค์ตามการขยายตัวเศรษฐกิจ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถส่งผ่านต้นทุนไปยังราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อก็ยังปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งราคาน้ำมันและ สินค้าโภคภัณฑ์ที่ทรงตัวในระดับสูง ทำให้การทยอยปรับขึ้นราคาสินค้าที่อยู่ใต้การควบคุมของทางการจะเป็นปัจจัยเพิ่มเติมให้แรงกดดันเงินเฟ้ออยู่ในระดับค่อนข้างสูงต่อไป”
ผู้ช่วยผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า กนง.ยอมรับว่าการเคลื่อนไหวอัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อภาคการส่งออก การขยายตัวเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ได้คำนึงไว้อยู่แล้วว่าจะมีผลต่อเงินทุนไหลเข้า แต่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ใช่ปัจจัยหลักในการดึงดูดเงินทุนต่างประเทศ กลับเกิดจากความแข็งแกร่งเศรษฐกิจ นโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว สภาพคล่องตลาดการเงิน การยอมรับความเสี่ยงของนักลงทุนต่างๆ มากกว่า
“เงินบาทแข็งค่าในช่วงนี้เกิดจากเงินทุนไหลเข้าและผู้ส่งออกมีการขายเงินตราต่างประเทศในตลาดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น แต่เท่าที่สังเกตตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันเงินบาทยังเป็นไปได้ทั้ง 2 ทางและมีความผันผวนในระดับสูง อย่างไรก็ตามคาดว่าปีนี้เงินบาทมีแนวโน้มการเคลื่อนไหวใน 2 ทิศทางมากขึ้น ทำให้เงินทุนไหลเข้าออกเป็นเรื่องที่คาดการณ์ยากจึงเป็นเรื่องที่ธปท.ต้องจับตาดูต่อไป”
บาทเด้งรับแข็งค่าหลุด30
นักบริหารเงินจากธนาคารซีไอเอ็มบีไทยเปิดเผยเงินบาทว่า ปิดตลาดเย็นวานนี้ (20 เ.ม.ย.) ที่ระดับ 29.95/98 บาทต่อดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิดตลาดช่วงเช้าที่ระดับ 30.02/04 บาท/ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาค ระหว่างวันปรับตัวลงไปทำโลว์ที่ระดับ 29.92/94 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากกระแสเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ และการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.อีก 0.25%
ส่วนกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ (21 เม.ย.) อยู่ระหว่าง 29.90-30.05 บาท/ดอลลาร์
ขณะที่การเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลหลักต่างประเทศที่สำคัญ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 82.84/87 เยน/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับ 82.73/78 เยน/ดอลลาร์ ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.4513 ดอลลาร์/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากระดับ 1.4407/4410 ดอลลาร์/ยูโร.