ในการสัมมนา เรื่อง การพัฒนาสภามหาวิทยาลัย : บทบาท ภารกิจ ของเลขานุการสภามหาวิทยาลัย สถาบันคลังสมองของชาติได้จัดให้มีการบรรยายภายใต้หัวข้อ “ข้อกฎหมายกับเลขานุการสภามหาวิทยาลัย” ในช่วงถามตอบมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายจำนวนหนึ่งตั้งคำถามเกี่ยวกับการใช้อำนาจบังคับบัญชาของผู้บริหารหน่วยงาน เพราะผู้บริหารบางส่วนไม่เข้าใจหลักนิติธรรมทางบริหาร ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง
ฉะนั้นการบริหารมหาวิทยาลัยจึงต้องเข้าใจหลักนิติธรรมว่า หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคม และสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและให้ถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญแก่สังคม เพราะเป็นสถาบันหลักในการให้ความรู้ การศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จึงควรให้ความสำคัญและนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งมีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีดำเนินการไว้โดยเฉพาะ
ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยมีหน้าที่บริหารกิจการของมหาวิทยาลัยให้ เป็นไป
ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการและของมหาวิทยาลัย โดยมี “สภามหาวิทยาลัย” ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย และ “อธิการบดี” เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย การแบ่งอำนาจออกเป็น 2 ส่วนเช่นนี้เพื่อให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจ
ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายมากที่สุด คือ ปัญหาว่าหาก ”อธิการบดี” ในฐานะผู้บังคับบัญชาของอาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางที่ไม่ชอบธรรม คือ ให้คุณโดยไม่ชอบ เช่น ส่งเสริมแต่พรรคพวกของตนเอง หรือ ให้โทษโดยไม่ชอบ เช่น ใช้อำนาจบังคับบัญชาโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ทางมหาวิทยาลัยมีมาตรการใดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะหากไม่มีมาตรการป้องกันอาจเกิดข้อพิพาท เช่น
คดีแรก ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9)แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการคัดเลือก ตลอดจนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าวไม่ถูกต้องตามมติของคณะรัฐมนตรีและไม่สอดคล้องกับหนังสือของสำนักงาน ก.พ.
นอกจากนั้นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ได้รับเลือกได้ดำเนินการภายหลังจากการประชุมพิจารณาคัดเลือกแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งได้ระบุไว้ชัดเจนในประกาศรับสมัครคัดเลือกที่ผู้สมัครได้ทราบก่อนสมัครแล้ว การพิจารณาคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร9) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่า
คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้เห็นชอบกับระบบนักบริหารระดับสูงที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยสำนักงาน ก.พ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 แจ้งหน่วยราชการต่างๆ เพื่อทราบและถือปฏิบัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป โดยที่การฟ้องคดีนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการต้องถือปฏิบัติในการเลือกสรรบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูง เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกนักบริหาร 9 ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี แม้การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นการยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ก็ตาม แต่การฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ศาลปกครองจึงรับไว้พิจารณาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นอกจากนี้ ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสรรว่าจะพิจารณาจากพฤติกรรมหรือคุณลักษณะใดของผู้สมัคร และจะใช้วิธีการใดในการประเมินเพื่อจะทราบถึงความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของผู้สมัครในตำแหน่งที่จะพิจารณาแต่งตั้ง ตลอดจนมีขั้นตอนดำเนินการในการคัดเลือกอย่างไร ซึ่งถือเป็นรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ที่มีลักษณะพิเศษกว่าการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 โดยทั่วไป การสรรหาดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตลอดจนได้นักบริหารที่มีความรู้และมีทักษะในการบริหารอย่างแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ของมติคณะรัฐมนตรี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ (อุทธรณ์) คดีหมายเลขแดงที่ อ. 89/2549)
คดีที่สอง การที่สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีมติให้ปิดหลักสูตรและงดรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตวิชาเอกจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป นั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่ง คือ ผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสองซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรเดิมมิได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แต่อย่างใด เพราะสามารถศึกษาต่อไปจนจบหลักสูตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างในคำร้องอุทธรณ์ว่า การงดรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวทำให้ตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสาขาวิชานี้ การพัฒนาการเรียนการสอนต้องหยุดลง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไม่มีความมั่นใจในอนาคต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และมหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่เพิ่มอัตราอาจารย์ผู้สอนให้แก่สาขาวิชานี้ส่งผลให้ขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน โดยเจตนาต้องการลดคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชานี้นั้น เห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึกและความเข้าใจของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเท่านั้น และมิได้มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองแต่อย่างใด ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 130/2549)
และคดีที่สาม ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ขอไปช่วยราชการสัปดาห์ละ 2 วัน โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้มีหนังสือสอบถามมายังอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าจะขัดข้องหรือไม่ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาเรื่องการขออนุญาตไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีและมีคำสั่งไม่อนุญาตโดยมีหนังสือแจ้งให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวทราบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการนำเรื่องขอช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน ซึ่งตามมาตรา 26 และมาตรา 29(2) แห่ง พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันโดยการควบคุมดูแล บุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบัน ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาเรื่องการขอไปช่วยราชการต่างสถาบันจึงเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต แล้วรายงานผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสภาสถาบันฯ เพื่อทราบเท่านั้น ฉะนั้นในกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ดำเนินการนำเรื่องการขอไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน และโดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอไปช่วยราชการที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งผลการพิจารณาการขอไปช่วยราชการให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ประกอบกับข้อ 25 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 131/2549)
จากคดีตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบ ขั้นตอน วิธีการ หลักเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเป็นระเบียบวิธีพิจารณาเบื้องต้นที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น นอกจากหลักเกณฑ์และข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้ว การใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาและอธิการบดียังต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรมทางบริหาร เพื่อให้การบริหารงานและดำเนินการต่างๆของมหาวิทยาลัยชอบด้วยกฎหมาย
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ฉะนั้นการบริหารมหาวิทยาลัยจึงต้องเข้าใจหลักนิติธรรมว่า หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคม และสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจและให้ถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม
มหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญแก่สังคม เพราะเป็นสถาบันหลักในการให้ความรู้ การศึกษาแก่นิสิต นักศึกษา ซึ่งเป็นอนาคตของชาติ จึงควรให้ความสำคัญและนำหลักนิติธรรมมาใช้ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาวิทยาลัยของรัฐ ซึ่งมีพระราชบัญญัติกำหนดวิธีดำเนินการไว้โดยเฉพาะ
ฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยมีหน้าที่บริหารกิจการของมหาวิทยาลัยให้ เป็นไป
ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ และข้อบังคับของทางราชการและของมหาวิทยาลัย โดยมี “สภามหาวิทยาลัย” ทำหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัย และ “อธิการบดี” เป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย การแบ่งอำนาจออกเป็น 2 ส่วนเช่นนี้เพื่อให้มีการถ่วงดุลการใช้อำนาจ
ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาอภิปรายมากที่สุด คือ ปัญหาว่าหาก ”อธิการบดี” ในฐานะผู้บังคับบัญชาของอาจารย์ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยใช้อำนาจบังคับบัญชาในทางที่ไม่ชอบธรรม คือ ให้คุณโดยไม่ชอบ เช่น ส่งเสริมแต่พรรคพวกของตนเอง หรือ ให้โทษโดยไม่ชอบ เช่น ใช้อำนาจบังคับบัญชาโดยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดนั้น ทางมหาวิทยาลัยมีมาตรการใดในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะหากไม่มีมาตรการป้องกันอาจเกิดข้อพิพาท เช่น
คดีแรก ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นใบสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตามประกาศของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9)แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนในการคัดเลือก ตลอดจนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการดังกล่าวไม่ถูกต้องตามมติของคณะรัฐมนตรีและไม่สอดคล้องกับหนังสือของสำนักงาน ก.พ.
นอกจากนั้นการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ได้รับเลือกได้ดำเนินการภายหลังจากการประชุมพิจารณาคัดเลือกแล้ว
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และที่ 3 ให้การว่า การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตำแหน่งได้ระบุไว้ชัดเจนในประกาศรับสมัครคัดเลือกที่ผู้สมัครได้ทราบก่อนสมัครแล้ว การพิจารณาคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่า คำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งรองอธิบดี (นักบริหาร9) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และมีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตั้งแต่วันที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่า
คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการได้เห็นชอบกับระบบนักบริหารระดับสูงที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยสำนักงาน ก.พ. จึงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 แจ้งหน่วยราชการต่างๆ เพื่อทราบและถือปฏิบัติ ตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ด่วนที่สุด ที่ นร 0701/ว 9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการข้างต้น ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป โดยที่การฟ้องคดีนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่ส่วนราชการต้องถือปฏิบัติในการเลือกสรรบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในระดับที่สูง เมื่อผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า หลักเกณฑ์ที่ ก.พ. กำหนด เกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เข้ารับการคัดเลือกนักบริหาร 9 ไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี แม้การยื่นฟ้องคดีนี้จะเป็นการยื่นฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่รู้หรือควรรู้ถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามมาตรา 49 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯ ก็ตาม แต่การฟ้องคดีนี้จะเป็นประโยชน์แก่การบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ศาลปกครองจึงรับไว้พิจารณาได้ตามมาตรา 52 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
นอกจากนี้ ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการเลือกสรรว่าจะพิจารณาจากพฤติกรรมหรือคุณลักษณะใดของผู้สมัคร และจะใช้วิธีการใดในการประเมินเพื่อจะทราบถึงความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมของผู้สมัครในตำแหน่งที่จะพิจารณาแต่งตั้ง ตลอดจนมีขั้นตอนดำเนินการในการคัดเลือกอย่างไร ซึ่งถือเป็นรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการอันเป็นสาระสำคัญในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ที่มีลักษณะพิเศษกว่าการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งระดับ 9 โดยทั่วไป การสรรหาดังกล่าวจึงไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ต้องการให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมตลอดจนได้นักบริหารที่มีความรู้และมีทักษะในการบริหารอย่างแท้จริง ตามวัตถุประสงค์ของมติคณะรัฐมนตรี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ (อุทธรณ์) คดีหมายเลขแดงที่ อ. 89/2549)
คดีที่สอง การที่สภาวิชาการของมหาวิทยาลัยทั้ง 9 แห่ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีมติให้ปิดหลักสูตรและงดรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตวิชาเอกจัดการงานก่อสร้างตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นไป นั้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่ง คือ ผู้ที่จะสมัครเข้าศึกษาหลักสูตรดังกล่าวตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นไป เท่านั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสองซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 4 ของหลักสูตรเดิมมิได้รับผลกระทบจากมติและคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แต่อย่างใด เพราะสามารถศึกษาต่อไปจนจบหลักสูตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่งแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองฯที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างในคำร้องอุทธรณ์ว่า การงดรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวทำให้ตลาดแรงงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนสูญเสียความเชื่อมั่นต่อสาขาวิชานี้ การพัฒนาการเรียนการสอนต้องหยุดลง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไม่มีความมั่นใจในอนาคต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 และมหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่เพิ่มอัตราอาจารย์ผู้สอนให้แก่สาขาวิชานี้ส่งผลให้ขาดแคลนอาจารย์ผู้สอน โดยเจตนาต้องการลดคุณภาพการศึกษาของสาขาวิชานี้นั้น เห็นว่า ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเพียงความรู้สึกและความเข้าใจของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเท่านั้น และมิได้มีผลกระทบต่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองแต่อย่างใด ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 130/2549)
และคดีที่สาม ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือถึงมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ขอไปช่วยราชการสัปดาห์ละ 2 วัน โดยไม่ผ่านความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 2 แต่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้มีหนังสือสอบถามมายังอธิการบดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าจะขัดข้องหรือไม่ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้พิจารณาเรื่องการขออนุญาตไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีและมีคำสั่งไม่อนุญาตโดยมีหนังสือแจ้งให้มหาวิทยาลัยดังกล่าวทราบแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ว่าละเลยต่อหน้าที่ไม่ดำเนินการนำเรื่องขอช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน ซึ่งตามมาตรา 26 และมาตรา 29(2) แห่ง พ.ร.บ. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ. 2547 ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบการบริหารงานของสถาบันโดยการควบคุมดูแล บุคลากร การเงิน การพัสดุ สถานที่และทรัพย์สินอื่นของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบันให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของทางราชการและของสถาบัน ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาเรื่องการขอไปช่วยราชการต่างสถาบันจึงเป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาต แล้วรายงานผลการพิจารณาให้คณะกรรมการสภาสถาบันฯ เพื่อทราบเท่านั้น ฉะนั้นในกรณีนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องมาจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่ดำเนินการนำเรื่องการขอไปช่วยราชการของผู้ฟ้องคดีเข้าสู่วาระการประชุมของสภาสถาบัน และโดยที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เพื่อขอไปช่วยราชการที่มหาวิทยาลัยดังกล่าว ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ต้องแจ้งผลการพิจารณาการขอไปช่วยราชการให้ผู้ฟ้องคดีทราบ ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ใช่ผู้มีสิทธิฟ้องคดีตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ประกอบกับข้อ 25 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ฯว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 ศาลจึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 131/2549)
จากคดีตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบ ขั้นตอน วิธีการ หลักเกณฑ์และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเป็นระเบียบวิธีพิจารณาเบื้องต้นที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น นอกจากหลักเกณฑ์และข้อบังคับของสภามหาวิทยาลัยแต่ละแห่งแล้ว การใช้ดุลยพินิจของผู้บังคับบัญชาและอธิการบดียังต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรมทางบริหาร เพื่อให้การบริหารงานและดำเนินการต่างๆของมหาวิทยาลัยชอบด้วยกฎหมาย
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม