ASTVผู้จัดการรายวัน - ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน พบความสุขมวลรวมคนไทยเดือน มี.ค. เพิ่มขึ้นจากต้นปี ชี้เหตุปัจจัยความจงรักภักดี 9.24 เต็ม 10 ขณะที่เหตุ "เผาบ้านเผาเมือง" ไฟใต้ ข่าวปฏิวัติ น้ำท่วม บั่นทอนความสุขที่สุด ชี้คนกรุงน่าเป็นห่วง ค่าเฉลี่ยความสุขต่ำกว่าคนภาคอื่น
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์ และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้มความสุขมวลรวม ( Gross Domestic Happiness หรือ GDH ) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมี.ค.54 กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว สระบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และ นครศรีธรรมราช จำนวน 4,069 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 15 มี.ค. - 9 เม.ย. 54
จากการเปรียบเทียบแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ หรือค่าเฉลี่ยของ GDH ค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นจาก 5.28 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.61 ในช่วงเดือนมี.ค. และเป็นค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมที่สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันคือ 6.18 ในปี 52 อีกด้วย
โดยพบปัจจัยบวกที่สำคัญคือ ความจงรักภักดีของคนในชาติ ที่ 9.24 ความรักความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ที่ 7.99 สุขภาพกายที่ 7.73 สุขภาพใจที่ 7.71 และวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ 7.42 ทั้งนี้ปัจจัยลบสำคัญที่ฉุดความสุขมวลรวมของคนไทย ได้แก่ สถานการณ์การเมือง ที่ 4.56 และสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ 3.45 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ 5.44 และความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ 5.29 ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ตัวอย่างถึงร้อยละ 74.8 ระบุ ข่าวปฏิวัติยึดอำนาจ ส่งผลกระทบต่อความสุขของประชาชน ในขณะที่ ร้อยละ 65.5 ระบุข่าวภัยพิบัติน้ำท่วม และ ร้อยละ 53.1 ระบุปัญหาอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ แล้วพบว่า ความสุขมวลรวมของคน กทม. น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมต่ำสุด คือ 6.03 ซึ่งคนภาคใต้อยู่ที่ 6.11 คนภาคเหนืออยู่ที่ 6.67 คนภาคกลางอยู่ที่ 6.79 และ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ 6.91
ทั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่คน กทม. มีความสุขมวลรวมต่ำกว่าคนในภาคอื่นๆ เช่น ความไม่เป็นธรรมทางสังคม สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการศึกษา วัฒนธรรมประเพณี การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ บรรยากาศของคนในชุมชน สุขภาพใจ สุขภาพกาย และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นต้น
" นอกจากนี้ยังพบว่า ความขัดแย้งที่รุนแรงจนเกิดเหตุเผาบ้านเผาเมือง และประชาชนบาดเจ็บ ล้มตาย จำนวนมาก เป็นตัวฉุดความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศลงต่ำที่สุด ดังนั้นจึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้มีการชุมนุมอย่างสันติตามแนวทางที่สร้างสรรค์ในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นที่ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศและเร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับประชาชนคนไทยในทุกภูมิภาคได้อย่างแท้จริง" ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าว.
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์ และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง แนวโน้มความสุขมวลรวม ( Gross Domestic Happiness หรือ GDH ) ของคนไทยภายในประเทศประจำเดือนมี.ค.54 กรณีศึกษาตัวอย่าง ประชาชนผู้ที่พักอาศัยอยู่ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สระแก้ว สระบุรี ราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ลำปาง เชียงราย เชียงใหม่ หนองบัวลำภู กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา และ นครศรีธรรมราช จำนวน 4,069 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่าง 15 มี.ค. - 9 เม.ย. 54
จากการเปรียบเทียบแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทยภายในประเทศ หรือค่าเฉลี่ยของ GDH ค่าคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความสุขมวลรวมของประชาชนเพิ่มสูงขึ้นจาก 5.28 ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 6.61 ในช่วงเดือนมี.ค. และเป็นค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมที่สูงกว่าช่วงเดือนเดียวกันคือ 6.18 ในปี 52 อีกด้วย
โดยพบปัจจัยบวกที่สำคัญคือ ความจงรักภักดีของคนในชาติ ที่ 9.24 ความรักความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว ที่ 7.99 สุขภาพกายที่ 7.73 สุขภาพใจที่ 7.71 และวัฒนธรรมประเพณีไทยที่ 7.42 ทั้งนี้ปัจจัยลบสำคัญที่ฉุดความสุขมวลรวมของคนไทย ได้แก่ สถานการณ์การเมือง ที่ 4.56 และสถานการณ์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ 3.45 นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือ สภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ 5.44 และความไม่เป็นธรรมทางสังคมที่ 5.29 ตามลำดับ
ผลสำรวจยังพบอีกว่า ตัวอย่างถึงร้อยละ 74.8 ระบุ ข่าวปฏิวัติยึดอำนาจ ส่งผลกระทบต่อความสุขของประชาชน ในขณะที่ ร้อยละ 65.5 ระบุข่าวภัยพิบัติน้ำท่วม และ ร้อยละ 53.1 ระบุปัญหาอาชญากรรม ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
เมื่อจำแนกความสุขมวลรวมของประชาชนตามภูมิภาคต่างๆ แล้วพบว่า ความสุขมวลรวมของคน กทม. น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะมีค่าเฉลี่ยความสุขมวลรวมต่ำสุด คือ 6.03 ซึ่งคนภาคใต้อยู่ที่ 6.11 คนภาคเหนืออยู่ที่ 6.67 คนภาคกลางอยู่ที่ 6.79 และ คนภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ 6.91
ทั้งนี้ พบว่าปัจจัยที่คน กทม. มีความสุขมวลรวมต่ำกว่าคนในภาคอื่นๆ เช่น ความไม่เป็นธรรมทางสังคม สภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ระบบการศึกษา วัฒนธรรมประเพณี การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ได้รับ บรรยากาศของคนในชุมชน สุขภาพใจ สุขภาพกาย และความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว เป็นต้น
" นอกจากนี้ยังพบว่า ความขัดแย้งที่รุนแรงจนเกิดเหตุเผาบ้านเผาเมือง และประชาชนบาดเจ็บ ล้มตาย จำนวนมาก เป็นตัวฉุดความสุขมวลรวมของประชาชนทั้งประเทศลงต่ำที่สุด ดังนั้นจึงต้องช่วยกันขับเคลื่อนสังคมให้มีการชุมนุมอย่างสันติตามแนวทางที่สร้างสรรค์ในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นที่ต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศและเร่งแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จะเพิ่มความสุขมวลรวมให้กับประชาชนคนไทยในทุกภูมิภาคได้อย่างแท้จริง" ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชนกล่าว.