ASTVผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯเฮียร์ริ่งกำหนดราคาซื้อขายหุ้นซื้อคืน พร้อมเสนอ ปรับราคาซื้อหุ้นไม่เกิน 105% ราคาขายหุ้นไม่ต่ำกว่า 95% ของราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการ ป้องกัน บจ.ส่งคำสั่งซื้อขายชี้นำราคาหุ้น หวังให้ราคาหุ้นเป็นไปตามราคาตลาด -บจ.มีความยืดหยุ่นในการซื้อขาย ปัจจุบันพบยอดซื้อหุ้นคืนผ่านตลท.จำนวน 76 บริษัท มูลค่าซื้อหุ้นคืนจำนวน 1.6 หมื่นล้าน บาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดรับฟังความเห็น เรื่อง การกำหนดราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายจากการซื้อหุ้นคือ (treasury stock)บนกระดานหลัก เนื่องจาก เกณฑ์ปัจจุบันการซื้อคืนบนกระดานหลักระบุให้บริษัทจดทะเบีนต้องกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินกว่า 115% และราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจมีข้อสงสัยว่าบริษัทจดทะเบียนจะส่งคำสั่งในลักษณะเป็นการชี้นำราคาหลักทรัพย์ของตนได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงได้ทบทวนความเหมาะสมของการกำหนดราคาเสนอซื้อและเสนอขายtreasury stock เพื่อให้การซื้อหรือขายหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปตามราคาตลาด ไม่มีลักษณะเป็นการชี้นำราคาในขณะเดียวกันก็ให้บริษัทจดทะเบียนมีความหยืดหยุ่นในการซื้อหรือขายหุ้นคืน
ทั้งนี้เกณฑ์กำหนดราคาของตลาดหุ้นต่างประเทศ เช่น มาเลเซียนั้นกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน115%ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 105% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ส่วนราคาเสนอขายไม่ได้กำหนด ตลาดหุ้นฮ่องกง กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ และไม่กำหนดราคาเสนอขาย ส่วนตลาดหุ้นเกาหลี กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาตลาดสูงสุดของวันก่อนหน้าหรือ ราคาเสนอซื้อสูงสุดและแต่ราคาใดจะสูงกว่า ส่วนราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาตลาดต่ำสุดของวันก่อนหน้าหรือราคาเสนอขายที่ดีที่สุดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯมีข้อเสนอปรับกรอบราคาเสนอซื้อและขาย treasury stock ไม่เกินกว่า 105% (กรณีเสนอซื้อหุ้น)และไม่ต่ำกว่า 95%(กรณีเสนอขายหุ้น) ของราคาปิดของหุ้นดังกล่าวเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า หรือ 1 ช่วงราคา (spread) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนถึงวันที่ 19 เมษายนนี้
โดยตั้งแต่กฎหมายอนุญาตให้บริษัทมหาชนซื้อหุ้นคืนได้จนถึงปัจจุบันมีบจ.ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนจำนวน 95 บริษัท มีการซื้อคืนจริง 80 บริษัท โดยซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 76 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการซื้อคืนรวม 16,064 ล้านบาท โดยจาก 80 บริษัทที่มีการซื้อคืนจริงนั้น บริษัทจดทะเบียนมีการขายหุ้นซื้อคืน จำนวน 26 บริษัท ผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการขายหุ้นซื้อคืนรวม 3,637 ล้านบาท และลดทุนจดทะเบียนจำนวน 20 บริษัท ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ
อย่างไรก็ตามการซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารการงินของบริษัทจดทะเบียนเมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง นอกจากนี้ยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท และช่วยให้กำหรต่อหุ้น (EPS)ของบริษัทสูงขึ้นจากการที่บริษัทมีจำนสวนหุ้นลดลง วิฑีการซื้อหุ้นคืนสามารถทำได้ 2 วิธี กได้แก่ การเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป หรือ การซื้อคืนบนกระดานหลัก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะที่ กฎกระทรวง กำหนดลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นค้น และการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนและการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท 2544 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นซื้อคืน พ.ศ.2544 กำหนดหลักการการซื้อหุ้นคืนดังนี้ 1 บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจะซื้อหุ้นคืนจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ต้องมีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำหรสะสมไว้เป็นเงินสำรองเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืน มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า การซื้อหุ้นคืนจะไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลท)ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2 ขออนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นซื้อไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้ว และกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
3 มีการเปิดเผยโครงการต่อผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน 4.ซื้อขายกับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้วิธี GO หรือ บนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ 5 ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายหุ้นซื้อคืนบนกระดานหลักจะต้องสอดคล้องกับราคาตลาดและไม่ มีลักษณะชี้นำราคา 6 ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน โดยห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายเงินปันผล หรือ ก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยง ในการซื้อหุ้นคืนบนกระดานหลัก ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำการซื้อกิจการ หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูกซื้อกิจการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)เปิดรับฟังความเห็น เรื่อง การกำหนดราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายจากการซื้อหุ้นคือ (treasury stock)บนกระดานหลัก เนื่องจาก เกณฑ์ปัจจุบันการซื้อคืนบนกระดานหลักระบุให้บริษัทจดทะเบีนต้องกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินกว่า 115% และราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจมีข้อสงสัยว่าบริษัทจดทะเบียนจะส่งคำสั่งในลักษณะเป็นการชี้นำราคาหลักทรัพย์ของตนได้ ตลาดหลักทรัพย์ฯจึงได้ทบทวนความเหมาะสมของการกำหนดราคาเสนอซื้อและเสนอขายtreasury stock เพื่อให้การซื้อหรือขายหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปตามราคาตลาด ไม่มีลักษณะเป็นการชี้นำราคาในขณะเดียวกันก็ให้บริษัทจดทะเบียนมีความหยืดหยุ่นในการซื้อหรือขายหุ้นคืน
ทั้งนี้เกณฑ์กำหนดราคาของตลาดหุ้นต่างประเทศ เช่น มาเลเซียนั้นกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน115%ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 105% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ส่วนราคาเสนอขายไม่ได้กำหนด ตลาดหุ้นฮ่องกง กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ และไม่กำหนดราคาเสนอขาย ส่วนตลาดหุ้นเกาหลี กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาตลาดสูงสุดของวันก่อนหน้าหรือ ราคาเสนอซื้อสูงสุดและแต่ราคาใดจะสูงกว่า ส่วนราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาตลาดต่ำสุดของวันก่อนหน้าหรือราคาเสนอขายที่ดีที่สุดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ดังนั้นตลาดหลักทรัพย์ฯมีข้อเสนอปรับกรอบราคาเสนอซื้อและขาย treasury stock ไม่เกินกว่า 105% (กรณีเสนอซื้อหุ้น)และไม่ต่ำกว่า 95%(กรณีเสนอขายหุ้น) ของราคาปิดของหุ้นดังกล่าวเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า หรือ 1 ช่วงราคา (spread) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายนถึงวันที่ 19 เมษายนนี้
โดยตั้งแต่กฎหมายอนุญาตให้บริษัทมหาชนซื้อหุ้นคืนได้จนถึงปัจจุบันมีบจ.ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนจำนวน 95 บริษัท มีการซื้อคืนจริง 80 บริษัท โดยซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 76 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการซื้อคืนรวม 16,064 ล้านบาท โดยจาก 80 บริษัทที่มีการซื้อคืนจริงนั้น บริษัทจดทะเบียนมีการขายหุ้นซื้อคืน จำนวน 26 บริษัท ผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการขายหุ้นซื้อคืนรวม 3,637 ล้านบาท และลดทุนจดทะเบียนจำนวน 20 บริษัท ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ
อย่างไรก็ตามการซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารการงินของบริษัทจดทะเบียนเมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง นอกจากนี้ยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท และช่วยให้กำหรต่อหุ้น (EPS)ของบริษัทสูงขึ้นจากการที่บริษัทมีจำนสวนหุ้นลดลง วิฑีการซื้อหุ้นคืนสามารถทำได้ 2 วิธี กได้แก่ การเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป หรือ การซื้อคืนบนกระดานหลัก ของตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขณะที่ กฎกระทรวง กำหนดลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นค้น และการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืนและการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท 2544 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯเรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นซื้อคืน พ.ศ.2544 กำหนดหลักการการซื้อหุ้นคืนดังนี้ 1 บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจะซื้อหุ้นคืนจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้ คือ ต้องมีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำหรสะสมไว้เป็นเงินสำรองเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืน มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า การซื้อหุ้นคืนจะไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลท)ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2 ขออนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นซื้อไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้ว และกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
3 มีการเปิดเผยโครงการต่อผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน 4.ซื้อขายกับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้วิธี GO หรือ บนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ 5 ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายหุ้นซื้อคืนบนกระดานหลักจะต้องสอดคล้องกับราคาตลาดและไม่ มีลักษณะชี้นำราคา 6 ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน โดยห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายเงินปันผล หรือ ก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยง ในการซื้อหุ้นคืนบนกระดานหลัก ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำการซื้อกิจการ หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูกซื้อกิจการ