ตลาดหลักทรัพย์ เฮียริ่ง กำหนดราคาซื้อขายหุ้นซื้อคืน พร้อมเสนอ ปรับราคาซื้อหุ้นไม่เกิน 105% ราคาขายหุ้นไม่ต่ำกว่า 95% ของราคาปิดของหุ้นเฉลี่ย 5 วันทำการ ป้องกัน บจ.ส่งคำสั่งซื้อขายชี้นำราคาหุ้น หวังให้ราคาหุ้นเป็นไปตามราคาตลาด-บจ.มีความยืดหยุ่นในการซื้อขาย ปัจจุบันพบยอดซื้อหุ้นคืนผ่าน ตลท.จำนวน 76 บริษัท มูลค่าซื้อหุ้นคืนจำนวน 1.6 หมื่นล้าน บาท
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดรับฟังความเห็น เรื่อง การกำหนดราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายจากการซื้อหุ้น คือ (treasury stock) บนกระดานหลัก เนื่องจากเกณฑ์ปัจจุบันการซื้อคืนบนกระดานหลักระบุให้บริษัทจดทะเบีนต้องกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินกว่า 115% และราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจมีข้อสงสัยว่า บริษัทจดทะเบียนจะส่งคำสั่งในลักษณะเป็นการชี้นำราคาหลักทรัพย์ของตนได้ ตลาดหลักทรัพย์จึงได้ทบทวนความเหมาะสมของการกำหนดราคาเสนอซื้อและเสนอขายtreasury stock เพื่อให้การซื้อหรือขายหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปตามราคาตลาด ไม่มีลักษณะเป็นการชี้นำราคาในขณะเดียวกันก็ให้บริษัทจดทะเบียนมีความหยืดหยุ่นในการซื้อหรือขายหุ้นคืน
ทั้งนี้ เกณฑ์กำหนดราคาของตลาดหุ้นต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย นั้น กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 115% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 105% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ส่วนราคาเสนอขายไม่ได้กำหนด ตลาดหุ้นฮ่องกง กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ และไม่กำหนดราคาเสนอขาย ส่วนตลาดหุ้นเกาหลี กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาตลาดสูงสุดของวันก่อนหน้าหรือ ราคาเสนอซื้อสูงสุดและแต่ราคาใดจะสูงกว่า ส่วนราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาตลาดต่ำสุดของวันก่อนหน้าหรือราคาเสนอขายที่ดีที่สุดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ มีข้อเสนอปรับกรอบราคาเสนอซื้อและขาย treasury stock ไม่เกินกว่า 105% (กรณีเสนอซื้อหุ้น) และไม่ต่ำกว่า 95% (กรณีเสนอขายหุ้น) ของราคาปิดของหุ้นดังกล่าวเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า หรือ 1 ช่วงราคา (spread) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ถึงวันที่ 19 เมษายนนี้
โดยตั้งแต่กฎหมายอนุญาตให้บริษัทมหาชนซื้อหุ้นคืนได้จนถึงปัจจุบัน มี บจ.ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนจำนวน 95 บริษัท มีการซื้อคืนจริง 80 บริษัท โดยซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 76 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการซื้อคืนรวม 16,064 ล้านบาท โดยจาก 80 บริษัทที่มีการซื้อคืนจริงนั้น บริษัทจดทะเบียนมีการขายหุ้นซื้อคืน จำนวน 26 บริษัท ผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการขายหุ้นซื้อคืนรวม 3,637 ล้านบาท และลดทุนจดทะเบียนจำนวน 20 บริษัท ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารการงินของบริษัทจดทะเบียนเมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท และช่วยให้กำหรต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทสูงขึ้นจากการที่บริษัทมีจำนสวนหุ้นลดลง วิธีการซื้อหุ้นคืนสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ การเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป หรือ การซื้อคืนบนกระดานหลัก ของตลาดหลักทรัพย์
ขณะที่ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นค้น และการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท 2544 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นซื้อคืน พ.ศ.2544 กำหนดหลักการการซื้อหุ้นคืน ดังนี้ 1.บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจะซื้อหุ้นคืนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ ต้องมีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำหรสะสมไว้เป็นเงินสำรองเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืน มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า การซื้อหุ้นคืนจะไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลต)ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2.ขออนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นซื้อไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้ว และกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
3.มีการเปิดเผยโครงการต่อผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน 4.ซื้อขายกับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้วิธี GO หรือ บนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ 5.ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายหุ้นซื้อคืนบนกระดานหลักจะต้องสอดคล้องกับราคาตลาด และไม่มีลักษณะชี้นำราคา 6 ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน โดยห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายเงินปันผล หรือ ก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยง ในการซื้อหุ้นคืนบนกระดานหลัก ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำการซื้อกิจการ หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูกซื้อกิจการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดรับฟังความเห็น เรื่อง การกำหนดราคาเสนอซื้อหรือเสนอขายจากการซื้อหุ้น คือ (treasury stock) บนกระดานหลัก เนื่องจากเกณฑ์ปัจจุบันการซื้อคืนบนกระดานหลักระบุให้บริษัทจดทะเบีนต้องกำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินกว่า 115% และราคาเสนอขายไม่ต่ำกว่า 85% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้านั้น ซึ่งอาจมีข้อสงสัยว่า บริษัทจดทะเบียนจะส่งคำสั่งในลักษณะเป็นการชี้นำราคาหลักทรัพย์ของตนได้ ตลาดหลักทรัพย์จึงได้ทบทวนความเหมาะสมของการกำหนดราคาเสนอซื้อและเสนอขายtreasury stock เพื่อให้การซื้อหรือขายหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปตามราคาตลาด ไม่มีลักษณะเป็นการชี้นำราคาในขณะเดียวกันก็ให้บริษัทจดทะเบียนมีความหยืดหยุ่นในการซื้อหรือขายหุ้นคืน
ทั้งนี้ เกณฑ์กำหนดราคาของตลาดหุ้นต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย นั้น กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 115% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ประเทศสิงคโปร์ กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกิน 105% ของราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ ส่วนราคาเสนอขายไม่ได้กำหนด ตลาดหุ้นฮ่องกง กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาปิดเฉลี่ย 5 วันทำการ และไม่กำหนดราคาเสนอขาย ส่วนตลาดหุ้นเกาหลี กำหนดราคาเสนอซื้อไม่เกินราคาตลาดสูงสุดของวันก่อนหน้าหรือ ราคาเสนอซื้อสูงสุดและแต่ราคาใดจะสูงกว่า ส่วนราคาเสนอขายไม่น้อยกว่าราคาตลาดต่ำสุดของวันก่อนหน้าหรือราคาเสนอขายที่ดีที่สุดแล้วแต่ราคาใดจะต่ำกว่า
ดังนั้น ตลาดหลักทรัพย์ มีข้อเสนอปรับกรอบราคาเสนอซื้อและขาย treasury stock ไม่เกินกว่า 105% (กรณีเสนอซื้อหุ้น) และไม่ต่ำกว่า 95% (กรณีเสนอขายหุ้น) ของราคาปิดของหุ้นดังกล่าวเฉลี่ย 5 วันทำการก่อนหน้า หรือ 1 ช่วงราคา (spread) แล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า โดยจะเปิดรับฟังความคิดเห็น ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน ถึงวันที่ 19 เมษายนนี้
โดยตั้งแต่กฎหมายอนุญาตให้บริษัทมหาชนซื้อหุ้นคืนได้จนถึงปัจจุบัน มี บจ.ประกาศโครงการซื้อหุ้นคืนจำนวน 95 บริษัท มีการซื้อคืนจริง 80 บริษัท โดยซื้อผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 76 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการซื้อคืนรวม 16,064 ล้านบาท โดยจาก 80 บริษัทที่มีการซื้อคืนจริงนั้น บริษัทจดทะเบียนมีการขายหุ้นซื้อคืน จำนวน 26 บริษัท ผ่านตลาดหลักทรัพย์จำนวน 23 บริษัท คิดเป็นมูลค่าการขายหุ้นซื้อคืนรวม 3,637 ล้านบาท และลดทุนจดทะเบียนจำนวน 20 บริษัท ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม การซื้อหุ้นคืนเป็นเครื่องมือในการบริหารการงินของบริษัทจดทะเบียนเมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและสภาพคล่องทางการเงินสูง คือ มีเงินเพียงพอที่จะไปลงทุนในหุ้นบริษัทเอง เมื่อเห็นว่าหุ้นมีราคาต่ำเกินจริง นอกจากนี้ ยังเป็นการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัท และช่วยให้กำหรต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทสูงขึ้นจากการที่บริษัทมีจำนสวนหุ้นลดลง วิธีการซื้อหุ้นคืนสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ การเสนอซื้อจากผู้ถือหุ้นเป็นการทั่วไป หรือ การซื้อคืนบนกระดานหลัก ของตลาดหลักทรัพย์
ขณะที่ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการว่าด้วยการซื้อหุ้นค้น และการจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน และการตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัท 2544 และประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการใดๆ ของบริษัทจดทะเบียน เมื่อบริษัทจดทะเบียนซื้อหุ้นของบริษัทคืน และจำหน่ายหุ้นซื้อคืน พ.ศ.2544 กำหนดหลักการการซื้อหุ้นคืน ดังนี้ 1.บริษัทจดทะเบียนที่ต้องการจะซื้อหุ้นคืนจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ ต้องมีกำไรสะสม โดยการซื้อหุ้นคืนจะทำได้ไม่เกินวงเงินสะสม และบริษัทควรกันกำหรสะสมไว้เป็นเงินสำรองเท่ากับจำนวนเงินที่ได้จ่ายซื้อหุ้นคืน มีสภาพคล่องส่วนเกิน โดยพิจารณาจากความสามารถในการชำระหนี้ภายใน 6 เดือนข้างหน้า การซื้อหุ้นคืนจะไม่ทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นรายย่อย (ฟรีโฟลต)ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2.ขออนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นซื้อไม่เกิน 10% ของทุนชำระแล้ว และกำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
3.มีการเปิดเผยโครงการต่อผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 14 วัน 4.ซื้อขายกับผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันโดยใช้วิธี GO หรือ บนกระดานหลักของตลาดหลักทรัพย์ 5.ราคาเสนอซื้อและราคาเสนอขายหุ้นซื้อคืนบนกระดานหลักจะต้องสอดคล้องกับราคาตลาด และไม่มีลักษณะชี้นำราคา 6 ข้อจำกัดในการซื้อหุ้นคืนหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน โดยห้ามทำรายการ หากบริษัทอยู่ระหว่างเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ก่อนเผยแพร่งบการเงิน ก่อนการประกาศจ่ายเงินปันผล หรือ ก่อนการประกาศเพิ่มทุน เป็นต้น ห้ามทำรายการกับบุคคลที่เกี่ยวโยง ในการซื้อหุ้นคืนบนกระดานหลัก ห้ามทำรายการ หากอยู่ระหว่างการถูกทำการซื้อกิจการ หรือมีข้อเท็จจริงที่ควรเชื่อว่าจะถูกซื้อกิจการ