บทความฉบับนี้ผมขอเขียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยตรง ทว่าตะวันออกกลางเป็นแหล่งผลิตน้ำมันที่สำคัญและมีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดดังนั้นสถานการณ์ในภูมิภาคนี้จึงมีความสำคัญอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย
วิกฤติในตะวันออกกลางเริ่มจากจุดเล็กๆ เมื่อพ่อค้าขายผักผลไม้ในตูนิเซียถูกตำรวจจับและทำร้าย จึงประท้วงด้วยการเผาตัวเอง และผลได้ลุกลามจนกลายเป็นการลุกฮือของประชาชนในตูนิเซียและลามไปประเทศอื่นๆ โดยประชาชนหลายล้านคนในภูมิภาคนี้ลุกฮือขึ้นพร้อมกันเพื่อไล่ผู้นำหรือเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองและสังคม เหตุการณ์ดังกล่าวแม้ดูเสมือนว่าเป็นเหตุบังเอิญ แต่ถ้าวิเคราะห์ในเชิงลึก อาจพอสรุปได้ว่าปัญหาเหล่านี้มีที่มาจากปัจจัยดั้งเดิมได้แก่ การปกครองที่เป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ และระบบเศรษฐกิจที่ล้าหลัง ส่งผลให้ประชาชนยากจน การว่างงานสูงและไร้ความหวังสำหรับอนาคต ในขณะเดียวกันโลกก็มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ประชาชนมีความรู้และได้รับข้อมูลข่าวสารดีขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่หนึ่งจึงแพร่กระจายไปที่อื่นๆได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อการปกครองเป็นระบบเผด็จการ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับชนชั้นปกครองบางกลุ่ม โดยไม่กระจายไปยังประชาชนส่วนมากอย่างทั่วถึง ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ที่เห็นชัดเจนก็คือประเทศที่มีน้ำมันเกือบทุกประเทศในตะวันออกกลางไม่มีการกลั่นน้ำมันในประเทศ แต่จะขายน้ำมันดิบให้กับบริษัทของตัวเองหรือหุ้นส่วนที่อยู่ในต่างประเทศในราคามิตรภาพ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ก็ขายในราคาตลาด กำไรเกือบทั้งหมดก็ตกอยู่กับผู้นำของประเทศเหล่านั้น และผู้ปกครองประเทศก็นำรายได้บางส่วนมาเจือจานแก่ประชาชนในรูปสวัสดิการเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนมาก ขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นแบบทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) นั่นคือ การใช้รัฐวิสาหกิจเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อเวลาผ่านไปและไม่มีการแข่งขัน ระบบนี้ก็ขาดประสิทธิภาพ และไม่มีการพัฒนา นอกจากนี้ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานก็ใช้ระบบเส้นสาย ทำให้เป็นการตัดโอกาสของประชาชนส่วนใหญ่ในการได้งานที่มีรายได้ดี จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่าการจ้างงานประมาณร้อยละ 70 ของประเทศตะวันออกกลางเป็นการจ้างงานโดยหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก และมีปัญหาการว่างงานอยู่ในระดับสูงมากในระดับต้นๆ ของโลก
สภาพการณ์ในตะวันออกกลางเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คำถามคือ ทำไมจึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ได้ ผมคิดว่า การเกิดวิกฤติมาจาก 2 ปัจจัยคือ การพัฒนาการศึกษา และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology: ICT) ใน 20 ปีที่ผ่านมา
เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าขึ้น ประเทศตะวันออกกลางก็เหมือนกับประเทศอื่นที่ได้พัฒนาการศึกษา แต่เนื่องจากตลาดแรงงานส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีระบบเส้นสาย ดังนั้น ผู้จบการศึกษาเกือบทั้งหมดไม่สามารถหางาน หรือถ้าหางานได้ก็เป็นงานที่ต่ำกว่าระดับที่ควรจะได้ ทำให้อัตราการว่างงานของประชาชนอายุน้อยโดยเฉพาะผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปอยู่ในระดับสูงมาก จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจสะสมมาตลอด เพราะผู้จบการศึกษาสูงย่อมมีความคาดหวังสูงตามไปด้วย ผมขอยกตัวอย่างที่สุดขั้วคือ เยเมน มีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 35 โดยเฉพาะการว่างงานของคนอายุต่ำกว่า 30 ปี สูงถึงร้อยละ 53 ขณะที่มีผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยปีละประมาณ 300,000 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่สามารถหางานตามวุฒิการศึกษาได้ และปัญหาสะสมเรื่อยมาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เกือบทุกประเทศในตะวันออกกลางที่มีปัญหามีลักษณะไม่แตกต่างกับเยเมน แต่อาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่า
ขณะที่สังคมสั่งสมความไม่พอใจ และมีความกดดันจากการว่างงานและความยากจน ตลอดจนความไม่เท่าเทียมกัน โลกก็ได้มีการพัฒนาระบบ ICT ทั่วโลกแบบก้าวกระโดด ทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารรอบด้าน ต่างจากในอดีตที่ได้รับข่าวสารจากผู้ปกครองเผด็จการเพียงฝ่ายเดียว ประชาชนจึงเริ่มซึมซับแนวความคิดประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังเห็นปัญหาการกอบโกยของผู้นำประเทศ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม และการใช้สิทธิเสรีภาพที่มนุษย์ทุกควรจะมี ความคิดเช่นนี้คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่มีการศึกษา
เมื่อเกิดภาวะการณ์ราคาอาหารสูงขึ้นทั่วโลกจากภัยแล้ง ประกอบกับมีการเผยแพร่เหตุการณ์การเผาตัวประท้วงในตูนิเซียผ่านทาง Internet ความเดือดร้อนและไม่พอใจทำให้เกิดการลุกฮือของประชาชนทั่วภูมิภาคอย่างไม่ได้นัดหมาย เปรียบเหมือนมีเชื้อเพลิงอยู่แล้วทั่วทุกแห่ง เมื่อโยนไม้ขีดไฟลงไปก็เกิดการลุกลาม จนไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลต่างๆที่แสดงว่ายังไม่รู้ถึงที่มาของปัญหา และชนชั้นปกครองยังไม่ยอมเสียสละผลประโยชน์ที่เคยได้รับ มาตรการส่วนใหญ่ที่ใช้คือวิธีแจกเงิน เช่น กรณีซาอุดิอาระเบีย รัฐบาลใช้วิธีแจกเงิน ได้แก่การเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 3,000 Rials ต่อเดือน (ประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐ) และให้เงินผู้ตกงานที่กำลังหางานทำ คนละ 2,000 Rials ต่อเดือน การทำเช่นนี้เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ เพราะประชาชนต้องการทำงาน ดังนั้นการเพิ่มเงินเดือน/ให้เงินจึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นการชดเชยการว่างงาน ยิ่งจะทำให้คนตั้งใจหางานน้อยลง และจะส่งผลเป็นภาระการคลังของประเทศ
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาชนต้องการคือ ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ใช่การแก้ไขที่เสมือนการสงเคราะห์หรือการกุศล อีกตัวอย่างของมาตรการแก้ไขก็คือการปฏิรูปที่ดินในอิหร่าน เนื่องจากการถือครองที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นผู้นำส่วนน้อย ทว่าการดำเนินการปฏิรูปก็ล้มเหลว เพราะผู้เสียประโยชน์โดยเฉพาะนักบวชอาวุโสที่เป็นเจ้าของที่ดินไม่ร่วมมือ
ปัญหาที่สะสมมาหลายปีจนสุกงอมและปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยทำให้เกิดวิกฤติการเมืองครั้งใหญ่และมีประชาชนร่วมประท้วงมากที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความรุนแรงของปัญหา ประกอบกับการพัฒนาระบบข่าวสารที่ทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลกว้างขวาง ผมจึงคิดว่ากระแสปฏิวัติประชาชนครั้งนี้ยากที่จะหยุดลงในเร็ววันนี้ถ้าไม่มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง เพราะไฟปฏิวัติของประชาชนคงจะไม่มอดลงง่ายๆ
วิกฤติในตะวันออกกลางเริ่มจากจุดเล็กๆ เมื่อพ่อค้าขายผักผลไม้ในตูนิเซียถูกตำรวจจับและทำร้าย จึงประท้วงด้วยการเผาตัวเอง และผลได้ลุกลามจนกลายเป็นการลุกฮือของประชาชนในตูนิเซียและลามไปประเทศอื่นๆ โดยประชาชนหลายล้านคนในภูมิภาคนี้ลุกฮือขึ้นพร้อมกันเพื่อไล่ผู้นำหรือเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองและสังคม เหตุการณ์ดังกล่าวแม้ดูเสมือนว่าเป็นเหตุบังเอิญ แต่ถ้าวิเคราะห์ในเชิงลึก อาจพอสรุปได้ว่าปัญหาเหล่านี้มีที่มาจากปัจจัยดั้งเดิมได้แก่ การปกครองที่เป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ และระบบเศรษฐกิจที่ล้าหลัง ส่งผลให้ประชาชนยากจน การว่างงานสูงและไร้ความหวังสำหรับอนาคต ในขณะเดียวกันโลกก็มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้ประชาชนมีความรู้และได้รับข้อมูลข่าวสารดีขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในที่หนึ่งจึงแพร่กระจายไปที่อื่นๆได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อการปกครองเป็นระบบเผด็จการ ผลประโยชน์ส่วนใหญ่จะตกอยู่กับชนชั้นปกครองบางกลุ่ม โดยไม่กระจายไปยังประชาชนส่วนมากอย่างทั่วถึง ซึ่งในที่สุดก็นำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ที่เห็นชัดเจนก็คือประเทศที่มีน้ำมันเกือบทุกประเทศในตะวันออกกลางไม่มีการกลั่นน้ำมันในประเทศ แต่จะขายน้ำมันดิบให้กับบริษัทของตัวเองหรือหุ้นส่วนที่อยู่ในต่างประเทศในราคามิตรภาพ ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ก็ขายในราคาตลาด กำไรเกือบทั้งหมดก็ตกอยู่กับผู้นำของประเทศเหล่านั้น และผู้ปกครองประเทศก็นำรายได้บางส่วนมาเจือจานแก่ประชาชนในรูปสวัสดิการเพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อนมาก ขณะเดียวกันระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นแบบทุนนิยมโดยรัฐ (State Capitalism) นั่นคือ การใช้รัฐวิสาหกิจเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เมื่อเวลาผ่านไปและไม่มีการแข่งขัน ระบบนี้ก็ขาดประสิทธิภาพ และไม่มีการพัฒนา นอกจากนี้ในการคัดเลือกพนักงานเข้าทำงานก็ใช้ระบบเส้นสาย ทำให้เป็นการตัดโอกาสของประชาชนส่วนใหญ่ในการได้งานที่มีรายได้ดี จากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญพบว่าการจ้างงานประมาณร้อยละ 70 ของประเทศตะวันออกกลางเป็นการจ้างงานโดยหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก และมีปัญหาการว่างงานอยู่ในระดับสูงมากในระดับต้นๆ ของโลก
สภาพการณ์ในตะวันออกกลางเป็นเช่นนี้มาตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 คำถามคือ ทำไมจึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ได้ ผมคิดว่า การเกิดวิกฤติมาจาก 2 ปัจจัยคือ การพัฒนาการศึกษา และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication Technology: ICT) ใน 20 ปีที่ผ่านมา
เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าขึ้น ประเทศตะวันออกกลางก็เหมือนกับประเทศอื่นที่ได้พัฒนาการศึกษา แต่เนื่องจากตลาดแรงงานส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ และมีระบบเส้นสาย ดังนั้น ผู้จบการศึกษาเกือบทั้งหมดไม่สามารถหางาน หรือถ้าหางานได้ก็เป็นงานที่ต่ำกว่าระดับที่ควรจะได้ ทำให้อัตราการว่างงานของประชาชนอายุน้อยโดยเฉพาะผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปอยู่ในระดับสูงมาก จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจสะสมมาตลอด เพราะผู้จบการศึกษาสูงย่อมมีความคาดหวังสูงตามไปด้วย ผมขอยกตัวอย่างที่สุดขั้วคือ เยเมน มีอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 35 โดยเฉพาะการว่างงานของคนอายุต่ำกว่า 30 ปี สูงถึงร้อยละ 53 ขณะที่มีผู้จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยปีละประมาณ 300,000 คน ซึ่งเกือบทั้งหมดไม่สามารถหางานตามวุฒิการศึกษาได้ และปัญหาสะสมเรื่อยมาในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา เกือบทุกประเทศในตะวันออกกลางที่มีปัญหามีลักษณะไม่แตกต่างกับเยเมน แต่อาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่า
ขณะที่สังคมสั่งสมความไม่พอใจ และมีความกดดันจากการว่างงานและความยากจน ตลอดจนความไม่เท่าเทียมกัน โลกก็ได้มีการพัฒนาระบบ ICT ทั่วโลกแบบก้าวกระโดด ทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารรอบด้าน ต่างจากในอดีตที่ได้รับข่าวสารจากผู้ปกครองเผด็จการเพียงฝ่ายเดียว ประชาชนจึงเริ่มซึมซับแนวความคิดประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล และระบบเศรษฐกิจแบบตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังเห็นปัญหาการกอบโกยของผู้นำประเทศ ความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจและสังคม และการใช้สิทธิเสรีภาพที่มนุษย์ทุกควรจะมี ความคิดเช่นนี้คุกรุ่นอยู่ในใจของประชาชน โดยเฉพาะชนชั้นกลางที่มีการศึกษา
เมื่อเกิดภาวะการณ์ราคาอาหารสูงขึ้นทั่วโลกจากภัยแล้ง ประกอบกับมีการเผยแพร่เหตุการณ์การเผาตัวประท้วงในตูนิเซียผ่านทาง Internet ความเดือดร้อนและไม่พอใจทำให้เกิดการลุกฮือของประชาชนทั่วภูมิภาคอย่างไม่ได้นัดหมาย เปรียบเหมือนมีเชื้อเพลิงอยู่แล้วทั่วทุกแห่ง เมื่อโยนไม้ขีดไฟลงไปก็เกิดการลุกลาม จนไม่มีอะไรหยุดยั้งได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลต่างๆที่แสดงว่ายังไม่รู้ถึงที่มาของปัญหา และชนชั้นปกครองยังไม่ยอมเสียสละผลประโยชน์ที่เคยได้รับ มาตรการส่วนใหญ่ที่ใช้คือวิธีแจกเงิน เช่น กรณีซาอุดิอาระเบีย รัฐบาลใช้วิธีแจกเงิน ได้แก่การเพิ่มเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ 3,000 Rials ต่อเดือน (ประมาณ 800 ดอลลาร์สหรัฐ) และให้เงินผู้ตกงานที่กำลังหางานทำ คนละ 2,000 Rials ต่อเดือน การทำเช่นนี้เป็นการแก้ปัญหาปลายเหตุ เพราะประชาชนต้องการทำงาน ดังนั้นการเพิ่มเงินเดือน/ให้เงินจึงไม่ใช่ทางแก้ปัญหา ยิ่งไปกว่านั้นการชดเชยการว่างงาน ยิ่งจะทำให้คนตั้งใจหางานน้อยลง และจะส่งผลเป็นภาระการคลังของประเทศ
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ประชาชนต้องการคือ ความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ใช่การแก้ไขที่เสมือนการสงเคราะห์หรือการกุศล อีกตัวอย่างของมาตรการแก้ไขก็คือการปฏิรูปที่ดินในอิหร่าน เนื่องจากการถือครองที่ดินส่วนใหญ่อยู่ในมือของชนชั้นผู้นำส่วนน้อย ทว่าการดำเนินการปฏิรูปก็ล้มเหลว เพราะผู้เสียประโยชน์โดยเฉพาะนักบวชอาวุโสที่เป็นเจ้าของที่ดินไม่ร่วมมือ
ปัญหาที่สะสมมาหลายปีจนสุกงอมและปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยทำให้เกิดวิกฤติการเมืองครั้งใหญ่และมีประชาชนร่วมประท้วงมากที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความรุนแรงของปัญหา ประกอบกับการพัฒนาระบบข่าวสารที่ทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารข้อมูลกว้างขวาง ผมจึงคิดว่ากระแสปฏิวัติประชาชนครั้งนี้ยากที่จะหยุดลงในเร็ววันนี้ถ้าไม่มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง เพราะไฟปฏิวัติของประชาชนคงจะไม่มอดลงง่ายๆ