“ธรรมฝ่ายดำสองประการ คือ ความไม่ละอาย และความไม่เกรงกลัว (ต่อบาป)
ธรรมฝ่ายขาวสองประการ คือ ความละอาย และความเกรงกลัว (ต่อบาป)” พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ปฐมปัณณาสก์
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่า คนที่ทำความชั่ว ความเลว ความผิด หรือที่เรียกได้ว่า บาปในทางพุทธศาสนานั้น ก็ด้วยเหตุที่มีธรรมฝ่ายดำสองประการ คือ ความไม่ละอายต่อการกระทำอันเป็นบาป และความไม่เกรงกลัวต่อบาป
ส่วนคนที่ไม่ทำบาป ก็ด้วยมีธรรมฝ่ายขาวสองประการ คือ ความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อบาป
ทั้งความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อบาป เป็นเรื่องของความสำนึกในทางดีซึ่งเกิดขึ้นในใจของผู้นั้นเอง โดยไม่มีอำนาจแฝงเร้นจากภายนอกมาบีบบังคับ หรือจูงใจด้วยผลประโยชน์ใดๆ ให้งดการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
ดังนั้น ผู้ที่ไม่กระทำความผิด ความเลวอันเกิดจากความกลัวการลงโทษทางกฎหมาย เนื่องจากมีพยานหลักฐานปรักปรำหรือผูกมัดการกระทำให้ต้องรับโทษด้วยจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่ถือว่ามีธรรมฝ่ายขาวสองประการนี้ แต่ก็จัดว่าทำดีด้วยมีความเกรงกลัวต่อบาป ด้วยความจำเป็นต้องงดเว้นการกระทำ ดังที่ได้เกิดขึ้นกับ ส.ส.และ ส.ว.ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบันทึกเจบีซี 3 ฉบับ และผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา และจบลงด้วย ส.ส.และ ส.ว.ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในที่ประชุม จึงต้องเลิกประชุมเนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม มีผลให้ต้องเลื่อนออกไปดังที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รู้ได้เห็นประเด็นแห่งปัญหาอันเป็นที่มาของหัวข้อที่เขียนนี้ ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำข่าวนี้มาเสนออีกครั้ง โดยสรุปเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
1. หลังจากที่ประชุมร่วมสองสภาได้ล่มแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม และได้เลื่อนมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม
ในวันที่ 29 มีนาคม การประชุร่วมสองสภาได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.30 น. และในครั้งนี้มีผู้มารายงานตัวเข้าประชุม 284 คนครบองค์ประชุม
2. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้แจ้งในที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ส.ส.จำนวน 80 คนได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมาตรา 190 หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณาตามคำสั่งที่ 5/2554
3. เมื่อถึงวาระเพื่อพิจารณารายงานการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับบันทึกการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
จากนั้นได้มีการหารือ และได้มีสมาชิกบางส่วนเห็นควรให้ยุติการพิจารณาเอาไว้ก่อนเพื่อรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
แต่นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปรัฐบาลเห็นด้วยกับการเลื่อนพิจารณาบันทึกเจบีซี 3 ฉบับออกไปก่อน แต่ควรรับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปก่อน
4. ได้มีสมาชิกหลายท่าน เช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการรับทราบไปก่อน ด้วยอ้างว่าเกรงจะขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความผิดตามมาตรา 270 มีโทษถึงขั้นถูกถอดถอนได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า สภาควรรับทราบรายงานของ กมธ. ส่วนบันทึกเจบีซีให้รอไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ถ้าวินิจฉัยว่าไม่เป็นสัญญาก็จบ ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาก็จะนำกลับเข้าพิจารณาอีกครั้ง
5. แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 5 เมษายน เนื่องจากมีการนับองค์ประชุมแล้วไม่ครบ จึงต้องเลิกประชุม เป็นการล่มครั้งที่ 2
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากที่ประชุมทั้ง 5 ประเด็นแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าสภาล่มในครั้งนี้เกิดจากปัจจัยในเชิงตรรกะ 3 ประการ คือ
1. ความไม่รอบคอบของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ที่เร่งรีบนำเสนอโดยไม่คำนึงถึงขั้นตอน และวิธีการที่ควรจะเป็น เช่น การเร่งรัดการตีความของศาลรัฐธรรมนูญให้ออกมาแล้วค่อยนำเสนอสภา
2. ถ้าตีความแน่ใจว่าบันทึกเจบีซีไม่ใช่หนังสือสัญญาตามนัยแห่งมาตรา 190 แห่งธรรมนูญการปกครองที่ใช้บังคับอยู่ ทำไมต้องนำเสนอสภา
ในทำนองถ้าแน่ใจว่าเป็นหนังสือสัญญา ทำไมไม่นำสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการวินิจฉัยรองรับแต่เนิ่นๆ และหาวิธีการแจงทำความเข้าใจกับสภาให้เป็นไปในทางเดียวกันก่อนแล้วค่อยนำเสนอ
3. ทางด้านสมาชิกรัฐสภาเอง ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก็ไม่ควรที่จะประชุมพิจารณาเรื่องนี้จนจบลงด้วยการนับองค์ประชุม
แต่การเสนอให้มีการลงคะแนนว่าจะประชุมหรือไม่ประชุมพิจารณาเรื่องนี้ ถ้ามติออกมาไม่ประชุมโดยให้เลื่อนออกไป ก็จะได้มีการประชุมเรื่องอื่นต่อไป ไม่ทำให้สภาเสียภาพลักษณ์ด้วยการล่มถึง 2 ครั้งภายใน 1 เดือน และล่มในเรื่องเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม การไม่ยอมลงมติตามที่รัฐบาลต้องการ จะด้วยไม่เข้าประชุมจนขาดองค์ประชุม หรือจะด้วยการแสดงความเห็นคัดค้าน ถือได้ว่าเกิดจากความเกรงกลัวผลแห่งการกระทำผิด ถึงแม้ความกลัวจะเกิดจากภายนอก คือ กลัวกฎหมาย ก็ถือได้ว่ามีโอตตัปปะ แต่เป็นโอตตัปปะที่จำเป็นก็ตาม
ธรรมฝ่ายขาวสองประการ คือ ความละอาย และความเกรงกลัว (ต่อบาป)” พระไตรปิฎกเล่มที่ 20 ปฐมปัณณาสก์
โดยนัยแห่งพุทธพจน์ดังกล่าวข้างต้น หมายถึงว่า คนที่ทำความชั่ว ความเลว ความผิด หรือที่เรียกได้ว่า บาปในทางพุทธศาสนานั้น ก็ด้วยเหตุที่มีธรรมฝ่ายดำสองประการ คือ ความไม่ละอายต่อการกระทำอันเป็นบาป และความไม่เกรงกลัวต่อบาป
ส่วนคนที่ไม่ทำบาป ก็ด้วยมีธรรมฝ่ายขาวสองประการ คือ ความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อบาป
ทั้งความละอายต่อบาป และความเกรงกลัวต่อบาป เป็นเรื่องของความสำนึกในทางดีซึ่งเกิดขึ้นในใจของผู้นั้นเอง โดยไม่มีอำนาจแฝงเร้นจากภายนอกมาบีบบังคับ หรือจูงใจด้วยผลประโยชน์ใดๆ ให้งดการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
ดังนั้น ผู้ที่ไม่กระทำความผิด ความเลวอันเกิดจากความกลัวการลงโทษทางกฎหมาย เนื่องจากมีพยานหลักฐานปรักปรำหรือผูกมัดการกระทำให้ต้องรับโทษด้วยจำนนต่อพยานหลักฐาน จึงไม่ถือว่ามีธรรมฝ่ายขาวสองประการนี้ แต่ก็จัดว่าทำดีด้วยมีความเกรงกลัวต่อบาป ด้วยความจำเป็นต้องงดเว้นการกระทำ ดังที่ได้เกิดขึ้นกับ ส.ส.และ ส.ว.ในการประชุมร่วมสองสภาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบบันทึกเจบีซี 3 ฉบับ และผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา และจบลงด้วย ส.ส.และ ส.ว.ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในที่ประชุม จึงต้องเลิกประชุมเนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม มีผลให้ต้องเลื่อนออกไปดังที่ปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่ได้รับรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้รู้ได้เห็นประเด็นแห่งปัญหาอันเป็นที่มาของหัวข้อที่เขียนนี้ ผู้เขียนจึงใคร่ขอนำข่าวนี้มาเสนออีกครั้ง โดยสรุปเป็นประเด็นดังต่อไปนี้
1. หลังจากที่ประชุมร่วมสองสภาได้ล่มแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม และได้เลื่อนมาประชุมอีกครั้งในวันที่ 29 มีนาคม
ในวันที่ 29 มีนาคม การประชุร่วมสองสภาได้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 10.30 น. และในครั้งนี้มีผู้มารายงานตัวเข้าประชุม 284 คนครบองค์ประชุม
2. นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ได้แจ้งในที่ประชุมว่า เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2553 นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา พรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วย ส.ส.จำนวน 80 คนได้ยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บันทึกเจบีซีทั้ง 3 ฉบับ เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย ตามมาตรา 190 หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้องไว้พิจารณาตามคำสั่งที่ 5/2554
3. เมื่อถึงวาระเพื่อพิจารณารายงานการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญเกี่ยวกับบันทึกการประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี)
จากนั้นได้มีการหารือ และได้มีสมาชิกบางส่วนเห็นควรให้ยุติการพิจารณาเอาไว้ก่อนเพื่อรอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
แต่นายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะวิปรัฐบาลเห็นด้วยกับการเลื่อนพิจารณาบันทึกเจบีซี 3 ฉบับออกไปก่อน แต่ควรรับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ไปก่อน
4. ได้มีสมาชิกหลายท่าน เช่น นางสาวรสนา โตสิตระกูล แสดงความไม่เห็นด้วยที่จะให้มีการรับทราบไปก่อน ด้วยอ้างว่าเกรงจะขัดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีความผิดตามมาตรา 270 มีโทษถึงขั้นถูกถอดถอนได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า สภาควรรับทราบรายงานของ กมธ. ส่วนบันทึกเจบีซีให้รอไปก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย ถ้าวินิจฉัยว่าไม่เป็นสัญญาก็จบ ถ้าวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาก็จะนำกลับเข้าพิจารณาอีกครั้ง
5. แต่สุดท้ายก็จบลงด้วยการเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นวันที่ 5 เมษายน เนื่องจากมีการนับองค์ประชุมแล้วไม่ครบ จึงต้องเลิกประชุม เป็นการล่มครั้งที่ 2
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากที่ประชุมทั้ง 5 ประเด็นแล้ว จะเห็นได้ชัดเจนว่าสภาล่มในครั้งนี้เกิดจากปัจจัยในเชิงตรรกะ 3 ประการ คือ
1. ความไม่รอบคอบของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อันได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ที่เร่งรีบนำเสนอโดยไม่คำนึงถึงขั้นตอน และวิธีการที่ควรจะเป็น เช่น การเร่งรัดการตีความของศาลรัฐธรรมนูญให้ออกมาแล้วค่อยนำเสนอสภา
2. ถ้าตีความแน่ใจว่าบันทึกเจบีซีไม่ใช่หนังสือสัญญาตามนัยแห่งมาตรา 190 แห่งธรรมนูญการปกครองที่ใช้บังคับอยู่ ทำไมต้องนำเสนอสภา
ในทำนองถ้าแน่ใจว่าเป็นหนังสือสัญญา ทำไมไม่นำสู่ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการวินิจฉัยรองรับแต่เนิ่นๆ และหาวิธีการแจงทำความเข้าใจกับสภาให้เป็นไปในทางเดียวกันก่อนแล้วค่อยนำเสนอ
3. ทางด้านสมาชิกรัฐสภาเอง ถ้าเห็นว่าเรื่องนี้เป็นสัญญาตามนัยแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ก็ไม่ควรที่จะประชุมพิจารณาเรื่องนี้จนจบลงด้วยการนับองค์ประชุม
แต่การเสนอให้มีการลงคะแนนว่าจะประชุมหรือไม่ประชุมพิจารณาเรื่องนี้ ถ้ามติออกมาไม่ประชุมโดยให้เลื่อนออกไป ก็จะได้มีการประชุมเรื่องอื่นต่อไป ไม่ทำให้สภาเสียภาพลักษณ์ด้วยการล่มถึง 2 ครั้งภายใน 1 เดือน และล่มในเรื่องเดียวกันด้วย
อย่างไรก็ตาม การไม่ยอมลงมติตามที่รัฐบาลต้องการ จะด้วยไม่เข้าประชุมจนขาดองค์ประชุม หรือจะด้วยการแสดงความเห็นคัดค้าน ถือได้ว่าเกิดจากความเกรงกลัวผลแห่งการกระทำผิด ถึงแม้ความกลัวจะเกิดจากภายนอก คือ กลัวกฎหมาย ก็ถือได้ว่ามีโอตตัปปะ แต่เป็นโอตตัปปะที่จำเป็นก็ตาม