ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจด้านสิ่งทอทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ผู้ประกอบการจึงวอนภาครัฐให้ช่วยเหลือและดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้
สำหรับกิจการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอหรือชิ้นส่วน เป็นกิจการหนึ่งในหมวดอุตสาหกรรมเบา ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ให้การส่งเสริมการลงทุน โดยจัดเป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2553 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ของประเทศไทยให้สามารถก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น
แต่การดำเนินธุรกิจดังกล่าวในปัจจุบันนั้น ถือว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก จึงส่งผลให้การทำงานยากลำบากขึ้น และปัญหาที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการจึงขอเรียกร้องภาครัฐให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน รวมถึงการดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ด้วย
ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับตัวกันค่อนข้างมาก ธุรกิจที่มีขนาดเล็กบางแห่งถึงกับต้องปิดกิจการ หากใครต้องการดำเนินธุรกิจต่อไปก็จะต้องพยายามปรับฐานลูกค้าและคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้น เพราะนับวันการแข่งขันในตลาดล่างจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ประเทศคู่แข่งสำหรับธุรกิจด้านนี้ของไทยที่น่ากลัวในอนาคต คือ อินเดีย บังกลาเทศ เวียดนาม ส่วนจีนยังไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวมากนัก เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง และจีนเองเริ่มประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับไทย ทั้งนี้แนวทางที่จะทำให้ธุรกิจดังกล่าวรอดพ้นจากวิกฤตปัญหาต่างๆ ได้คือ ต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเทคโนโลยีในการผลิตให้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอยกตัวอย่างผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจสิ่งทอแบบครบวงจรและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยคือ นายวีระยุทธ ถาวรพิพัฒน์เดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ถาวรพิพัฒน์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบการธุรกิจด้านนี้มากว่า 39 ปี ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า นอกจากการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเทคโนโลยีในการผลิตให้สูงขึ้นแล้ว ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะใช้ในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สินค้าที่ผลิตได้ต้องมีคุณภาพดี มีการส่งมอบตรงตามเวลาที่กำหนด ปัจจุบันสินค้าไทยมีความได้เปรียบและโดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องของแฟชั่นที่ค่อนข้างทันสมัยกว่า ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษามาตรฐานในเรื่องนี้ไว้เพื่อการแข่งขันในอนาคตต่อไป
เช่นเดียวกับสินค้าที่บริษัทผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศนั้น สินค้าทุกชิ้นจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิมพ์ การย้อม การเย็บ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าได้รับสินค้าดีและมีคุณภาพ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญอยู่ที่ประเทศแคนาดา ซึ่งสินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นกางเกงบ็อกเซอร์ และชุดนอน ผลิตภายใต้ลิขสิทธ์ยี่ห้อ Joe Boxer, Big dog, Briefly Stated Inc. ฯลฯ ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตประมาณ 3 ล้านชิ้นต่อปี
ด้านคู่แข่งของผู้ประกอบการด้านสิ่งทอก็มีมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในประเทศ เช่น ประตูน้ำ และโบ๊เบ๊ที่ปัจจุบันมีสินค้าเกรดล่างจากจีนแดงเข้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก รวมถึงสินค้าจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย เนื่องจากการเปิดเสรีทางด้านการค้า
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจสิ่งทอในปี 2554 นั้น หากมองในภาพรวมแล้วมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปั่นด้ายและทอผ้า เนื่องจากจีนผลิตสิ่งทอน้อยลง และลูกค้าที่ต้องการเส้นด้ายคุณภาพที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมจะนิยมสั่งซื้อจากไทย เพราะในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันนั้น ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ รวมถึงมีคุณภาพที่ดีกว่า ลูกค้าจึงหันมาใช้เส้นด้ายจากไทยกันมากขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2553 มีลูกค้าบางกลุ่มได้ย้ายคำสั่งซื้อจากจีนมาที่ประเทศไทย โดยมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้
ประการแรก สินค้าจากจีนมีการปรับราคาสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ประการที่สอง ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าของจีนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ประการที่สาม จีนมักมีปัญหาเรื่องการส่งมอบสินค้า ที่ยังส่งไม่ค่อยตรงเวลาที่กำหนด
ส่วนราคาฝ้าย ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสิ่งทอประเภทต่างๆ นั้น สถานการณ์ในปี 2554 คาดว่าราคาฝ้ายจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปคือ ต้องปรับตัวและบริหารวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับใช้ในการผลิต รวมทั้งต้องมีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง และแบบใหม่เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจให้มากขึ้น เช่น การนำอุปกรณ์อัตโนมัติมาควบคุมคุณภาพ และทดแทนแรงงานคนเพิ่มขึ้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th
สำหรับกิจการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอหรือชิ้นส่วน เป็นกิจการหนึ่งในหมวดอุตสาหกรรมเบา ที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ ให้การส่งเสริมการลงทุน โดยจัดเป็นกิจการที่มีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศเป็นพิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 1/2553 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพและสร้างความเข้มแข็งให้กับ SMEs ของประเทศไทยให้สามารถก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น
แต่การดำเนินธุรกิจดังกล่าวในปัจจุบันนั้น ถือว่ามีการแข่งขันกันสูงมาก จึงส่งผลให้การทำงานยากลำบากขึ้น และปัญหาที่สำคัญที่สุดในขณะนี้คือ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ผู้ประกอบการจึงขอเรียกร้องภาครัฐให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน รวมถึงการดูแลเรื่องการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินต่างๆ ด้วย
ดังนั้นในช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับตัวกันค่อนข้างมาก ธุรกิจที่มีขนาดเล็กบางแห่งถึงกับต้องปิดกิจการ หากใครต้องการดำเนินธุรกิจต่อไปก็จะต้องพยายามปรับฐานลูกค้าและคุณภาพสินค้าให้สูงขึ้น เพราะนับวันการแข่งขันในตลาดล่างจะเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ประเทศคู่แข่งสำหรับธุรกิจด้านนี้ของไทยที่น่ากลัวในอนาคต คือ อินเดีย บังกลาเทศ เวียดนาม ส่วนจีนยังไม่ใช่คู่แข่งที่น่ากลัวมากนัก เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานค่อนข้างสูง และจีนเองเริ่มประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับไทย ทั้งนี้แนวทางที่จะทำให้ธุรกิจดังกล่าวรอดพ้นจากวิกฤตปัญหาต่างๆ ได้คือ ต้องปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเทคโนโลยีในการผลิตให้สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จึงขอยกตัวอย่างผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจสิ่งทอแบบครบวงจรและประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยคือ นายวีระยุทธ ถาวรพิพัฒน์เดช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ถาวรพิพัฒน์ กรุ๊ป จำกัด ซึ่งประกอบการธุรกิจด้านนี้มากว่า 39 ปี ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า นอกจากการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและเทคโนโลยีในการผลิตให้สูงขึ้นแล้ว ถือว่ายังไม่เพียงพอที่จะใช้ในการแข่งขัน จำเป็นต้องมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น สินค้าที่ผลิตได้ต้องมีคุณภาพดี มีการส่งมอบตรงตามเวลาที่กำหนด ปัจจุบันสินค้าไทยมีความได้เปรียบและโดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ในเรื่องของแฟชั่นที่ค่อนข้างทันสมัยกว่า ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรักษามาตรฐานในเรื่องนี้ไว้เพื่อการแข่งขันในอนาคตต่อไป
เช่นเดียวกับสินค้าที่บริษัทผลิตเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศนั้น สินค้าทุกชิ้นจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่ลูกค้ากำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพิมพ์ การย้อม การเย็บ ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าได้รับสินค้าดีและมีคุณภาพ โดยมีตลาดหลักที่สำคัญอยู่ที่ประเทศแคนาดา ซึ่งสินค้าที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นกางเกงบ็อกเซอร์ และชุดนอน ผลิตภายใต้ลิขสิทธ์ยี่ห้อ Joe Boxer, Big dog, Briefly Stated Inc. ฯลฯ ปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตประมาณ 3 ล้านชิ้นต่อปี
ด้านคู่แข่งของผู้ประกอบการด้านสิ่งทอก็มีมากขึ้น ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดในประเทศ เช่น ประตูน้ำ และโบ๊เบ๊ที่ปัจจุบันมีสินค้าเกรดล่างจากจีนแดงเข้ามาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก รวมถึงสินค้าจากเวียดนาม และอินโดนีเซีย เนื่องจากการเปิดเสรีทางด้านการค้า
สำหรับแนวโน้มของธุรกิจสิ่งทอในปี 2554 นั้น หากมองในภาพรวมแล้วมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมปั่นด้ายและทอผ้า เนื่องจากจีนผลิตสิ่งทอน้อยลง และลูกค้าที่ต้องการเส้นด้ายคุณภาพที่ไม่มีสิ่งแปลกปลอมจะนิยมสั่งซื้อจากไทย เพราะในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันนั้น ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านนี้ รวมถึงมีคุณภาพที่ดีกว่า ลูกค้าจึงหันมาใช้เส้นด้ายจากไทยกันมากขึ้น
ทั้งนี้ในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2553 มีลูกค้าบางกลุ่มได้ย้ายคำสั่งซื้อจากจีนมาที่ประเทศไทย โดยมีสาเหตุหลายประการ ดังนี้
ประการแรก สินค้าจากจีนมีการปรับราคาสูงขึ้นมาก เนื่องจากราคาค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น
ประการที่สอง ปัญหาเรื่องคุณภาพสินค้าของจีนที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
ประการที่สาม จีนมักมีปัญหาเรื่องการส่งมอบสินค้า ที่ยังส่งไม่ค่อยตรงเวลาที่กำหนด
ส่วนราคาฝ้าย ซึ่งถือว่าเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสิ่งทอประเภทต่างๆ นั้น สถานการณ์ในปี 2554 คาดว่าราคาฝ้ายจะยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปคือ ต้องปรับตัวและบริหารวัตถุดิบให้เพียงพอสำหรับใช้ในการผลิต รวมทั้งต้องมีการนำเทคโนโลยีขั้นสูง และแบบใหม่เข้ามาปรับใช้ในธุรกิจให้มากขึ้น เช่น การนำอุปกรณ์อัตโนมัติมาควบคุมคุณภาพ และทดแทนแรงงานคนเพิ่มขึ้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2553-8111 หรือที่ head@boi.go.th