ASTVผู้จัดการรายวัน-เงินเฟ้อมี.ค.พุ่ง 3.14% ตามการสูงขึ้นของสินค้าหมวดอาหาร ทั้งข้าว หมู เห็ด เป็ด ไก่ ผัก ผลไม้ “ยรรยง”โวตัวเลขยังต่ำกว่าที่หลายสำนักเศรษฐกิจประเมินไว้ คาดไตรมาส 2 ระวังปัจจัยเสี่ยง น้ำมัน ภัยธรรมชาติ สินค้าพุ่ง และขึ้นเงินเดือน
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมี.ค.2554 เท่ากับ 110.49 เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.49% และเมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2553 สูงขึ้น 3.14% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่สำนักเศรษฐกิจต่างๆ ได้คาดการณ์ไว้ ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 3 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) สูงขึ้น 3.01%
ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น 3.14% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 5.87% โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 4.41% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 4.77% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 3.48% ผักและผลไม้ 17.26% เครื่องประกอบอาหาร 9.48% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 0.99% และอาหารสำเร็จรูป 3.54%
ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.53% ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 2.46% หมวดเคหสถาน 1.15% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 0.56% หมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา 0.79% หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.25%
“เงินเฟ้อเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่หลายสำนักได้ประเมินไว้ ต่อไปให้ยึดพาณิชย์เป็นหลัก เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำตัวเลขเงินเฟ้อ ของคนอื่นทายผิดมาก และปีนี้ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง เป้าทั้งปี 3.2-3.7% จะเป็นไปตามที่ทำนายไว้”นายยรรยงกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานออกไป เท่ากับ 104.83 เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.28% เทียบกับมี.ค.2553 สูงขึ้น 1.62% และเฉลี่ย 3 เดือน สูงขึ้น 1.46%
นายยรรยงกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.45% โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้น มาจากราคาพลังงาน ที่ขณะนี้เหตุการณ์ในตะวันออกกลางยังมีปัญหาอยู่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตร เช่น กุ้ง ปาล์ม ยาง ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น จะกระทบต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าปุ๋ยเคมี เหล็ก นม และน้ำมันถั่วเหลือง รวมไปถึงการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่จะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ 0.063%.
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) เดือนมี.ค.2554 เท่ากับ 110.49 เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.49% และเมื่อเทียบกับเดือนมี.ค.2553 สูงขึ้น 3.14% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าที่สำนักเศรษฐกิจต่างๆ ได้คาดการณ์ไว้ ส่วนเงินเฟ้อเฉลี่ย 3 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) สูงขึ้น 3.01%
ปัจจัยที่ส่งผลให้เงินเฟ้อปรับสูงขึ้น 3.14% มาจากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 5.87% โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้น 4.41% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 4.77% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 3.48% ผักและผลไม้ 17.26% เครื่องประกอบอาหาร 9.48% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 0.99% และอาหารสำเร็จรูป 3.54%
ส่วนดัชนีราคาหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 1.53% ตามการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร 2.46% หมวดเคหสถาน 1.15% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล 0.56% หมวดบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา 0.79% หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า 0.25%
“เงินเฟ้อเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่หลายสำนักได้ประเมินไว้ ต่อไปให้ยึดพาณิชย์เป็นหลัก เพราะเป็นหน่วยงานที่ทำตัวเลขเงินเฟ้อ ของคนอื่นทายผิดมาก และปีนี้ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง เป้าทั้งปี 3.2-3.7% จะเป็นไปตามที่ทำนายไว้”นายยรรยงกล่าว
สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่หักสินค้ากลุ่มอาหารสด และกลุ่มพลังงานออกไป เท่ากับ 104.83 เมื่อเทียบกับเดือนก.พ.ที่ผ่านมา สูงขึ้น 0.28% เทียบกับมี.ค.2553 สูงขึ้น 1.62% และเฉลี่ย 3 เดือน สูงขึ้น 1.46%
นายยรรยงกล่าวว่า แนวโน้มเงินเฟ้อในไตรมาสที่ 2 คาดว่าจะขยายตัวเฉลี่ยที่ 3.45% โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ราคาสินค้าปรับเพิ่มสูงขึ้น มาจากราคาพลังงาน ที่ขณะนี้เหตุการณ์ในตะวันออกกลางยังมีปัญหาอยู่ ปัญหาภัยธรรมชาติ ที่มีผลต่อราคาสินค้าเกษตร เช่น กุ้ง ปาล์ม ยาง ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น จะกระทบต่อการปรับขึ้นราคาสินค้าปุ๋ยเคมี เหล็ก นม และน้ำมันถั่วเหลือง รวมไปถึงการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่จะมีผลกระทบต่อเงินเฟ้อ 0.063%.