ASTVผู้จัดการรายวัน-สินค้าแพง น้ำมันขึ้น ดันเงินเฟ้อเดือนม.ค.พุ่ง 3.03% แต่ยังต่ำกว่าที่หลายสำนักประเมินไว้ "ยรรยง"ยอมรับน้ำมันพืช ไข่ไก่ มะขามเปียกราคาพุ่งจริง มั่นใจทั้งปีคุมอยู่ 3.2-3.7%
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนม.ค.2554 ที่สำรวจจากราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 417 รายการเท่ากับ 109.51 เพิ่มขึ้น 3.03% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2553 และเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2553 เพิ่มขึ้น 0.54% เป็นการเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่สำนักงานเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินเอาไว้ เป็นสะท้อนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ประกอบกับรัฐบาลมีการขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้ค่าครองชีพไม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนม.ค.2554 เพิ่มขึ้น 3.03% มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 5.94% ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งเพิ่มขึ้น 6.28% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 3.84% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 3.61% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 22.78% เครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้น 8.02% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 1.04% อาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 2.34% ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.34% ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้น 2.09% เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงขึ้น หมวดเคหะสถานเพิ่มขึ้น 1.10% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.49% หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา เพิ่มขึ้น 0.7% และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเพิ่มขึ้น 0.18
สำหรับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2553 มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.07% ได้แก่ ข้าวสารเจ้าเพิ่มขึ้น 0.17% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 4.77% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 0.16% เนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 0.12% ไก่สดเพิ่มขึ้น 2.18% เครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้น 2.62% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 0.25% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 0.23% ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 2.39% ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทำความสะอาดเพิ่มขึ้น 1.02% ส่วนสินค้าราคาลดลง ได้แก่ ค่าไฟฟ้าลด 1.85% เป็นผลจากการไฟฟ้านครหลวงปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ลง 5.67 สตางค์ต่อหน่วย และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ลด 0.01%
"สินค้าที่มีปัญหาราคาสูงในเดือนม.ค.2554 ได้แก่ ไข่ไก่ เบอร์ 2 เพิ่มจากเดือนธ.ค.2553 ฟองละ 2.50-3 บาท เป็น 3-3.50 บาท หรือเพิ่ม 13.88% น้ำมันปาล์มขวด 1 ลิตร เพิ่มจาก 35-37 บาท เป็น 45-58 บาท หรือเพิ่ม 13.58% น้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มจาก 40-46 บาท เป็น 41-50 บาท หรือเพิ่ม 13.58% รวมถึงมะขามเปียกเพิ่มจากกก.ละ 80-90 บาท เป็นกก.ละ 100-120 บาท เป็นราคาที่แพงสุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย"นายยรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินเฟ้อยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ได้แก่ สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าเงินบาทที่ผันผวน รวมถึงราคาสินค้าที่มีโอกาสปรับราคาขึ้น แต่ยังมั่นใจว่าทั้งปีจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2-3.7% ภายใต้สมมติฐาน น้ำมันดิบดูไบ 78-88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 28-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เฉลี่ย 31.87 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และรัฐบาลออกมาตรการดูแลค่าครองชีพ
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (เงินเฟ้อ) ประจำเดือนม.ค.2554 ที่สำรวจจากราคาสินค้าและบริการทั่วประเทศ 417 รายการเท่ากับ 109.51 เพิ่มขึ้น 3.03% เมื่อเทียบกับเดือนม.ค.2553 และเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2553 เพิ่มขึ้น 0.54% เป็นการเพิ่มขึ้นต่ำกว่าที่สำนักงานเศรษฐกิจหลายแห่งประเมินเอาไว้ เป็นสะท้อนถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ ประกอบกับรัฐบาลมีการขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ และดูแลราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด ทำให้ค่าครองชีพไม่เพิ่มขึ้นมากเกินไป
สาเหตุที่เงินเฟ้อเดือนม.ค.2554 เพิ่มขึ้น 3.03% มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 5.94% ได้แก่ ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งเพิ่มขึ้น 6.28% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น 3.84% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 3.61% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 22.78% เครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้น 8.02% เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 1.04% อาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 2.34% ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.34% ได้แก่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารเพิ่มขึ้น 2.09% เพราะน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงขึ้น หมวดเคหะสถานเพิ่มขึ้น 1.10% หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น 0.49% หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษา และการศาสนา เพิ่มขึ้น 0.7% และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าเพิ่มขึ้น 0.18
สำหรับเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.2553 มาจากดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น 1.07% ได้แก่ ข้าวสารเจ้าเพิ่มขึ้น 0.17% ผักและผลไม้เพิ่มขึ้น 4.77% ไข่และผลิตภัณฑ์นมเพิ่มขึ้น 0.16% เนื้อสุกรเพิ่มขึ้น 0.12% ไก่สดเพิ่มขึ้น 2.18% เครื่องประกอบอาหารเพิ่มขึ้น 2.62% และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น 0.25% ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้น 0.23% ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 2.39% ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับทำความสะอาดเพิ่มขึ้น 1.02% ส่วนสินค้าราคาลดลง ได้แก่ ค่าไฟฟ้าลด 1.85% เป็นผลจากการไฟฟ้านครหลวงปรับค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) ลง 5.67 สตางค์ต่อหน่วย และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ลด 0.01%
"สินค้าที่มีปัญหาราคาสูงในเดือนม.ค.2554 ได้แก่ ไข่ไก่ เบอร์ 2 เพิ่มจากเดือนธ.ค.2553 ฟองละ 2.50-3 บาท เป็น 3-3.50 บาท หรือเพิ่ม 13.88% น้ำมันปาล์มขวด 1 ลิตร เพิ่มจาก 35-37 บาท เป็น 45-58 บาท หรือเพิ่ม 13.58% น้ำมันถั่วเหลืองเพิ่มจาก 40-46 บาท เป็น 41-50 บาท หรือเพิ่ม 13.58% รวมถึงมะขามเปียกเพิ่มจากกก.ละ 80-90 บาท เป็นกก.ละ 100-120 บาท เป็นราคาที่แพงสุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย"นายยรรยงกล่าว
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มเงินเฟ้อยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ได้แก่ สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบตลาดโลก ค่าเงินบาทที่ผันผวน รวมถึงราคาสินค้าที่มีโอกาสปรับราคาขึ้น แต่ยังมั่นใจว่าทั้งปีจะเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.2-3.7% ภายใต้สมมติฐาน น้ำมันดิบดูไบ 78-88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล อัตราแลกเปลี่ยน 28-33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เฉลี่ย 31.87 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และรัฐบาลออกมาตรการดูแลค่าครองชีพ