ASTVผู้จัดการรายวัน – สสปน.เตรียมรับมือ ผลกระทบจากภัยพิบัติ ญี่ปุ่น และน้ำท่วมภาคใต้ สั่งทบทวนแผนกระชับโรดโชว์เร็วขึ้นฟื้นภาคใต้ทันที่ที่น้ำลด ฟากทิก้า หวั่น ไทยสูญตลาดญี่ปุ่น 6 พันล้านบาทปีนี้
นาย อรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น และในประเทศไทย มีผลกระทบต่อตลาดไมซ์แน่นอน แต่ยังประเมินความเสียหายไม่ได้ แต่เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมหาแนวทางรับมือ โดยแบ่งการทำงานได้ใน 2 แนวทาง
ด้านตลาดต่างประเทศ ผลจากการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในประเทศญี่ปุ่น และความเสียหายจากสึนามิ ทำให้กรุ๊ปสัมมนาจากญี่ปุ่นยกเลิกการเดินทางมาประเทศไทยบ้างแล้ว เช่น กรุ๊ปอินเซนทีฟ ของผู้บริหารระดับสูง บริษัท คูโบต้า ก็ยกเลิกเดินทางแล้ว จึงมีผลให้นักท่องเที่ยวไมซ์จากญี่ปุ่นช่วงนี้ชะลอตัว
“จากที่โรดโชวไปญี่ปุ่นเมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา ผลตอบรับดี ญี่ปุ่นจะจัดทริปมาประเทศไทย หลังจากที่ชะลอตัวไป 2 ปี เพราะการเมืองของไทย แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติสึนามิ ก็เชื่อว่าตลาดญี่ปุ่นปีนี้ก็คงทรงตัว หรือลดลงได้ จากปีก่อนที่ตลาดไมซ์จากญี่ปุ่นมาประเทศไทยราว 4 หมื่นคน ซึ่ง สสปน. คงต้องมองตลาดทดแทน เข้ามาเสริม เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และ จีน”
ด้านตลาดในประเทศ ผลจากอุทกภัยในภาคใต้ กระทบตลาดโดเมสติกไมซ์ เช่น น้ำท่วมที่ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นเดสติเนชั่นของกลุ่ม คอปอเรทและกรุ๊ปสัมมนาหน่วยงานราชการ และ น้ำท่วม กระบี่ ภูเก็ต เกาะสมุย ซึ่งเป็นพรีเมียมเดสติเนชั่น รองรับตลาดต่างประเทศ ก็ต้องชะลอตัวไปด้วย
ล่าสุด มอบหมายให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ของสสปน. รวมถึงฝ่ายโดเมสติกไมซ์ เร่งสำรวจและประเมินสถานการณ์ โดยปรับแผนเท่าที่จะทำได้ ให้ธุรกิจไมซ์ พร้อมเข้าพื้นที่ทันทีภายหลังน้ำลด เพื่อให้ธุรกิจนี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ได้อย่ารวดเร็วที่สุด
นายจิรุตต์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ ดูแลโดเมสติกไมซ์ กล่าวว่า ได้ปรับกำหนดการโรดโชว์ในพื้นที่ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดว่า ในเดือนมิ.ย.ศกนี้ โดยจะนำผู้ประกอบการ บริษัท ห้างร้าน ที่เป็นสมาชิกของ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดเป็นแฟมทริป ลงพื้นที่ เยี่ยมชมสถานที่ พบผู้ประกอบการเพื่อชมสินค้าท่องเที่ยวและบริการในท้องถิ่น
“สสปน. ต้องปรับแผนการทำงาน ให้โดเมสติกไมซ์ เข้ามาช่วยให้ภาพรวมธุรกิจไมซ์เดินหน้าต่อไปได้ การเร่งแผนโรดโชว์ให้เร็วขึ้นก็เพื่อกระตุ้นให้ บริษัทห้างร้าน เข้าไปจัดประชุมสัมมนาได้เร็ว ทันช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ ขณะที่
สสปน. อาจต้องเพิ่มอินเซ็นทีฟแก่บริษัทที่เข้าไปจัดงานในพื้นที่ประสบภัย จากเดิม ได้จัดเลี้ยงอาหาร และจัดจ้างผู้ทรงคุณวุฒิไปร่วมเป็นวิทยากร” นายจิรุตต์ กล่าว
นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า กล่าวว่า ผลจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทั้งในญี่ปุ่น และในประเทศไทย จะกระทบต่อธุรกิจจัดประชุมสัมมนาของไทย เพราะในระยะยาว 6-12 เดือน จากนี้ เมื่อญี่ปุ่นเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จบสิ้น เชื่อว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ไปลงทุนในประเทศต่างๆ จะ
มุ่งไปจัดประชุมสัมมนาที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศแม่ ขณะที่บริษัทที่ตั้งในญี่ปุ่นเองก็เดินทางจัดประชุมภายในประเทศเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทย กรุ๊ปประชุมสัมมนาที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น คิดเป็น 25% ของตลาดประชุมสัมมนารวมคิดเป็นมูลค่าราว 6 พันล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ตลาดกลุ่มนี้จะหายไป โดยปัจจุบันรายได้จากการประชุม สัมนาและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลนี้คิดเป็น 40% ของมูลค่าไมซ์รวม 5 หมื่นล้านบาท จากนักเดินทาง 7.2 แสนคน
อย่างไรก็ตาม สมาคม ได้เตรียมแผนกระตุ้นตลาดประชุมสัมมนา เพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน โดยจะร่วมกับ การบินไทย ททท. สสปน. จัดแฟมทริป ครั้งแรก โดยมี 4 ประเทศเป้าหมายที่จะเชิญมาชมสินค้าและบริการของไทย ได้แก่ แฟมทริปสิงคโปร์ จัดช่วงเดือนพ.ค. เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กร,ประเทศออสเตรเลีย เดือนมิ.ย.เจาะกลุ่ม อินเซนทีฟทัวร์
,ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนก.ย. และเกาหลีในเดือนต.ค.
นาย อรรคพล สรสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า ผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่น และในประเทศไทย มีผลกระทบต่อตลาดไมซ์แน่นอน แต่ยังประเมินความเสียหายไม่ได้ แต่เฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมหาแนวทางรับมือ โดยแบ่งการทำงานได้ใน 2 แนวทาง
ด้านตลาดต่างประเทศ ผลจากการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีในประเทศญี่ปุ่น และความเสียหายจากสึนามิ ทำให้กรุ๊ปสัมมนาจากญี่ปุ่นยกเลิกการเดินทางมาประเทศไทยบ้างแล้ว เช่น กรุ๊ปอินเซนทีฟ ของผู้บริหารระดับสูง บริษัท คูโบต้า ก็ยกเลิกเดินทางแล้ว จึงมีผลให้นักท่องเที่ยวไมซ์จากญี่ปุ่นช่วงนี้ชะลอตัว
“จากที่โรดโชวไปญี่ปุ่นเมื่อ ก.พ.ที่ผ่านมา ผลตอบรับดี ญี่ปุ่นจะจัดทริปมาประเทศไทย หลังจากที่ชะลอตัวไป 2 ปี เพราะการเมืองของไทย แต่เมื่อเกิดภัยพิบัติสึนามิ ก็เชื่อว่าตลาดญี่ปุ่นปีนี้ก็คงทรงตัว หรือลดลงได้ จากปีก่อนที่ตลาดไมซ์จากญี่ปุ่นมาประเทศไทยราว 4 หมื่นคน ซึ่ง สสปน. คงต้องมองตลาดทดแทน เข้ามาเสริม เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และ จีน”
ด้านตลาดในประเทศ ผลจากอุทกภัยในภาคใต้ กระทบตลาดโดเมสติกไมซ์ เช่น น้ำท่วมที่ สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นเดสติเนชั่นของกลุ่ม คอปอเรทและกรุ๊ปสัมมนาหน่วยงานราชการ และ น้ำท่วม กระบี่ ภูเก็ต เกาะสมุย ซึ่งเป็นพรีเมียมเดสติเนชั่น รองรับตลาดต่างประเทศ ก็ต้องชะลอตัวไปด้วย
ล่าสุด มอบหมายให้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ของสสปน. รวมถึงฝ่ายโดเมสติกไมซ์ เร่งสำรวจและประเมินสถานการณ์ โดยปรับแผนเท่าที่จะทำได้ ให้ธุรกิจไมซ์ พร้อมเข้าพื้นที่ทันทีภายหลังน้ำลด เพื่อให้ธุรกิจนี้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ได้อย่ารวดเร็วที่สุด
นายจิรุตต์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารรัฐกิจวิสาหกิจ ดูแลโดเมสติกไมซ์ กล่าวว่า ได้ปรับกำหนดการโรดโชว์ในพื้นที่ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี เกาะสมุย ให้เร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดว่า ในเดือนมิ.ย.ศกนี้ โดยจะนำผู้ประกอบการ บริษัท ห้างร้าน ที่เป็นสมาชิกของ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย และบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดเป็นแฟมทริป ลงพื้นที่ เยี่ยมชมสถานที่ พบผู้ประกอบการเพื่อชมสินค้าท่องเที่ยวและบริการในท้องถิ่น
“สสปน. ต้องปรับแผนการทำงาน ให้โดเมสติกไมซ์ เข้ามาช่วยให้ภาพรวมธุรกิจไมซ์เดินหน้าต่อไปได้ การเร่งแผนโรดโชว์ให้เร็วขึ้นก็เพื่อกระตุ้นให้ บริษัทห้างร้าน เข้าไปจัดประชุมสัมมนาได้เร็ว ทันช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ ขณะที่
สสปน. อาจต้องเพิ่มอินเซ็นทีฟแก่บริษัทที่เข้าไปจัดงานในพื้นที่ประสบภัย จากเดิม ได้จัดเลี้ยงอาหาร และจัดจ้างผู้ทรงคุณวุฒิไปร่วมเป็นวิทยากร” นายจิรุตต์ กล่าว
นายสุเมธ สุทัศน์ ณ อยุธยา นายกสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ(ไทย) หรือ ทิก้า กล่าวว่า ผลจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ทั้งในญี่ปุ่น และในประเทศไทย จะกระทบต่อธุรกิจจัดประชุมสัมมนาของไทย เพราะในระยะยาว 6-12 เดือน จากนี้ เมื่อญี่ปุ่นเคลียร์ปัญหาที่เกิดขึ้นได้จบสิ้น เชื่อว่า บริษัทญี่ปุ่นที่ไปลงทุนในประเทศต่างๆ จะ
มุ่งไปจัดประชุมสัมมนาที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศแม่ ขณะที่บริษัทที่ตั้งในญี่ปุ่นเองก็เดินทางจัดประชุมภายในประเทศเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำหรับประเทศไทย กรุ๊ปประชุมสัมมนาที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น คิดเป็น 25% ของตลาดประชุมสัมมนารวมคิดเป็นมูลค่าราว 6 พันล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ตลาดกลุ่มนี้จะหายไป โดยปัจจุบันรายได้จากการประชุม สัมนาและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลนี้คิดเป็น 40% ของมูลค่าไมซ์รวม 5 หมื่นล้านบาท จากนักเดินทาง 7.2 แสนคน
อย่างไรก็ตาม สมาคม ได้เตรียมแผนกระตุ้นตลาดประชุมสัมมนา เพื่อรองรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นเช่นกัน โดยจะร่วมกับ การบินไทย ททท. สสปน. จัดแฟมทริป ครั้งแรก โดยมี 4 ประเทศเป้าหมายที่จะเชิญมาชมสินค้าและบริการของไทย ได้แก่ แฟมทริปสิงคโปร์ จัดช่วงเดือนพ.ค. เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กร,ประเทศออสเตรเลีย เดือนมิ.ย.เจาะกลุ่ม อินเซนทีฟทัวร์
,ประเทศสหรัฐอเมริกาในเดือนก.ย. และเกาหลีในเดือนต.ค.