ASTVผู้จัดการรายวัน - บสก.เดินหน้าแปรรูบองค์กรเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ หลังที่ปรึกษาแนะเพิ่มบริหารความเสี่ยง ไอที การบริหารเงินคาดแล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จากนั้นเสนอกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณาต่อคาดต้นปี 56 ได้ข้อสรุป ด้านแผนปี 54 ลุยซื้อหนี้หวังเพิ่มพอร์ตสินทรัพย์บริหาร ตั้งเป้ารายได้ 12,000 ล้านบาท เผยถึง 21 มี.ค.กวาดรายได้แล้ว 3,111 ล้านบาท เร่งสำรวจลูกค้าภาคใต้ ก่อนอัดมาตรการช่วยเหลือเต็มที่
นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยถึงแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ภายหลังจากที่บสก.ได้ว่าจ้างให้บริษัทหลักทรัพย์ทรินิตี้ เข้าศึกษาบริษัทเพื่อปรับองค์กรให้เหมาะสมต่อการเป็นองค์กรมหาชน แม้ว่าคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และดูแลตลาดหหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเห็นชอบแล้วก็ตาม โดยที่ปรึกษาพบว่า บสก.ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องระบบไอที การบริหารความเสี่ยง การบริหารเงินและความต่อเนื่องของธุรกิจ
ทั้งนี้ บสก.ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว โดยลงทุนวางเทคโนโลยีระบบMIS ซึ่งเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลภาพรวมของบริษัทเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและแวงแผนงาน ส่วนการบริหารเงินและบริหารความเสี่ยงนั้นได้เปิดรับผู้บริหารด้านการเงินหรือ CFO = Chief Financial Officer เพื่อเข้ามาดูแลในด้านการเงินโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้เปิดรับสมัครบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ FA อีกด้วยโดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการทุกอย่างให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
นอกจากการปรับองค์กรแล้ว บสก.ยังได้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจได้อีก 4 ประเภท ได้แก่ 1.การประเมินทรัพย์สิน, 2.รับจ้างบริหารสินทรัพย์, 3.ร่วมทุนเอกชันพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และ 4.สามารถจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ หากธปท.อนุมัติบสก.ก็จะมีช่องทางในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามธปท.รับปากว่าจะขอไปดูกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่ และหากใช้วิธีแก้กฎหมายต้องกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) แห่งอื่นปฏิบัติตามหรือไม่
อย่างไรก็ตามไม่ว่าธปท. จะอนุมัติในเรื่องดังกล่าวหรือไม่นั้น การดำเนินธุรกิจปัจจุบันของ บสก.มีความสามารถที่จะนำบริษัทเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพราะคณะกรรมการกำกับและดูแลตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เห็นชอบแล้ว รอเพียงเสนอกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย โดยคาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในไตรมาส 1 -2 / 2555
สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ มีแผนเพิ่มขนาดสินทรัพย์ ด้วยการรับซื้อ NPL และ NPA จากสถาบันการเงินเข้ามาบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมเข้าซื้อสินทรัพย์จากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ซึ่งจะปิดตัวลงในปีนี้ ในเบื้องต้นจะซื้อในส่วนหนี้ที่โอนไปจาก บสก. ประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ก้อนอื่นนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้รายเดิมจะพิจารณาให้บสก.รับไปบริหารหรือจะให้ AMC อื่นไปบริหาร นอกจากนั้น บสก. มีแผนขยายเครือข่ายสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ในห้างสรรพสินค้าอีก 1 แห่งด้านฝั่งธนบุรี
“บสก.มีความพร้อมในการซื้อสินทรัพย์จากสถาบันการเงินแห่งอื่นมาบริหาร โดยมีกระแสเงินสดเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีเครติดไลน์กับสถาบันการเงินอีกหลายแห่ง ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นบสก.ยึดตามธนาคารใหญ่ 5 แห่งอยู่แล้วซึ่งจะปรับขึ้นหรือลงตามตลาด” นายสุเมธกล่าว
กวาดรายได้แล้ว3,111ล้าน
สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม - 21 มีนาคม 2554 มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,111.29 ล้านบาท คิดเป็น 124.45% จากเป้าหมาย 2,500 ล้านบาท โดยคาดว่าทั้งปีจะสามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมาย 12,000 ล้านบาท
ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2553 บสก. มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์ 12,846 ล้านบาท คิดเป็น 107% ของเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้ 11,963 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 2,602 ล้านบาท สามารถซื้อเอ็นพีเอและเอ็นพีแลจากสถาบันการเงินเข้ามาบริหาร 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบัน บสก. มี NPL อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 44,647 ราย คิดเป็นมูลค่า 234,322 ล้านบาท ขณะที่มีทรัพย์สินรอการขาย NPA จำนวน 14,490 รายการ คิดเป็นมูลค่า 37,695 ล้านบาท
เร่งสำรวจลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า สำหรับอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ของไทย ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจว่ามีลูกค้าของบสก.ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าวกี่ราย ส่วนแนวทางความช่วยเหลือจะพิจารณาเป็นกรณีขึ้นอยู่กับความเดือนร้อนที่ลูกค้าได้รับและความสามารถที่มีในปัจจุบัน อาทิ การพักชำระหนี้เป็นเวลา 3, 6, หรือ 12 เดือน, ลดดอกเบี้ย, ลดวงเงินผ่อนชำระ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น
นายสุเมธ มณีวัฒนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (บสก.) เปิดเผยถึงแผนการนำบริษัทเข้าจดทะเบียนซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ภายหลังจากที่บสก.ได้ว่าจ้างให้บริษัทหลักทรัพย์ทรินิตี้ เข้าศึกษาบริษัทเพื่อปรับองค์กรให้เหมาะสมต่อการเป็นองค์กรมหาชน แม้ว่าคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และดูแลตลาดหหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะเห็นชอบแล้วก็ตาม โดยที่ปรึกษาพบว่า บสก.ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องระบบไอที การบริหารความเสี่ยง การบริหารเงินและความต่อเนื่องของธุรกิจ
ทั้งนี้ บสก.ได้ดำเนินการแก้ไขแล้ว โดยลงทุนวางเทคโนโลยีระบบMIS ซึ่งเป็นระบบที่ผู้บริหารสามารถเรียกดูข้อมูลภาพรวมของบริษัทเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการและแวงแผนงาน ส่วนการบริหารเงินและบริหารความเสี่ยงนั้นได้เปิดรับผู้บริหารด้านการเงินหรือ CFO = Chief Financial Officer เพื่อเข้ามาดูแลในด้านการเงินโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังได้เปิดรับสมัครบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน หรือ FA อีกด้วยโดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการทุกอย่างให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน
นอกจากการปรับองค์กรแล้ว บสก.ยังได้เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำธุรกิจได้อีก 4 ประเภท ได้แก่ 1.การประเมินทรัพย์สิน, 2.รับจ้างบริหารสินทรัพย์, 3.ร่วมทุนเอกชันพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์และ 4.สามารถจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์ได้ หากธปท.อนุมัติบสก.ก็จะมีช่องทางในการหารายได้เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามธปท.รับปากว่าจะขอไปดูกฎหมายว่าสามารถทำได้หรือไม่ และหากใช้วิธีแก้กฎหมายต้องกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) แห่งอื่นปฏิบัติตามหรือไม่
อย่างไรก็ตามไม่ว่าธปท. จะอนุมัติในเรื่องดังกล่าวหรือไม่นั้น การดำเนินธุรกิจปัจจุบันของ บสก.มีความสามารถที่จะนำบริษัทเข้าซื้อ-ขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ เพราะคณะกรรมการกำกับและดูแลตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เห็นชอบแล้ว รอเพียงเสนอกองทุนฟื้นฟูฯพิจารณาเป็นครั้งสุดท้าย โดยคาดว่าจะสามารถสรุปได้ภายในไตรมาส 1 -2 / 2555
สำหรับแผนการดำเนินงานในปีนี้ มีแผนเพิ่มขนาดสินทรัพย์ ด้วยการรับซื้อ NPL และ NPA จากสถาบันการเงินเข้ามาบริหารจัดการ รวมทั้งการเตรียมเข้าซื้อสินทรัพย์จากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) ซึ่งจะปิดตัวลงในปีนี้ ในเบื้องต้นจะซื้อในส่วนหนี้ที่โอนไปจาก บสก. ประมาณ 10,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ก้อนอื่นนั้นขึ้นอยู่กับเจ้าหนี้รายเดิมจะพิจารณาให้บสก.รับไปบริหารหรือจะให้ AMC อื่นไปบริหาร นอกจากนั้น บสก. มีแผนขยายเครือข่ายสาขาเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ในห้างสรรพสินค้าอีก 1 แห่งด้านฝั่งธนบุรี
“บสก.มีความพร้อมในการซื้อสินทรัพย์จากสถาบันการเงินแห่งอื่นมาบริหาร โดยมีกระแสเงินสดเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีเครติดไลน์กับสถาบันการเงินอีกหลายแห่ง ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นบสก.ยึดตามธนาคารใหญ่ 5 แห่งอยู่แล้วซึ่งจะปรับขึ้นหรือลงตามตลาด” นายสุเมธกล่าว
กวาดรายได้แล้ว3,111ล้าน
สำหรับผลการดำเนินงานตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม - 21 มีนาคม 2554 มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์รวมทั้งสิ้น 3,111.29 ล้านบาท คิดเป็น 124.45% จากเป้าหมาย 2,500 ล้านบาท โดยคาดว่าทั้งปีจะสามารถทำผลงานได้ตามเป้าหมาย 12,000 ล้านบาท
ส่วนผลการดำเนินงานในปี 2553 บสก. มีรายได้จากการปรับโครงสร้างหนี้และจำหน่ายทรัพย์ 12,846 ล้านบาท คิดเป็น 107% ของเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้ 11,963 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 2,602 ล้านบาท สามารถซื้อเอ็นพีเอและเอ็นพีแลจากสถาบันการเงินเข้ามาบริหาร 20,000 ล้านบาท ส่งผลให้ปัจจุบัน บสก. มี NPL อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 44,647 ราย คิดเป็นมูลค่า 234,322 ล้านบาท ขณะที่มีทรัพย์สินรอการขาย NPA จำนวน 14,490 รายการ คิดเป็นมูลค่า 37,695 ล้านบาท
เร่งสำรวจลูกค้าประสบภัยน้ำท่วม
นายสุเมธ กล่าวต่อว่า สำหรับอุทกภัยน้ำท่วมภาคใต้ของไทย ขณะนี้ได้ให้เจ้าหน้าที่เข้าไปสำรวจว่ามีลูกค้าของบสก.ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าวกี่ราย ส่วนแนวทางความช่วยเหลือจะพิจารณาเป็นกรณีขึ้นอยู่กับความเดือนร้อนที่ลูกค้าได้รับและความสามารถที่มีในปัจจุบัน อาทิ การพักชำระหนี้เป็นเวลา 3, 6, หรือ 12 เดือน, ลดดอกเบี้ย, ลดวงเงินผ่อนชำระ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น