"มนุษยชาติ" ไม่ควรประมาทกับการรับมือภัยธรรมชาติ ในภาวะ "ดินน้ำลมไฟ" แปรปรวนยิ่งต้องมีสติในการดำเนินชีวิต ยิ่งเรื่องธุรกิจและปากท้อง "ยิ่งต้องระมัดระวัง..."
หากไม่นับหางเลขจากแผ่นดินไหวพม่าเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา วันนี้ประเทศไทยมีทั้งฝนแล้งและน้ำท่วมไปพร้อมๆ กัน "วิบูลย์ สงวนพงศ์" อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บอกขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินประเภทภัยแล้ง!! 47 จังหวัด มีทุกภาคโดยเฉพาะเหนือ 17 จังหวัด รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด ขณะเดียวกันในภาคใต้ขณะนี้มี 5 จังหวัดกลยเป็นจังหวัดภัยพิบัติ "จากน้ำท่วม!@!@!?.."
ปัญหาภัยธรรมชาติส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากอันตรายจากการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ ที่ยากในการคาดเดา ปัญหาภายในทั้งการลงทุนและบริโภคอยู่ในภาวะผันผวนยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้ให้มีความแน่นอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ "สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)" จึงเร่งจัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลังเพื่อใช้เตือนภัย "ทางด้านการคลัง!!.."
"นริศ ชัยสูตร" ในฐานะ ผอ. บอกว่าขณะนี้ได้ติดตั้งระบบเตือนภัย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับการวัดระดับความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของสถานะด้านการคลัง...
โดยจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า "วิกฤตในอดีต" ดัชนีรวมเตือนภัยทางด้านการคลัง สามารถพยากรณ์ถึงวิกฤตการคลังที่จะเกิดขึ้นในอดีต 3 เหตุการณ์ ได้ค่อนข้างแม่นยำ ได้แก่ 1) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ 1 (ช่วงปี 2519-2523) 2) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ 2 (ช่วงปี 2528-2530) และ 3) วิกฤตค่าเงิน วิกฤตสถาบันการเงิน และการรับภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) (ช่วงปี 2540-2545) ข้อเท็จจริงปรากฎว่า "ทั้ง 3 เหตุการณ์นำไปสู่การเกิดวิกฤตการคลังที่มีการขาดดุลงบประมาณ และการก่อหนี้ของรัฐบาลในระดับที่สูง..."
ภาคธุรกิจหรือแม้แต่ประชาชน ทราบแล้วเปลี่ยน! เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและบริโภคให้น้อยลง ฟันธง!...หายนะข้างหน้า ไม่น่าจะพ้น "ภัยพิบัติทางด้านราคาน้ำมัน..." 130-150 เหรียญคงไม่สูงเกินจริง สุดท้ายกระทบต้นทุนทางการเงินทั้งธุรกิจและกระเป๋าแทบทุกคน!!..
ยิ่งโลกกำลังปั่นป่วนจากสงครามในตะวันออกกลาง ลิเบีย วิกฤตกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น หรือแผ่นดินไหวในพม่า ล้วนแต่สร้างความไม่แน่นอน ความผันผวนนี่เอง กระทบต่อ "ความเชื่อมั่น" ปัจจัยหลักของระบบเศรษฐกิจ ห้ามประมาท! เด็ดขาด!!
ปิดท้ายงานสัมมนาดีๆ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น เช้าวันนี้ (27 มี.ค.) "กรณ์ จาติกวณิช" ไปกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Growth Stimulating Measures" ในงาน “Thailand Focus 2011- Enhancing Thailand’s Competitiveness Through the Next Decade” จัดโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และธนาคารแห่งอเมริกาเมอร์ริลลินช์..."ใครสนใจรีบไปฟังด่วน!?@."
หากไม่นับหางเลขจากแผ่นดินไหวพม่าเมื่อวันที่ 24 มี.ค.ที่ผ่านมา วันนี้ประเทศไทยมีทั้งฝนแล้งและน้ำท่วมไปพร้อมๆ กัน "วิบูลย์ สงวนพงศ์" อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บอกขณะนี้ประเทศไทยมีพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินประเภทภัยแล้ง!! 47 จังหวัด มีทุกภาคโดยเฉพาะเหนือ 17 จังหวัด รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 15 จังหวัด ภาคตะวันออก 7 จังหวัด ภาคกลาง 5 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด ขณะเดียวกันในภาคใต้ขณะนี้มี 5 จังหวัดกลยเป็นจังหวัดภัยพิบัติ "จากน้ำท่วม!@!@!?.."
ปัญหาภัยธรรมชาติส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ นอกจากอันตรายจากการไหลเข้าออกของเงินทุนต่างชาติ ที่ยากในการคาดเดา ปัญหาภายในทั้งการลงทุนและบริโภคอยู่ในภาวะผันผวนยิ่ง ดังนั้นเพื่อให้ให้มีความแน่นอนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ "สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)" จึงเร่งจัดตั้งระบบสัญญาณเตือนภัยทางด้านการคลังเพื่อใช้เตือนภัย "ทางด้านการคลัง!!.."
"นริศ ชัยสูตร" ในฐานะ ผอ. บอกว่าขณะนี้ได้ติดตั้งระบบเตือนภัย เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงควบคู่ไปกับการวัดระดับความแข็งแกร่งหรืออ่อนแอของสถานะด้านการคลัง...
โดยจากผลการศึกษาสรุปได้ว่า "วิกฤตในอดีต" ดัชนีรวมเตือนภัยทางด้านการคลัง สามารถพยากรณ์ถึงวิกฤตการคลังที่จะเกิดขึ้นในอดีต 3 เหตุการณ์ ได้ค่อนข้างแม่นยำ ได้แก่ 1) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ 1 (ช่วงปี 2519-2523) 2) วิกฤติการณ์ราคาน้ำมัน ครั้งที่ 2 (ช่วงปี 2528-2530) และ 3) วิกฤตค่าเงิน วิกฤตสถาบันการเงิน และการรับภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ (FIDF) (ช่วงปี 2540-2545) ข้อเท็จจริงปรากฎว่า "ทั้ง 3 เหตุการณ์นำไปสู่การเกิดวิกฤตการคลังที่มีการขาดดุลงบประมาณ และการก่อหนี้ของรัฐบาลในระดับที่สูง..."
ภาคธุรกิจหรือแม้แต่ประชาชน ทราบแล้วเปลี่ยน! เปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตและบริโภคให้น้อยลง ฟันธง!...หายนะข้างหน้า ไม่น่าจะพ้น "ภัยพิบัติทางด้านราคาน้ำมัน..." 130-150 เหรียญคงไม่สูงเกินจริง สุดท้ายกระทบต้นทุนทางการเงินทั้งธุรกิจและกระเป๋าแทบทุกคน!!..
ยิ่งโลกกำลังปั่นป่วนจากสงครามในตะวันออกกลาง ลิเบีย วิกฤตกัมมันตรังสีในญี่ปุ่น หรือแผ่นดินไหวในพม่า ล้วนแต่สร้างความไม่แน่นอน ความผันผวนนี่เอง กระทบต่อ "ความเชื่อมั่น" ปัจจัยหลักของระบบเศรษฐกิจ ห้ามประมาท! เด็ดขาด!!
ปิดท้ายงานสัมมนาดีๆ ที่โรงแรมโฟร์ซีซั่น เช้าวันนี้ (27 มี.ค.) "กรณ์ จาติกวณิช" ไปกล่าวปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “Growth Stimulating Measures" ในงาน “Thailand Focus 2011- Enhancing Thailand’s Competitiveness Through the Next Decade” จัดโดยตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และธนาคารแห่งอเมริกาเมอร์ริลลินช์..."ใครสนใจรีบไปฟังด่วน!?@."