ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท ร่วมลงนามกับเชฟรอน เพื่อบันทึกสัญญากระจายหุ้น "โรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียมฯ " เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้นปี 55 ไม่หวั่นหากต้องลดสัดส่วนการถือหุ้นลง เหตุอนาคตมีแผนลดทั้งจำนวนส่งผลต่อการถือหุ้นในธุรกิจการกลั่นไม่ถึง 40% หรือพ้นการครอบงำตลาด เผย ไทยออยล์ ไม่ได้เจรจาซื้อกิจการ ESSO ยอมรับอยู่ระหว่างศึกษาฝ่ายเดียว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการนำหุ้นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC)เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่บริษัทฯได้ร่วมลงนามกับเชฟรอนในการทำสัญญาบันทึกข้อตกลง Construction Operatin Ageement เพื่อกระจายหุ้น SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในต้นปี 55 ซึ่ง ปตท.จะลดสัดส่วนหุ้นจาก 36%เหลือ 25% เชฟรอนจาก 64%เหลือ 45% ซึ่งปตท.อาจพิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้นSPRC จาก 36%เหลือต่ำกว่า 25% หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมดในช่วงเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเลยก็ได้ เนื่องจากทางเชฟรอนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ SPRC ต้องการถือหุ้นเกิน 50% เพื่อสิทธิในการบริหารงานต่อไป ขณะที่ปตท.เองก็มีแผนจะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเหลือ 0%ในอนาคตอยู่แล้ว
ปัจจุบัน ปตท.ถือหุ้นในธุรกิจการกลั่นในไทยคิดเป็นสัดส่วน 40%ของกำลังการกลั่น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการครอบงำตลาด ดังนั้น เมื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นใน SPRC ลง ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจการกลั่นต่ำลงไปอีก ส่วนกระแสข่าวที่บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)หรือ TOP มีความสนใจซื้อกิจการบมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย)หรือ ESSO นั้น หากเป็นจริงก็ไม่ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นเกินกว่า 50%อย่างแน่นอน
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ กลุ่มปตท.มีรายได้เติบโตขึ้นจากปีก่อนไม่ต่ำกว่า 10%จากปีที่แล้วมีรายได้รวม 1.9 ล้านล้านบาท คาดว่าปีนี้รายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านล้านบาท โดยการเติบโตปีนี้ยังคงมาจากบริษัทลูกที่สามารถเดินเครื่องโรงงานใหม่ในปี 54 ทั้งบมจ.ปตท.เคมิคอลหรือ PTTCH บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นหรือPTTAR รวมถึง โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ ซึ่งปัจจุบัน รายได้จากธุรกิจดาวน์สตรีมในเครือปตท.คิดเป็น 1.3 ล้านล้านบาท
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าขณะนี้บริษัทฯไม่ได้มีการเจรจาเพื่อซื้อ ESSO แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาส เนื่องจากบริษัทฯต้องหาช่องทางในการขยายธุรกิจเพื่อให้เกิดSynergy ซึ่งมองว่า ESSO มีธุรกิจต่อเนื่องที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็อะโรเมติกส์และน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น แต่ทั้งนี้คงต้องมีการพิจารณาอย่างมิติ ทั้งภาครัฐผู้ถือหุ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนศึกษาเพียงฝ่ายเดียว และยังเร็วเกินไปที่จะสรุป
ทั้งนี้ ไทยออยล์ร่วมกับ ปตท.ได้มีการศึกษาการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องร่วมกัน ทั้งโครงการน้ำมันหล่อลื่นส่วนขยาย การขยายกองเรือฯ เพื่อให้เกิด Synergy ระหว่างกลุ่ม ปตท.ร่วมกันมากขึ้น สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/54 บริษัทฯมีรายได้และกำไรสุทธิดีกว่าไตรมาส 4/53 เนื่องจากรับรู้รายได้จากแอลพีจีมากขึ้นหลังรัฐได้ปรับราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นเพื่อจูงใจให้มีการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศมากขึ้น และค่าการกลั่น(GRM)ในขณะนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.5-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าไตรมาส 4/53 ที่GRMอยู่ที่ 4-5 เหรียญ และค่าการกลั่นรวม(GIM)เฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าปลายปีที่แล้วถึง 4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้บริษัทฯต้องบริหารจัดการเพื่อป้องกันไม่ได้เกิดปัญหาขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันหากราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงหลังสถานการณ์ในตะวันออกกลางคลี่คลายลง ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้มีการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณ 20% เพื่อรักษามาร์จินสเปรดไว้
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยความคืบหน้าการนำหุ้นโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (SPRC)เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า ตามที่บริษัทฯได้ร่วมลงนามกับเชฟรอนในการทำสัญญาบันทึกข้อตกลง Construction Operatin Ageement เพื่อกระจายหุ้น SPRC เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯในต้นปี 55 ซึ่ง ปตท.จะลดสัดส่วนหุ้นจาก 36%เหลือ 25% เชฟรอนจาก 64%เหลือ 45% ซึ่งปตท.อาจพิจารณาลดสัดส่วนการถือหุ้นSPRC จาก 36%เหลือต่ำกว่า 25% หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นทั้งหมดในช่วงเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเลยก็ได้ เนื่องจากทางเชฟรอนในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ SPRC ต้องการถือหุ้นเกิน 50% เพื่อสิทธิในการบริหารงานต่อไป ขณะที่ปตท.เองก็มีแผนจะลดสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทดังกล่าวเหลือ 0%ในอนาคตอยู่แล้ว
ปัจจุบัน ปตท.ถือหุ้นในธุรกิจการกลั่นในไทยคิดเป็นสัดส่วน 40%ของกำลังการกลั่น ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการครอบงำตลาด ดังนั้น เมื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นใน SPRC ลง ก็ยิ่งทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในธุรกิจการกลั่นต่ำลงไปอีก ส่วนกระแสข่าวที่บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)หรือ TOP มีความสนใจซื้อกิจการบมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย)หรือ ESSO นั้น หากเป็นจริงก็ไม่ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นในโรงกลั่นเกินกว่า 50%อย่างแน่นอน
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ปีนี้ กลุ่มปตท.มีรายได้เติบโตขึ้นจากปีก่อนไม่ต่ำกว่า 10%จากปีที่แล้วมีรายได้รวม 1.9 ล้านล้านบาท คาดว่าปีนี้รายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านล้านบาท โดยการเติบโตปีนี้ยังคงมาจากบริษัทลูกที่สามารถเดินเครื่องโรงงานใหม่ในปี 54 ทั้งบมจ.ปตท.เคมิคอลหรือ PTTCH บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่นหรือPTTAR รวมถึง โรงแยกก๊าซฯหน่วยที่ 6สามารถเดินเครื่องได้เต็มที่ ซึ่งปัจจุบัน รายได้จากธุรกิจดาวน์สตรีมในเครือปตท.คิดเป็น 1.3 ล้านล้านบาท
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าขณะนี้บริษัทฯไม่ได้มีการเจรจาเพื่อซื้อ ESSO แต่ก็ไม่ได้ปิดโอกาส เนื่องจากบริษัทฯต้องหาช่องทางในการขยายธุรกิจเพื่อให้เกิดSynergy ซึ่งมองว่า ESSO มีธุรกิจต่อเนื่องที่น่าสนใจไม่ว่าจะเป็อะโรเมติกส์และน้ำมันหล่อลื่น เป็นต้น แต่ทั้งนี้คงต้องมีการพิจารณาอย่างมิติ ทั้งภาครัฐผู้ถือหุ้นและผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนศึกษาเพียงฝ่ายเดียว และยังเร็วเกินไปที่จะสรุป
ทั้งนี้ ไทยออยล์ร่วมกับ ปตท.ได้มีการศึกษาการลงทุนธุรกิจต่อเนื่องร่วมกัน ทั้งโครงการน้ำมันหล่อลื่นส่วนขยาย การขยายกองเรือฯ เพื่อให้เกิด Synergy ระหว่างกลุ่ม ปตท.ร่วมกันมากขึ้น สำหรับผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/54 บริษัทฯมีรายได้และกำไรสุทธิดีกว่าไตรมาส 4/53 เนื่องจากรับรู้รายได้จากแอลพีจีมากขึ้นหลังรัฐได้ปรับราคาแอลพีจีหน้าโรงกลั่นเพื่อจูงใจให้มีการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศมากขึ้น และค่าการกลั่น(GRM)ในขณะนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 7.5-8 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าไตรมาส 4/53 ที่GRMอยู่ที่ 4-5 เหรียญ และค่าการกลั่นรวม(GIM)เฉลี่ยขณะนี้อยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล สูงกว่าปลายปีที่แล้วถึง 4 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นทำให้บริษัทฯต้องบริหารจัดการเพื่อป้องกันไม่ได้เกิดปัญหาขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันหากราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลงหลังสถานการณ์ในตะวันออกกลางคลี่คลายลง ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯได้มีการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมันประมาณ 20% เพื่อรักษามาร์จินสเปรดไว้