ผู้ว่าแบงก์ชาติหนักใจเงินทุนโลกผันผวนจากแรงเก็งกำไร ทุกประเทศหาทางรับมือความเสี่ยงที่ก่อตัวเพิ่มขึ้นหลังราคาน้ำมันโลกพุ่ง และหากญี่ปุ่นแก้ผลกระทบนิวเคลียร์ไม่ได้ เศรษฐกิจสหรัฐ-ยุโรปอาจกลับไปถดถอยอีกรอบ ส่วนจีดีพีไทยยังอยู่ในระดับ 3-5% กำลังซื้อยังดี แม้ภายสิ้นปีดอกเบี้ยจะขยับเท่าเงินเฟ้อ!!
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปาฐกถาหัวข้อ”การดำเนินนโยบายการเงินของไทยภายใต้สภาพคล่องโลกที่ผันผวน”ภายในงานไทยแลนด์โฟกัส 2011 ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ขณะนี้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกไม่มาก แต่ประเด็นสำคัญ คือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนมีความผันผวนค่อนข้างมาก
เนื่องจากต้องการหาแหล่งลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด ทำให้นักลงทุนพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ตลอดเวลา จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงิน
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลกมีเรื่องใหญ่ๆ คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหากมีปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลานานก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอาจผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาการว่างงานสูงและการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังไม่เต็มที่นัก อีกทั้งยังใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่ ฉะนั้น หากราคาน้ำมันราคาสูงขึ้นอาจมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อตามมาด้วย ทำให้อาจเกิดภาวะเงินฝืดหรือเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ จึงต้องจับตามนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปต่อไป
สำหรับปัญหาภัยพิบัติและแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นนั้น มองว่าจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะสั้น โดยคาดว่าอาจส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจจนถึงขั้นติบลบในไตรมาสที่ 2 และในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งจากมาตรการฟื้นฟูต่างๆ ส่วนปัญหาการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และการแพร่กระจายของกัมมันตรังสีก็ต้องติดตามดูว่าจะบริหารจัดการได้แค่ไหน ซึ่งหากยังจัดการไม่ได้อาจสร้างอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ และเป็นตัวฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกได้
“ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อไทยมาโดยตลอด มองว่าในระยะสั้นธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกหรือนำเข้าอะไหล่บ้าง ขณะที่ในแง่ของการลงทุนจากการสอบถามตัวแทนนักธุรกิจญี่ปุ่น พบว่า ยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ซื้อที่ดินมาตั้งเป็นโรงงาน แต่ในระยะยาวต้องติดตามดูต่อไป”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยมีกำลังซื้อจากอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่มาก แต่เห็นชัดว่าความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจน้อยลงกว่า 2 ปีที่ผ่านมามาก โดยแนวนโยบายการเงินของธปท.จะก้าวสู่ความสมดุลและเป็นกลาง คือ ไม่ผ่อนคลายเกินไป แต่ไม่ได้เข้มงวดจนเกินไป โดยมีเป้าหมายที่จะฉุดรั้งการคาดการณ์เงิน เฟ้อของประชาชนให้ลดลง เพราะการที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ในช่วงแรกกำลังซื้ออาจจะลดลง แต่ถ้ายังมีการคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะสูงต่อ จะมีการเร่งซื้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกเป็นรอบที่ 2 ได้
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต่อไปยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดให้มากกว่า 0.25% แต่เป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีเป้าหมายแน่นอนที่จะสร้างความสมดุลทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจและดูแลเงินเฟ้อให้เท่าๆกัน ซึ่งหากมองจะผลิตภาพโดยรวมของประเทศในขณะนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวกลับมาสู่ระดับปกติ หรือเหมาะสมกับศักยภาพของประเทศที่มีในช่วงกลางปี หรือครึ่งปีหลัง ดังนั้น ภายในปลายปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ควรไปอยู่ในระดับสมดุลกับอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงควรจะอยู่ใกล้ๆ กับเขตแดนบวก หรือเป็นบวก ซึ่งจะช่วยสร้างความสมดดุลของผู้ออมและผู้ใช้เงิน แต่ไม่อยากจะบอกตัวเลขว่า ดอกเบี้ยจะต้องขึ้นไปอีกเท่าไร เพราะไม่ต้องการให้มีการเก็งหรือคาดการณ์ไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 3-5%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง ติดลบที่ประมาณ 0.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงสิ้นเดือน ก.พ.ติดลบ 1.64% ขณะที่ธปท.คาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้ไว้ที่ 2-3%
***กรณ์ชี้ต่างชาติห่วงปัญหาเงินเฟ้อ
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการพบปะกับนักลงทุนสถาบันต่างประเทศในงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศสอบถามเข้ามาค่อนข้างมากส่วนใหญ่เป็นเรื่องเงินเฟ้อ และเป้าหมายการดำเนินงานของรัฐบาลในระยะยาว ซึ่งในส่วนของเงินเฟ้อนั้น ได้ชี้แจงไปว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ธปท.ดูแลอยู่ แต่ในส่วนของกระทรวงการคลังก็จะดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรับโครงสร้างภาษีเข้ามาช่วยด้วย.
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ปาฐกถาหัวข้อ”การดำเนินนโยบายการเงินของไทยภายใต้สภาพคล่องโลกที่ผันผวน”ภายในงานไทยแลนด์โฟกัส 2011 ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ขณะนี้สภาพคล่องในตลาดการเงินโลกไม่มาก แต่ประเด็นสำคัญ คือ การเคลื่อนย้ายเงินทุนของนักลงทุนมีความผันผวนค่อนข้างมาก
เนื่องจากต้องการหาแหล่งลงทุนที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุด ทำให้นักลงทุนพร้อมที่จะเคลื่อนย้ายเงินทุนได้ตลอดเวลา จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงิน
ปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการขยายตัวเศรษฐกิจโลกมีเรื่องใหญ่ๆ คือ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งหากมีปรับตัวสูงขึ้นเป็นเวลานานก็จะกระทบต่อเศรษฐกิจโลกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอาจผลเสียต่อภาวะเศรษฐกิจยุโรปและสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ยังมีปัญหาการว่างงานสูงและการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังไม่เต็มที่นัก อีกทั้งยังใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำอยู่ ฉะนั้น หากราคาน้ำมันราคาสูงขึ้นอาจมีความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อตามมาด้วย ทำให้อาจเกิดภาวะเงินฝืดหรือเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ จึงต้องจับตามนโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐและยุโรปต่อไป
สำหรับปัญหาภัยพิบัติและแผ่นดินไหวในญี่ปุ่นนั้น มองว่าจะกระทบกับภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นในระยะสั้น โดยคาดว่าอาจส่งผลให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจจนถึงขั้นติบลบในไตรมาสที่ 2 และในช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งจากมาตรการฟื้นฟูต่างๆ ส่วนปัญหาการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และการแพร่กระจายของกัมมันตรังสีก็ต้องติดตามดูว่าจะบริหารจัดการได้แค่ไหน ซึ่งหากยังจัดการไม่ได้อาจสร้างอุปสรรคต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านอื่นๆ และเป็นตัวฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกได้
“ญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยและมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อไทยมาโดยตลอด มองว่าในระยะสั้นธุรกิจเกี่ยวกับการส่งออกหรือนำเข้าอะไหล่บ้าง ขณะที่ในแง่ของการลงทุนจากการสอบถามตัวแทนนักธุรกิจญี่ปุ่น พบว่า ยังไม่ได้รับผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ซื้อที่ดินมาตั้งเป็นโรงงาน แต่ในระยะยาวต้องติดตามดูต่อไป”
ผู้ว่าการธปท.กล่าวว่า ขณะนี้ภาวะเศรษฐกิจไทยมีกำลังซื้อจากอุปสงค์ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย แต่ก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่มาก แต่เห็นชัดว่าความจำเป็นในการใช้นโยบายการเงินในการกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจน้อยลงกว่า 2 ปีที่ผ่านมามาก โดยแนวนโยบายการเงินของธปท.จะก้าวสู่ความสมดุลและเป็นกลาง คือ ไม่ผ่อนคลายเกินไป แต่ไม่ได้เข้มงวดจนเกินไป โดยมีเป้าหมายที่จะฉุดรั้งการคาดการณ์เงิน เฟ้อของประชาชนให้ลดลง เพราะการที่ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ในช่วงแรกกำลังซื้ออาจจะลดลง แต่ถ้ายังมีการคาดการณ์ว่าราคาสินค้าจะสูงต่อ จะมีการเร่งซื้อ ซึ่งส่งผลให้เกิดเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอีกเป็นรอบที่ 2 ได้
อย่างไรก็ตาม การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในช่วงต่อไปยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดให้มากกว่า 0.25% แต่เป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีเป้าหมายแน่นอนที่จะสร้างความสมดุลทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจและดูแลเงินเฟ้อให้เท่าๆกัน ซึ่งหากมองจะผลิตภาพโดยรวมของประเทศในขณะนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวกลับมาสู่ระดับปกติ หรือเหมาะสมกับศักยภาพของประเทศที่มีในช่วงกลางปี หรือครึ่งปีหลัง ดังนั้น ภายในปลายปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ควรไปอยู่ในระดับสมดุลกับอัตราเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงควรจะอยู่ใกล้ๆ กับเขตแดนบวก หรือเป็นบวก ซึ่งจะช่วยสร้างความสมดดุลของผู้ออมและผู้ใช้เงิน แต่ไม่อยากจะบอกตัวเลขว่า ดอกเบี้ยจะต้องขึ้นไปอีกเท่าไร เพราะไม่ต้องการให้มีการเก็งหรือคาดการณ์ไปมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังคงการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปีนี้ไว้ที่ 3-5%
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่แท้จริง ติดลบที่ประมาณ 0.9% และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 12 เดือนที่แท้จริงสิ้นเดือน ก.พ.ติดลบ 1.64% ขณะที่ธปท.คาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานปีนี้ไว้ที่ 2-3%
***กรณ์ชี้ต่างชาติห่วงปัญหาเงินเฟ้อ
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการพบปะกับนักลงทุนสถาบันต่างประเทศในงาน "ไทยแลนด์โฟกัส" ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ประเด็นที่นักลงทุนต่างประเทศสอบถามเข้ามาค่อนข้างมากส่วนใหญ่เป็นเรื่องเงินเฟ้อ และเป้าหมายการดำเนินงานของรัฐบาลในระยะยาว ซึ่งในส่วนของเงินเฟ้อนั้น ได้ชี้แจงไปว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ ธปท.ดูแลอยู่ แต่ในส่วนของกระทรวงการคลังก็จะดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพ ซึ่งอาจใช้วิธีการปรับโครงสร้างภาษีเข้ามาช่วยด้วย.