วานนี้(28 มี.ค.)นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกประจำ แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่มเติมตามกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ (ฉบับที่...) พ.ศ..... โดยที่ประชุมได้ให้กรมสอบสวนคคีพิเศษและกระทรวงยุติธรรม นำร่างดังกล่าวที่มีการเพิ่มฐานความผิดอีก 24 คดีกลับไปทบทวนและสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วนำกลับมาเสนอใหม่
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเสนอโดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ซึ่งได้เชิญนายธาริต เพ็งดิษฐ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)มาชี้แจงด้วย
โดยกระทรวงยุติธรรมให้เหตุผลตามเอกสารที่เสนอครม.ว่า เนื่องจากคดีความผิดอาญาบางประเภทมีความซับซ้อนมีความเสียหายต่อประเทศ มีลักษณะการทำความผิดข้ามชาติ จึงเห็นควรให้แก้กฏกระทรวง เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการคดีพิเศษ มีอำนาจสอบสวนคดีความผิดเพิ่ม อีก 24ความผิด
ขณะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เห็นว่า การแก้กฏกระทรวงเพิ่มอำนาจดีเอสไอจะทำให้ดีเอสไอมีการทำงานซับซ้อน กับหน่วยงานในสังกัด สตช. เช่นตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดยตำรวจมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว อีกทั้งแย้งว่า เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอเองก็มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และได้ขอกำลังตำรวจไปช่วยงาน ดังนั้นถ้ามีการกำหนดเพิ่มคดีพิเศษมากขึ้นจะทำให้เกิดความล่าช้าและเสียหายได้ อีกทั้งหากออกกฏที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่คดีพิเศษมากเกินไปจะกระทบกันเสรีภาพของประชาชน
ด้านสำนักอัยการสูงสุด เห็นว่า การออกกฏดังกล่าวเพื่อเพิ่มคดีพิเศษขึ้น ต้องคำนึงถึงเจตนามรณ์ ในการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งแตกต่างจาก อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนทั่วไป ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจราณาความอาญา
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่รัฐมนตรีหลายคนไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มอำนาจให้ดีเอสไอ โดยนายกฯถึงกลับบ่นว่า“ขอมามากขนาดนี้ผมก็ตายแล้ว หลายคดีที่ขอมา สตช. เขาก็รับผิดชอบอยู่ หากดีเอสไอไปทำงานซับซ้อนกัน จะเกิดปัญหาได้ ดังนั้นควรต้องยึดหลักตั้งแต่ต้นในการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้ทำคดีที่แตกต่างจากตำรวจไม่ใช่ไปทำซ้ำซ้อน”
ขณะที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ไม่เห็นด้วยโดยระบุว่า หลายสัปดาห์ก่อนครม.ได้ตีกลับหลังจากดีเอสไอขอเพิ่ม 11 คดี มาคราวนี้ขอถึง 24 คดี มีรายงานว่านายพีระพันธุ์ ชี้แจงว่า การเข้าทำคดีของ ดีเอสไอ มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกับตำรวจ อย่างไรก็ตามกลับมีการท้วงติงมา จนสุดท้ายนายพีระพันธุ์ จึงถอนเรื่องออกโดยบอกว่าจะไปหารือกันอีกครั้งกับคณะกรรมการคดีพิเศษ
ทั้งนี้ร่างดังกล่าว เสนอ24 คดี เป็นคดีพิเศษ ประกอบด้วย คดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การประกันชีวิต การประกันวินาศภัย การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ดิน แร่ ธุรกิจสถาบันการเงิน ยาเสพติดให้โทษ การป้องกันและปราบปรามยาเสพิตด มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โรงงาน เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยา อาหาร.
ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเสนอโดยนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม ซึ่งได้เชิญนายธาริต เพ็งดิษฐ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ)มาชี้แจงด้วย
โดยกระทรวงยุติธรรมให้เหตุผลตามเอกสารที่เสนอครม.ว่า เนื่องจากคดีความผิดอาญาบางประเภทมีความซับซ้อนมีความเสียหายต่อประเทศ มีลักษณะการทำความผิดข้ามชาติ จึงเห็นควรให้แก้กฏกระทรวง เพื่อให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ และคณะกรรมการคดีพิเศษ มีอำนาจสอบสวนคดีความผิดเพิ่ม อีก 24ความผิด
ขณะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) เห็นว่า การแก้กฏกระทรวงเพิ่มอำนาจดีเอสไอจะทำให้ดีเอสไอมีการทำงานซับซ้อน กับหน่วยงานในสังกัด สตช. เช่นตำรวจท่องเที่ยว ตำรวจปราบปรามยาเสพติด โดยตำรวจมีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว อีกทั้งแย้งว่า เจ้าหน้าที่ ดีเอสไอเองก็มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ และได้ขอกำลังตำรวจไปช่วยงาน ดังนั้นถ้ามีการกำหนดเพิ่มคดีพิเศษมากขึ้นจะทำให้เกิดความล่าช้าและเสียหายได้ อีกทั้งหากออกกฏที่ให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่คดีพิเศษมากเกินไปจะกระทบกันเสรีภาพของประชาชน
ด้านสำนักอัยการสูงสุด เห็นว่า การออกกฏดังกล่าวเพื่อเพิ่มคดีพิเศษขึ้น ต้องคำนึงถึงเจตนามรณ์ ในการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ซึ่งแตกต่างจาก อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนทั่วไป ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจราณาความอาญา
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่รัฐมนตรีหลายคนไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มอำนาจให้ดีเอสไอ โดยนายกฯถึงกลับบ่นว่า“ขอมามากขนาดนี้ผมก็ตายแล้ว หลายคดีที่ขอมา สตช. เขาก็รับผิดชอบอยู่ หากดีเอสไอไปทำงานซับซ้อนกัน จะเกิดปัญหาได้ ดังนั้นควรต้องยึดหลักตั้งแต่ต้นในการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ให้ทำคดีที่แตกต่างจากตำรวจไม่ใช่ไปทำซ้ำซ้อน”
ขณะที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ไม่เห็นด้วยโดยระบุว่า หลายสัปดาห์ก่อนครม.ได้ตีกลับหลังจากดีเอสไอขอเพิ่ม 11 คดี มาคราวนี้ขอถึง 24 คดี มีรายงานว่านายพีระพันธุ์ ชี้แจงว่า การเข้าทำคดีของ ดีเอสไอ มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกับตำรวจ อย่างไรก็ตามกลับมีการท้วงติงมา จนสุดท้ายนายพีระพันธุ์ จึงถอนเรื่องออกโดยบอกว่าจะไปหารือกันอีกครั้งกับคณะกรรมการคดีพิเศษ
ทั้งนี้ร่างดังกล่าว เสนอ24 คดี เป็นคดีพิเศษ ประกอบด้วย คดีความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว การประกันชีวิต การประกันวินาศภัย การป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ ที่ดิน แร่ ธุรกิจสถาบันการเงิน ยาเสพติดให้โทษ การป้องกันและปราบปรามยาเสพิตด มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท โรงงาน เครื่องสำอาง วัตถุอันตราย ยา อาหาร.