ASTVผู้จัดการรายวัน - ที่ประชุมรัฐสภายกธงขาว นัดเลื่อนการลงมติรับรองเจบีซีไป 29 มี.ค. “มาร์ค” อ้างหนุนข้อสังเกต ส.ส.-ส.ว. แก้เกี้ยวนัดถกกรรมาธิการร่วมใหม่อีกรอบ "รสนา" แนะถอนให้รัฐบาลใหม่จัดการ “ปานเทพ” ลั่นถือเป็นชัยชนะของพันธมิตรฯ เย้ยมีองค์ประชุมเหลือแค่ 20 คน ด้าน “น้องวีระ” ขีดเส้นรัฐบาล 7 วัน ช่วยพี่ชายไม่คืบ ยอมให้ "แม้ว" ช่วย!
วานนี้ (25 มี.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวบนเวทีเสวนาราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน ถึงกรณีความสำเร็จในการต่อสู้ของพันธมิตรฯที่ได้ปักหลักทวงคืนปราสาทพระวิหาร และคัดค้านการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติรับร่างบันทึกคณะกรรมาธิการร่วมเขตไทย-กัมพูชา ทั้ง 3 ฉบับ โดยเมื่อช่วงเช้า (25 มี.ค.) สมาชิกรัฐสภาไม่ยอมเข้าร่วมการประชุม จนทำให้ครบองค์ประชุมตั้งแต่เช้า นายวิทยา ภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ต้องโทรศัพท์ขอร้องให้ ส.ส.เข้าร่วมประชุม จนสามารถเปิดประชุมได้ในช่วงบ่าย แต่เพื่อนสมาชิก ส.ส.ได้อภิปรายทักท้วงไม่เห็นด้วยการข้อเสนอของกรรมาธิการร่วม จนกระทั่งถึงเวลา 18.00 น.มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเพียง 20 คนเท่านั้น วันนี้รัฐสภาจึงหมดสิทธิ์ขอมติลงมติโหวตเพื่อรับร่างบันทึก JBC แน่นอน เพราะสมาชิกรัฐสภาไม่ครบองค์ประชุม
“หลังจากที่แกนนำพันธมิตรฯได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านรัฐสภาถึง 2 ครั้ง มั่นใจว่า ส.ส.และ ส.ว.เริ่มมีความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว ว่า หากรัฐบาลชงร่างบันทึกเจบีซีเข้าสู่การประชุมรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบจากสมาชิก ย่อมกระทบต่ออธิปไตยไทยแน่ ส.ส.-ส.ว.ที่เข้าใจถึงเจตนารมณ์ในการข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ จึงไม่ยอมเข้าร่วมประชุม เพราะเกรงว่าจะมีความผิดทางอาญา ที่เราได้ยื่นดำเนินคดีต่อ ป.ป.ช.ไปแล้ว
นายปานเทพ กล่าวว่า ล่าสุด ที่ประชุมรัฐสภาได้สั่งปิดสภาแล้ว หลังองค์ประชุมไม่ครบ และยอมเลื่อนการลงมติเพื่อรับรองเจบีซี ไปวันที่ 29 มี.ค.เวลา 09.30 น.โดย นายอภิสิทธิ์ ให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อสังเกตของบรรดาเพื่อนสมาชิก และจะไปหารือกับคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา อีกครั้ง แต่ยังยืนยันที่จะไม่ยอมยกเลิกเอ็มโอยู 43 โดยเด็ดขาด
สำหรับช่วงเช้าวันเดียวกันมีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาบันทึกข้อตกลงการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชา (บันทึกร่วมเจบีซี 3 ฉบับ) โดยมีตัวแทนจากกลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี ได้เดินทางมาอยื่นหนังสือถึงประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ส.ส. และส.ว.เพื่อขอให้ที่ประชุมมีมติไม่รับรองบันทึกการประชุมเจบีซี 3ฉบับ
นายวิทยา แก้วภารดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) กล่าวในขณะนั้นว่า วันนี้ (25 มี.ค) น่าจะเป็นเพียงวาระรับทราบ ส่วนจะมีการลงมติรับรองหรือไม่นั้นจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งก่อน
รายงานข่าวแจ้งว่า วิปรัฐบาล วิปวุฒิสภา ได้ขอเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอังคารหน้า (29 มี.ค.)เพิ่มเติม และลงมติในวันเดียวกัน .เวลา 09.30 น ขณะที่บริเวณหน้ารัฐสภา มีการตรวจความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 11 กองร้อย ดูแลรักษาความเรียบร้อยทั้งภายในและนอกอาคาร
**เช้าสมาชิกไม่ครบองค์ ถกไม่ได้
ที่ประชุมร่วมรัฐสภา แม้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา จะนัดหมายให้มีการประชุมในเวลา 9.00 น. แต่ปรากฏว่ามีสมาชิกเดินทางมาร่วมประชุมน้อยมาก จึงไม่สามารถดำเนินการประชุมได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม ทำให้นายชัยต้องเปิดให้มีการหารือเพื่อรอให้สมาชิกมาครบองค์ประชุม
ขณะที่การหารือผ่านไปร่วมชั่วโมงครึ่ง แต่สมาชิก ก็ยังไม่ครบองค์ประชุม เวลา 11 .20 น.ปรากฏว่า มีสมาชิกมาจำนวน 260 คน โดยแบ่งเป็นส.ว. 53 คน ส.ส. 207 คน ทำให้นายชัย กล่าวต่อที่ประชุมว่าเนื่องจากมีปัญหาเทคนิคเล็กน้อย จึงขอเลื่อนไปประชุม13.00 น.
**รสนาแนะถอนให้รัฐบาลใหม่จัดการ
การประชุมกลับมาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลา 13.00 น. โดยครั้งนี้มีสมาชิกมาร่วมประชุม 308 คน จาก 554 คน ถือว่าครบองค์ประชุม ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเสนอให้นับองค์ประชุมอีกครั้ง โดยอ้างว่า เป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อดินแดนของประเทศ หากองค์ประชุมไม่ครบจะได้ไม่เสียหน้า แต่นายชัย เห็นว่าควรประชุมไปก่อน เพื่อจะได้ไม่เสียภาพลักษณ์ของสภา เพราะอีกแค่ 1 เดือน ก็จะต้องยุบสภาไปเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.จึงขอความกรุณาสมาชิก อย่าเล่นมุกอะไรกัน และขอให้ประนีประนอมและตอนโหวตถ้าองค์ประชุมไม่ครบก็จะเลื่อนไปลงมติคราวหน้า
จากนั้น นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)พิจารณาเจบีซี ได้ชี้แจงผลการศึกษามีข้อสังเกตของเจบีซี 3 ฉบับ
นางรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพ กล่าวว่ายังมีประเด็นปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนหลายเรื่อง หลายคนเกรงว่า การที่เราไปรับรองบันทึกเจบีซี จะทำให้เราต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในจุดตรงนั้น กมธ.ร่วมยังไม่ทำให้เกิดความมั่นใจ บางเอกสารเป็นภาษาเขมร โดยไม่มีการแปลเป็นไทย จะให้รับได้อย่างไร การศึกษาของกมธ.ร่วม เรื่องบันทึกเจบีซี3 ฉบับ เท่ากับรับรองเอ็มโอยู43 ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจน หากตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ สภาควรจะขอให้มีการขยายเวลาให้กมธ.ร่วมเอาไปศึกษาก่อนจะดีหรือไม่
“รัฐบาลกำลังจะยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ จะปล่อยให้รัฐบาลหน้าจัดการเรื่องนี้จะดีกว่าหรือไม่ สภาถอนเรื่องนี้ออกไปแล้วขยายเวลาศึกษาดีหรือไม่ ตอบคำถามในสภาให้ชัดเจนก่อน”
**มาร์คโคตรดื้อกลัวถูกเปลี่ยนแปลงมติ
ด้านนายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่มีการเสนอเรื่องใดๆเพื่อให้สภารับรองแล้วจะมีผลต่ออำนาจอธิปไตยหรือดินแดนทั้งสิ้น แต่มุมมองสภาพปัญญหาข้อกฏหมายสามารถแรกเปลี่ยนกันได้ ขอปฏิเสธที่ว่าเราเร่งรีบทำเรื่องนี้ ต้องให้ความเป็นธรรม ว่าการประชุมกมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ทั้ง3ครั้ง เกิดในปี 51 และ 52 แต่ปีนี้ ปี54 ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลเร่งรีบจะดำเนินการ ต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าการทำงานของเจบีซีขณะนี้มีข้อขัดแย้งทางกฏหมาย จึงจำเป็นต้องเข้ามาหรือในสภาในปี51 รัฐบาลชุดนี้จึงได้ยึดถือปฏิบัติตามนั้น แต่ไม่ได้เร่งรีบ
ส่วนที่ว่า รัฐบาลจะยุบสภาอยู่แล้วควรจะปล่อยให้รัฐบาลชุดหน้าหรือ ชี้แจงว่า สถานการณ์ไทย-กัมพูชาในขณะนี้ต้องยอมรับว่า กัมพูชาพยายามให้เป็นประเด็นองค์กรระหว่างประเทศ นำเรื่องขึ้นไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ พยายามอาศัยมรดกโลกชิงความได้เปรียบในปัญหา แต่คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ และอาเซี่ยนเห็นว่ายังไม่จำเป็นเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้โดยตรง เพราะมีกลไกทวิภาคีอยู่ คือ เอ็มโอยู และเจบีซี
“ผมขอถามว่า ถ้ารัฐบาลและสภาบอกว่าไม่อยากรับเรื่องร้อน และทำเฉยเสีย ถ้าสังคมโลกโดยการชี้นำของกัมพูชาบอกว่าไทยไม่จริงใจในกลไกทวิภาคี แล้วไทยทิ้งเวลาว่างต่อไปรอรัฐบาลใหม่ที่อาจจะมีในเดือนสิงหาคม รับประกันได้หรือไม่ว่า จากวันนี้ไป องค์กรระหว่างประเทศจะไม่บอกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ถ้าเห็นว่านั่นเป็นแนวทางที่จะป้องผลประโยชน์ประเทศไทย ผมไทยก็ยินดีรับฟัง แต่ยืนยีนว่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการป้องสิทธิ์มากที่สุดขณะนี้คือ เราต้องยืนว่าพร้อมทำตามรูปแบบทวิภาคี และไม่ต้องการเห็นสหประชาชาติ หรือ อาเซี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องสาระเขตแดน ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น การดำเนินการจะยุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องคุยอีกหลายประเทศ นี่เป็นความรับผิดชอบของเราในฐานะผู้แทนเพราะปัญหามันมีเรามีหน้าที่แก้ปัญหา”
**ยันข้อศึกษากมธ.เจบีซี ลงมติไม่ได้
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า สำหรับข้อสังเกตของกมธ.เจบีซีทีระบุว่าในเอ็มโอยู 43 ไม่มีถ้อยคำใดที่ยอมรับแผนที่ 1ต่อ2แสนระวางดงรัก แต่แท้จริงแล้วมีเอกสารที่ระบุถึงว่าที่ผ่านมาการทำสนธิใดมีการใช้แผนที่ 1ต่อ2แสนระวางดงรักเป็นองค์ประกอบมาโดยตลอด เช่น ความเห็นของนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย” เอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา ที่ให้ต่อการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา เอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องผลการประชุมกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ในภาคผนวก6
ก่อนหน้านี้ทางสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงชื่อเพื่อเสนอศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าข้อตกลงชั่วคราวนั้นถือเป็นสัญญาตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อวันที่ 3ธันวาคม 53 ซึ่งคนที่ร่วมลงชื่อนั้นมีนายศิริโชค โสภา กมธ.ร่วมอยู่ด้วย จนถึงขณะนี้ศาลยังไม่พิจารณา แต่กรณีที่นำบันทึกเจบีซีเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้นถูกต้องหรือไม่ นอกจากนั้นนายเทพมนตรี ลิมปพยอม ที่ปรึกษาได้ระบุในหนังสืออ้างการประชุมกมธ.เจบีซีด้วยว่า ข้อศึกษาของกมธ.เจบีซี ไม่สามารถหรือสรุปลงมติใดๆ ได้ เพราะเอกสารประกอบที่ให้ศึกษาไม่เพียงพอ หากนำเข้าที่ประชุมรัฐสภาเท่ากับเป็นการบังคับให้รับ โดยไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วน
**มาร์คอ้างจะขอไปถกกมธ.อีกรอบ
ทั้งนี้ เวลา 19.00 น.นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า ยืนยันที่จะไม่ยอมยกเลิกเอ็มโอยู 43 โดยเด็ดขาดเพราะไม่ได้เป็นการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนคือ แผนจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา ที่เสนอต่อกรรมการมรดกโลก ที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่ยอมรับ เนื่องจากการจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ หากวันนี้เรียกร้องให้โยนเอ็มโอยู หรือบันทึกการประชุมเจบีซีทิ้ง เท่ากับยอมรับให้ประเทศกัมพูชาใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ระวางดงรัก
อย่างไรก็ตามกระบวนการที่รัฐสภาทำไม่มีตรงไหนที่จะเอื้อประโยชย์ให้กัมพูชา ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 25-29 มี.ค. รัฐบาลจะหารือเป็นการภายในกับกมธ.เจบีซี จากนั้นจะนำรายงานมาให้กับประธานรัฐสภา เพื่อประกอบการตัดสินใจ
โดยประธานสั่งปิดประชุมในเวลา 19.30 น.โดยนัดไปลงมติในวันที่ 29 มี.ค.ตามคาด
**น้องวีระขีดเส้น 7 วันช่วยพี่ชาย
นายปรีชา สมความคิด น้องชายนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และน.ส.วริสา ทองเงิน หลานสาวน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่านนายพนิช วิกิตเศรษฐ ส.ส.กทม. เพื่อขอให้เร่งช่วยเหลือให้พ้นจากการคุมขังในเรือนจำประเทศกัมพูชาโดยเร็ว
นายปรีชา กล่าวว่าทั้ง 2 ครอบครัวได้ขอให้รัฐบาลเร่งเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาภายใน 7 วัน เพื่อขอให้พิจารณาปล่อยตัว เพราะเกรงว่าหากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภาไปแล้ว อาจทำให้คดีล่าช้าออกไปอีก
“หลังจากที่ญาติไปเยี่ยมที่เรือนจำ คุณวีระฝากบอกว่า ขอให้นายกฯ และคุณพนิชฐานะที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ และร่วมชะตากรรม ขอให้เร่งช่วยเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาอย่างเต็มที่และรวดเร็วภายใน 7 วัน” นายปรีชา กล่าว และว่าสำหรับสุขภาพของนายวีระ หลังจากที่ญาติเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 21 มี.ค.พบว่าสภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้นกว่าเดิมเพราะได้รับการรักษาจากแพทย์ในเรือนจำ ส่วนสภาพจิตใจขณะนี้ได้ปรับสภาพดีขึ้น
ส่วนที่เงื่อนไข 7 วันนั้นแต่ตามระเบียบการขออภัยโทษของรัฐบาลกัมพูชาระบุว่าต้องผ่านการรับโทษ 2 ใน 3 ก่อน นายปรีชา กล่าวว่า การยื่นเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่ว่าต้องให้ได้รับการปล่อยตัวภายใน 7 วัน แต่ต้องการขอความอนุเคราะห์จากรัฐบาลช่วยเร่งเจรจา อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวเทียบเคียงได้กับคดีของนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ที่ถูกข้อหาจารกรรมข้อมูลและเป็นภัยความมั่นคง ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษโดยไม่ต้องรอการรับโทษ 2 ใน 3
ทั้งนี้ ถ้าภายใน 7 วันยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการอภัยโทษ ทั้งครอบครัวนายวีระ และน.ส.ราตรี ก็พร้อมให้ฝ่ายค้านหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาช่วยหลือ เพราะเราไม่ยึดติดกลุ่มการเมือง อะไรที่ช่วยได้ก็พร้อมจะทำ.
วานนี้ (25 มี.ค.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวบนเวทีเสวนาราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน ถึงกรณีความสำเร็จในการต่อสู้ของพันธมิตรฯที่ได้ปักหลักทวงคืนปราสาทพระวิหาร และคัดค้านการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาลงมติรับร่างบันทึกคณะกรรมาธิการร่วมเขตไทย-กัมพูชา ทั้ง 3 ฉบับ โดยเมื่อช่วงเช้า (25 มี.ค.) สมาชิกรัฐสภาไม่ยอมเข้าร่วมการประชุม จนทำให้ครบองค์ประชุมตั้งแต่เช้า นายวิทยา ภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานพรรคร่วมรัฐบาล หรือวิปรัฐบาล ต้องโทรศัพท์ขอร้องให้ ส.ส.เข้าร่วมประชุม จนสามารถเปิดประชุมได้ในช่วงบ่าย แต่เพื่อนสมาชิก ส.ส.ได้อภิปรายทักท้วงไม่เห็นด้วยการข้อเสนอของกรรมาธิการร่วม จนกระทั่งถึงเวลา 18.00 น.มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมเพียง 20 คนเท่านั้น วันนี้รัฐสภาจึงหมดสิทธิ์ขอมติลงมติโหวตเพื่อรับร่างบันทึก JBC แน่นอน เพราะสมาชิกรัฐสภาไม่ครบองค์ประชุม
“หลังจากที่แกนนำพันธมิตรฯได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านรัฐสภาถึง 2 ครั้ง มั่นใจว่า ส.ส.และ ส.ว.เริ่มมีความเคลือบแคลงสงสัยแล้ว ว่า หากรัฐบาลชงร่างบันทึกเจบีซีเข้าสู่การประชุมรัฐสภา เพื่อขอความเห็นชอบจากสมาชิก ย่อมกระทบต่ออธิปไตยไทยแน่ ส.ส.-ส.ว.ที่เข้าใจถึงเจตนารมณ์ในการข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ จึงไม่ยอมเข้าร่วมประชุม เพราะเกรงว่าจะมีความผิดทางอาญา ที่เราได้ยื่นดำเนินคดีต่อ ป.ป.ช.ไปแล้ว
นายปานเทพ กล่าวว่า ล่าสุด ที่ประชุมรัฐสภาได้สั่งปิดสภาแล้ว หลังองค์ประชุมไม่ครบ และยอมเลื่อนการลงมติเพื่อรับรองเจบีซี ไปวันที่ 29 มี.ค.เวลา 09.30 น.โดย นายอภิสิทธิ์ ให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นการสนับสนุนข้อสังเกตของบรรดาเพื่อนสมาชิก และจะไปหารือกับคณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนไทย-กัมพูชา อีกครั้ง แต่ยังยืนยันที่จะไม่ยอมยกเลิกเอ็มโอยู 43 โดยเด็ดขาด
สำหรับช่วงเช้าวันเดียวกันมีการประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาบันทึกข้อตกลงการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชา (บันทึกร่วมเจบีซี 3 ฉบับ) โดยมีตัวแทนจากกลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินหรือกลุ่มเสื้อหลากสี ได้เดินทางมาอยื่นหนังสือถึงประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา ส.ส. และส.ว.เพื่อขอให้ที่ประชุมมีมติไม่รับรองบันทึกการประชุมเจบีซี 3ฉบับ
นายวิทยา แก้วภารดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) กล่าวในขณะนั้นว่า วันนี้ (25 มี.ค) น่าจะเป็นเพียงวาระรับทราบ ส่วนจะมีการลงมติรับรองหรือไม่นั้นจะต้องดูรายละเอียดอีกครั้งก่อน
รายงานข่าวแจ้งว่า วิปรัฐบาล วิปวุฒิสภา ได้ขอเลื่อนการพิจารณาไปเป็นวันอังคารหน้า (29 มี.ค.)เพิ่มเติม และลงมติในวันเดียวกัน .เวลา 09.30 น ขณะที่บริเวณหน้ารัฐสภา มีการตรวจความปลอดภัยอย่างเข้มงวดตามพ.ร.บ.รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ท่ามกลางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 11 กองร้อย ดูแลรักษาความเรียบร้อยทั้งภายในและนอกอาคาร
**เช้าสมาชิกไม่ครบองค์ ถกไม่ได้
ที่ประชุมร่วมรัฐสภา แม้นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา จะนัดหมายให้มีการประชุมในเวลา 9.00 น. แต่ปรากฏว่ามีสมาชิกเดินทางมาร่วมประชุมน้อยมาก จึงไม่สามารถดำเนินการประชุมได้เนื่องจากไม่ครบองค์ประชุม ทำให้นายชัยต้องเปิดให้มีการหารือเพื่อรอให้สมาชิกมาครบองค์ประชุม
ขณะที่การหารือผ่านไปร่วมชั่วโมงครึ่ง แต่สมาชิก ก็ยังไม่ครบองค์ประชุม เวลา 11 .20 น.ปรากฏว่า มีสมาชิกมาจำนวน 260 คน โดยแบ่งเป็นส.ว. 53 คน ส.ส. 207 คน ทำให้นายชัย กล่าวต่อที่ประชุมว่าเนื่องจากมีปัญหาเทคนิคเล็กน้อย จึงขอเลื่อนไปประชุม13.00 น.
**รสนาแนะถอนให้รัฐบาลใหม่จัดการ
การประชุมกลับมาเริ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อเวลา 13.00 น. โดยครั้งนี้มีสมาชิกมาร่วมประชุม 308 คน จาก 554 คน ถือว่าครบองค์ประชุม ขณะที่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเสนอให้นับองค์ประชุมอีกครั้ง โดยอ้างว่า เป็นเรื่องสำคัญมีผลต่อดินแดนของประเทศ หากองค์ประชุมไม่ครบจะได้ไม่เสียหน้า แต่นายชัย เห็นว่าควรประชุมไปก่อน เพื่อจะได้ไม่เสียภาพลักษณ์ของสภา เพราะอีกแค่ 1 เดือน ก็จะต้องยุบสภาไปเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.จึงขอความกรุณาสมาชิก อย่าเล่นมุกอะไรกัน และขอให้ประนีประนอมและตอนโหวตถ้าองค์ประชุมไม่ครบก็จะเลื่อนไปลงมติคราวหน้า
จากนั้น นายเจริญ คันธวงศ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)พิจารณาเจบีซี ได้ชี้แจงผลการศึกษามีข้อสังเกตของเจบีซี 3 ฉบับ
นางรสนา โตสิตระกูล ส.ว. กรุงเทพ กล่าวว่ายังมีประเด็นปัญหาที่ยังไม่ชัดเจนหลายเรื่อง หลายคนเกรงว่า การที่เราไปรับรองบันทึกเจบีซี จะทำให้เราต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในจุดตรงนั้น กมธ.ร่วมยังไม่ทำให้เกิดความมั่นใจ บางเอกสารเป็นภาษาเขมร โดยไม่มีการแปลเป็นไทย จะให้รับได้อย่างไร การศึกษาของกมธ.ร่วม เรื่องบันทึกเจบีซี3 ฉบับ เท่ากับรับรองเอ็มโอยู43 ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจน หากตอบคำถามเหล่านี้ไม่ได้ สภาควรจะขอให้มีการขยายเวลาให้กมธ.ร่วมเอาไปศึกษาก่อนจะดีหรือไม่
“รัฐบาลกำลังจะยุบสภาให้เลือกตั้งใหม่ จะปล่อยให้รัฐบาลหน้าจัดการเรื่องนี้จะดีกว่าหรือไม่ สภาถอนเรื่องนี้ออกไปแล้วขยายเวลาศึกษาดีหรือไม่ ตอบคำถามในสภาให้ชัดเจนก่อน”
**มาร์คโคตรดื้อกลัวถูกเปลี่ยนแปลงมติ
ด้านนายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่มีการเสนอเรื่องใดๆเพื่อให้สภารับรองแล้วจะมีผลต่ออำนาจอธิปไตยหรือดินแดนทั้งสิ้น แต่มุมมองสภาพปัญญหาข้อกฏหมายสามารถแรกเปลี่ยนกันได้ ขอปฏิเสธที่ว่าเราเร่งรีบทำเรื่องนี้ ต้องให้ความเป็นธรรม ว่าการประชุมกมธ.เขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ทั้ง3ครั้ง เกิดในปี 51 และ 52 แต่ปีนี้ ปี54 ไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลเร่งรีบจะดำเนินการ ต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าการทำงานของเจบีซีขณะนี้มีข้อขัดแย้งทางกฏหมาย จึงจำเป็นต้องเข้ามาหรือในสภาในปี51 รัฐบาลชุดนี้จึงได้ยึดถือปฏิบัติตามนั้น แต่ไม่ได้เร่งรีบ
ส่วนที่ว่า รัฐบาลจะยุบสภาอยู่แล้วควรจะปล่อยให้รัฐบาลชุดหน้าหรือ ชี้แจงว่า สถานการณ์ไทย-กัมพูชาในขณะนี้ต้องยอมรับว่า กัมพูชาพยายามให้เป็นประเด็นองค์กรระหว่างประเทศ นำเรื่องขึ้นไปถึงคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ พยายามอาศัยมรดกโลกชิงความได้เปรียบในปัญหา แต่คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ และอาเซี่ยนเห็นว่ายังไม่จำเป็นเข้ามามีบทบาทในเรื่องนี้โดยตรง เพราะมีกลไกทวิภาคีอยู่ คือ เอ็มโอยู และเจบีซี
“ผมขอถามว่า ถ้ารัฐบาลและสภาบอกว่าไม่อยากรับเรื่องร้อน และทำเฉยเสีย ถ้าสังคมโลกโดยการชี้นำของกัมพูชาบอกว่าไทยไม่จริงใจในกลไกทวิภาคี แล้วไทยทิ้งเวลาว่างต่อไปรอรัฐบาลใหม่ที่อาจจะมีในเดือนสิงหาคม รับประกันได้หรือไม่ว่า จากวันนี้ไป องค์กรระหว่างประเทศจะไม่บอกว่าถึงเวลาแล้วที่ต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ถ้าเห็นว่านั่นเป็นแนวทางที่จะป้องผลประโยชน์ประเทศไทย ผมไทยก็ยินดีรับฟัง แต่ยืนยีนว่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในการป้องสิทธิ์มากที่สุดขณะนี้คือ เราต้องยืนว่าพร้อมทำตามรูปแบบทวิภาคี และไม่ต้องการเห็นสหประชาชาติ หรือ อาเซี่ยนเข้ามาเกี่ยวข้องสาระเขตแดน ถ้าปล่อยให้เกิดขึ้น การดำเนินการจะยุ่งยากมากขึ้น เพราะต้องคุยอีกหลายประเทศ นี่เป็นความรับผิดชอบของเราในฐานะผู้แทนเพราะปัญหามันมีเรามีหน้าที่แก้ปัญหา”
**ยันข้อศึกษากมธ.เจบีซี ลงมติไม่ได้
นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า สำหรับข้อสังเกตของกมธ.เจบีซีทีระบุว่าในเอ็มโอยู 43 ไม่มีถ้อยคำใดที่ยอมรับแผนที่ 1ต่อ2แสนระวางดงรัก แต่แท้จริงแล้วมีเอกสารที่ระบุถึงว่าที่ผ่านมาการทำสนธิใดมีการใช้แผนที่ 1ต่อ2แสนระวางดงรักเป็นองค์ประกอบมาโดยตลอด เช่น ความเห็นของนายประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย” เอกอัครราชทูตไทยประจำกัมพูชา ที่ให้ต่อการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาประธานวุฒิสภา เอกสารจากกระทรวงการต่างประเทศ ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เรื่องผลการประชุมกรรมการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ในภาคผนวก6
ก่อนหน้านี้ทางสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ลงชื่อเพื่อเสนอศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่าข้อตกลงชั่วคราวนั้นถือเป็นสัญญาตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เมื่อวันที่ 3ธันวาคม 53 ซึ่งคนที่ร่วมลงชื่อนั้นมีนายศิริโชค โสภา กมธ.ร่วมอยู่ด้วย จนถึงขณะนี้ศาลยังไม่พิจารณา แต่กรณีที่นำบันทึกเจบีซีเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้นถูกต้องหรือไม่ นอกจากนั้นนายเทพมนตรี ลิมปพยอม ที่ปรึกษาได้ระบุในหนังสืออ้างการประชุมกมธ.เจบีซีด้วยว่า ข้อศึกษาของกมธ.เจบีซี ไม่สามารถหรือสรุปลงมติใดๆ ได้ เพราะเอกสารประกอบที่ให้ศึกษาไม่เพียงพอ หากนำเข้าที่ประชุมรัฐสภาเท่ากับเป็นการบังคับให้รับ โดยไม่มีข้อมูลที่ครบถ้วน
**มาร์คอ้างจะขอไปถกกมธ.อีกรอบ
ทั้งนี้ เวลา 19.00 น.นายอภิสิทธิ์ ชี้แจงว่า ยืนยันที่จะไม่ยอมยกเลิกเอ็มโอยู 43 โดยเด็ดขาดเพราะไม่ได้เป็นการยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนคือ แผนจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ของประเทศกัมพูชา ที่เสนอต่อกรรมการมรดกโลก ที่คณะกรรมการมรดกโลกไม่ยอมรับ เนื่องจากการจัดทำหลักเขตแดนไม่แล้วเสร็จ หากวันนี้เรียกร้องให้โยนเอ็มโอยู หรือบันทึกการประชุมเจบีซีทิ้ง เท่ากับยอมรับให้ประเทศกัมพูชาใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ระวางดงรัก
อย่างไรก็ตามกระบวนการที่รัฐสภาทำไม่มีตรงไหนที่จะเอื้อประโยชย์ให้กัมพูชา ทั้งนี้นับตั้งแต่วันที่ 25-29 มี.ค. รัฐบาลจะหารือเป็นการภายในกับกมธ.เจบีซี จากนั้นจะนำรายงานมาให้กับประธานรัฐสภา เพื่อประกอบการตัดสินใจ
โดยประธานสั่งปิดประชุมในเวลา 19.30 น.โดยนัดไปลงมติในวันที่ 29 มี.ค.ตามคาด
**น้องวีระขีดเส้น 7 วันช่วยพี่ชาย
นายปรีชา สมความคิด น้องชายนายวีระ สมความคิด แกนนำเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ และน.ส.วริสา ทองเงิน หลานสาวน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ เข้ายื่นหนังสือต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่านนายพนิช วิกิตเศรษฐ ส.ส.กทม. เพื่อขอให้เร่งช่วยเหลือให้พ้นจากการคุมขังในเรือนจำประเทศกัมพูชาโดยเร็ว
นายปรีชา กล่าวว่าทั้ง 2 ครอบครัวได้ขอให้รัฐบาลเร่งเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาภายใน 7 วัน เพื่อขอให้พิจารณาปล่อยตัว เพราะเกรงว่าหากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภาไปแล้ว อาจทำให้คดีล่าช้าออกไปอีก
“หลังจากที่ญาติไปเยี่ยมที่เรือนจำ คุณวีระฝากบอกว่า ขอให้นายกฯ และคุณพนิชฐานะที่เคยอยู่ในเหตุการณ์ และร่วมชะตากรรม ขอให้เร่งช่วยเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาอย่างเต็มที่และรวดเร็วภายใน 7 วัน” นายปรีชา กล่าว และว่าสำหรับสุขภาพของนายวีระ หลังจากที่ญาติเข้าเยี่ยมเมื่อวันที่ 21 มี.ค.พบว่าสภาพร่างกายและจิตใจดีขึ้นกว่าเดิมเพราะได้รับการรักษาจากแพทย์ในเรือนจำ ส่วนสภาพจิตใจขณะนี้ได้ปรับสภาพดีขึ้น
ส่วนที่เงื่อนไข 7 วันนั้นแต่ตามระเบียบการขออภัยโทษของรัฐบาลกัมพูชาระบุว่าต้องผ่านการรับโทษ 2 ใน 3 ก่อน นายปรีชา กล่าวว่า การยื่นเงื่อนไขดังกล่าวไม่ใช่ว่าต้องให้ได้รับการปล่อยตัวภายใน 7 วัน แต่ต้องการขอความอนุเคราะห์จากรัฐบาลช่วยเร่งเจรจา อย่างไรก็ตามคดีดังกล่าวเทียบเคียงได้กับคดีของนายศิวรักษ์ ชุติพงษ์ ที่ถูกข้อหาจารกรรมข้อมูลและเป็นภัยความมั่นคง ก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษโดยไม่ต้องรอการรับโทษ 2 ใน 3
ทั้งนี้ ถ้าภายใน 7 วันยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการอภัยโทษ ทั้งครอบครัวนายวีระ และน.ส.ราตรี ก็พร้อมให้ฝ่ายค้านหรือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาช่วยหลือ เพราะเราไม่ยึดติดกลุ่มการเมือง อะไรที่ช่วยได้ก็พร้อมจะทำ.