นครศรีธรรมราช - ส.ส.นครศรีธรรมราช อัด กฟผ.ต้องหยุดโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนวุ่นมากกว่านี้ ชี้แค่ปิดประตูสำนักงานแต่ทุกอย่างยังเดินหน้า เตรียมยกเรื่องเข้า กมธ.สภาฯจัดการ ด้านนายก อบต.ท่าขึ้น แฉเจ้าหน้าที่กฟผ.ยังตระเวนแจกของไม่สนแรงต้าน พร้อมกับส่อตั้งทีมใหม่ลงพื้นที่หลังทีมเก่าทำงานล้มเหลว
ความเคลื่อนไหวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในเรื่องของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเต็มไปด้วยแรงต่อต้านโครงการอย่างหนักหน่วง และทวีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ โดยมีการยื่นคำขาดให้ กฟผ.ยุติโครงการ ปิดสำนักงาน และย้ายบุคลากรออกจากพื้นที่ทั้ง 2 อำเภอโดยทันที แต่ในความเป็นจริง กลับพบว่าทั้ง 2 อำเภอมีการปิดสำนักงานไปแล้ว แต่เป็นการปิดเพียงแค่ประตูเท่านั้น ส่วนความเคลื่อนไหวของบุคลากรด้านต่างๆยังคงทำงานตามปกติ โดยไม่สนแรงต้านที่เกิดขึ้น
ล่าสุดน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ส.ส.พื้นที่ เปิดเผยว่า ในฐานะ ส.ส.พื้นที่ได้ยืนยันชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่เอาทั้งนิคมอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าถ่านหิน การดำเนินการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.ในพื้นที่ อ.หัวไทร ยื่นญัตติต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎร 2 ชุดคือ กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุนสภาผู้แทนราษฎร และ กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ พร้อม เชิญตัวแทน กฟผ.มาพูดคุย และยืนยันว่าเมื่อลงพื้นที่ไปแล้วมีปัญหาและมีผลกระทบสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ชาวบ้านควรที่จะยุติการดำเนินการก่อน ซึ่งกฟผ.ยอมรับที่จะปฏิบัติตามนั้น
“แต่เมื่อลงมาในพื้นที่พบว่า ประตูสำนักงานนั้นปิดจริง แต่ภายในสำนักงานยังมีเจ้าหน้าที่ทำงาน ความพยายามของ กฟผ.ได้สร้างความหวาดวิตกแก่ชาวบ้าน กฟผ.ควรที่จะชัดเจนก่อนว่าจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่รู้ ไม่แน่จะสร้างหรือไม่สร้าง ทำเช่นนี้คิดว่าไม่ถูก หลังจากนี้หากยังคงเพิกเฉยจะมีการเชิญกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่ และจะทำเป็นหนังสือสรุปปัญหาทั้งหมดให้แก่นายกรัฐมนตรี เพราะหากเป็นอยู่อย่างนี้ยืนยันว่ายอมไม่ได้ ซึ่ง กฟผ.ต้องหยุดก่อนที่จะมีปัญหาบานปลายจนเกินแก้ไข” ส.ส.เจ้าของพื้นที่กล่าว
ขณะที่นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น (อบต.)เปิดเผยว่า นโยบายรัฐชัดเจนอยู่แล้วว่า ชาวบ้านในชุมชนสามารถที่จะสร้างอำนาจการต่อรองกับรัฐบาลได้ และการคัดค้านของประชาชนชาวท่าศาลา จึงชัดเจนอยู่แล้ว คือ ไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าแน่นอนอยู่แล้ว ผลกระทบที่สำคัญเป็นเรื่องที่ กฟผ.ไม่ควรสร้างความแตกแยกในสังคม และมีการยื่นคำขาดของคน กฟผ.เองในที่ประชุมกรรมาธิการฯ ซึ่งฝ่าย กฟผ.เป็นคนพูดว่าจะยุติต่อหน้าหลายฝ่าย
“วันนี้ กฟผ.ยังไม่สนใจคนข้างล่าง ยังคงทำไปตามปกติราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ยังคงเดินหน้าแจกกระเป๋าในงานวัน อสม.ที่หน้าอำเภอท่าศาลา สะท้อนว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะลดความขัดแย้งให้แก่พื้นที่ผลกระทบเลย โดยอดีตผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งที่ถูกมองว่ากำลังเตรียมพื้นที่ขายให้ กฟผ.หลายร้อยไร่มาวันนี้ได้พูดในที่ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนวัดท่าขึ้นแล้วว่า ที่เขาเตรียมพื้นที่ไว้นั้น เพื่อพัฒนาขายให้ธุรกิจจัดสร้างรีสอร์ตและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และยืนยันต่อหน้าชาวบ้าน และผู้นำชุมชนจำนวนมากว่า หากกฟผ.เข้ามาเขาไม่ขายให้แน่นอน สิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านเขาจะไม่ทำ ซึ่งเป็นการพูดต่อหน้าชาวบ้านทำให้ต่างรู้สึกดีขึ้น” นายก อบต.ท่าขึ้นกล่าว
ด้านแหล่งข่าวภายใน กฟผ.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ กฟผ.ได้ทำหนังสือไปในทุกพื้นที่เป้าหมาย ที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและมีความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยหนังสือดังกล่าวได้มาถึงเมื่อวันศุกร์(18 มี.ค.)ที่ผ่านมา เฉพาะที่นครศรีธรรมราช มีสาระสำคัญคือการสั่งยุติการทำงานทุกด้านชั่วคราว และให้ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดกลับ กทม. โดยทิ้งเจ้าหน้าที่ไว้ที่ศูนย์ข้อมูล ที่ตั้งอยู่ในสถานีย่อยไฟฟ้าแรงสูง ริมถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะชำนาญพื้นที่และชำนาญงานโครงสร้างข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพียง 1-2 คนเท่านั้น เพื่อรอการประสานงานจากเจ้าหน้าที่ชุดใหม่ที่กำลังเตรียมทีมลงมาทำงานแทนชุดเก่า ที่ทำหน้าที่ล้มเหลวในการสร้างมวลชนและความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง และคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในสิ้นเดือน มี.ค.2554
ส่วนการทำงานในพื้นที่ ในเชิงลึกยังคงทำไปตามปกติทั้งในส่วนของการทำงาน CSR(การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม) การสนับสนุนในแง่มุมต่างๆ เพียงแต่ไม่มีการเปิดเผยเท่านั้น ส่วนการนำกลุ่มประชาชนต่างๆ ไปท่องเที่ยวทัศนศึกษา ในวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมาจะเป็นเที่ยวสุดท้าย โดยการเดินทางของกลุ่มประชาชนชาว ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา หลังจากนั้นจะยุติการทำงานด้านการนำเที่ยวไว้ก่อน
ความเคลื่อนไหวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในเรื่องของการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเต็มไปด้วยแรงต่อต้านโครงการอย่างหนักหน่วง และทวีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ โดยมีการยื่นคำขาดให้ กฟผ.ยุติโครงการ ปิดสำนักงาน และย้ายบุคลากรออกจากพื้นที่ทั้ง 2 อำเภอโดยทันที แต่ในความเป็นจริง กลับพบว่าทั้ง 2 อำเภอมีการปิดสำนักงานไปแล้ว แต่เป็นการปิดเพียงแค่ประตูเท่านั้น ส่วนความเคลื่อนไหวของบุคลากรด้านต่างๆยังคงทำงานตามปกติ โดยไม่สนแรงต้านที่เกิดขึ้น
ล่าสุดน.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ส.ส.พื้นที่ เปิดเผยว่า ในฐานะ ส.ส.พื้นที่ได้ยืนยันชัดเจนมาตั้งแต่ต้นแล้วว่า ไม่เอาทั้งนิคมอุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าถ่านหิน การดำเนินการเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับนายวิทยา แก้วภราดัย ส.ส.ในพื้นที่ อ.หัวไทร ยื่นญัตติต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ของสภาผู้แทนราษฎร 2 ชุดคือ กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญ รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชนและกองทุนสภาผู้แทนราษฎร และ กมธ.พัฒนาเศรษฐกิจ พร้อม เชิญตัวแทน กฟผ.มาพูดคุย และยืนยันว่าเมื่อลงพื้นที่ไปแล้วมีปัญหาและมีผลกระทบสร้างความตื่นตระหนกให้แก่ชาวบ้านควรที่จะยุติการดำเนินการก่อน ซึ่งกฟผ.ยอมรับที่จะปฏิบัติตามนั้น
“แต่เมื่อลงมาในพื้นที่พบว่า ประตูสำนักงานนั้นปิดจริง แต่ภายในสำนักงานยังมีเจ้าหน้าที่ทำงาน ความพยายามของ กฟผ.ได้สร้างความหวาดวิตกแก่ชาวบ้าน กฟผ.ควรที่จะชัดเจนก่อนว่าจะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่าไม่รู้ ไม่แน่จะสร้างหรือไม่สร้าง ทำเช่นนี้คิดว่าไม่ถูก หลังจากนี้หากยังคงเพิกเฉยจะมีการเชิญกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่ และจะทำเป็นหนังสือสรุปปัญหาทั้งหมดให้แก่นายกรัฐมนตรี เพราะหากเป็นอยู่อย่างนี้ยืนยันว่ายอมไม่ได้ ซึ่ง กฟผ.ต้องหยุดก่อนที่จะมีปัญหาบานปลายจนเกินแก้ไข” ส.ส.เจ้าของพื้นที่กล่าว
ขณะที่นายบุญโชค แก้วแกม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น (อบต.)เปิดเผยว่า นโยบายรัฐชัดเจนอยู่แล้วว่า ชาวบ้านในชุมชนสามารถที่จะสร้างอำนาจการต่อรองกับรัฐบาลได้ และการคัดค้านของประชาชนชาวท่าศาลา จึงชัดเจนอยู่แล้ว คือ ไม่เห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าแน่นอนอยู่แล้ว ผลกระทบที่สำคัญเป็นเรื่องที่ กฟผ.ไม่ควรสร้างความแตกแยกในสังคม และมีการยื่นคำขาดของคน กฟผ.เองในที่ประชุมกรรมาธิการฯ ซึ่งฝ่าย กฟผ.เป็นคนพูดว่าจะยุติต่อหน้าหลายฝ่าย
“วันนี้ กฟผ.ยังไม่สนใจคนข้างล่าง ยังคงทำไปตามปกติราวไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่มีการปฏิบัติตามข้อตกลง เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ยังคงเดินหน้าแจกกระเป๋าในงานวัน อสม.ที่หน้าอำเภอท่าศาลา สะท้อนว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะลดความขัดแย้งให้แก่พื้นที่ผลกระทบเลย โดยอดีตผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งที่ถูกมองว่ากำลังเตรียมพื้นที่ขายให้ กฟผ.หลายร้อยไร่มาวันนี้ได้พูดในที่ประชุมคณะกรรมการโรงเรียนวัดท่าขึ้นแล้วว่า ที่เขาเตรียมพื้นที่ไว้นั้น เพื่อพัฒนาขายให้ธุรกิจจัดสร้างรีสอร์ตและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และยืนยันต่อหน้าชาวบ้าน และผู้นำชุมชนจำนวนมากว่า หากกฟผ.เข้ามาเขาไม่ขายให้แน่นอน สิ่งใดที่ส่งผลกระทบต่อชาวบ้านเขาจะไม่ทำ ซึ่งเป็นการพูดต่อหน้าชาวบ้านทำให้ต่างรู้สึกดีขึ้น” นายก อบต.ท่าขึ้นกล่าว
ด้านแหล่งข่าวภายใน กฟผ.เปิดเผยว่า ผู้ว่าการ กฟผ.ได้ทำหนังสือไปในทุกพื้นที่เป้าหมาย ที่จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและมีความขัดแย้งเกิดขึ้น โดยหนังสือดังกล่าวได้มาถึงเมื่อวันศุกร์(18 มี.ค.)ที่ผ่านมา เฉพาะที่นครศรีธรรมราช มีสาระสำคัญคือการสั่งยุติการทำงานทุกด้านชั่วคราว และให้ถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดกลับ กทม. โดยทิ้งเจ้าหน้าที่ไว้ที่ศูนย์ข้อมูล ที่ตั้งอยู่ในสถานีย่อยไฟฟ้าแรงสูง ริมถนนราชดำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะชำนาญพื้นที่และชำนาญงานโครงสร้างข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพียง 1-2 คนเท่านั้น เพื่อรอการประสานงานจากเจ้าหน้าที่ชุดใหม่ที่กำลังเตรียมทีมลงมาทำงานแทนชุดเก่า ที่ทำหน้าที่ล้มเหลวในการสร้างมวลชนและความเข้าใจอย่างสิ้นเชิง และคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในสิ้นเดือน มี.ค.2554
ส่วนการทำงานในพื้นที่ ในเชิงลึกยังคงทำไปตามปกติทั้งในส่วนของการทำงาน CSR(การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม) การสนับสนุนในแง่มุมต่างๆ เพียงแต่ไม่มีการเปิดเผยเท่านั้น ส่วนการนำกลุ่มประชาชนต่างๆ ไปท่องเที่ยวทัศนศึกษา ในวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมาจะเป็นเที่ยวสุดท้าย โดยการเดินทางของกลุ่มประชาชนชาว ต.สระแก้ว อ.ท่าศาลา หลังจากนั้นจะยุติการทำงานด้านการนำเที่ยวไว้ก่อน