ASTVผู้จัดการรายวัน - “วิเชียร” มีความเห็นสั่งฟ้องคดี พธม.ชุมนุมสนามบินแล้ว แกนนำ พธม.โดนกันถ้วนหน้า ขณะที่ “กษิต” กับอีก 9 พธม.ไม่ฟ้องข้อหาก่อการร้าย รวมทั้งกลุ่มคนไทยทั้งคณะฯ เตรียมนัดผู้ต้องหาส่งฟ้องต่ออัยการวันที่ 5 เม.ย.นี้ “ทนายสุวัตร”ลั่น ตำรวจรับใบสั่งการเมืองกลั่นแกล้ง
วานนี้(18 มี.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)มีความเห็นพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีที่กล่าวหากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกปิดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เกิดตั้งแต่ปี 2551 โดยพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 รวม 15 คน จากเดิมที่คณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหานี้ทั้งสิ้น 25 คน และสั่งฟ้องในข้อหากระทำผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ 104 คน ซึ่งในจำนวน 15 คนที่ยังคงสั่งฟ้องในข้อหาก่อการร้ายเป็นแกนนำกลุ่ม พธม.ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2
ส่วนที่สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 10 คน พล.ต.ต.ประวุฒิกล่าวว่า ข้อหาก่อการร้ายมีการระบุรายละเอียดไว้ส่วนหนึ่งว่า เจตนาพิเศษต้องเป็นการตั้งใจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขนส่ง กระบวนการปกครอง โดยหากดูจากเนื้อหาในสำนวนก็ไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ ทำให้บางคนอาจจะหลุดในส่วนนี้ไป แต่อย่างไรก็ตามคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ ที่มีโทษสูงไม่ต่างกัน ส่วนกระแสข่าวว่ามีการกดดัน ผบ.ตร.ไม่ให้สั่งฟ้องผู้ต้องหาบางรายในข้อหาก่อการร้ายนั้น ตนไม่ทราบในเรื่องนี้
กรณีที่ไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาบางรายเป็นการเจรจาให้ พธม.ยุติการชุมนุมด้วยหรือไม่ โฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่ใช่ น่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาในสำนวนมากกว่า เพราะเจตนาพิเศษเป็นเรื่องที่สืบยาก แต่สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ นั้น แค่เรื่องทางกายภาพก็สามารถพิสูจน์ได้แล้ว หากได้เห็นรายชื่อการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้ายก็จะรู้ว่าไม่น่าจะมีการต่อรองอะไรกัน และคงไม่เกี่ยวว่าจะเป็นประโยชน์กับการเจรจาใน พธม.ยุติการชุมนุมหรือไม่ เพราะแกนนำก็ยังมีรายชื่อสั่งฟ้องหมดทุกคน
ถามว่า ดูบังเอิญหรือไม่ที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม.ได้มายื่นคำร้องขอให้สอบปกกคำพยานเพิ่มและสั่งไม่ฟ้องแกนนำในข้อหาก่อการร้าย กระทั่ง ตร.มีดุลพินิจออกมาเช่นนี้ ซึ่งโฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะ พล.ต.จำลองก็โดนแจ้งทั้ง 2 ข้อหา “จะเป็นดุลพินิจของ ผบ.ตร.หรือไม่ ก็มีความเหมือนกันอยู่บางส่วน และแตกต่างกันอยู่ในบางส่วน ซึ่งเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสูง”
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะพนักงานสอบสวน ซึ่งมี พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าฯ ได้ประชุมสรุป เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ภายหลังสอบปากคำพยานอีก 13 ปาก ตามที่ พล.ต.จำลองร้องขอมา โดยคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสิ้น 114 ราย โดยในจำนวนนี้สั่งฟ้องในข้อหาก่อการร้ายทั้งสิ้น 25 ราย ซึ่งเป็นการยืนความเห็นทางคดีตั้งแต่มีการแจ้งข้อกล่าวหาครั้งแรก จากนั้นได้ส่งสำนวนคดีที่สรุปความเห็นให้ ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิจารณามีความเห็นทางคดีเป็นที่สุด
หลังจากนั้น ผบ.ตร.ได้ส่งสำนวนให้คณะกรรมการของกองคดี ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.ต.วิชัย รัตนยศ ผบก.คด. พ.ต.อ.สุรพล ธูปะเตมีย์ รองผบก.คด. พ.ต.อ.ธีรบูลย์ มั่งมี รองผบก.คด. และคณะรวม 14 คน เป็นผู้พิจารณา ก่อนมีความเห็นเสนอมายังผบ.ตร.และได้เห็นตามและมีความเห็นทางคดีซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้อง ตรงกับความเห็นที่คณะพนักงานสอบสวนเสนอขึ้นไป มีเพียงบางประเด็นเท่านั้นที่เห็นต่าง คือ ในข้อหาก่อการร้ายนั้น จากเดิมที่คณะพนักงานสอบสวนเสนอสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสิ้น 25 คน แต่ ผบ.ตร.กลับเห็นว่าควรสั่งฟ้องข้อหานี้แก่ผู้ต้องหาเพียง 15 คน ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายนรัณยู หรือศรัณยู วงศ์กระจ่าง นายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นางมาลีรัตน์ แก้วก่า เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ นายชนะ ผาสุกสกุล นายสุรวิชช์ วีรวรรณ และนายรัชต์ชยุตม์ หรืออมรเทพ หรืออมร ศิริโยธินภักดี หรืออมรรัตนานนท์
“ผบ.ตร.มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้าย 10 คน ซึ่งประกอบด้วย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรศุกร์ นายประพันธ์ คูณมี นายกษิต ภิรมย์ นายเทิดภูมิ ใจดี นายวีระ สมความคิด น.ส.อัญชะลี หรือปอง ไพรีรัก น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ นายพิชิต หรือตั้ม ไชยมงคล และนายบรรจง นะแส”
นอกจากนี้ ผบ.ตร.ยังมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องบริษัท เอเอสทีวี ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และ 66 รวมทั้งมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาทั้งหมดตาม ป.อาญามาตรา 113, 114, 209, 360, 371, 385, 386 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 114 ประกอบมาตรา 83
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดว่า พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับแรงกดดันจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมืองให้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนายกษิต รมว.ต่างประเทศ ในข้อหาก่อการร้าย เนื่องจากกระทบต่อเสถียรภาพและภาพลักษณ์ของรัฐบาล ทำให้มีการจับตามองการสั่งคดีครั้งนี้ กระทั่งวันนี้ พล.ต.อ.วิเชียรได้มีความเห็นทางคดี สั่งไม่ฟ้องนายกษิต และพธม.อีก 9 คนในข้อหาก่อการร้ายดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พ.ต.อ เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผกก.สน.มักกะสัน ในฐานะพนักงานสอบสวน ตามคำสั่งสำนักงานตรวจแห่งชาติ (ตร.) นำเอกสารหลักฐานและสำนวนการสอบสวนจำนวน 24 ลัง 165 แฟ้ม พร้อมความเห็นสั่งฟ้องซึ่งลงนามโดย ผบ.ตร. ที่เห็นควรสั่งฟ้อง นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ และ นายการุณ ใสงาม แกนนำและแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ในคดีร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และทำเนียบรัฐบาล ส่งมอบให้กับนายกายสิทธิ์ พิศวง ปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เพื่อพิจารณาสั่งคดี โดยนายไชยวัฒน์ รวมข้อหา 8 ข้อหาแต่ไม่มีคดีก่อการร้าย ส่วนนายสมบูรณ์ ถูกตั้งข้อหา 7 ข้อหา แต่ไม่มีคดีก่อการร้าย และนายการุณ ถูกต้องข้อหา รวม 4 ข้อหาแต่ไม่มีคดีก่อการร้ายเช่นกัน
สับใบสั่งการเมือง
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า กรณีนี้ตำรวจรับใบสั่งนักการเมือง โดยสั่งเลือกฟ้องแกนนำพันธมิตรฯ ที่ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ปี 51 และสาเหตุที่ล่าช้าเพราะไม่มั่นใจในหลักฐาน แถมยัดเยียดข้อหาผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตามมีหนังสือ ทอท.ยืนยันว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ และไม่กระทบต่อเส้นทางการบิน
วานนี้(18 มี.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ต.ประวุฒิ ถาวรศิริ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.)มีความเห็นพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาในคดีที่กล่าวหากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) บุกปิดท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ เกิดตั้งแต่ปี 2551 โดยพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 135/1 รวม 15 คน จากเดิมที่คณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องในข้อหานี้ทั้งสิ้น 25 คน และสั่งฟ้องในข้อหากระทำผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ 104 คน ซึ่งในจำนวน 15 คนที่ยังคงสั่งฟ้องในข้อหาก่อการร้ายเป็นแกนนำกลุ่ม พธม.ทั้งรุ่น 1 และรุ่น 2
ส่วนที่สั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา 10 คน พล.ต.ต.ประวุฒิกล่าวว่า ข้อหาก่อการร้ายมีการระบุรายละเอียดไว้ส่วนหนึ่งว่า เจตนาพิเศษต้องเป็นการตั้งใจทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการขนส่ง กระบวนการปกครอง โดยหากดูจากเนื้อหาในสำนวนก็ไม่สามารถพิสูจน์ความผิดได้ ทำให้บางคนอาจจะหลุดในส่วนนี้ไป แต่อย่างไรก็ตามคงมีความผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ ที่มีโทษสูงไม่ต่างกัน ส่วนกระแสข่าวว่ามีการกดดัน ผบ.ตร.ไม่ให้สั่งฟ้องผู้ต้องหาบางรายในข้อหาก่อการร้ายนั้น ตนไม่ทราบในเรื่องนี้
กรณีที่ไม่สั่งฟ้องผู้ต้องหาบางรายเป็นการเจรจาให้ พธม.ยุติการชุมนุมด้วยหรือไม่ โฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่ใช่ น่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาในสำนวนมากกว่า เพราะเจตนาพิเศษเป็นเรื่องที่สืบยาก แต่สำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.การบินฯ นั้น แค่เรื่องทางกายภาพก็สามารถพิสูจน์ได้แล้ว หากได้เห็นรายชื่อการสั่งฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้ายก็จะรู้ว่าไม่น่าจะมีการต่อรองอะไรกัน และคงไม่เกี่ยวว่าจะเป็นประโยชน์กับการเจรจาใน พธม.ยุติการชุมนุมหรือไม่ เพราะแกนนำก็ยังมีรายชื่อสั่งฟ้องหมดทุกคน
ถามว่า ดูบังเอิญหรือไม่ที่ก่อนหน้านี้ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำ พธม.ได้มายื่นคำร้องขอให้สอบปกกคำพยานเพิ่มและสั่งไม่ฟ้องแกนนำในข้อหาก่อการร้าย กระทั่ง ตร.มีดุลพินิจออกมาเช่นนี้ ซึ่งโฆษก ตร.กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เพราะ พล.ต.จำลองก็โดนแจ้งทั้ง 2 ข้อหา “จะเป็นดุลพินิจของ ผบ.ตร.หรือไม่ ก็มีความเหมือนกันอยู่บางส่วน และแตกต่างกันอยู่ในบางส่วน ซึ่งเป็นการพิจารณาของคณะกรรมการระดับสูง”
รายงานข่าวแจ้งว่า คณะพนักงานสอบสวน ซึ่งมี พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ช่วย ผบ.ตร.เป็นหัวหน้าฯ ได้ประชุมสรุป เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ภายหลังสอบปากคำพยานอีก 13 ปาก ตามที่ พล.ต.จำลองร้องขอมา โดยคณะพนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสิ้น 114 ราย โดยในจำนวนนี้สั่งฟ้องในข้อหาก่อการร้ายทั้งสิ้น 25 ราย ซึ่งเป็นการยืนความเห็นทางคดีตั้งแต่มีการแจ้งข้อกล่าวหาครั้งแรก จากนั้นได้ส่งสำนวนคดีที่สรุปความเห็นให้ ผบ.ตร. ในฐานะหัวหน้าคณะพนักงานสอบสวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พิจารณามีความเห็นทางคดีเป็นที่สุด
หลังจากนั้น ผบ.ตร.ได้ส่งสำนวนให้คณะกรรมการของกองคดี ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.ต.วิชัย รัตนยศ ผบก.คด. พ.ต.อ.สุรพล ธูปะเตมีย์ รองผบก.คด. พ.ต.อ.ธีรบูลย์ มั่งมี รองผบก.คด. และคณะรวม 14 คน เป็นผู้พิจารณา ก่อนมีความเห็นเสนอมายังผบ.ตร.และได้เห็นตามและมีความเห็นทางคดีซึ่งส่วนใหญ่สอดคล้อง ตรงกับความเห็นที่คณะพนักงานสอบสวนเสนอขึ้นไป มีเพียงบางประเด็นเท่านั้นที่เห็นต่าง คือ ในข้อหาก่อการร้ายนั้น จากเดิมที่คณะพนักงานสอบสวนเสนอสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้งสิ้น 25 คน แต่ ผบ.ตร.กลับเห็นว่าควรสั่งฟ้องข้อหานี้แก่ผู้ต้องหาเพียง 15 คน ซึ่งประกอบด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง นายสนธิ ลิ้มทองกุล นายพิภพ ธงไชย นายสมศักดิ์ โกศัยสุข นายสุริยะใส กตะศิลา นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ นายนรัณยู หรือศรัณยู วงศ์กระจ่าง นายศิริชัย ไม้งาม นายสำราญ รอดเพชร นางมาลีรัตน์ แก้วก่า เรือตรีแซมดิน เลิศบุศย์ พ.ต.ท.สันธนะ ประยูรรัตน์ นายชนะ ผาสุกสกุล นายสุรวิชช์ วีรวรรณ และนายรัชต์ชยุตม์ หรืออมรเทพ หรืออมร ศิริโยธินภักดี หรืออมรรัตนานนท์
“ผบ.ตร.มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในข้อหาก่อการร้าย 10 คน ซึ่งประกอบด้วย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ พล.อ.ปฐมพงษ์ เกสรศุกร์ นายประพันธ์ คูณมี นายกษิต ภิรมย์ นายเทิดภูมิ ใจดี นายวีระ สมความคิด น.ส.อัญชะลี หรือปอง ไพรีรัก น.ส.สโรชา พรอุดมศักดิ์ นายพิชิต หรือตั้ม ไชยมงคล และนายบรรจง นะแส”
นอกจากนี้ ผบ.ตร.ยังมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องบริษัท เอเอสทีวี ตาม พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 7 และ 66 รวมทั้งมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง ผู้ต้องหาทั้งหมดตาม ป.อาญามาตรา 113, 114, 209, 360, 371, 385, 386 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 114 ประกอบมาตรา 83
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดว่า พล.ต.อ.วิเชียร ได้รับแรงกดดันจากผู้มีอิทธิพลและนักการเมืองให้มีความเห็นสั่งไม่ฟ้องนายกษิต รมว.ต่างประเทศ ในข้อหาก่อการร้าย เนื่องจากกระทบต่อเสถียรภาพและภาพลักษณ์ของรัฐบาล ทำให้มีการจับตามองการสั่งคดีครั้งนี้ กระทั่งวันนี้ พล.ต.อ.วิเชียรได้มีความเห็นทางคดี สั่งไม่ฟ้องนายกษิต และพธม.อีก 9 คนในข้อหาก่อการร้ายดังกล่าว
ต่อมาเมื่อเวลา 15.00 น. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด ถ.รัชดาภิเษก พ.ต.อ เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ผกก.สน.มักกะสัน ในฐานะพนักงานสอบสวน ตามคำสั่งสำนักงานตรวจแห่งชาติ (ตร.) นำเอกสารหลักฐานและสำนวนการสอบสวนจำนวน 24 ลัง 165 แฟ้ม พร้อมความเห็นสั่งฟ้องซึ่งลงนามโดย ผบ.ตร. ที่เห็นควรสั่งฟ้อง นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ นายสมบูรณ์ ทองบุราณ และ นายการุณ ใสงาม แกนนำและแนวร่วมเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ในคดีร่วมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และทำเนียบรัฐบาล ส่งมอบให้กับนายกายสิทธิ์ พิศวง ปราการ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอาญา เพื่อพิจารณาสั่งคดี โดยนายไชยวัฒน์ รวมข้อหา 8 ข้อหาแต่ไม่มีคดีก่อการร้าย ส่วนนายสมบูรณ์ ถูกตั้งข้อหา 7 ข้อหา แต่ไม่มีคดีก่อการร้าย และนายการุณ ถูกต้องข้อหา รวม 4 ข้อหาแต่ไม่มีคดีก่อการร้ายเช่นกัน
สับใบสั่งการเมือง
นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า กรณีนี้ตำรวจรับใบสั่งนักการเมือง โดยสั่งเลือกฟ้องแกนนำพันธมิตรฯ ที่ปิดสนามบินสุวรรณภูมิ ปี 51 และสาเหตุที่ล่าช้าเพราะไม่มั่นใจในหลักฐาน แถมยัดเยียดข้อหาผู้ก่อการร้าย อย่างไรก็ตามมีหนังสือ ทอท.ยืนยันว่าการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ และไม่กระทบต่อเส้นทางการบิน