วานนี้ ( 17 มี.ค. ) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธาน ได้มีการประชุมพิจารณา หามาตรการจัดการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดการความโปร่งใส ยุติรรม และป้องกันความขัดแย้งในพื้นที่เลือกตั้งโดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล
โดยน.ส.สมศรี หาญอนันทสุข ผอ.เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้ง เสนอว่าอยากให้หัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค ร่วมลงสัตยาบันทางการเมือง โดยมีตัวแทนทูต และผู้นำศาสนามาเป็นสักขีพยาน เพื่อไม่ให้มีการซื้อเสียง หลังจากที่พบว่าประเทศไทย ติดอันดับ 1 ที่มีการซื้อเสียงมากที่สุด อีกทั้งการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องยึดความเป็นกลาง โดยให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
ขณะที่ ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง คนที่ 2 กล่าวว่า สำหรับนโยบายสาธารณะนั้น อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ด้วยการจัดเวทีเพื่อกำหนดคุณสมบัติที่ดีที่ส.ส.ควรมี โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เข้ารับฟังเพื่อกำหนดทิศทางบทบาทการเมืองต่อไป
ด้านนายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หน่วยงานด้านวิชาการขณะนี้ได้พยายามจัดทำข้อมูลของส.ส.ชุดปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เบื้องต้นจะมีประวัติส่วนตัว ข้อมูลการทำหน้าที่ในรัฐสภา อาทิ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การลงมติ สถิติการเข้าประชุม เป็นต้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากมีตัวกลางในการนำเสนอข้อมูล จะลดความขัดแย้งในพื้นที่ได้มากกว่าผู้สมัครลงพื้นที่ตัวเอง
ด้านนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ถามที่ประชุมว่าหลังจากกกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้ว แกนนำพรรคการเมืองแต่ละพรรคสามารถลงพื้นที่ได้หรือไม่ เช่น พื้นที่ภาคเหนือ หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ จะขึ้นเวทีปราศรัยโดยไม่เกิดปัญหาวุ่นวาย ยังไม่มีใครรับประกันได้ ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบัน มีกลไกที่เหนือการควบคุม อาจทำให้การดำเนินเลือกตั้งไม่เป็นปกติ
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า หากการหาเสียงหรือการเลือกตั้งไม่เป็นปกติ จะส่งผลถึงบุคคลที่ได้อำนาจรัฐได้ เพราะหากมีคนกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับการเลือกตั้ง เมื่อพรรคใดพรรคหนึ่งจัดตั้งรัฐบาล จะมีข้อตำหนิ หรือเกิดการไม่ยอมรับเกิดขึ้น ในที่สุดอาจย้อนไปสู่สภาพปัญหาเดิมๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมกรรมาธิการได้ซักถามตัวแทนกกต. กรณีความชัดเจนเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยว่าที่ ร.ต.วันชัย ใจกุศล ตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและส่งความให้ กกต.กลางได้ภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ หากพื้นที่ใดมีการแบ่งเขตที่ไปทับซ้อนพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูงก็จะมีปัญหา แต่หากมีปัญหา ต้องให้ กกต.กลางเป็นผู้ชี้ขาดเบื้องต้นต้องเป็นพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกัน และพิจารณาถึงภูมิประเทศ นอกจากนี้ กมธ.หลายคนได้แสดงความกังวลว่า กกต.จังหวัด จะแบ่งพื้นที่แต่ละอำเภอออกจากกัน
โดยเฉพาะ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ในเขตหนองแขม ถูกแยกพื้นที่ไปรวมกับเขตทวีวัฒนา และเขตบางบอน ทั้งที่ในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีมาก่อน หาก กกต.แบ่งเขตลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เกิดปัญหากับนักเลือกตั้ง และตนไม่ยอมอย่างแน่นอน
ด้านนายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในพื้นที่ จ.หนองคาย ที่ต้องแบ่งพื้นที่เป็น จ.บึงกาฬ ขณะนี้พบว่ามีลูกน้องของนักการเมืองบางพรรค พยายามไปแทรกแซง เพื่อให้เขตเลือกตั้งเอื้อกับนักการเมืองของพรรคหนึ่ง
ทางด้านนายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมชาติพัฒนา กล่าวว่า พื้นที่ จ.นครราชสีมา ที่ผู้แทนหายไป 1 ที่นั่งนั้น จำเป็นต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เบื้องต้นอาจใช้เขตเลือกตั้งแบบปี 2540 ซึ่งโดยปกติ กกต.จังหวัด ต้องเรียก ส.ส.หรือตัวแทนนักการเมืองเข้าไปแสดงความเห็น แต่การเลือกตั้งที่จะมาถึง ล่าสุด กกต.จังหวัดยังไม่ได้เรียก สำหรับการแบ่งเขตพื้นที่ภาคอีสานยอมรับว่า ขณะนี้มีปัญหาที่มีนักการเมืองใช้อิทธิพลผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปจัดการเลือกตั้ง และที่ผ่านมาได้เรียกส.ส.ในพื้นที่หารือต่อรองขอให้มีการย้ายพรรค เพื่อหวังประโยชน์เรื่องการเลือกตั้ง
โดยน.ส.สมศรี หาญอนันทสุข ผอ.เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้ง เสนอว่าอยากให้หัวหน้าพรรคการเมืองทุกพรรค ร่วมลงสัตยาบันทางการเมือง โดยมีตัวแทนทูต และผู้นำศาสนามาเป็นสักขีพยาน เพื่อไม่ให้มีการซื้อเสียง หลังจากที่พบว่าประเทศไทย ติดอันดับ 1 ที่มีการซื้อเสียงมากที่สุด อีกทั้งการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ต้องยึดความเป็นกลาง โดยให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต
ขณะที่ ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์ รองประธานสภาพัฒนาการเมือง คนที่ 2 กล่าวว่า สำหรับนโยบายสาธารณะนั้น อยากให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ด้วยการจัดเวทีเพื่อกำหนดคุณสมบัติที่ดีที่ส.ส.ควรมี โดยให้ผู้สมัครรับเลือกตั้ง เข้ารับฟังเพื่อกำหนดทิศทางบทบาทการเมืองต่อไป
ด้านนายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หน่วยงานด้านวิชาการขณะนี้ได้พยายามจัดทำข้อมูลของส.ส.ชุดปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนรับทราบผ่านทางเว็บไซต์ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง เบื้องต้นจะมีประวัติส่วนตัว ข้อมูลการทำหน้าที่ในรัฐสภา อาทิ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ การลงมติ สถิติการเข้าประชุม เป็นต้น
ทั้งนี้ เชื่อว่าหากมีตัวกลางในการนำเสนอข้อมูล จะลดความขัดแย้งในพื้นที่ได้มากกว่าผู้สมัครลงพื้นที่ตัวเอง
ด้านนายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ถามที่ประชุมว่าหลังจากกกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งแล้ว แกนนำพรรคการเมืองแต่ละพรรคสามารถลงพื้นที่ได้หรือไม่ เช่น พื้นที่ภาคเหนือ หากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ จะขึ้นเวทีปราศรัยโดยไม่เกิดปัญหาวุ่นวาย ยังไม่มีใครรับประกันได้ ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบัน มีกลไกที่เหนือการควบคุม อาจทำให้การดำเนินเลือกตั้งไม่เป็นปกติ
ทั้งนี้ ส่วนตัวมองว่า หากการหาเสียงหรือการเลือกตั้งไม่เป็นปกติ จะส่งผลถึงบุคคลที่ได้อำนาจรัฐได้ เพราะหากมีคนกลุ่มหนึ่งไม่ยอมรับการเลือกตั้ง เมื่อพรรคใดพรรคหนึ่งจัดตั้งรัฐบาล จะมีข้อตำหนิ หรือเกิดการไม่ยอมรับเกิดขึ้น ในที่สุดอาจย้อนไปสู่สภาพปัญหาเดิมๆ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมกรรมาธิการได้ซักถามตัวแทนกกต. กรณีความชัดเจนเรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยว่าที่ ร.ต.วันชัย ใจกุศล ตัวแทนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต. ) กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างแบ่งเขตเลือกตั้งของ กกต.จังหวัด ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและส่งความให้ กกต.กลางได้ภายในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ หากพื้นที่ใดมีการแบ่งเขตที่ไปทับซ้อนพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูงก็จะมีปัญหา แต่หากมีปัญหา ต้องให้ กกต.กลางเป็นผู้ชี้ขาดเบื้องต้นต้องเป็นพื้นที่ที่มีเขตติดต่อกัน และพิจารณาถึงภูมิประเทศ นอกจากนี้ กมธ.หลายคนได้แสดงความกังวลว่า กกต.จังหวัด จะแบ่งพื้นที่แต่ละอำเภอออกจากกัน
โดยเฉพาะ นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ในเขตหนองแขม ถูกแยกพื้นที่ไปรวมกับเขตทวีวัฒนา และเขตบางบอน ทั้งที่ในประวัติศาสตร์ไม่เคยมีมาก่อน หาก กกต.แบ่งเขตลักษณะดังกล่าว อาจทำให้เกิดปัญหากับนักเลือกตั้ง และตนไม่ยอมอย่างแน่นอน
ด้านนายเชิดพงศ์ ราชป้องขันธ์ ส.ส.หนองคาย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ในพื้นที่ จ.หนองคาย ที่ต้องแบ่งพื้นที่เป็น จ.บึงกาฬ ขณะนี้พบว่ามีลูกน้องของนักการเมืองบางพรรค พยายามไปแทรกแซง เพื่อให้เขตเลือกตั้งเอื้อกับนักการเมืองของพรรคหนึ่ง
ทางด้านนายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรครวมชาติพัฒนา กล่าวว่า พื้นที่ จ.นครราชสีมา ที่ผู้แทนหายไป 1 ที่นั่งนั้น จำเป็นต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เบื้องต้นอาจใช้เขตเลือกตั้งแบบปี 2540 ซึ่งโดยปกติ กกต.จังหวัด ต้องเรียก ส.ส.หรือตัวแทนนักการเมืองเข้าไปแสดงความเห็น แต่การเลือกตั้งที่จะมาถึง ล่าสุด กกต.จังหวัดยังไม่ได้เรียก สำหรับการแบ่งเขตพื้นที่ภาคอีสานยอมรับว่า ขณะนี้มีปัญหาที่มีนักการเมืองใช้อิทธิพลผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เข้าไปจัดการเลือกตั้ง และที่ผ่านมาได้เรียกส.ส.ในพื้นที่หารือต่อรองขอให้มีการย้ายพรรค เพื่อหวังประโยชน์เรื่องการเลือกตั้ง