นครศรีธรรมราช - กฟผ.เมืองคอนรุกเดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่สนเสียงต้าน เสี้ยมฝ่ายหนุนบุกพบผู้ว่าฯ รายวัน หนุนเปิดสำนักงานศูนย์ข้อมูลต่ออ้างให้ความรู้ชาวบ้าน “พลังงานถ่านหินสะอาด” จำนวน 2 กลุ่มเป็นการเปิดหน้าคนของ กฟผ. เพื่อเข้ามาขัดขวางชาวบ้านที่คัดค้าน สวนทางกับคำสั่งของผู้บริหาร กฟผ.ที่มีมติให้เจ้าหน้าที่ กฟผ.ในพื้นที่หยุดเคลื่อนไหว หวั่นเป็นการจุดชนวนร้าวในระดับองค์กร
หลังจากที่เครือข่ายต่างๆ ได้มีการรวมตัวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จ.นครศรีธรรมราช ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ) อย่างหนักและต่อเนื่อง โดยมีการยื่นเงื่อนไขให้มีการย้ายสำนักงานและบุคลากรออกนอกพื้นที่ทันที โดยนายธีระมินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ทำตามข้อเรียกร้องของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกันพบว่าการทำงานในพื้นที่ อ.ท่าศาลาของเจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้ปิดสำนักงานลงชั่วคราวแต่กลับไปเปิดใหม่ในห้องถัดไป ส่วนที่ อ.หัวไทร ยังคงเปิดทำการตามปกติ แม้ว่าหลายฝ่ายหวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หลังจากความเคลื่อนไหวดังกล่าวปรากฏว่าได้มีกลุ่มเคลื่อนไหวออกมาทำหนังสือคัดค้านการปิดศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า จ.นครศรีธรรมราช ที่เปิดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและเคลื่อนไหวเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินต่อไป ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นถูกมองว่ากำลังมีการ “เสี้ยม” เพื่อให้เกิดการแตกแยกกันขึ้นในพื้นที่เป้าหมายโครงการ และให้คนนอกพื้นที่เข้าไปแทรกแซงกดดันให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นให้ได้
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า มีรายงานว่าได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ได้ใช้ชื่อว่า “ชมรมคนรักหัวไทร” ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดมารับหนังสือแทน และได้ลงรับไว้เลขที่ 007067 ลงวันที่ 15 มี.ค.2554 โดยมีหัวเรื่อง “ขอให้การสนับสนุนภารกิจของศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า อ.หัวไทร” ซึ่งลงนามในหนังสือดังกล่าวโดยนายพรชัย บุญรอดรักษ์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เขต อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และมีบัญชีรายชื่อของผู้สนับสนุนแนบท้ายมาอีกรวม 236 รายชื่อ
สาระสำคัญที่อ้างไว้คือ ศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอำเภอหัวไทร เปิดขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และอ้างต่อว่ากระบวนการนี้ได้มีกลุ่มต่อต้านคอยขัดขวางในการเผยแพร่ข้อมูล และบอกต่อด้วยว่าศูนย์ดังกล่าวได้ปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย เช่น การทำเวทีประชาคมตามหมู่บ้านต่างๆ การศึกษาดูงานตามความต้องการของประชาชนใน อ.หัวไทร การพบปะกลุ่มย่อย การส่งเสริมสนับสนุนองค์กรต่าง และช่วงท้ายบอกว่าขอสนับสนุนให้มีการเปิดศูนย์ข้อมูลนี้ต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มี.ค.2554 ได้มีกลุ่มประชาชนที่อ้างว่าเป็นชาว อ.ท่าศาลาจำนวนหนึ่ง เข้ายื่นกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเจ้าหน้าที่ศาลากลางจังหวัดได้ลงเลขรับไว้เลขที่ 007068 ลงนามท้ายหนังสือโดยนายสมพงศ์ ปัจฉิมเพชร นายประจักษ์ พิมเสน นายกาแมน สมาด และนายเราะหมาน ปริงทอง โดยเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุว่าการปิดศูนย์ดังกล่าวใน อ.ท่าศาลา เสมือนว่าเป็นการปิดหูปิดตาประชาชน และอ้างความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญไว้ เป็นเหตุผลสำคัญ
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ติดต่อขอสัมภาษณ์นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพาณิชย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในประเด็นของความขัดแย้งในพื้นที่นครศรีธรรมราช นายวิวัฒน์ กล่าวเพียงว่าไม่สามารถให้สัมภาษณ์ได้ ต้องไปคุยกับระดับนโยบายในระดับรองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเท่านั้น
ด้านนายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา(อบต.) เปิดเผยว่า การแสดงออกที่ผ่านมานั้นใครจะเห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าหรือไม่ด้วย แต่ละคนไม่สามารถคิดแทนกันได้ แต่ยืนยันว่าชาวท่าศาลาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน ในส่วนของผู้นำท้องถิ่นในท่าศาลานั้นไม่มีปัญหาพูดคุยกันได้ ทำความเข้าใจกันได้ สิ่งสำคัญคือวิธีการที่ต้องทำความเข้าใจกันต้องมีเหตุผล
นายสมิง พัฒนานนท์ ผู้ใหญ่ ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการปิดศูนย์นั้นเป็นการดำเนินการโดย กฟผ. เอง หลังจากนี้ยืนยันว่าจะต้องดำเนินการในขั้นเด็ดขาด เนื่องจากสำนักงาน กฟผ.ใน อ.หัวไทร ปิดประตู แต่ยังมีคนทำงานข้างใน กฟผ.มาล่ารายชื่อบ้างก็รู้บ้างไม่รู้ บางคนเปิดหน้าออกมาแล้วว่าเป็นคนของ กฟผ.ดังนั้นต้องมาว่ากัน
“ผมคิดว่าที่ถูกกล่าวหาว่าไปปิดหูปิดตาประชาชนนั้น ไม่เป็นความจริง การปิดหูปิดตาประชาชนเป็นการทำโดย กฟผ.ไม่เคยบอกถึงข้อเสียของโรงไฟฟ้าบอกแต่ข้อดี เมื่อเราถามถึงข้อเสียกลับบอกไม่ได้ กฟผ.จึงปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รู้ถึงข้อเสียแต่ให้รู้ในสิ่งที่ กฟผ.ให้รู้เท่านั้น” นายสมิงกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการประชุมผู้บริหาร กฟผ.ที่เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช ได้มีมติชัดเจนเมื่อวันที่ 14 มี.ค.54 ว่าห้ามผู้ปฏิบัติของ กฟผ.ไปเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อสร้างความขัดแย้งในพื้นที่โดยเด็ดขาด แต่ในทางกลับกันพบว่าคนของ กฟผ.เองพยายามที่จะเคลื่อนไหวตอบโต้ฝ่ายต่อต้านคัดค้านตลอดเวลา เท่ากับเป็นการขยายวงจุดชนวนความขัดแย้งให้ลุกลามมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของความขัดแย้งในพื้นที่เป้าหมายโครงการก่อสร้างเอง และพยายามที่จะสร้างมวลชนภายนอกพื้นที่เป้าหมายโครงการเข้าไปกดดันชุมชน ที่เป็นพื้นที่ก่อสร้างที่รับผลกระทบโดยตรงให้ยอมรับโครงการ และให้หมดความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวปกป้องถิ่นฐานของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ในความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้บริหาร กฟผ.อย่างมาก เนื่องจากเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง ที่สำคัญพบข้อมูลว่า หนังสือคัดค้านการปิดศูนย์นั้นไปอยู่ที่ กฟผ.ก่อนที่จะยื่นให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน แบ่งงานกันทำ โดยก่อนที่จะมีการยื่นเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ได้แจ้งผู้สื่อข่าวหลายคนผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(อีเมล)ว่า จะมีความเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนทั้งสองครั้ง เหมือนกับรู้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนเป็นอย่างดี
หลังจากที่เครือข่ายต่างๆ ได้มีการรวมตัวคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จ.นครศรีธรรมราช ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ) อย่างหนักและต่อเนื่อง โดยมีการยื่นเงื่อนไขให้มีการย้ายสำนักงานและบุคลากรออกนอกพื้นที่ทันที โดยนายธีระมินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เพื่อขอให้ทำตามข้อเรียกร้องของประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะเดียวกันพบว่าการทำงานในพื้นที่ อ.ท่าศาลาของเจ้าหน้าที่ กฟผ.ได้ปิดสำนักงานลงชั่วคราวแต่กลับไปเปิดใหม่ในห้องถัดไป ส่วนที่ อ.หัวไทร ยังคงเปิดทำการตามปกติ แม้ว่าหลายฝ่ายหวั่นเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หลังจากความเคลื่อนไหวดังกล่าวปรากฏว่าได้มีกลุ่มเคลื่อนไหวออกมาทำหนังสือคัดค้านการปิดศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า จ.นครศรีธรรมราช ที่เปิดขึ้นเพื่อให้ข้อมูลและเคลื่อนไหวเตรียมการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินต่อไป ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้นถูกมองว่ากำลังมีการ “เสี้ยม” เพื่อให้เกิดการแตกแยกกันขึ้นในพื้นที่เป้าหมายโครงการ และให้คนนอกพื้นที่เข้าไปแทรกแซงกดดันให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นให้ได้
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า มีรายงานว่าได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรก ได้ใช้ชื่อว่า “ชมรมคนรักหัวไทร” ได้ยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดมารับหนังสือแทน และได้ลงรับไว้เลขที่ 007067 ลงวันที่ 15 มี.ค.2554 โดยมีหัวเรื่อง “ขอให้การสนับสนุนภารกิจของศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า อ.หัวไทร” ซึ่งลงนามในหนังสือดังกล่าวโดยนายพรชัย บุญรอดรักษ์ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)เขต อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช และมีบัญชีรายชื่อของผู้สนับสนุนแนบท้ายมาอีกรวม 236 รายชื่อ
สาระสำคัญที่อ้างไว้คือ ศูนย์ข้อมูลการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าอำเภอหัวไทร เปิดขึ้นเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า และการก่อสร้างโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด และอ้างต่อว่ากระบวนการนี้ได้มีกลุ่มต่อต้านคอยขัดขวางในการเผยแพร่ข้อมูล และบอกต่อด้วยว่าศูนย์ดังกล่าวได้ปฏิบัติตามกรอบกฎหมาย เช่น การทำเวทีประชาคมตามหมู่บ้านต่างๆ การศึกษาดูงานตามความต้องการของประชาชนใน อ.หัวไทร การพบปะกลุ่มย่อย การส่งเสริมสนับสนุนองค์กรต่าง และช่วงท้ายบอกว่าขอสนับสนุนให้มีการเปิดศูนย์ข้อมูลนี้ต่อไป
ต่อมาเมื่อวันที่ 16 มี.ค.2554 ได้มีกลุ่มประชาชนที่อ้างว่าเป็นชาว อ.ท่าศาลาจำนวนหนึ่ง เข้ายื่นกับผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเจ้าหน้าที่ศาลากลางจังหวัดได้ลงเลขรับไว้เลขที่ 007068 ลงนามท้ายหนังสือโดยนายสมพงศ์ ปัจฉิมเพชร นายประจักษ์ พิมเสน นายกาแมน สมาด และนายเราะหมาน ปริงทอง โดยเนื้อหาในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุว่าการปิดศูนย์ดังกล่าวใน อ.ท่าศาลา เสมือนว่าเป็นการปิดหูปิดตาประชาชน และอ้างความในมาตรา 57 แห่งรัฐธรรมนูญไว้ เป็นเหตุผลสำคัญ
ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ติดต่อขอสัมภาษณ์นายวิวัฒน์ ชาญเชิงพาณิชย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายก่อสร้างพลังงานความร้อน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ในประเด็นของความขัดแย้งในพื้นที่นครศรีธรรมราช นายวิวัฒน์ กล่าวเพียงว่าไม่สามารถให้สัมภาษณ์ได้ ต้องไปคุยกับระดับนโยบายในระดับรองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเท่านั้น
ด้านนายอภินันท์ เชาวลิต นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา(อบต.) เปิดเผยว่า การแสดงออกที่ผ่านมานั้นใครจะเห็นด้วยกับโรงไฟฟ้าหรือไม่ด้วย แต่ละคนไม่สามารถคิดแทนกันได้ แต่ยืนยันว่าชาวท่าศาลาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน ในส่วนของผู้นำท้องถิ่นในท่าศาลานั้นไม่มีปัญหาพูดคุยกันได้ ทำความเข้าใจกันได้ สิ่งสำคัญคือวิธีการที่ต้องทำความเข้าใจกันต้องมีเหตุผล
นายสมิง พัฒนานนท์ ผู้ใหญ่ ม.2 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือเพื่อคัดค้านการปิดศูนย์นั้นเป็นการดำเนินการโดย กฟผ. เอง หลังจากนี้ยืนยันว่าจะต้องดำเนินการในขั้นเด็ดขาด เนื่องจากสำนักงาน กฟผ.ใน อ.หัวไทร ปิดประตู แต่ยังมีคนทำงานข้างใน กฟผ.มาล่ารายชื่อบ้างก็รู้บ้างไม่รู้ บางคนเปิดหน้าออกมาแล้วว่าเป็นคนของ กฟผ.ดังนั้นต้องมาว่ากัน
“ผมคิดว่าที่ถูกกล่าวหาว่าไปปิดหูปิดตาประชาชนนั้น ไม่เป็นความจริง การปิดหูปิดตาประชาชนเป็นการทำโดย กฟผ.ไม่เคยบอกถึงข้อเสียของโรงไฟฟ้าบอกแต่ข้อดี เมื่อเราถามถึงข้อเสียกลับบอกไม่ได้ กฟผ.จึงปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รู้ถึงข้อเสียแต่ให้รู้ในสิ่งที่ กฟผ.ให้รู้เท่านั้น” นายสมิงกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการประชุมผู้บริหาร กฟผ.ที่เกี่ยวกับเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่นครศรีธรรมราช ได้มีมติชัดเจนเมื่อวันที่ 14 มี.ค.54 ว่าห้ามผู้ปฏิบัติของ กฟผ.ไปเคลื่อนไหวใดๆ เพื่อสร้างความขัดแย้งในพื้นที่โดยเด็ดขาด แต่ในทางกลับกันพบว่าคนของ กฟผ.เองพยายามที่จะเคลื่อนไหวตอบโต้ฝ่ายต่อต้านคัดค้านตลอดเวลา เท่ากับเป็นการขยายวงจุดชนวนความขัดแย้งให้ลุกลามมากยิ่งขึ้น ทั้งในส่วนของความขัดแย้งในพื้นที่เป้าหมายโครงการก่อสร้างเอง และพยายามที่จะสร้างมวลชนภายนอกพื้นที่เป้าหมายโครงการเข้าไปกดดันชุมชน ที่เป็นพื้นที่ก่อสร้างที่รับผลกระทบโดยตรงให้ยอมรับโครงการ และให้หมดความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวปกป้องถิ่นฐานของตัวเอง
อย่างไรก็ตาม ในความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจให้แก่ผู้บริหาร กฟผ.อย่างมาก เนื่องจากเป็นการทำนอกเหนือคำสั่ง ที่สำคัญพบข้อมูลว่า หนังสือคัดค้านการปิดศูนย์นั้นไปอยู่ที่ กฟผ.ก่อนที่จะยื่นให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด และมีการทำงานอย่างเป็นขั้นตอน แบ่งงานกันทำ โดยก่อนที่จะมีการยื่นเจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูลพัฒนาพลังงานไฟฟ้านครศรีธรรมราช ได้แจ้งผู้สื่อข่าวหลายคนผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(อีเมล)ว่า จะมีความเคลื่อนไหวของผู้สนับสนุนทั้งสองครั้ง เหมือนกับรู้ความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้สนับสนุนเป็นอย่างดี