นครศรีธรรมราช - เครือข่ายคัดค้านการก่อสร้าง 2 โรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.นครศรีธรรมราช เปิดเกมรุกอีกระลอก เผยใช้กลยุทธ์ให้แกนนำแต่ละกลุ่ม หรือองค์กรทยอยกันชักแถวเข้ายื่นหนังสือกดดันต่อ “ผู้ว่าฯ” ให้มีคำสั่ง “กฟผ.” ยุติทุกการเคลื่อนไหว และถอนสำนักงานออกนอกพื้นที่ตามเส้นตายที่ภาคประชาชนขีดไว้ให้ 15 มี.ค.นี้ อ้างหากไม่ดำเนินการอาจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึ่งประสงค์ขึ้นมาได้ เนื่องจากเครือข่ายไม่สามารถคุ้มประชาชนจำนวนมากได้ พร้อมประกาศรวมพลกันอีกรอบเพื่อรอฟังคำตอบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้ (11 มี.ค.) เครือข่ายคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มและองค์กร อาทิ เครือข่ายมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร เป็นต้น กำหนดจะทยอยกันเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ช่วยคลี่คลายปัญหาจากกรณีที่ กฟผ.ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติความเคลื่อนไหวในพื้นที่ตามคำเรียกร้องของประชาชน
โดยมีข้อตกลงกันในระหว่างกลุ่มหรือองค์กร ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่งใน จ.นครศรีธรรมราช ดังกล่าว ว่า กลุ่มหรือองค์กรไหนสะดวกจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ เวลาไหนก็ให้เป็นไปอย่างอิสระ ทั้งนี้ การดำเนินการของเครือข่ายเป็นผลมาจากภาคประชาชนได้ยื่นข้อเสนอให้กับ กฟผ.ต้องยุติการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันการก่อสร้าง 2 โรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช โดยขีดเส้นตายไว้ให้ว่าในเวลาเที่ยงคืนขังวันที่ 15 มี.ค.ที่จะถึงนี้หากยังไม่ยุติ เกรงว่า จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมประชาชนจำนวนมากได้
สำหรับเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา นำโดย นายวิชาญ เชาวลิต ประธานกลุ่มเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ได้เข้ายื่นหนังสือเป็นองค์กรแรก โดยในหนังสือระบุหัวเรื่องให้ กฟผ.ย้ายศูนย์ประสานงานและยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (ถ่านหิน) นครศรีธรรมราช โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ คือ จากการที่ กฟผ.มีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (โรงไฟฟ้าถ่านหิน) ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และได้ตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลในพื้นที่ อ.ท่าศาลา อำเภอหัวไทร และ อ.เมืองนครศรีธรรมราช
อีกทั้งได้มีเจ้าหน้าที่ประจำการลงพื้นที่สร้างความขัดแย้งสร้างความคลุมเครือ แจกสิ่งของ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ และพยายามทอดแทรกไปยังยังกิจกรรม ที่เป็นเวทีประชาคมและของประชาชนต่างๆ ในพื้นที่ โดยไม่มีความเป็นหลักวิชาการ ทั้งในทิศทางการสร้างความเข้าใจและการทำให้เกิดการยอมรับ จนเกิดการโต้ตอบและการลุกฮือของพี่น้องประชาชนจนเกิดความวุ่นวายมาแล้วหลายครั้ง อันเป็นไปตามข้อมูลที่ กฟผ.ระบุไว้ว่า ยังไม่ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ในช่วงการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง และหากประชาชนไม่ยอมรับจะย้ายออกจากพื้นที่และยกเลิกแผนการดำเนินการทันที
นายวิชาญ กล่าวว่า ในหนังสือของเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลายังระบุด้วยว่า ผู้ว่าฯ ในฐานะนักปกครองตามกระบวนการประชาธิปไตย จึงขอให้พิจารณาดำเนินการตามหลักการปกครองและมติของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย 1.โปรดพิจารณาสั่งการย้ายศูนย์ประสานงานข้อมูลพัฒนาโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่ภายในวันอังคารที่ 15 มี.ค.2554 โดยภาคประชาชนจะมาฟังคำตอบที่เป็นลายลักษณ์อักษรและขอพบผู้ว่าฯ เพื่อติดตามผลการพิจารณา ณ ศาลากลาง ในวันอังคารที่ 15 มี.ค.เช่นกัน ในเวลา 13.00 น.
2.โปรดพิจารณาผลักดันให้ยุติแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (ไฟฟ้าถ่านหิน) โดยทางเครือข่ายประชาชนจะติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะ หากไม่มีความคืบหน้าหรือความชัดเจนใดๆ ในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมติของพี่น้องประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ก็จะนัดรวมตัวเพื่อประเมินสถานการณ์ในวันอังคารที่ 15 มี.ค.ณ สนามหน้าอาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจะประกาศการเคลื่อนไหว และมาตรการที่เด็ดขาดในระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป
“หากเกิดความขัดแย้ง หรือความวุ่นวายใดๆ ในพื้นที่หลังจากนี้ ทางเครือข่ายประชาชนจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น เพราะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการประชาธิปไตย ตามสิทธิชุมชน ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญโดยสงบและสันติมาอย่างต่อเนื่องแล้ว” นายวิชาญ กล่าว
ก่อนหน้านี้ ในส่วนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาจังหวัด กำนันผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาชนหลายหมื่นคน ได้มีการลงประชามติไปแล้วด้วย ณ ที่ว่าการอำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.นครศรีธรรมราช และให้ กฟผ.ยกเลิกแผนงานโครงการทั้งหมดทันที และต่อมาก็ได้มีการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 มี.ค.ด้วยแล้ว โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับหนังสือด้วยตัวเอง และรับปากจะดำเนินการตามมติของพี่น้องประชาชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันนี้ (11 มี.ค.) เครือข่ายคัดค้านการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินในพื้นที่ อ.หัวไทร และ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งประกอบขึ้นจากหลายกลุ่มและองค์กร อาทิ เครือข่ายมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เพื่อปวงชน เครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา กลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าถ่านหินหัวไทร เป็นต้น กำหนดจะทยอยกันเดินทางไปยื่นหนังสือต่อ นายธีระ มินทราศักดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ให้ช่วยคลี่คลายปัญหาจากกรณีที่ กฟผ.ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติความเคลื่อนไหวในพื้นที่ตามคำเรียกร้องของประชาชน
โดยมีข้อตกลงกันในระหว่างกลุ่มหรือองค์กร ที่รวมตัวกันเป็นเครือข่ายคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่งใน จ.นครศรีธรรมราช ดังกล่าว ว่า กลุ่มหรือองค์กรไหนสะดวกจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อผู้ว่าฯ เวลาไหนก็ให้เป็นไปอย่างอิสระ ทั้งนี้ การดำเนินการของเครือข่ายเป็นผลมาจากภาคประชาชนได้ยื่นข้อเสนอให้กับ กฟผ.ต้องยุติการเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันการก่อสร้าง 2 โรงไฟฟ้าใน จ.นครศรีธรรมราช โดยขีดเส้นตายไว้ให้ว่าในเวลาเที่ยงคืนขังวันที่ 15 มี.ค.ที่จะถึงนี้หากยังไม่ยุติ เกรงว่า จะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น เนื่องจากไม่สามารถควบคุมประชาชนจำนวนมากได้
สำหรับเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา นำโดย นายวิชาญ เชาวลิต ประธานกลุ่มเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลา ได้เข้ายื่นหนังสือเป็นองค์กรแรก โดยในหนังสือระบุหัวเรื่องให้ กฟผ.ย้ายศูนย์ประสานงานและยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (ถ่านหิน) นครศรีธรรมราช โดยมีเนื้อหาที่สำคัญ คือ จากการที่ กฟผ.มีแผนพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (โรงไฟฟ้าถ่านหิน) ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และได้ตั้งศูนย์ประสานงานข้อมูลในพื้นที่ อ.ท่าศาลา อำเภอหัวไทร และ อ.เมืองนครศรีธรรมราช
อีกทั้งได้มีเจ้าหน้าที่ประจำการลงพื้นที่สร้างความขัดแย้งสร้างความคลุมเครือ แจกสิ่งของ ติดป้ายประชาสัมพันธ์ และพยายามทอดแทรกไปยังยังกิจกรรม ที่เป็นเวทีประชาคมและของประชาชนต่างๆ ในพื้นที่ โดยไม่มีความเป็นหลักวิชาการ ทั้งในทิศทางการสร้างความเข้าใจและการทำให้เกิดการยอมรับ จนเกิดการโต้ตอบและการลุกฮือของพี่น้องประชาชนจนเกิดความวุ่นวายมาแล้วหลายครั้ง อันเป็นไปตามข้อมูลที่ กฟผ.ระบุไว้ว่า ยังไม่ได้เลือกพื้นที่ดำเนินการใดๆ ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่ในช่วงการให้ข้อมูลและข้อเท็จจริง และหากประชาชนไม่ยอมรับจะย้ายออกจากพื้นที่และยกเลิกแผนการดำเนินการทันที
นายวิชาญ กล่าวว่า ในหนังสือของเครือข่ายรักษ์บ้านเกิดท่าศาลายังระบุด้วยว่า ผู้ว่าฯ ในฐานะนักปกครองตามกระบวนการประชาธิปไตย จึงขอให้พิจารณาดำเนินการตามหลักการปกครองและมติของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ประกอบด้วย 1.โปรดพิจารณาสั่งการย้ายศูนย์ประสานงานข้อมูลพัฒนาโรงไฟฟ้าออกจากพื้นที่ภายในวันอังคารที่ 15 มี.ค.2554 โดยภาคประชาชนจะมาฟังคำตอบที่เป็นลายลักษณ์อักษรและขอพบผู้ว่าฯ เพื่อติดตามผลการพิจารณา ณ ศาลากลาง ในวันอังคารที่ 15 มี.ค.เช่นกัน ในเวลา 13.00 น.
2.โปรดพิจารณาผลักดันให้ยุติแผนพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม (ไฟฟ้าถ่านหิน) โดยทางเครือข่ายประชาชนจะติดตามผลการดำเนินการเป็นระยะ หากไม่มีความคืบหน้าหรือความชัดเจนใดๆ ในการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามมติของพี่น้องประชาชนชาวนครศรีธรรมราช ก็จะนัดรวมตัวเพื่อประเมินสถานการณ์ในวันอังคารที่ 15 มี.ค.ณ สนามหน้าอาคารไทยบุรี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และจะประกาศการเคลื่อนไหว และมาตรการที่เด็ดขาดในระดับจังหวัดและระดับประเทศต่อไป
“หากเกิดความขัดแย้ง หรือความวุ่นวายใดๆ ในพื้นที่หลังจากนี้ ทางเครือข่ายประชาชนจะไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น เพราะได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกระบวนการประชาธิปไตย ตามสิทธิชุมชน ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญโดยสงบและสันติมาอย่างต่อเนื่องแล้ว” นายวิชาญ กล่าว
ก่อนหน้านี้ ในส่วนขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาจังหวัด กำนันผู้ใหญ่บ้าน และภาคประชาชนหลายหมื่นคน ได้มีการลงประชามติไปแล้วด้วย ณ ที่ว่าการอำเภอท่าศาลา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา ว่า ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินใน จ.นครศรีธรรมราช และให้ กฟผ.ยกเลิกแผนงานโครงการทั้งหมดทันที และต่อมาก็ได้มีการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีในวันที่ 3 มี.ค.ด้วยแล้ว โดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รับหนังสือด้วยตัวเอง และรับปากจะดำเนินการตามมติของพี่น้องประชาชน