อีกไม่กี่เดือนก็จะครบรอบ 79 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตลอดระยะเวลานับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองบ้านเมืองจากอดีตถึงปัจจุบัน แม้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี จะทรงมีพระราชปณิธานและความเต็มใจที่สละอำนาจการปกครองดังปรากฏความว่า
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
จะเห็นได้ว่าการสละอำนาจเพื่อเปิดทางให้กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น มีเงื่อนไขและความห่วงใยที่ส่งสัญญาณแก่คณะราษฎร์ให้ตระหนักและพึงคำนึงถึงว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริง อำนาจการปกครองต้องตกถึงมือประชาชนโดยทั่วไป แต่โดยความเป็นจริงของประเทศไทย อำนาจการปกครองได้สลับสับเปลี่ยนกันระหว่างคณะทหารเผด็จการและนักเลือกตั้งตัวแทนกลุ่มทุนหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเถลิงอำนาจปกครองบ้านเมือง โดยหาได้ฟังเสียงประชาชนแต่อย่างใดไม่
79 ปีของระบอบประชาธิปไตย ถึงวันนี้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้ทั้งสิ้น 18 ฉบับ มีการเลือกตั้งมาแล้วรวม 25 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เรื่อยมาจนถึงครั้งหลังสุดคือเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 สูญเสียงบประมาณอันเป็นเงินภาษีของประชาชน เพื่อจัดการเลือกตั้งในแต่ละครั้งๆ ละหลายพันล้านบาท การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้งบประมาณในการจัดการเลือกตั้งเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท ในการเตรียมการเพื่อการเลือกตั้งในคราวต่อไปที่กำลังจะมาถึง (ถ้าหากมี)
กกต.เสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติงบประมาณ 3,800 ล้านบาทเพื่อเตรียมใช้จัดการเลือกตั้ง นี่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายและเงินหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งของการเลือกตั้งว่าจะมีเงินสะพัดอีกหลายหมื่นล้าน อันเป็นการลงทุนทางการเมืองของนักการเมือง นักเลือกตั้ง และกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่สนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ โดยในแต่ละพรรคการเมืองต่างก็ล้วนแต่มีนายทุนเจ้าของพรรคทั้งนั้น
เป็นที่คาดหมายได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปที่กำลังจะมาถึง ถ้าหากมี จะมีการทุ่มทุนใช้เงินกันอย่างมหาศาล โดยประมาณว่าอาจถึงแสนล้านบาท เพราะแต่ละพรรคล้วนต้องทุ่มกันเต็มที่เพื่อให้ได้ชัยชนะ เพื่อให้จำนวน ส.ส.มากพอที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หรือเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทุกพรรคล้วนแต่มุ่งมั่นเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาลทั้งสิ้น การต่อสู้แข่งขันในการเลือกตั้งก็จะทวีความดุเดือดรุนแรงอาจถึงขั้นสงครามย่อมๆ ก็เป็นได้ ซึ่งแม้แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็ยังวิตกกังวลไม่มั่นใจว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยได้
เมื่อมาพิเคราะห์ถึงผลตอบแทนที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับ ภายใต้การเมืองการเลือกตั้งที่เป็นอยู่และที่จะดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง รวมถึงกลไกทั้งหลายอันเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและโปร่งใสในปัจจุบัน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา เราแทบจะมองเห็นและได้คำตอบโดยปราศจากข้อสงสัยว่า ผลของการเลือกตั้งก็จะทำให้ประเทศไทย ประชาชนไทยได้นักการเมืองและรัฐบาลชุดเดิม หน้าเดิมกลับเข้าใหม่อีกครั้ง โดยเพียงแต่ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้งเท่านั้น เป็นเหล้าเก่าในขวดเก่า เป็นนักกการเมืองชุดเก่าที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติบ้านเมือง บริหารล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพ ทุจริตคอร์รัปชัน ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง
ที่สำคัญและเลวร้ายกว่านั้นก็คือ ขายชาติขายแผ่นดิน การเมืองการปกครองของไทยก็จะวนเวียนซ้ำซากตกอยู่ภายใต้วงจรอุบาทว์แบบมืดมนไร้ทางออกมองไม่เห็นอนาคต การเลือกตั้ง และการออกไปใช้สิทธิของประชาชน จึงเป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่นักการเมือง และนักเลือกตั้งที่มีภาพลักษณ์ทุจริตคดโกง ไร้จริยธรรม คุณธรรม ขาดความรู้ความสามารถที่ประชาชนทั้งหลายต่างได้เห็นโดยประจักษ์มาแล้ว ไม่ว่าจะเลือกตั้งมาอย่างไรก็ตาม
การเมืองการปกครองของไทยก็หนีไม่พ้นที่จะตกอยู่ภายใต้การกำกับบงการของกลุ่มคนเหล่านี้คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายบรรหาร ศิลปอาชา,พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, นายเนวิน ชิดชอบ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และก็คงจะได้นายกฯ หน้าเดิมอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่บริหารล้มเหลวมาแล้วในทุกๆ ด้าน หรือแม้จะมีตัวเลือกใหม่ก็หนีไม่พ้นที่จะตกอยู่ภายใต้การเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มการเมืองเหล่านี้ ประเทศไทยสังคมไทยจะก้าวเดินไปอย่างไร
ประเทศไทยสังคมไทยของเราได้ก้าวเดินมาถึงจุดตกต่ำในทุกๆ ด้านอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้เราจะกล่าวอ้างกับใครๆ ว่าเราเป็นประเทศประชาธิปไตยก็ตาม เรามีกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ลอกมาจากสังคมตะวันตกครบถ้วน คือ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎร มีวุฒิสภา มีศาลรัฐธรรมนูญ มีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีศาลปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการรัฐสภา ฯลฯ เรียกว่าประเทศประชาธิปไตยมีกลไกอะไรเรามีครบหรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
แต่สังคมการเมืองการปกครองของเรากลับตกต่ำเสื่อมทรุดถอยหลังลงคลอง นักการเมืองที่เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นใด ล้วนแต่ไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือการกระทำผิด เรื่องโกงกินทุจริตคอร์รัปชันกลายเป็นเรื่องอวดอ้างโชว์ผลงานแข่งกันว่าใครจะโกงกินได้มากกว่ากัน ยิ่งคอร์รัปชันเมกะโปรเจกต์ที่มีมูลค่าสูงๆ หลายหมื่นแสนล้านได้ ก็ยิ่งเป็นการอวดอ้างบารมีทางการเมือง โกงแล้วลอยนวลหลุดรอดเงื้อมกฎหมายและการตรวจสอบได้ ก็ถือว่าเป็นนักการเมืองชั้นเซียนไร้ร่องรอย
สังคมการเมืองนับถือยกย่องกันแบบนี้ ใครอยากได้ความก้าวหน้าก็ต้องเข้าสังกัดคอกและมุ้งที่หัวหน้าพรรคหรือผู้ควบคุมพรรคที่มีฝีมือในการทำความชั่วหลบหลีกกฎหมายเก่ง คุ้มครองลูกน้องได้ สภาพสังคมบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยจะมีทางออกทางรอดอย่างไร
คำถามของผู้คนในบ้านเมืองไม่ว่าจะเดินไปทางใด ก็จะได้ยินไปทั่วกลายเป็นเรื่องโจษขานกันทุกมุมเมืองว่า จะมีการเลือกตั้งหรือไม่ เลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่ บ้านเมืองจะจบลงอย่างไร เรามีทางออกไม่กี่ทางสำหรับประเทศไทย หนึ่ง คือเลือกตั้งต่อไป ยอมอยู่กับการเมืองการเลือกตั้ง แม้จะสามานย์เพียงใดก็ตามอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ หรือ สอง ต้องหยุดระบอบการเมืองการเลือกตั้ง ปฏิวัติสังคมและเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเสียใหม่ หนีให้พ้นจากการเมืองระบอบเก่าที่ล้มเหลวนี้เสีย ซึ่งก็มีคำถามและรายละเอียดอีกมากที่จะตามมา หากเลือกเดินทางนี้ และใครจะเป็นผู้ให้คำตอบ
และ สาม คือ อยู่เฉยๆ ปล่อยไปตามยถากรรม ช่างแม่งมันประเทศไทย ประชาชนทั้งหลายจะเลือกทางใด แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงตนเองจากระบอบการเมืองเก่านี้เสีย ก่อนที่ทุกอย่างจะล่มสลาย เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเลยมากกว่านี้ เว้นแต่จะรอให้สึนามิจากญี่ปุ่นถล่มใส่การเมืองไทยเท่านั้นเอง
"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร”
จะเห็นได้ว่าการสละอำนาจเพื่อเปิดทางให้กับการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนั้น มีเงื่อนไขและความห่วงใยที่ส่งสัญญาณแก่คณะราษฎร์ให้ตระหนักและพึงคำนึงถึงว่า ประชาธิปไตยที่แท้จริง อำนาจการปกครองต้องตกถึงมือประชาชนโดยทั่วไป แต่โดยความเป็นจริงของประเทศไทย อำนาจการปกครองได้สลับสับเปลี่ยนกันระหว่างคณะทหารเผด็จการและนักเลือกตั้งตัวแทนกลุ่มทุนหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเถลิงอำนาจปกครองบ้านเมือง โดยหาได้ฟังเสียงประชาชนแต่อย่างใดไม่
79 ปีของระบอบประชาธิปไตย ถึงวันนี้ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญประกาศใช้ทั้งสิ้น 18 ฉบับ มีการเลือกตั้งมาแล้วรวม 25 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 เรื่อยมาจนถึงครั้งหลังสุดคือเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 สูญเสียงบประมาณอันเป็นเงินภาษีของประชาชน เพื่อจัดการเลือกตั้งในแต่ละครั้งๆ ละหลายพันล้านบาท การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2550 คณะกรรมการการเลือกตั้งใช้งบประมาณในการจัดการเลือกตั้งเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท ในการเตรียมการเพื่อการเลือกตั้งในคราวต่อไปที่กำลังจะมาถึง (ถ้าหากมี)
กกต.เสนอคณะรัฐมนตรีขออนุมัติงบประมาณ 3,800 ล้านบาทเพื่อเตรียมใช้จัดการเลือกตั้ง นี่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายและเงินหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งของการเลือกตั้งว่าจะมีเงินสะพัดอีกหลายหมื่นล้าน อันเป็นการลงทุนทางการเมืองของนักการเมือง นักเลือกตั้ง และกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่สนับสนุนพรรคการเมืองต่างๆ โดยในแต่ละพรรคการเมืองต่างก็ล้วนแต่มีนายทุนเจ้าของพรรคทั้งนั้น
เป็นที่คาดหมายได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปที่กำลังจะมาถึง ถ้าหากมี จะมีการทุ่มทุนใช้เงินกันอย่างมหาศาล โดยประมาณว่าอาจถึงแสนล้านบาท เพราะแต่ละพรรคล้วนต้องทุ่มกันเต็มที่เพื่อให้ได้ชัยชนะ เพื่อให้จำนวน ส.ส.มากพอที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล หรือเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทุกพรรคล้วนแต่มุ่งมั่นเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาลทั้งสิ้น การต่อสู้แข่งขันในการเลือกตั้งก็จะทวีความดุเดือดรุนแรงอาจถึงขั้นสงครามย่อมๆ ก็เป็นได้ ซึ่งแม้แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ก็ยังวิตกกังวลไม่มั่นใจว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยได้
เมื่อมาพิเคราะห์ถึงผลตอบแทนที่ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับ ภายใต้การเมืองการเลือกตั้งที่เป็นอยู่และที่จะดำเนินไปตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง รวมถึงกลไกทั้งหลายอันเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง ที่จะทำให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและโปร่งใสในปัจจุบัน ประกอบกับการพิจารณาถึงผลการเลือกตั้งในอดีตที่ผ่านมา เราแทบจะมองเห็นและได้คำตอบโดยปราศจากข้อสงสัยว่า ผลของการเลือกตั้งก็จะทำให้ประเทศไทย ประชาชนไทยได้นักการเมืองและรัฐบาลชุดเดิม หน้าเดิมกลับเข้าใหม่อีกครั้ง โดยเพียงแต่ผ่านพิธีกรรมการเลือกตั้งเท่านั้น เป็นเหล้าเก่าในขวดเก่า เป็นนักกการเมืองชุดเก่าที่สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติบ้านเมือง บริหารล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพ ทุจริตคอร์รัปชัน ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ตนเองและพวกพ้อง
ที่สำคัญและเลวร้ายกว่านั้นก็คือ ขายชาติขายแผ่นดิน การเมืองการปกครองของไทยก็จะวนเวียนซ้ำซากตกอยู่ภายใต้วงจรอุบาทว์แบบมืดมนไร้ทางออกมองไม่เห็นอนาคต การเลือกตั้ง และการออกไปใช้สิทธิของประชาชน จึงเป็นเพียงพิธีกรรมเพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่นักการเมือง และนักเลือกตั้งที่มีภาพลักษณ์ทุจริตคดโกง ไร้จริยธรรม คุณธรรม ขาดความรู้ความสามารถที่ประชาชนทั้งหลายต่างได้เห็นโดยประจักษ์มาแล้ว ไม่ว่าจะเลือกตั้งมาอย่างไรก็ตาม
การเมืองการปกครองของไทยก็หนีไม่พ้นที่จะตกอยู่ภายใต้การกำกับบงการของกลุ่มคนเหล่านี้คือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายบรรหาร ศิลปอาชา,พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ, นายเนวิน ชิดชอบ, นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล, พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และก็คงจะได้นายกฯ หน้าเดิมอย่างนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่บริหารล้มเหลวมาแล้วในทุกๆ ด้าน หรือแม้จะมีตัวเลือกใหม่ก็หนีไม่พ้นที่จะตกอยู่ภายใต้การเป็นหุ่นเชิดของกลุ่มการเมืองเหล่านี้ ประเทศไทยสังคมไทยจะก้าวเดินไปอย่างไร
ประเทศไทยสังคมไทยของเราได้ก้าวเดินมาถึงจุดตกต่ำในทุกๆ ด้านอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน แม้เราจะกล่าวอ้างกับใครๆ ว่าเราเป็นประเทศประชาธิปไตยก็ตาม เรามีกลไกการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยที่ลอกมาจากสังคมตะวันตกครบถ้วน คือ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีสภาผู้แทนราษฎร มีวุฒิสภา มีศาลรัฐธรรมนูญ มีกลไกการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ เช่น คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีศาลปกครอง ศาลยุติธรรม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ตรวจการรัฐสภา ฯลฯ เรียกว่าประเทศประชาธิปไตยมีกลไกอะไรเรามีครบหรืออาจจะมากกว่าเสียด้วยซ้ำ
แต่สังคมการเมืองการปกครองของเรากลับตกต่ำเสื่อมทรุดถอยหลังลงคลอง นักการเมืองที่เข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นใด ล้วนแต่ไม่เกรงกลัวกฎหมายหรือการกระทำผิด เรื่องโกงกินทุจริตคอร์รัปชันกลายเป็นเรื่องอวดอ้างโชว์ผลงานแข่งกันว่าใครจะโกงกินได้มากกว่ากัน ยิ่งคอร์รัปชันเมกะโปรเจกต์ที่มีมูลค่าสูงๆ หลายหมื่นแสนล้านได้ ก็ยิ่งเป็นการอวดอ้างบารมีทางการเมือง โกงแล้วลอยนวลหลุดรอดเงื้อมกฎหมายและการตรวจสอบได้ ก็ถือว่าเป็นนักการเมืองชั้นเซียนไร้ร่องรอย
สังคมการเมืองนับถือยกย่องกันแบบนี้ ใครอยากได้ความก้าวหน้าก็ต้องเข้าสังกัดคอกและมุ้งที่หัวหน้าพรรคหรือผู้ควบคุมพรรคที่มีฝีมือในการทำความชั่วหลบหลีกกฎหมายเก่ง คุ้มครองลูกน้องได้ สภาพสังคมบ้านเมืองเป็นเช่นนี้ ประเทศไทยจะมีทางออกทางรอดอย่างไร
คำถามของผู้คนในบ้านเมืองไม่ว่าจะเดินไปทางใด ก็จะได้ยินไปทั่วกลายเป็นเรื่องโจษขานกันทุกมุมเมืองว่า จะมีการเลือกตั้งหรือไม่ เลือกตั้งแล้วบ้านเมืองจะดีขึ้นหรือไม่ บ้านเมืองจะจบลงอย่างไร เรามีทางออกไม่กี่ทางสำหรับประเทศไทย หนึ่ง คือเลือกตั้งต่อไป ยอมอยู่กับการเมืองการเลือกตั้ง แม้จะสามานย์เพียงใดก็ตามอย่างที่เห็นและเป็นอยู่ หรือ สอง ต้องหยุดระบอบการเมืองการเลือกตั้ง ปฏิวัติสังคมและเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเสียใหม่ หนีให้พ้นจากการเมืองระบอบเก่าที่ล้มเหลวนี้เสีย ซึ่งก็มีคำถามและรายละเอียดอีกมากที่จะตามมา หากเลือกเดินทางนี้ และใครจะเป็นผู้ให้คำตอบ
และ สาม คือ อยู่เฉยๆ ปล่อยไปตามยถากรรม ช่างแม่งมันประเทศไทย ประชาชนทั้งหลายจะเลือกทางใด แต่ที่แน่นอนที่สุดก็คือ ประเทศไทยต้องเปลี่ยนแปลงตนเองจากระบอบการเมืองเก่านี้เสีย ก่อนที่ทุกอย่างจะล่มสลาย เราไม่มีทางเลือกอื่นใดเลยมากกว่านี้ เว้นแต่จะรอให้สึนามิจากญี่ปุ่นถล่มใส่การเมืองไทยเท่านั้นเอง