ASTVผู้จัดการรายวัน-เรกูเลเตอร์เผยก.ค.นี้ เตรียมปรับรูปแบบบิลค่าไฟที่เรียกเก็บจากประชาชนใหม่ แจงรายละเอียดต้นทุนชัดเจน ตรวจสอบที่มาที่ไปได้ รองรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ที่สูตร Ft จะอิงเฉพาะเชื้อเพลิงเท่านั้น ตัดอื่นๆ ที่แอบแฝงโยกไปที่ค่าไฟฟ้าฐาน แต่โดยรวมค่าไฟจะไม่เปลี่ยนแปลง
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ คาดว่าจะมีการทำประชาพิจารณ์เดือนพ.ค.และมิ.ย. จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบได้ โดยโครงสร้างใหม่จะไม่มีผลต่อการปรับขึ้นค่าไฟแต่อย่างใด และยังส่งผลให้ต้องมีการปรับรูปแบบบิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนใหม่ในค่าไฟรอบก..ค.2554นี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนถึงต้นทุนต่างๆ ที่ประชาชนจะตรวจสอบได้มากกว่าบิลค่าไฟปัจจุบัน
ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าปัจจุบัน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) โดยค่าไฟฟ้าฐานใช้มานานตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งจะอิงต้นทุนจากแผนลงทุนกิจการไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงแผนจัดหาเชื้อเพลิงระยะยาว และผลตอบแทนการลงทุนของ 3 การไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดังนั้น ค่าไฟฐานจะปรับใหม่ เนื่องจากบางอย่างลงทุนมานานแล้ว ต้นทุนจะต้องต่ำลง รวมถึงผลตอบแทนของ 3 การไฟฟ้าจะต้องเกลี่ยใหม่ให้สอดคล้องตามข้อเท็จจริง โดยแนวโน้มตัวเลขการชดเชยของกฟภ. จะลดลง และผลตอบแทนของกฟผ. จะลดลงด้วย จากขณะนี้อยู่สูงถึง 8.93% ขณะที่กฟน.และกฟภ.อยู่ที่หน่วยงานละ 4.8% เป็นต้น
สำหรับ Ft มีการปรับปรุงเมื่อปี 2548 ซึ่งมีการคำนวณจากค่าเชื้อเพลิงของกฟผ. ค่าซื้อไฟจากเอกชน ส่วนเพิ่มการรับซื้อค่าไฟ (ADDER) รวมไปถึงกองทุนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งไม่สะท้อนเชื้อเพลิงตามหลักการที่แท้จริง ดังนั้น ค่าไฟฟ้าฐานใหม่จะนำส่วนนี้ยกไปรวมแล้วให้เหลือเฉพาะต้นทุนจากเชื้อเพลิงจริงเท่านั้น ทำให้ Ft จะเริ่มนับศูนย์ ดังนั้น ค่าไฟฐานจะไม่มีผลต่อการขึ้นค่าไฟกับประชาชนโดยจะทำให้ค่าไฟรวมที่ต้องจ่ายอยู่ที่ประมาณ 3.16 บาทต่อหน่วย (รวมVat7%)
นางพัลลภากล่าวว่า จากการปรับโครงสร้างค่าไฟใหม่ ทำให้จะต้องมีการปรับรูปแบบของบิลค่าไฟฟ้าที่จะชี้แจงต้นทุนแยกตามประเภทกิจการให้เห็นชัดเจน ตั้งแต่ต้นทุนการผลิต ต้นทุนระบบส่ง ต้นทุนเชื้อเพลิงหรือ Ft การอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า การส่งเสริมการประหยัดไฟฟ้าและเทคโนโลยีการประหยัด รวมถึงค่าปรับกรณีการสั่งเดินเครื่องผิดพลาด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะทำให้ประชาชนได้มีการตรวจสอบได้มากขึ้น
“การดำเนินการนี้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานที่กำหนดให้ค่าไฟฟ้าจะต้องสะท้อนต้นทุนจริง ซึ่งนโยบายให้ผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนนั้น จะรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานดังกล่าวด้วย”นางพัลลภากล่าว
นางพัลลภา เรืองรอง กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า เรกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ คาดว่าจะมีการทำประชาพิจารณ์เดือนพ.ค.และมิ.ย. จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบได้ โดยโครงสร้างใหม่จะไม่มีผลต่อการปรับขึ้นค่าไฟแต่อย่างใด และยังส่งผลให้ต้องมีการปรับรูปแบบบิลค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากประชาชนใหม่ในค่าไฟรอบก..ค.2554นี้ ซึ่งจะมีรายละเอียดที่ชัดเจนถึงต้นทุนต่างๆ ที่ประชาชนจะตรวจสอบได้มากกว่าบิลค่าไฟปัจจุบัน
ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าปัจจุบัน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) โดยค่าไฟฟ้าฐานใช้มานานตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งจะอิงต้นทุนจากแผนลงทุนกิจการไฟฟ้าทั้งหมด รวมถึงแผนจัดหาเชื้อเพลิงระยะยาว และผลตอบแทนการลงทุนของ 3 การไฟฟ้า ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ดังนั้น ค่าไฟฐานจะปรับใหม่ เนื่องจากบางอย่างลงทุนมานานแล้ว ต้นทุนจะต้องต่ำลง รวมถึงผลตอบแทนของ 3 การไฟฟ้าจะต้องเกลี่ยใหม่ให้สอดคล้องตามข้อเท็จจริง โดยแนวโน้มตัวเลขการชดเชยของกฟภ. จะลดลง และผลตอบแทนของกฟผ. จะลดลงด้วย จากขณะนี้อยู่สูงถึง 8.93% ขณะที่กฟน.และกฟภ.อยู่ที่หน่วยงานละ 4.8% เป็นต้น
สำหรับ Ft มีการปรับปรุงเมื่อปี 2548 ซึ่งมีการคำนวณจากค่าเชื้อเพลิงของกฟผ. ค่าซื้อไฟจากเอกชน ส่วนเพิ่มการรับซื้อค่าไฟ (ADDER) รวมไปถึงกองทุนรอบโรงไฟฟ้า ซึ่งไม่สะท้อนเชื้อเพลิงตามหลักการที่แท้จริง ดังนั้น ค่าไฟฟ้าฐานใหม่จะนำส่วนนี้ยกไปรวมแล้วให้เหลือเฉพาะต้นทุนจากเชื้อเพลิงจริงเท่านั้น ทำให้ Ft จะเริ่มนับศูนย์ ดังนั้น ค่าไฟฐานจะไม่มีผลต่อการขึ้นค่าไฟกับประชาชนโดยจะทำให้ค่าไฟรวมที่ต้องจ่ายอยู่ที่ประมาณ 3.16 บาทต่อหน่วย (รวมVat7%)
นางพัลลภากล่าวว่า จากการปรับโครงสร้างค่าไฟใหม่ ทำให้จะต้องมีการปรับรูปแบบของบิลค่าไฟฟ้าที่จะชี้แจงต้นทุนแยกตามประเภทกิจการให้เห็นชัดเจน ตั้งแต่ต้นทุนการผลิต ต้นทุนระบบส่ง ต้นทุนเชื้อเพลิงหรือ Ft การอุดหนุนผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน กองทุนพัฒนารอบโรงไฟฟ้า การส่งเสริมการประหยัดไฟฟ้าและเทคโนโลยีการประหยัด รวมถึงค่าปรับกรณีการสั่งเดินเครื่องผิดพลาด เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะทำให้ประชาชนได้มีการตรวจสอบได้มากขึ้น
“การดำเนินการนี้เป็นไปตามกฏหมายว่าด้วยพ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงานที่กำหนดให้ค่าไฟฟ้าจะต้องสะท้อนต้นทุนจริง ซึ่งนโยบายให้ผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนนั้น จะรวมอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานดังกล่าวด้วย”นางพัลลภากล่าว