ASTVผู้จัดการายวัน - คาดประชุม กนง. 9 มี.ค.นี้ ปรับดอกเบี้ยขึ้นแค่ 0.25% ค่ายทหารไทยชี้ปัจจัยเงินเฟ้อพื้นฐานไม่ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรุนแรง พร้อมประกาศขึ้นดอกเบี้ยตั๋ว B/E ตั้งแต่ 0.25%-0.75% มีผล 8 มี.ค. ส่วนศูนย์วิจัยกสิกรไทยเชื่อแบงก์พาณิชย์รับลูก กนง. ปรับดอกเบี้ยตามทั้งดอกเบี้ยฝากและกู้
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) หรือ TMB Analytics คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพียงร้อยละ 0.25 หรือจากร้อยละ 2.25 เป็น 2.50 ในการประชุมวันที่ 9 มี.ค.นี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทิศทางอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่ได้เร่งตัวขึ้นรุนแรง
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับร้อยละ 1.32-1.45 ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อนจนถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ ซึ่งสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.1 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ดังนั้น สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงไม่ได้เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ต้องเร่งปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้มีขนาด มากไปกว่าการคาดการณ์ของตลาด
"เงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่เร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรก แต่จะค่อยๆปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงปลายปีเข้าใกล้ร้อยละ 3 ซึ่งเป็นเพดานเงินเฟ้อเป้าหมาย ธปท. ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรกเข้าใกล้ร้อยละ 5 ในช่วงกลางปี จากแรงกดดันของราคาน้ำมันในตลาดโลก แล้วจึงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี"
นอกจากนี้ ในระยะสั้นการอุดหนุนของกองทุนน้ำมันในประเทศ จะช่วยชะลอแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นจากปัญหาความไม่สงบในประเทศผู้ส่งออกหลักน้ำมันเชื้อเพลิง
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าความสามารถของกองทุนน้ำมันในการรองรับการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก อาจทำได้แค่เพียงประมาณ 2 เดือน เนื่องจากสถานะเงินกองทุนน้ำมันสุทธิ ณ สิ้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 21,684 ล้านบาท โดยรัฐต้องมีภาระชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอลล์รวมกันไม่ต่ำกว่า 8,375 ล้านบาทต่อเดือน ที่ระดับราคาน้ำมันตลาดโอมานเฉลี่ย 97.4 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งในขณะนี้ราคาน้ำมันได้ปรับเป็น 104 ดอลลาร์สรอ.แล้ว และคาดว่าทุกๆการปรับขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก 10 ดอลลาร์สรอ. จะส่งผลให้ภาระการชดเชยเพิ่มขึ้นประมาณ 900 ล้านบาท หากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับปัจจุบัน เงินในกองทุนน้ำมันก็จะหมดลงภายใน 2 เดือนจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงระดับเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี
***TMB ขึ้นดอกเบี้ยตั๋วB/Eตัดหน้า กนง.
เย็นวานนี้ (7 มี.ค.) ธนาคารทหารไทย (TMB) โดย น.ส.ทามารา แวน เดน แบน ผู้อำนวยการอาวุโส เจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตภัณฑ์เงินฝากและการชำระเงิน เปิดเผยว่า TMB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน ตั้งแต่ 0.25%-0.75% ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินทุกประเภทของธนาคาร สูงที่สุดในตลาด ตั้งแต่วันอังคารที่ 8 มีนาคม เป็นต้นไป
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์เช่นกันว่า กนง.จะปรับดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 เพื่อดูแลความเสี่ยงเงินเฟ้อ ท่ามกลางสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงมีค่าติดลบ และน่าจะเป็นสิ่งที่ตลาดการเงินรับรู้และคาดหมายกันไว้ล่วงหน้าแล้วพอสมควร เห็นได้จากการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะประเภทอายุสั้น ที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 20 จุด (basis points) นับจากการประชุมรอบก่อน
การปรับตัวของตลาดนับจากนี้ นอกจากจะขึ้นกับผลการประชุมแล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง.ว่าจะมีความต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด รวมทั้งขึ้นอยู่กับพัฒนาการเครื่องชี้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าความคืบหน้าของสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่จะมีผลต่อราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลก นโยบายด้านพลังงานของทางการไทย และประเด็นการเมืองในประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด
***แบงก์ปรับดอกเบี้ยตามทั้งสองขา
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในที่สุดแล้วคงจะนำมาสู่การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ โดยขนาดและจังหวะของการปรับขึ้น คงจะขึ้นอยู่กับมุมมองของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่มีต่อแนวโน้มการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการขยายสินเชื่อในระยะข้างหน้า ตลอดจนความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างธนาคารด้วยกันเองและคู่แข่งอื่น
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ยังมีโอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้ทั้งกระดาน รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษที่ให้ผลตอบแทนจูงใจจากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว น่าที่จะเอื้อให้ผู้ออมมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายและตอบโจทย์ได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อในสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อาทิ สินค้าคงทนบางรายการ ซึ่งผู้กู้อาจชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปตามสถานการณ์และความจำเป็นของตน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) หรือ TMB Analytics คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย จะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพียงร้อยละ 0.25 หรือจากร้อยละ 2.25 เป็น 2.50 ในการประชุมวันที่ 9 มี.ค.นี้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากทิศทางอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่ได้เร่งตัวขึ้นรุนแรง
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ในระดับร้อยละ 1.32-1.45 ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อนจนถึงกุมภาพันธ์ปีนี้ ซึ่งสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยจากร้อยละ 1.1 ในช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้ว ดังนั้น สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จึงไม่ได้เป็นปัจจัยกระตุ้นให้ต้องเร่งปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้มีขนาด มากไปกว่าการคาดการณ์ของตลาด
"เงินเฟ้อพื้นฐานจะไม่เร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรก แต่จะค่อยๆปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจนถึงปลายปีเข้าใกล้ร้อยละ 3 ซึ่งเป็นเพดานเงินเฟ้อเป้าหมาย ธปท. ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งตัวในช่วงครึ่งปีแรกเข้าใกล้ร้อยละ 5 ในช่วงกลางปี จากแรงกดดันของราคาน้ำมันในตลาดโลก แล้วจึงเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลงในช่วงครึ่งหลังของปี"
นอกจากนี้ ในระยะสั้นการอุดหนุนของกองทุนน้ำมันในประเทศ จะช่วยชะลอแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นจากปัญหาความไม่สงบในประเทศผู้ส่งออกหลักน้ำมันเชื้อเพลิง
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าความสามารถของกองทุนน้ำมันในการรองรับการทะยานขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก อาจทำได้แค่เพียงประมาณ 2 เดือน เนื่องจากสถานะเงินกองทุนน้ำมันสุทธิ ณ สิ้นกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 21,684 ล้านบาท โดยรัฐต้องมีภาระชดเชยราคาน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอลล์รวมกันไม่ต่ำกว่า 8,375 ล้านบาทต่อเดือน ที่ระดับราคาน้ำมันตลาดโอมานเฉลี่ย 97.4 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาร์เรล ซึ่งในขณะนี้ราคาน้ำมันได้ปรับเป็น 104 ดอลลาร์สรอ.แล้ว และคาดว่าทุกๆการปรับขึ้นของราคาน้ำมันตลาดโลก 10 ดอลลาร์สรอ. จะส่งผลให้ภาระการชดเชยเพิ่มขึ้นประมาณ 900 ล้านบาท หากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับปัจจุบัน เงินในกองทุนน้ำมันก็จะหมดลงภายใน 2 เดือนจากนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงระดับเงินเฟ้อในช่วงครึ่งหลังของปี
***TMB ขึ้นดอกเบี้ยตั๋วB/Eตัดหน้า กนง.
เย็นวานนี้ (7 มี.ค.) ธนาคารทหารไทย (TMB) โดย น.ส.ทามารา แวน เดน แบน ผู้อำนวยการอาวุโส เจ้าหน้าที่บริหาร ผลิตภัณฑ์เงินฝากและการชำระเงิน เปิดเผยว่า TMB ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงิน ตั้งแต่ 0.25%-0.75% ซึ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยตั๋วแลกเงินทุกประเภทของธนาคาร สูงที่สุดในตลาด ตั้งแต่วันอังคารที่ 8 มีนาคม เป็นต้นไป
ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์เช่นกันว่า กนง.จะปรับดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 เพื่อดูแลความเสี่ยงเงินเฟ้อ ท่ามกลางสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงยังคงมีค่าติดลบ และน่าจะเป็นสิ่งที่ตลาดการเงินรับรู้และคาดหมายกันไว้ล่วงหน้าแล้วพอสมควร เห็นได้จากการเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทย โดยเฉพาะประเภทอายุสั้น ที่ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 20 จุด (basis points) นับจากการประชุมรอบก่อน
การปรับตัวของตลาดนับจากนี้ นอกจากจะขึ้นกับผลการประชุมแล้ว คงจะอยู่ที่การส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินของ กนง.ว่าจะมีความต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด รวมทั้งขึ้นอยู่กับพัฒนาการเครื่องชี้เศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทยเป็นหลัก ซึ่งแน่นอนว่าความคืบหน้าของสถานการณ์ในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือที่จะมีผลต่อราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลก นโยบายด้านพลังงานของทางการไทย และประเด็นการเมืองในประเทศ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามต่อไปอย่างใกล้ชิด
***แบงก์ปรับดอกเบี้ยตามทั้งสองขา
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในที่สุดแล้วคงจะนำมาสู่การทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ โดยขนาดและจังหวะของการปรับขึ้น คงจะขึ้นอยู่กับมุมมองของธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งที่มีต่อแนวโน้มการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะการขยายสินเชื่อในระยะข้างหน้า ตลอดจนความเข้มข้นของการแข่งขันระหว่างธนาคารด้วยกันเองและคู่แข่งอื่น
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ยังมีโอกาสที่จะเห็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำและเงินกู้ทั้งกระดาน รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษที่ให้ผลตอบแทนจูงใจจากธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าว น่าที่จะเอื้อให้ผู้ออมมีทางเลือกการลงทุนที่หลากหลายและตอบโจทย์ได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็อาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการสินเชื่อในสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อาทิ สินค้าคงทนบางรายการ ซึ่งผู้กู้อาจชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปตามสถานการณ์และความจำเป็นของตน